หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓๐)
ในส่วนของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)
เองนั้น
นอกจากการมุ่งศึกษารวบรวมหลักฐานธรรมกายที่มีอยู่ตามพื้นที่ต่าง
ๆ ทั่วโลกให้เข้ามารวมกันเป็นหมวดหมู่ เป็นกลุ่มก้อน มาอย่างต่อเนื่องแล้ว
การดำเนินงานตามพันธกิจ ๗ ประการ เช่น
การมุ่งสถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยให้เป็นการถาวรเพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้ารวบรวมหลักฐานธรรมกายให้เป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้เป็นสถานที่ประสานความร่วมมือ จัดการเรียนการสอน
การพัฒนางานวิชาการทางพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ฯลฯ
สำหรับในรอบปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าปีติใจว่า
บรรดานักวิชาการและนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยเองก็ยังมีความเคลื่อนไหวในเวทีวิชาการให้ปรากฏออกมาอีกอย่างต่อเนื่อง
อาทิ การที่ทีมงานวิจัยของสถาบันฯ ในทุกภูมิภาคมีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับโลก
เช่น ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล บ.ศ.๙ ที่มีผลงานวิจัยร่วมกับท่านศาสตราจารย์ริชาร์ด
ซาโลมอน และคณะแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกาจนมีบทความตีพิมพ์ในหนังสือ Buddhist Manuscripts in the
Schoyen Collection Volume 4 อุบาสิกาสุทธิสา ลาภเพิ่มทรัพย์
ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของสำนักพิมพ์ที่ประเทศอินเดีย
โดยได้รับการรับรองจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย Gautam Buddha University ประเทศอินเดีย
ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ทีมงานวิจัยรุ่นใหม่ของสถาบันฯ ที่นำโดย ดร.ชนิดา
จันทราศรีไศล บ.ศ.๙ กัลฯ ดารณี นันติวานิช
กัลฯ กิตติพงษ์ วงศ์อักษร
ไปเข้าร่วมการประชุมมหาขโรษฐีคลับในที่ประชุมนานาชาติ
ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มวิชาการที่รวมเฉพาะผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญภาษาคันธารีมารวมกันจากทั่วทุกมุมโลก และในเวลาเดียวกันนั้น นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย
๒ ท่าน คือ พระอาจารย์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺ โญ และ ดร.ณัฐปิยา สาระดำ
ยังได้มีโอกาสนำผลงานทางวิชาการไปนำเสนอในที่ประชุมนานาชาติ IABS ที่เมืองโตรอนโต
ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย ซึ่งก็ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีสำหรับพระอาจารย์เกียรติศักดิ์
กิตฺติปญฺโญ นั้น
ท่านยังผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านการอ่านและการแปลคัมภีร์จีนที่มหาวิทยาลัยเยล
(Yale University) ในช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมาด้วย
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยจะเป็นสถาบันที่มีนักวิจัยที่พร้อมสำหรับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพและมีเครือข่ายความร่วมมือที่มีคุณภาพยิ่งในอนาคต
และโดยเฉพาะในครั้งล่าสุด คือ
การได้รับเชิญให้เข้าร่วมเสนอผลงานวิชาการในงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ (International
Conference) ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก เมืองดันนิดิน
ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งเป็นงานที่มหาวิทยาลัยโอทาโกและองค์กรนักวิจัย The New Zealand Asian
Studies Society (NZASIA) ร่วมกันจัดขึ้น
ซึ่งในการนี้นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยก็ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานศึกษาวิจัยด้วยกัน
๓ ท่าน คือ
1 หนังสือคู่มือสมภารนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติธรรมโดยละเอียดจากคำสอนของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ตั้งแต่ครั้งที่ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสมณธรรมสมาทาน ถวายสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่ทรงรับสั่ง ต่อมาได้พิมพ์เป็นหนังสือถวายให้ทรงแจกจ่าย
2 ผลงานวิจัยเรื่อง "พระธรรมกายในหลักฐานทางโบราณคดีของไทย" นำเสนอเมื่อวันที่ ๖-๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในหัวข้อ Traditional Theravada Meditation ที่สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ ประเทศกัมพูชา
สำหรับผู้เขียนเองยังคงปลื้มปีติใจยิ่งกับการที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยของเราเพิ่งได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรต่าง
ๆ เช่น มหาวิทยาลัยมุมไบ ประเทศอินเดีย, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดย
Faculty of Asian Middle Eastern Studies, ความร่วมมือเบื้องต้นกับสถาบันวิจัยในจีนแผ่นดินใหญ่ที่เมืองซีอานและกรุงปักกิ่ง
ตลอดจนที่ประเทศเยอรมนี เป็นต้นซึ่งจะมีผลต่อการขยายผลการทำงานร่วมกันในแวดวงวิชาการที่กว้างขวางขึ้นหลาย
ๆ ด้านและเมื่อเร็ว ๆ นี้ (วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐) สถาบันฯ
ได้เปิดโอกาสให้ทีมงานวิจัยของสถาบันฯ
ไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ด้านอักษรพราหมีในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่มหาวิทยาลัยมุมไบ
ซึ่งกำลังส่งเสริมให้เกิดการฟื้นฟูองค์ความรู้
และสร้างผู้เรียนที่เป็นชาวท้องถิ่นแห่งดินแดนพุทธภูมิให้สว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง
ฯลฯ ในการนี้ทางสถาบันฯ ยังมอบหมายให้พระอาจารย์อดุลย์ จนฺทูปโม
เป็นตัวแทนของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยเดินทางไปมอบรางวัลหนังสือวิชาการด้านพระพุทธศาสนาดีเด่นแก่รองศาสตราจารย์
Dr.Anand Singh คณบดีแห่ง School of Buddhist Studies
and Civilization มหาวิทยาลัย Gautam Buddha แห่งประเทศอินเดีย
จากหนังสือเรื่อง “Dana : Reciprocity and Patronage in Buddhism” เพื่อเป็นการยกย่องและเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่ายทางวิชาการในแถบทวีปเอเชียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก
เป็นต้น
ที่จะลืมไม่ได้เลยคือ
การเพิ่มศักยภาพของสายงานด้าน Information Technology เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ต่อการทำงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยให้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและสาธารณชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น
ซึ่งนักวิชาการและผู้สนใจทั่วไปสามารถติดตามผลงานของสถาบันฯ
ได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นจาก Facebook หรือเว็บไซต์ของสถาบันฯ
หรือในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ฯลฯ หรือการให้การสนับสนุนส่งเสริมและยกระดับการศึกษาพระพุทธศาสนา ดังที่เห็นได้ชัดเจนในช่วง
๑๐
ปีมานี้กับมหาวิทยาลัยโอทาโกจากปีแรกที่มีการจัดการเรียนการสอนด้านพระพุทธศาสนาร่วมกันเพียงวิชาเดียว
(ทั้งยังต้องไปทำการสอนร่วมกับวิชา Hinduism ด้วย)
แต่เมื่อเวลาผ่านไป
ในปัจจุบันทางสภามหาวิทยาลัยโอทาโกได้อนุมัติให้ภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์สามารถทำการสอนในระดับปริญญาโท
(Master of Arts) ในปีการศึกษา ๒๐๑๘ (พ.ศ. ๒๕๖๑)
การมีความเคลื่อนไหวทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่องของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยดังที่กล่าวมาโดยสังเขปนี้
เป็นเพราะวิสัยทัศน์อันยาวไกลขององค์ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย
ที่ต้องการให้มีการศึกษารวบรวมองค์ความรู้และประวัติศาสตร์ของหลักฐานธรรมกายที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกให้เข้ามารวมกัน
เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงการมีอยู่จริงและการปฏิบัติให้เห็นผลได้จริงของวิชชาธรรมกายเป็นสำคัญ
ซึ่งด้วยความจำเป็นอันยิ่งยวดนี้ ทำให้เกิดผลงานชิ้นสำคัญที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา
คือ การสถาปนาอาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยขึ้นในที่สุดเป็นการฉลองครบ ๑๐๐
ปีแห่งการค้นพบวิชชาธรรมกายของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
โดยวัตถุประสงค์ของการสถาปนานั้น ก็เพื่อความชัดเจนในการอนุรักษ์คัมภีร์พุทธโบราณ
รวมทั้งร่องรอยประวัติและหลักฐานธรรมกายที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปให้บริบูรณ์ ฯลฯ
และใช้เป็นสถานที่ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างถาวร
ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงดำเนินการจัดหาทุนสนับสนุนในด้านอุปกรณ์
การบริหารจัดการต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ อาคารสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยนี้
ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของลูกศิษย์หลานศิษย์ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ทุกท่านทุกคนนับแต่นี้ไปอีกตราบนานเท่านาน
ในท้ายที่สุดนี้
ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านทุกท่าน นักสร้างบารมีทุกท่าน พุทธศาสนิกชนทุกท่าน
จงมีความสุขสวัสดี มีความองอาจกล้าหาญในการร่วมกันรักษามรดกแห่งวิชชาธรรมกายเอาไว้ตลอดไปเทอญ
ขอเจริญพร
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓๐)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:16
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: