หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓๖)
ร่องรอยธรรมกายในคาถาธรรมกายและพระธัมมกายาทิ (ต่อจากฉบับที่แล้ว)
ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวมาโดยตลอดแล้วว่า แม้ว่าหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) นั้น จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษา “หลักฐานธรรมกาย” ที่มาจากใบลานจารึกอักษรโบราณต่าง ๆ เป็นหลักก็จริง หากแต่เนื่องจากในมิติของการวิจัยในปัจจุบันที่มี “ปริมณฑลของการวิจัย” ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น มุ่งให้ความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกันด้วยศาสตร์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ ทำให้การศึกษาเรื่องหลักฐานธรรมกายนั้นมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน เสมือนดังการต่อภาพจิกซอว์ (Jigsaw) ที่มีสีสันน่าสนใจมากขึ้นดุจเดียวกัน
วัดศรีมงคล (วัดก๋ง) อ.ท่าวังผา จ.น่าน |
และเช่นเดียวกับกระบวนการวิจัยในปัจจุบันที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น การค้นพบคัมภีร์พระธัมมกายาทิของคณะทำงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยในปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ก็ดี หรือการค้นพบ “คาถาธรรมกาย” ครั้งหลังสุดในผืนแผ่นดินล้านนา คือ ที่วัดศรีมงคล (ก๋ง) จ.น่าน เมื่อราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ นั้น ได้เป็นอีกประจักษ์พยานที่ช่วยยืนยันเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เป็น “หลักฐานธรรมกาย” หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักฐานธรรมกายนั้น ได้ผสมผสานอยู่ใน “วิถีวัฒนธรรม” การดำรงชีวิตของผู้คนและเชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่นมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องนำมาอธิบายและเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง
คัมภีร์พระธัมมกายาทิ ฉบับเทพชุมนุม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) |
คาถาธรรมกาย จารึกโดยพระครูมงคลรังษี (หลวงปู่ก๋ง) วัดศรีมงคล จ.น่าน |
อนึ่ง ประเด็นเรื่องของความเชื่อมโยงกันของบทสวดคาถาธรรมกายที่พบที่วัดศรีมงคล (ก๋ง) นั้น มีเนื้อหาหรือสาระสำคัญที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ปรากฏในคัมภีร์พระธัมมกายาทิที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ที่ได้เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้วนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยกำลังสนใจศึกษาวิเคราะห์อย่างยิ่ง ทั้งนี้เป็นที่น่าสนใจว่า ความสอดคล้องกันดังกล่าวนั้นมิได้เป็นเพียงในด้านของ “สาระสำคัญ” หรือเนื้อหาของเอกสารทั้งสองเท่านั้น หากแต่ยังเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งว่าทั้ง “คัมภีร์พระธัมมกายาทิ” และบทสวดในคาถาธรรมกายที่วัดศรีมงคล (วัดก๋ง) นั้น ต่างก็ให้นัยถึง “การมีอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ตลอดจนพระคุณของพระองค์ในด้านต่าง ๆ (ซึ่งเชื่อมโยงมาจากการปฏิบัติธรรมภายใน) ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น¹ ทั้งนี้ ความสำคัญของการพรรณนาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ได้ถูกนำมาผสมผสานไว้ในคติความเชื่อของ “พิธีพุทธาภิเษก” หรือการทำให้พระพุทธเจ้านั้น “กลับมามีชีวิต” โดยผ่านบทสวดในคาถาธรรมกาย ซึ่งเป็นประเด็นคำถามที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เพราะเหตุใดเนื้อหาในบทสวดคาถาธรรมกายก็ดีหรือสาระสำคัญของคัมภีร์พระธัมมกายาทิก็ดีนั้น จึงต้องเป็นการกล่าวถึงส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ? เพราะเหตุใดเนื้อหาสาระของเอกสารสำคัญทั้งสองจึงต้องมุ่งเน้นถึงพระญาณของพระองค์ รวมทั้งมุ่งเน้นถึงการกล่าวสรรเสริญคุณของพระองค์อย่างมีนัยสำคัญ ? และเนื้อหาและสาระสำคัญอันเกี่ยวกับพระญาณของพระพุทธองค์หรือการสรรเสริญคุณของพระพุทธองค์ดังกล่าวนั้น มีความเกี่ยวพันกับคติความเชื่อเรื่อง “พระพุทธเจ้าองค์จริง” หรือ “พระพุทธเจ้าที่มีชีวิตจิตใจ” ของผืนแผ่นดินล้านนามากน้อยเพียงใด ? เป็นต้น ซึ่งประเด็นคำถามเหล่านี้ควรกล่าวได้ว่าเป็นประเด็นคำถามที่ท้าทายต่อการศึกษาวิจัยอย่างยิ่ง และแน่นอนที่สุดน่าจะเป็นประเด็นที่จะช่วยไขคำตอบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของ “หลักฐานธรรมกาย” ได้อย่างดีที่สุดประเด็นหนึ่งด้วย
ตำแหน่งบริเวณหน้าอกของพระพุทธรูปที่ใช้บรรจุหัวใจพระพุทธเจ้า |
หัวใจพระพุทธเจ้า (หัวใจประดับเพชรสร้างบรรจุในองค์พระ) |
ส่วนต่าง ๆ ของพระพุทธรูปประกอบด้วยธรรม ที่ถูกมองว่า พระพุทธรูปหรือพระพุทธองค์ คือ "พระธรรมกาย" |
ภาพแสดงลักษณะของ "พระธรรมกาย" ซึ่งสอดคล้องกับ "พระรูปกาย" ที่ปรากฎในคาถา |
ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอให้ทุกท่านมีความสมบูรณ์พร้อมด้วยมนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ ตลอดไปทุกภพทุกชาติ รู้แจ้งแทงตลอดในวิชชาธรรมกาย มีดวงปัญญาที่สว่างไสว เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกับพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายและได้มาร่วมกันเป็นทนายแก้ต่างให้แก่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย และขอให้สมความปรารถนาในสิ่งที่ดีงาม จงทุกประการเทอญ ขอเจริญพร
----------------------------------------------
¹ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในฉบับก่อนว่า ประเด็นสำคัญที่มีความสอดคล้องกันของเนื้อหาจาก "คาถาธรรมกาย" ที่พบที่วัดศรีมงคล (ก๋ง) จ.น่าน กับเนื้อหาที่ปรากฎใน คัมภีร์พระธัมมกายาทิ ที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) นั้น อยู่ที่การสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การเปรียบให้เห็นว่าส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายของพระพุทธองค์นั้นคือ "พระญาณ" อาทิ พระสัพพัญญุตญาณ คือ พระเศียร พระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ พระเกสา พระจตุตถฌาน คือ พระนลาฏ พระวชิรสมาปัตติญาณ คือ พระอุณาโลม ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ สมันตจักษุ พุทธจักษุ และธรรมจักษุ คือ พระเนตร มรรคผลญาณ (วิมุตติญาณ) คือ พระปราง โพธิปักขิยญาณ คือ พระทนต์ ส่วนพระทศพลญาณนั้น คือ กลางพระวรกาย เป็นต้น ซึ่งจุดที่เป็นสาระสำคัญในการสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ที่การที่ "พระธรรมกายคือลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" รวมถึงข้อความที่กล่าวว่าธรรมกายเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าและคำแนะนำให้โยคาวจรผู้ปรารถนา "สัพพัญญูพุทธภาวะ" ควรระลึกถึงเสมอนั้นไม่มีในอรรถกถา แต่มีในเรื่อง "ธมฺมกายสฺส อตฺถวณฺณนา" ของยอร์ช เซเดส์ ด้วย
²พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ.) สัมภาษณ์ F.Bizot นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงทางด้านพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ซึ่งได้ศึกษา "รูปแบบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรููปในประเทศกัมพูชา" เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ณ ที่ทำการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ วัดอุณาโลม กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดย F.Bizot กล่าวถึงเรื่องของพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูป เช่น อธิบายถึงการสวดคาถาธรรมกายของคณะสงฆ์โดยอาราธนาพระธรรมกายลงซ้อนกับพระพุทธรูป เพื่อให้พระพุทธรูปนั้นเปรียนเสมือนพระองค์จริงของพระสัมมสัมพุทธเจ้า ดูรายละเอียดจาก :http://www.youtube.com/watch?v=Yt_0aMOOp3k
³วรเมธ มาลาศาสตร์ นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผู้ช่วยนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ที่มีผลงานด้านวิชาการ บทความทางวิชาการ ที่ได้รับการยอมรับจากทางมหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนการศึกษาและวิจัยด้วย
¹ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในฉบับก่อนว่า ประเด็นสำคัญที่มีความสอดคล้องกันของเนื้อหาจาก "คาถาธรรมกาย" ที่พบที่วัดศรีมงคล (ก๋ง) จ.น่าน กับเนื้อหาที่ปรากฎใน คัมภีร์พระธัมมกายาทิ ที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) นั้น อยู่ที่การสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การเปรียบให้เห็นว่าส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายของพระพุทธองค์นั้นคือ "พระญาณ" อาทิ พระสัพพัญญุตญาณ คือ พระเศียร พระนิพพานเป็นอารมณ์ คือ พระเกสา พระจตุตถฌาน คือ พระนลาฏ พระวชิรสมาปัตติญาณ คือ พระอุณาโลม ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ สมันตจักษุ พุทธจักษุ และธรรมจักษุ คือ พระเนตร มรรคผลญาณ (วิมุตติญาณ) คือ พระปราง โพธิปักขิยญาณ คือ พระทนต์ ส่วนพระทศพลญาณนั้น คือ กลางพระวรกาย เป็นต้น ซึ่งจุดที่เป็นสาระสำคัญในการสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ที่การที่ "พระธรรมกายคือลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" รวมถึงข้อความที่กล่าวว่าธรรมกายเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าและคำแนะนำให้โยคาวจรผู้ปรารถนา "สัพพัญญูพุทธภาวะ" ควรระลึกถึงเสมอนั้นไม่มีในอรรถกถา แต่มีในเรื่อง "ธมฺมกายสฺส อตฺถวณฺณนา" ของยอร์ช เซเดส์ ด้วย
²พระครูวิเทศสุธรรมญาณ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ.) สัมภาษณ์ F.Bizot นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงทางด้านพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา ซึ่งได้ศึกษา "รูปแบบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรููปในประเทศกัมพูชา" เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ณ ที่ทำการสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ วัดอุณาโลม กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดย F.Bizot กล่าวถึงเรื่องของพิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูป เช่น อธิบายถึงการสวดคาถาธรรมกายของคณะสงฆ์โดยอาราธนาพระธรรมกายลงซ้อนกับพระพุทธรูป เพื่อให้พระพุทธรูปนั้นเปรียนเสมือนพระองค์จริงของพระสัมมสัมพุทธเจ้า ดูรายละเอียดจาก :http://www.youtube.com/watch?v=Yt_0aMOOp3k
³วรเมธ มาลาศาสตร์ นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผู้ช่วยนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ที่มีผลงานด้านวิชาการ บทความทางวิชาการ ที่ได้รับการยอมรับจากทางมหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนการศึกษาและวิจัยด้วย
Cr. นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓๖)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
23:51
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: