วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้ เราจะทำอะไรกันดี ?
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้
เราจะทำอะไรกันดี ?
แม้ในยามที่สรรพสัตว์ต่างถูกปกคลุมด้วยความมืดมนอนธการแห่งกิเลสทั้งหลาย แต่แสงแห่งพระสัทธรรมของพระบรมศาสดาก็มิเคยหยุดทำหน้าที่ให้ความสว่างแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตามเลย ยังคงเป็นดั่งดวงตะวันและจันทราที่คอยให้ความอบอุ่นชุ่มเย็นและขจัดความมืดมิดให้แก่โลกหล้า ฉะนั้น
ในวันเพ็ญเดือน ๘ หรือที่เรียกว่า “วันอาสาฬหบูชา (วันพระธรรม)” ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่จะถึงนี้ นับเป็นอีกวันหนึ่งที่เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะได้มาร่วมกันตรึกระลึกนึกถึงพระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งบังเกิดมีขึ้นครั้งแรกในสมัยพุทธกาล หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมและเสวยวิมุตติสุขได้ราว ๗ สัปดาห์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี
ในครั้งนั้น มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๔ ประการด้วยกัน คือ
๑. พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”
๒. พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
๓. มีพระสงฆ์เกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก
๔. มีพระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
นอกจากนี้ รุ่งอรุณถัดจากวันอาสาฬหบูชา คือ ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (ปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฎาคม) ก็เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง คือ “วันเข้าพรรษา” ซึ่งเป็นวันที่บรรดาพุทธบุตรแก้วต่างตั้งใจแน่แน่วตลอดไตรมาส อธิษฐานพรรษาที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อช่วยตนตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายในสากลโลกให้พ้นไปจากการเป็นบ่าวเป็นทาสของอวิชชา คือ ความไม่รู้
อนึ่ง เพื่อเป็นเนติแบบแผนและทิฏฐานุคติอันดีในการบำเพ็ญบุญกุศลเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี จึงได้จัดบุญพิธีมากมาย อาทิ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน พิธีถวายโคมประทีปเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา และร่วมกันสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรให้ครบ ๑,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ จบ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ จึงขอเชิญชวนผู้มีบุญและมีหัวใจยอดกัลยาณมิตรทุกท่านมาร่วมเป็นหนึ่งในการสั่งสมบุญทั้งหลายข้างต้นในวันอาสาฬหบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้ ให้สมกับที่คุณครูไม่ใหญ่หมั่นพร่ำสอนเสมอว่า “เราเกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี” เพราะบุญแม้เพียงน้อย หากสั่งสมบ่อยมากเข้า ก็สามารถเต็มเปี่ยม และอำนวยความสุขความสำเร็จให้เราทั้งหลายได้ ดังวาระพระบาลีในขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาด ๆ) ได้ ฉันใด
ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ ฉันนั้น ฯ
(ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๒/๑๙/๒)
ในอวสานกาลสมัยนี้ ผู้เขียนก็ขอตั้งจิตอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญทุกท่าน ซึ่งมีหัวใจแข็งแกร่งไม่หวั่นไหวต่อกิเลสและความสะดวกสบายทั้งหลายในทางโลก มาสร้างบารมีร่วมกันอย่างเต็มที่เต็มกำลังเสมอมา เสมือนดั่งสิเนรุบรรพตที่มิหวั่นไหวต่อการโยกคลอนแผดเผาแห่งแรงลมและแสงแดด ฉะนั้น ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยอันนับประมาณมิได้ ขอความสุขสวัสดีมีชัยจงบังเกิดมีแก่ทุก ๆ ท่าน มา ณ โอกาสนี้
เรื่อง : พระมหาศุภณัฐ จนฺทชโย ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๙ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/06/novice0762.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๙ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๙ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ความสงบสุข ณ ไอซ์แลนด์
- การบวชมีอานิสงส์มากขนาดไหน ? อานิสงส์ของการบวชที่ส่งผลยาวนานเป็นกัป ๆ คืออะไร ?
- บันทึกจากหัวใจลูกผู้ชาย
- วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้ เราจะทำอะไรกันดี ?
- ขอเป็นกำลังใจให้พุทธบุตรภาคใต้ต่อไป
- เล่นหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิตไม่คิดได้อย่างไร
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๘)
- สันติภาพในเมืองแห่งทูตสวรรค์
- ชวนคนทำความดีนั้น ดีอย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๙)
- อาชีพ ๕ อย่าง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้าม
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๖ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๗ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๘ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบันที่ ๑๙๙ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปี (ฉบับ PDF) ได้ที่นี่
วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้ เราจะทำอะไรกันดี ?
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
20:21
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: