อย่างไรคือโกหก
ขอบคุณภาพจากเพจการบ้าน |
- พูดเรื่องไม่จริงตรงเลย เรียกว่าแต่งเรื่องขึ้นเอง
- ลงทุนทําอาการกล่าวเป็นคําสาบาน เช่นว่า ถ้าเรื่องที่พูดไม่จริง ให้มีอันตรายต่างๆ เกิดขึ้น
- ทําเล่ห์กระเท่ห์
เช่น สร้างเหตุการณ์และตัวละครให้ดูสมจริงสมจัง
- ใช้ถ้อยคํามายา
หรือการแสร้งทําด้วยกิริยาอาการ เช่น ร้องไห้บ่นรําพันให้ดูเป็นเรื่องจริง
-
ใช้เลศนัย อาจเป็นการแสดงด้วยคําพูด กิริยาอาการให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด
-
พูดเสริมความ เรื่องจริงมีเล็กน้อย เล่าขยายความเพิ่มเติม
ให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตยิ่งขึ้น
-
พูดอําความ เรื่องจริงมีมาก คือเป็นเรื่องใหญ่ นํามาพูดให้เป็นเรื่องเล็ก
การรับคําแล้วไม่กระทําตามที่ตกลงไว้ ถือเป็นอนุโลมมุสา ส่วนเรื่องที่พูดกันตามธรรมเนียมแบบแผน เช่น ใจไม่ได้รู้สึกนับถือเลย แต่เขียนจดหมายว่า... ที่เคารพ หรือ... ที่นับถือ หรือด้วยความรักและคิดถึงไม่เรียกว่า กล่าวมุสา เป็นแต่เพียงทําตามธรรมเนียม
การเล่านิยาย นิทาน เล่นละคร ภาพยนตร์ไม่ถือว่าเป็นมุสาเพราะผู้ฟัง ผู้ชม รู้ว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องไม่จริง แต่ที่ว่ากันว่าพวกนักแสดงทั้งหลายทําบาป บางทีตายแล้วต้องตกนรก เป็นเพราะบาปกรรมในเรื่องใดนั้น บาปที่แท้จริงอยู่ตรงจุดที่นักแสดงนั้นชักชวนให้ผู้ดูผู้ชม หลงใหลอยู่ในเรื่องกามคุณ อารมณ์ รักใคร่พอใจหลงใหลมัวเมาอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส บาปอยู่ตรงนี้
การพูดพลั้งเผลอ พูดโดยสําคัญผิด ก็ไม่นับเป็นกล่าวมุสา เช่น เมื่อถูกถามว่าจะไปไหน ก็ตอบว่า “เปล่า จะไปโน่นไปนี่” คําว่า “เปล่า” ที่กล่าวนั้นไม่ถือเป็นมุสาวาท หรือกล่าวโดยสําคัญผิด เช่น เห็นสิ่งของของคนๆ หนึ่ง อยู่ในบ้านของอีกคนหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นการขโมยเอามา ก็กล่าวไปตามนั้น ทั้งที่เป็นการซื้อขายหรือการให้กันมาดังนี้ เป็นต้น ก็ไม่ถือเป็นมุสาวาท
คนที่กล่าวคํามุสา จะมีโทษในปัจจุบันทันตาเห็นคือ ผู้คนที่รู้จักพบเห็นจะหมดความรักใคร่นับถือ ไม่มีใครเชื่อถ้อยฟังคํา แม้จะพูดจริงครั้งใด ผู้ฟังก็จะคลางแคลงพลอยไม่เชื่อถือไปทั้งหมด ไม่มีใครอยากเป็นมิตรด้วย ความเป็นเพื่อนเป็นมิตรนั้นต่างฝ่ายต่างต้องมีความจริงใจต่อกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกล่าวมุสาเท่ากับขาดความจริงใจ มิตรภาพก็ขาดสะบั้นลง บางครั้งไม่ใช่การมุสา เป็นเพียงนําข้อบกพร่องของอีกฝ่าย กล่าวประจานลับหลัง ฝ่ายถูกประจานทราบเข้า เห็นความไม่จริงใจก็เป็นสาเหตุให้ไมตรีจิตขาดสิ้นสุดลง
กรณีข้าพเจ้าเคยพบกับตนเอง จากเพื่อนที่เคยรักใคร่กันมานาน ข้าพเจ้าเลิกคบทันที รายแรกเป็นลูกสาวนายพล คบกันมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วยกัน จนรับราชการในกรมเดียวกันอีกถึง ๑๐ ปี สนิทสนมกันมากเป็นที่รู้กันทั่วไปในบรรดาเพื่อนร่วมงาน ครั้นเมื่อข้าพเจ้าหันมาสนใจช่วยเหลือกิจการพระศาสนา สามีข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย แกล้งทําตนเสเพลเพื่อเรียกร้องความสนใจ เพื่อนรักซึ่งน่าจะเข้าใจและเห็นใจกลับพูดจาทับถมลับหลัง ข้าพเจ้าทราบข่าวเข้า ได้เลิกคบด้วยเด็ดขาดมาจนกระทั่งทุกวันนี้
รายที่สอง เป็นเพื่อนสนใจธรรมปฏิบัติด้วยกัน ขนาดมีผลการปฏิบัติธรรมเป็นที่เชื่อถือได้ ชอบพอรักใคร่กันดีกับข้าพเจ้า อาศัยความสนิทสนมกันนี้เอง เมื่อเขาต้องการตําหนิติเตียนการกระทําของคนที่ไม่ถูกใจ จึงอ้างว่าได้ปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าแล้ว เห็นควรว่ากล่าวฝ่ายนั้นอย่างนั้นอย่างนี้ พลอยให้ฝ่ายที่ถูกว่ากล่าว โกรธแค้นข้าพเจ้าจนไม่ยอมพูดด้วยมากระทั่งปัจจุบัน ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลย แม้ผู้เป็นเพื่อนจะมาขออนุญาตภายหลังว่าขอใช้ชื่อข้าพเจ้าไปอ้างเพื่อติเตียนการกระทําของฝ่ายนั้น ก็เป็นเรื่องสายไปทุกอย่างแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ ชี้แจงไปกลับถูกหาว่าแก้ตัว ไม่มีใครยอมเชื่อ ทั้งจะทําให้เพื่อนที่อ้างชื่อข้าพเจ้าได้รับความเสียหาย กลายเป็นคนปฏิบัติธรรมที่ไม่รักษาศีลข้อ ๔ ข้าพเจ้าจึงต้องนิ่งเฉย กลายเป็นแพะรับบาป เมื่อได้รับบทเรียนดังนี้แล้วจึงจําเป็นต้องเลิกใกล้ชิดด้วย พยายามออกห่างให้มากที่สุด ไม่พบเห็นได้เป็นดีที่สุด นี่โทษของการกล่าวมุสาวาทในปัจจุบันทันตาเห็น แม้เพื่อนรักก็กลับชังกันได้
โทษของการกล่าวมุสา ในอนาคตหลังจากตายแล้ว ย่อมไปสู่อบายภูมิ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน เกิดชาติใดๆ ไม่มีใครเชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด โทษที่เบาที่สุด เวลาเกิดเป็นมนุษย์อีกจะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ ทําความดีงามสิ่งใดจะถูกผู้อื่นโกงไปเป็นของเขาจนหมดไม่มีใครจริงใจด้วย
อานิสงส์ของการเว้นจากการพูดมุสา มีมากมายหลายประการในปัจจุบันชาติ ทําให้ไม่มีความหวาดระแวงว่าจะมีผู้ใดกล่าวร้ายหรือจับผิด เพราะไม่มีความผิดให้จับ มีชีวิตอย่างสงบสุข กล่าววาจาองอาจกล้าหาญ ไม่มีเวรภัยกับผู้ใด เป็นที่รักใคร่เชื่อถือของผู้คน ได้รับความไว้วางใจในกิจการงานทั้งปวง
สําหรับชาติหน้า ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ จะมี
- อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ผ่องใส
การรับคําแล้วไม่กระทําตามที่ตกลงไว้ ถือเป็นอนุโลมมุสา ส่วนเรื่องที่พูดกันตามธรรมเนียมแบบแผน เช่น ใจไม่ได้รู้สึกนับถือเลย แต่เขียนจดหมายว่า... ที่เคารพ หรือ... ที่นับถือ หรือด้วยความรักและคิดถึงไม่เรียกว่า กล่าวมุสา เป็นแต่เพียงทําตามธรรมเนียม
การเล่านิยาย นิทาน เล่นละคร ภาพยนตร์ไม่ถือว่าเป็นมุสาเพราะผู้ฟัง ผู้ชม รู้ว่าเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องไม่จริง แต่ที่ว่ากันว่าพวกนักแสดงทั้งหลายทําบาป บางทีตายแล้วต้องตกนรก เป็นเพราะบาปกรรมในเรื่องใดนั้น บาปที่แท้จริงอยู่ตรงจุดที่นักแสดงนั้นชักชวนให้ผู้ดูผู้ชม หลงใหลอยู่ในเรื่องกามคุณ อารมณ์ รักใคร่พอใจหลงใหลมัวเมาอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส บาปอยู่ตรงนี้
การพูดพลั้งเผลอ พูดโดยสําคัญผิด ก็ไม่นับเป็นกล่าวมุสา เช่น เมื่อถูกถามว่าจะไปไหน ก็ตอบว่า “เปล่า จะไปโน่นไปนี่” คําว่า “เปล่า” ที่กล่าวนั้นไม่ถือเป็นมุสาวาท หรือกล่าวโดยสําคัญผิด เช่น เห็นสิ่งของของคนๆ หนึ่ง อยู่ในบ้านของอีกคนหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นการขโมยเอามา ก็กล่าวไปตามนั้น ทั้งที่เป็นการซื้อขายหรือการให้กันมาดังนี้ เป็นต้น ก็ไม่ถือเป็นมุสาวาท
คนที่กล่าวคํามุสา จะมีโทษในปัจจุบันทันตาเห็นคือ ผู้คนที่รู้จักพบเห็นจะหมดความรักใคร่นับถือ ไม่มีใครเชื่อถ้อยฟังคํา แม้จะพูดจริงครั้งใด ผู้ฟังก็จะคลางแคลงพลอยไม่เชื่อถือไปทั้งหมด ไม่มีใครอยากเป็นมิตรด้วย ความเป็นเพื่อนเป็นมิตรนั้นต่างฝ่ายต่างต้องมีความจริงใจต่อกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกล่าวมุสาเท่ากับขาดความจริงใจ มิตรภาพก็ขาดสะบั้นลง บางครั้งไม่ใช่การมุสา เป็นเพียงนําข้อบกพร่องของอีกฝ่าย กล่าวประจานลับหลัง ฝ่ายถูกประจานทราบเข้า เห็นความไม่จริงใจก็เป็นสาเหตุให้ไมตรีจิตขาดสิ้นสุดลง
กรณีข้าพเจ้าเคยพบกับตนเอง จากเพื่อนที่เคยรักใคร่กันมานาน ข้าพเจ้าเลิกคบทันที รายแรกเป็นลูกสาวนายพล คบกันมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วยกัน จนรับราชการในกรมเดียวกันอีกถึง ๑๐ ปี สนิทสนมกันมากเป็นที่รู้กันทั่วไปในบรรดาเพื่อนร่วมงาน ครั้นเมื่อข้าพเจ้าหันมาสนใจช่วยเหลือกิจการพระศาสนา สามีข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย แกล้งทําตนเสเพลเพื่อเรียกร้องความสนใจ เพื่อนรักซึ่งน่าจะเข้าใจและเห็นใจกลับพูดจาทับถมลับหลัง ข้าพเจ้าทราบข่าวเข้า ได้เลิกคบด้วยเด็ดขาดมาจนกระทั่งทุกวันนี้
รายที่สอง เป็นเพื่อนสนใจธรรมปฏิบัติด้วยกัน ขนาดมีผลการปฏิบัติธรรมเป็นที่เชื่อถือได้ ชอบพอรักใคร่กันดีกับข้าพเจ้า อาศัยความสนิทสนมกันนี้เอง เมื่อเขาต้องการตําหนิติเตียนการกระทําของคนที่ไม่ถูกใจ จึงอ้างว่าได้ปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าแล้ว เห็นควรว่ากล่าวฝ่ายนั้นอย่างนั้นอย่างนี้ พลอยให้ฝ่ายที่ถูกว่ากล่าว โกรธแค้นข้าพเจ้าจนไม่ยอมพูดด้วยมากระทั่งปัจจุบัน ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องอะไรด้วยเลย แม้ผู้เป็นเพื่อนจะมาขออนุญาตภายหลังว่าขอใช้ชื่อข้าพเจ้าไปอ้างเพื่อติเตียนการกระทําของฝ่ายนั้น ก็เป็นเรื่องสายไปทุกอย่างแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ ชี้แจงไปกลับถูกหาว่าแก้ตัว ไม่มีใครยอมเชื่อ ทั้งจะทําให้เพื่อนที่อ้างชื่อข้าพเจ้าได้รับความเสียหาย กลายเป็นคนปฏิบัติธรรมที่ไม่รักษาศีลข้อ ๔ ข้าพเจ้าจึงต้องนิ่งเฉย กลายเป็นแพะรับบาป เมื่อได้รับบทเรียนดังนี้แล้วจึงจําเป็นต้องเลิกใกล้ชิดด้วย พยายามออกห่างให้มากที่สุด ไม่พบเห็นได้เป็นดีที่สุด นี่โทษของการกล่าวมุสาวาทในปัจจุบันทันตาเห็น แม้เพื่อนรักก็กลับชังกันได้
โทษของการกล่าวมุสา ในอนาคตหลังจากตายแล้ว ย่อมไปสู่อบายภูมิ นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน เกิดชาติใดๆ ไม่มีใครเชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด โทษที่เบาที่สุด เวลาเกิดเป็นมนุษย์อีกจะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ ทําความดีงามสิ่งใดจะถูกผู้อื่นโกงไปเป็นของเขาจนหมดไม่มีใครจริงใจด้วย
อานิสงส์ของการเว้นจากการพูดมุสา มีมากมายหลายประการในปัจจุบันชาติ ทําให้ไม่มีความหวาดระแวงว่าจะมีผู้ใดกล่าวร้ายหรือจับผิด เพราะไม่มีความผิดให้จับ มีชีวิตอย่างสงบสุข กล่าววาจาองอาจกล้าหาญ ไม่มีเวรภัยกับผู้ใด เป็นที่รักใคร่เชื่อถือของผู้คน ได้รับความไว้วางใจในกิจการงานทั้งปวง
สําหรับชาติหน้า ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ จะมี
- อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ผ่องใส
- พูดจาไพเราะ
มีน้ำเสียงดี
-
ปาก ฟัน เหงือก สวยงามเป็นระเบียบ ไม่มีโรคภัยเกี่ยวกับอวัยวะส่วนนี้
มีสภาพคงทนแข็งแรง
-
ผิวพรรณ หน้าตา ร่างกายดีสมส่วนบริบูรณ์แข็งแรง
-
ไม่มีกลิ่นปาก บางทีมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
-
พูดสิ่งใดเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป มีวาจาสิทธิ์ พูดเกี่ยวกับเรื่องใด
มักเกิดเป็นจริงตามนั้น
-
การพูดจาน่าฟัง มีคนชอบฟัง ไม่เป็นใบ้ ติดอ่าง
-
ริมฝีปากบาง แดงระเรื่อ สวยงามกว่าคนธรรมดาทั่วไป
ก่อนจบเรื่องศีลข้อที่ ๔ ข้าพเจ้าใคร่กล่าวถึงน้ำหนักบาปกรรม ของผู้กระทําเพิ่มเติมไว้ในที่นี้ ถ้าการกล่าวคํามุสานั้นทําให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น การกระทํานั้นมีโทษน้อย เช่น แพทย์กล่าวมุสาต่อคนไข้ว่าอาการโรคไม่ร้ายแรง ทั้งที่เป็นโรคร้ายแรง เพื่อให้คนไข้มีกําลังใจรักษาตัว หรือ ประคองศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้จิตของผู้นั้นผ่องใสเบิกบาน เช่น ญาติผู้ชราของเราเลื่อมใสที่ได้ใส่บาตรต่อพระภิกษุที่ท่านเลื่อมใส ท่านกล่าวชมเชยพระภิกษุนั้น เราก็ต้องพลอยพูดคล้อยตามไปด้วย ทั้งที่เป็นคํามุสา เพราะเราทราบพฤติการณ์ของพระภิกษุอลัชชีรูปนั้นดี คํามุสานี้มีโทษน้อย เพราะไม่ทําลายศรัทธาให้สิ้นลง
คํามุสามีโทษมากน้อยขึ้นอยู่กับ น้ำหนักโทษที่เกิดขึ้นต่อผู้อื่นและตัวผู้ที่เรากล่าวมุสาด้วย เช่น ทําให้ผู้เชื่อถือเสียผลประโยชน์มาก โทษก็มากตาม และถ้าผู้เสียหายเป็นผู้มีคุณธรรมสูงมาก คนทําบาปนั้นก็มีโทษเพิ่มพูนยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
อย่างเช่น กรณีของวัดพระธรรมกาย ที่ถูกสื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ซึ่งพากันเชื่อถือบุคคลอันธพาลที่เต็มไปด้วยแรงอิจฉาริษยา อาฆาตยุยง พากันเขียนข่าวโจมตีให้ร้ายในกรณีที่ไม่มีมูลความจริงบ้าง ในกรณีมีความจริงอย่างหนึ่งบิดเบือนให้ผู้คนมองเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่งบ้าง ทําให้เสียหายต่อทั้งผู้มีคุณธรรมอันบริสุทธิ์ด้วย ผู้หวังทําประโยชน์ให้มหาชนด้วย และยังทําลายศรัทธาของราษฎรนับจํานวนไม่ถ้วนที่หลงเชื่อทราบข่าว เกิดความรังเกียจไม่ยอมไปทําทาน รักษาศีล เจริญภาวนาที่วัดพระธรรมกาย พลอยให้รังเกียจไปถึงวัดและพระภิกษุสงฆ์ในที่อื่นๆ เท่ากับสื่อมวลชนที่โง่เขลาเหล่านี้ปิดกั้นการสร้างบารมีของผู้คน แถลงข่าวออกไปโดยไม่สอบถามข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้
บาปของผู้คนที่ทําเรื่องที่กล่าวนี้จึงไม่สามารถคํานวณโทษได้ ทําให้เกิดผลร้ายต่อชนจํานวนมาก ต่องานของพระศาสนา และความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
เรื่องความมั่นคงของชาติบ้านเมืองนี้เป็นเรื่องจริง เมื่อผู้คนรังเกียจพระภิกษุสงฆ์เสียแล้ว ไม่ว่าจะเริ่มที่พระภิกษุองค์ใดก็ตาม คนก็จะพาลไม่สนใจเรื่องของศาสนา จะเหมาเอาว่าล้วนแต่มีเล่ห์เหลี่ยมบังหน้า เมื่อไม่สนใจงานศาสนา ก็ไม่สนใจศึกษาหลักธรรมคําสั่งสอนและปฏิบัติตาม เมื่อนั้นผู้คนก็จะประพฤติแต่เรื่องผิดศีลธรรม บ้านเมืองนั้นก็นับว่าจะพบกับความวิบัติด้วยเภทภัยอันตรายต่างๆ
ก่อนจบเรื่องศีลข้อที่ ๔ ข้าพเจ้าใคร่กล่าวถึงน้ำหนักบาปกรรม ของผู้กระทําเพิ่มเติมไว้ในที่นี้ ถ้าการกล่าวคํามุสานั้นทําให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น การกระทํานั้นมีโทษน้อย เช่น แพทย์กล่าวมุสาต่อคนไข้ว่าอาการโรคไม่ร้ายแรง ทั้งที่เป็นโรคร้ายแรง เพื่อให้คนไข้มีกําลังใจรักษาตัว หรือ ประคองศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้จิตของผู้นั้นผ่องใสเบิกบาน เช่น ญาติผู้ชราของเราเลื่อมใสที่ได้ใส่บาตรต่อพระภิกษุที่ท่านเลื่อมใส ท่านกล่าวชมเชยพระภิกษุนั้น เราก็ต้องพลอยพูดคล้อยตามไปด้วย ทั้งที่เป็นคํามุสา เพราะเราทราบพฤติการณ์ของพระภิกษุอลัชชีรูปนั้นดี คํามุสานี้มีโทษน้อย เพราะไม่ทําลายศรัทธาให้สิ้นลง
คํามุสามีโทษมากน้อยขึ้นอยู่กับ น้ำหนักโทษที่เกิดขึ้นต่อผู้อื่นและตัวผู้ที่เรากล่าวมุสาด้วย เช่น ทําให้ผู้เชื่อถือเสียผลประโยชน์มาก โทษก็มากตาม และถ้าผู้เสียหายเป็นผู้มีคุณธรรมสูงมาก คนทําบาปนั้นก็มีโทษเพิ่มพูนยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
อย่างเช่น กรณีของวัดพระธรรมกาย ที่ถูกสื่อมวลชนโดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ซึ่งพากันเชื่อถือบุคคลอันธพาลที่เต็มไปด้วยแรงอิจฉาริษยา อาฆาตยุยง พากันเขียนข่าวโจมตีให้ร้ายในกรณีที่ไม่มีมูลความจริงบ้าง ในกรณีมีความจริงอย่างหนึ่งบิดเบือนให้ผู้คนมองเห็นเป็นอีกอย่างหนึ่งบ้าง ทําให้เสียหายต่อทั้งผู้มีคุณธรรมอันบริสุทธิ์ด้วย ผู้หวังทําประโยชน์ให้มหาชนด้วย และยังทําลายศรัทธาของราษฎรนับจํานวนไม่ถ้วนที่หลงเชื่อทราบข่าว เกิดความรังเกียจไม่ยอมไปทําทาน รักษาศีล เจริญภาวนาที่วัดพระธรรมกาย พลอยให้รังเกียจไปถึงวัดและพระภิกษุสงฆ์ในที่อื่นๆ เท่ากับสื่อมวลชนที่โง่เขลาเหล่านี้ปิดกั้นการสร้างบารมีของผู้คน แถลงข่าวออกไปโดยไม่สอบถามข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้
บาปของผู้คนที่ทําเรื่องที่กล่าวนี้จึงไม่สามารถคํานวณโทษได้ ทําให้เกิดผลร้ายต่อชนจํานวนมาก ต่องานของพระศาสนา และความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
เรื่องความมั่นคงของชาติบ้านเมืองนี้เป็นเรื่องจริง เมื่อผู้คนรังเกียจพระภิกษุสงฆ์เสียแล้ว ไม่ว่าจะเริ่มที่พระภิกษุองค์ใดก็ตาม คนก็จะพาลไม่สนใจเรื่องของศาสนา จะเหมาเอาว่าล้วนแต่มีเล่ห์เหลี่ยมบังหน้า เมื่อไม่สนใจงานศาสนา ก็ไม่สนใจศึกษาหลักธรรมคําสั่งสอนและปฏิบัติตาม เมื่อนั้นผู้คนก็จะประพฤติแต่เรื่องผิดศีลธรรม บ้านเมืองนั้นก็นับว่าจะพบกับความวิบัติด้วยเภทภัยอันตรายต่างๆ
Cr. อุบาสิกาถวิล(บุญทรง) วัติรางกูล จากความทรงจำ เล่ม ๒ บทที่ ๒๔
อย่างไรคือโกหก
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
04:51
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: