แผ่นดินเรืองรอง ยุคทองแห่งการบวชพระ
แผ่นดินเรืองรอง ยุคทองแห่งการบวชพระ
ศรีลังกา...ดินแดนเพชรจรัสแสงแห่งวงการพระพุทธศาสนาในอดีตช่วงราว ๒๕๐ กว่าปีก่อนนั้น จะมีสักกี่ท่านที่รู้ว่า ชาวศรีลังกาต้องฝ่าฟันภัยศาสนา อย่างวิกฤตที่สุดถึงขั้นสูญสิ้นนักบวชสืบทอดกันทีเดียว ทั้งนี้เพราะภัยจากชาวต่างชาติและศาสนาอื่น ที่เข้ามาย่ำยีพุทธศาสนาทำลายวัดวาอาราม ซ้ำยังถูกกษัตริย์ที่เป็นมิจฉาทิฐินับถือต่างศาสนา ใช้อำนาจจับสึกพระภิกษุและเผาพระไตรปิฎกไปเสียสิ้น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีพระภิกษุเหลือแม้สักเพียงรูปเดียว คงเหลืออยู่ก็แต่สามเณรไม่กี่รูป หนึ่งในสามเณรเหล่านั้น มีสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อสามเณรสรณังกร ท่านได้จุดประกายการบวชพระจนทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองยิ่งกว่าเดิม
สามเณรสรณังกร เป็นบุตรอำมาตย์ ถือกำเนิด เมื่อพ.ศ. ๒๒๔๒ ที่หมู่บ้านเวฬิวิตะ แขวงเมืองตุมปาเณ เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ก็บวชเป็นสามเณร ร่ำเรียนศึกษาจนแตกฉานภาษาบาลี และอุทิศตนกับงานเผยแผ่พระศาสนา ผู้คนมักจะเรียกขานคณะของท่าน ว่า "คณะสรณังกรสมาคม"
สามเณรสรณังกร เป็นบุตรอำมาตย์ ถือกำเนิด เมื่อพ.ศ. ๒๒๔๒ ที่หมู่บ้านเวฬิวิตะ แขวงเมืองตุมปาเณ เมื่อท่านอายุได้ ๑๖ ปี ก็บวชเป็นสามเณร ร่ำเรียนศึกษาจนแตกฉานภาษาบาลี และอุทิศตนกับงานเผยแผ่พระศาสนา ผู้คนมักจะเรียกขานคณะของท่าน ว่า "คณะสรณังกรสมาคม"
ศรีลังกาส่งราชทูตมาขอพระไทย
ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
หลังจากพระพุทธศาสนาทรุดโทรมมานานเพราะหมดสิ้นพระภิกษุ สามเณรสรณังกรคิดว่า "เราน่าจะได้พระภิกษุจากต่างประเทศมาอุปสมบทแก่กุลบุตรเพื่อสืบต่อสมณวงศ์ในแผ่นดิน" ครั้นปี พ.ศ. ๒๒๘๓ ในสมัยของพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะ สามเณรสรณังกรซึ่งในตอนนั้นมีอายุมากแล้ว ได้ทูลแนะนำพระราชาให้ส่งราชทูตไปขอพระภิกษุจากต่างประเทศมาให้การอุปสมบทกุลบุตร พระราชาทรงเห็นชอบตามนั้น ครั้นทรงทราบข่าวจากพวกพ่อค้าชาวฮอลันดาว่า ในตอนนี้ เห็นจะมีแต่กรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ที่พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งกว่าประเทศอื่น ครั้นสืบทราบชัดเจนแล้ว ก็ไม่ทรงรอช้า ทรงมีรับสั่งให้ราชทูตโดยสารติดเรือไปกับพวกพ่อค้าฮอลันดามุ่งหน้าไปเมืองอยุธยาทันที
ราชทูตมาถึงเมืองไทยได้ไม่กี่วัน ก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าศรีวิชัยสวรรคตแล้ว เลยต้องรีบกลับไปตั้งหลักที่ศรีลังกาใหม่ เพราะไม่แน่ใจว่า พระราชาองค์ใหม่จะทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในพุทธศาสนาหรือไม่ ครั้นได้ทราบข่าวดีว่า กษัตริย์องค์ใหม่ทรงเห็นชอบกับการฟื้นฟูสมณวงศ์ในครั้งนี้ และทรงอาราธนาให้สามเณรสรณังกรแต่งพระราชสาส์นเป็นภาษาบาลี อีกทั้งยังรับสั่งให้เพิ่มคณะราชทูตให้มากขึ้นกว่าเดิม คณะทูตจึงเดินทางมาเมืองสยามอีกครั้งจนเจรจาได้สำเร็จ จากนั้นพระเจ้าบรมโกศทรงโปรดให้อาราธนาพระอุบาลีเถระแห่งวัดธรรมาราม ผู้แตกฉานพระไตรปิฎกและวิปัสสนาธุระ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตในภารกิจอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้
หลังจากพระพุทธศาสนาทรุดโทรมมานานเพราะหมดสิ้นพระภิกษุ สามเณรสรณังกรคิดว่า "เราน่าจะได้พระภิกษุจากต่างประเทศมาอุปสมบทแก่กุลบุตรเพื่อสืบต่อสมณวงศ์ในแผ่นดิน" ครั้นปี พ.ศ. ๒๒๘๓ ในสมัยของพระเจ้าศรีวิชัยราชสิงหะ สามเณรสรณังกรซึ่งในตอนนั้นมีอายุมากแล้ว ได้ทูลแนะนำพระราชาให้ส่งราชทูตไปขอพระภิกษุจากต่างประเทศมาให้การอุปสมบทกุลบุตร พระราชาทรงเห็นชอบตามนั้น ครั้นทรงทราบข่าวจากพวกพ่อค้าชาวฮอลันดาว่า ในตอนนี้ เห็นจะมีแต่กรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ที่พระพุทธศาสนาเจริญยิ่งกว่าประเทศอื่น ครั้นสืบทราบชัดเจนแล้ว ก็ไม่ทรงรอช้า ทรงมีรับสั่งให้ราชทูตโดยสารติดเรือไปกับพวกพ่อค้าฮอลันดามุ่งหน้าไปเมืองอยุธยาทันที
ราชทูตมาถึงเมืองไทยได้ไม่กี่วัน ก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าศรีวิชัยสวรรคตแล้ว เลยต้องรีบกลับไปตั้งหลักที่ศรีลังกาใหม่ เพราะไม่แน่ใจว่า พระราชาองค์ใหม่จะทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในพุทธศาสนาหรือไม่ ครั้นได้ทราบข่าวดีว่า กษัตริย์องค์ใหม่ทรงเห็นชอบกับการฟื้นฟูสมณวงศ์ในครั้งนี้ และทรงอาราธนาให้สามเณรสรณังกรแต่งพระราชสาส์นเป็นภาษาบาลี อีกทั้งยังรับสั่งให้เพิ่มคณะราชทูตให้มากขึ้นกว่าเดิม คณะทูตจึงเดินทางมาเมืองสยามอีกครั้งจนเจรจาได้สำเร็จ จากนั้นพระเจ้าบรมโกศทรงโปรดให้อาราธนาพระอุบาลีเถระแห่งวัดธรรมาราม ผู้แตกฉานพระไตรปิฎกและวิปัสสนาธุระ เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตในภารกิจอันยิ่งใหญ่ครั้งนี้
พร้อมพลีชีวิต
เพื่อพิชิตการจรรโลงพระศาสนา
การเดินทางไปสืบพระศาสนาของพระอุบาลี นับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะต้องเผชิญกับความเกรี้ยวกราดของท้องทะเล ซึ่งพร้อมที่จะคร่าชีวิตทุกวินาที พระเถระและคณะออกเดินทางไปพร้อมกับทูตไทยและทูตลังกา โดยใช้ทั้งเรือกำปั่นของไทยและฮอลันดารวมเป็น ๒ ลำ แล่นออกทะเลทางอ่าวไทย โดยพระอุบาลีเดินทางไปกับเรือกำปั่นไทย ปรากฏว่าเรือทั้ง ๒ ลำ ได้พลัดหลงกัน ซ้ำร้ายเรือไทยถูกคลื่นลูกมหึมาซัดจนเสากระโดงหัก เรือรั่ว น้ำไหลเข้าไม่หยุดเกือบอับปาง ต้องทิ้งข้าวของเพื่อมิให้เรือจม แต่ทว่าคณะสงฆ์สวดพระปริตรไม่หยุดทั้งกลางวันกลางคืน จึงรอดมาด้วยอานุภาพพุทธมนต์นั้น แล้วขึ้นมาเกยฝั่งที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทางอยุธยาทราบเรื่องจึงนิมนต์กลับไปยังอยุธยาตามเดิม
พระอุบาลีต้องรออีกหลายเดือนกว่าจะเดินทางได้อีกครั้ง ในช่วงนั้นก็มีข่าวเรืออับปางในทะเลอยู่บ่อยครั้ง แต่หัวใจในการประกาศพระศาสนาของคณะสงฆ์นั้น พร้อมเสมอที่จะไปทำหน้าที่เป็นแสงสว่างให้กับชาวศรีลังกา แต่พระเจ้าบรมโกศกลับทรงเป็นห่วงไม่กล้าที่จะส่งท่านไปอีก เพราะเกรงว่าจะเป็นการเอาชีวิตไปทิ้งกลางทะเลเสียเปล่า ต่อมาเมื่อมีชาวฮอลันดาซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความชำนาญในการเดินเรืออาสาที่จะนำคณะสงฆ์ไป พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณะสงฆ์ออกเดินทางอีกครั้ง
ในครั้งนี้ คณะพระอุบาลีต้องเผชิญมรสุมในทะเลไม่แพ้กับครั้งแรก เพราะเกิดพายุในทะเลแรงจัดมาก จนถึงกับกางใบเรือไม่ทัน ทำให้เรือเอียงไปมาแทบพลิกจม เสาเรือหลายต้นหักพังทับลงมา กลางเรือ ธงเรือหลุดลอยตกทะเลไป แต่ถึงกระนั้น ผู้ที่อยู่ในเรือก็ไม่หวั่นไหว เพราะต่างนึกถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ในการเดินทางข้ามมหาสมุทร
เส้นทางเดินเรือเริ่มตั้งแต่อยุธยาแล้วออกจากอ่าวไทยมุ่งไปเกาะชวาก่อน แล้วเลี้ยวอ้อมไปทางมหาสมุทรอินเดีย ขึ้นเทียบท่าที่เกาะลังกา แล้วเข้าไปยังตัวเมืองแคนดี รวมระยะเวลากว่า ๕ เดือน เมื่อไปถึงจุดหมาย พระมหากษัตริย์และชาวเมืองได้ออกมาต้อนรับอย่างเอิกเกริก เมื่อท่านพระอุบาลีได้เล่าเรื่องการผจญภัยให้สามเณรสรณังกรฟังว่า "เรือของเราแทบจะอับปาง เกือบเสียชีวิตกลางมหาสมุทรเสียแล้ว" สามเณรฟังแล้วก็กลั้นน้ำตาไม่อยู่พลางพูดว่า "ถ้าเรืออับปาง คงจะไม่ได้พบพวกท่าน ถ้าไม่มีพวกท่าน พระศาสนาก็ไม่อาจกลับคืนมาได้อีกเลย"
เพื่อพิชิตการจรรโลงพระศาสนา
การเดินทางไปสืบพระศาสนาของพระอุบาลี นับเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจมาก เพราะในสมัยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะต้องเผชิญกับความเกรี้ยวกราดของท้องทะเล ซึ่งพร้อมที่จะคร่าชีวิตทุกวินาที พระเถระและคณะออกเดินทางไปพร้อมกับทูตไทยและทูตลังกา โดยใช้ทั้งเรือกำปั่นของไทยและฮอลันดารวมเป็น ๒ ลำ แล่นออกทะเลทางอ่าวไทย โดยพระอุบาลีเดินทางไปกับเรือกำปั่นไทย ปรากฏว่าเรือทั้ง ๒ ลำ ได้พลัดหลงกัน ซ้ำร้ายเรือไทยถูกคลื่นลูกมหึมาซัดจนเสากระโดงหัก เรือรั่ว น้ำไหลเข้าไม่หยุดเกือบอับปาง ต้องทิ้งข้าวของเพื่อมิให้เรือจม แต่ทว่าคณะสงฆ์สวดพระปริตรไม่หยุดทั้งกลางวันกลางคืน จึงรอดมาด้วยอานุภาพพุทธมนต์นั้น แล้วขึ้นมาเกยฝั่งที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทางอยุธยาทราบเรื่องจึงนิมนต์กลับไปยังอยุธยาตามเดิม
พระอุบาลีต้องรออีกหลายเดือนกว่าจะเดินทางได้อีกครั้ง ในช่วงนั้นก็มีข่าวเรืออับปางในทะเลอยู่บ่อยครั้ง แต่หัวใจในการประกาศพระศาสนาของคณะสงฆ์นั้น พร้อมเสมอที่จะไปทำหน้าที่เป็นแสงสว่างให้กับชาวศรีลังกา แต่พระเจ้าบรมโกศกลับทรงเป็นห่วงไม่กล้าที่จะส่งท่านไปอีก เพราะเกรงว่าจะเป็นการเอาชีวิตไปทิ้งกลางทะเลเสียเปล่า ต่อมาเมื่อมีชาวฮอลันดาซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความชำนาญในการเดินเรืออาสาที่จะนำคณะสงฆ์ไป พระองค์จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้คณะสงฆ์ออกเดินทางอีกครั้ง
ในครั้งนี้ คณะพระอุบาลีต้องเผชิญมรสุมในทะเลไม่แพ้กับครั้งแรก เพราะเกิดพายุในทะเลแรงจัดมาก จนถึงกับกางใบเรือไม่ทัน ทำให้เรือเอียงไปมาแทบพลิกจม เสาเรือหลายต้นหักพังทับลงมา กลางเรือ ธงเรือหลุดลอยตกทะเลไป แต่ถึงกระนั้น ผู้ที่อยู่ในเรือก็ไม่หวั่นไหว เพราะต่างนึกถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ในการเดินทางข้ามมหาสมุทร
เส้นทางเดินเรือเริ่มตั้งแต่อยุธยาแล้วออกจากอ่าวไทยมุ่งไปเกาะชวาก่อน แล้วเลี้ยวอ้อมไปทางมหาสมุทรอินเดีย ขึ้นเทียบท่าที่เกาะลังกา แล้วเข้าไปยังตัวเมืองแคนดี รวมระยะเวลากว่า ๕ เดือน เมื่อไปถึงจุดหมาย พระมหากษัตริย์และชาวเมืองได้ออกมาต้อนรับอย่างเอิกเกริก เมื่อท่านพระอุบาลีได้เล่าเรื่องการผจญภัยให้สามเณรสรณังกรฟังว่า "เรือของเราแทบจะอับปาง เกือบเสียชีวิตกลางมหาสมุทรเสียแล้ว" สามเณรฟังแล้วก็กลั้นน้ำตาไม่อยู่พลางพูดว่า "ถ้าเรืออับปาง คงจะไม่ได้พบพวกท่าน ถ้าไม่มีพวกท่าน พระศาสนาก็ไม่อาจกลับคืนมาได้อีกเลย"
วันประวัติศาสตร์แห่งการรอคอย
และแล้ว ณ วันอาสาฬหบูชา เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๒๙๖ เวลาพลบค่ำ ก็มีพิธีอุปสมบท ครั้งประวัติศาสตร์ของศรีลังกา ณ วัดบุปผาราม เมืองแคนดี พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนาด้วยพระองค์เอง พระอุบาลีซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ให้การอุปสมบทแก่คณะสามเณรศรีลังกา ๖ รูป ซึ่งมีสามเณรสรณังกรเป็นหัวหน้า (อายุ ๕๔ ปี) เมื่อเสร็จสิ้นการอุปสมบท มหาชนก็พากันไชโยโห่ร้อง แซ่ซ้องสาธุการมิขาดสาย มีการประโคมวงดุริยางค์ และยิงปืนใหญ่ขึ้นเป็นสัญญาณ แห่งมหาปีติว่า "บัดนี้แผ่นดินลังกาที่ร้างราพุทธบุตรมาช้านานได้รับการฟื้นฟูแล้ว และต้องกลับมายิ่งใหญ่กว่าเดิมแน่นอน" ในสมัยนั้น ท่านพระอุบาลีได้บวชกุลบุตรเป็นจำนวนมาก ทำให้พุทธบุตรในศรีลังกาสืบทอดต่อมาไม่ขาดสาย แผ่นดินศรีลังกาหวนกลับมาเจริญรุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง
ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย... ยุคนี้ คือยุคทองของเราที่จะทำให้ผ้ากาสาวพัสตร์โบกสะบัดไปทั่วทุกมุมโลก เราจะต้องเร่งฟื้นฟูจำนวนศาสนทายาทที่นับวันมีแต่น้อยลงให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ด้วยการบวชกุลบุตรดังที่บรรพชนต้นแบบได้ทุ่มชีวิตทำสำเร็จมาแล้ว การบวชพระจะไม่จำกัดอยู่เพียงประเทศไทย หรือบางประเทศเท่านั้น แต่จะต้องมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ในยุคแห่งการสร้างบารมีของพวกเรานี้ เราจะร่วมกันสถาปนาพุทธบุตร ๑,๐๐๐,๐๐๐ รูปให้บังเกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้ โดยเริ่มต้นที่ ๗,๐๐๐ รูปทั่วไทย เป็นพันธกิจที่ต้องเร่งเดินหน้า เพื่อจุดประทีป พระศาสนาให้โชนนิรันดร์ต่อไป ดังที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ให้โอวาทไว้ว่า "เราควรจะมองให้ไกลขึ้นไปอีกว่า ทำอย่างไรพระศาสนาจะเจริญไปจนสุดรอยต่อของพุทธันดรนี้กับพุทธันดรหน้า" และโปรดรับทราบเอาไว้เถิดว่า พวกเราคือลูกพระธัมฯ ผู้มากอบกู้พระพุทธศาสนา ผู้นำพาโลกนี้ให้สว่างไสว ผู้จรรโลงพุทธศาสน์ให้กว้างไกล ให้ผ้ากาสาวพัสตร์ ปลิวไสวในใจมหาชน...
Cr. เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘๒ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
แผ่นดินเรืองรอง ยุคทองแห่งการบวชพระ
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:37
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: