หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)
สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙
เจริญพรท่านผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์บทความพิเศษ “หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ”
อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งถือว่าเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนและทีมงานนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) ทำการสืบค้นวิจัยให้ได้มาซึ่งหลักฐานเพิ่มขึ้น
เพื่อทำความจริงให้ปรากฏและเป็นทนายแก้ต่างแก่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย สืบไป
ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและนักวิจัยได้เข้าร่วมการประชุมทางไกลข้ามทวีป (Video Teleconference) กับทีมงานวิจัยที่ปฏิบัติหน้าที่ภาคสนามอยู่ในหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์ผลสรุปจากที่ประชุมมีดังนี้...
ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา คณะผู้บริหารและนักวิจัยได้เข้าร่วมการประชุมทางไกลข้ามทวีป (Video Teleconference) กับทีมงานวิจัยที่ปฏิบัติหน้าที่ภาคสนามอยู่ในหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และนอร์เวย์ผลสรุปจากที่ประชุมมีดังนี้...
เนื่องจากปีนี้เป็นปีอายุวัฒนมงคลครบ ๗๒ ปี
ของหลวงพ่อธัมมชโย ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (สถาบันดีรี) ทางสถาบันฯ
จะรวบรวมผลงานวิจัยที่ได้หลักฐานเพิ่มขึ้น และนำมาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เพื่อการเผยแพร่เป็นธรรมทานในวงกว้างสืบไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้วางแผนงานพัฒนาบุคลากรให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ด้วย
ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อจากฉบับที่แล้ว...
ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ต่อจากฉบับที่แล้ว...
เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามเส้นทางการค้าในยุคพระเจ้ากนิษกะและยุคต่อมา ภาพ : ชัชวาลย์ เสรีพุกกะณะ |
จากที่ พระเจ้ากนิษกะ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ ๗
ดังที่เคยกล่าวไปแล้วนั้น
ก่อให้เกิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางตามเส้นทางการค้าขายโบราณทางบกผ่านคันธาระเข้าไปในเอเชียกลางและต่อไปยังจีน
ทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มั่นคง
ซึ่งจีนได้เผยแผ่พระศาสนาต่อไปยังมองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และเวียดนาม ในส่วนของเส้นทางการค้าทางทะเลนั้น
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่อาณาจักรต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่
อาณาจักรศรีวิชัยพุกาม ฟูนัน และจามปา ซึ่งจะกล่าวในลำดับต่อไป
พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศจีนราวปลายราชวงศ์โจว แต่เป็นไปในลักษณะเบาบางเล็กน้อยจนถึง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๗ พระเจ้าฮั่นหมิงตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งราชทูตไปสืบพระศาสนายังอาณาจักรโขตาน พร้อมกับนิมนต์พระภิกษุ
๒ รูป คือ พระกาศยปมาตังคะ และ พระธรรมรักษ์ กลับมายังนครหลวงลั่วหยางด้วย
พระเจ้าฮั่นหมิงตี้ได้สร้างอารามขึ้น ณ นครลั่วหยาง พระราชทานนามว่า “วัดไป๋หม่าซื่อ”
หรือ “วัดม้าขาว” นับเป็นปฐมสังฆารามของจีน
วัดม้าขาว ไป๋หม่าซื่อ นครลั่วหยาง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๖๑๐ |
ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ภิกษุอดีตเจ้าชายชาวปาร์เธีย ชื่อ อันซื่อเกา ได้จาริกมาที่นครลั่วหยาง ท่านได้แปลคัมภีร์พุทธศาสนาอินเดียออกเป็นภาษาจีน ๙๐ กว่าฉบับ แต่สำนวนแปลของท่านเหลือมาถึงปัจจุบันเพียง ๑๐ กว่าฉบับเท่านั้น ส่วนใหญเป็นคัมภีร์ของฝ่ายสาวกยาน ในด้านพระอภิธรรมพระวินัย และการปฏิบัติสมาธิภาวนา เช่น คัมภีร์อานาปานสมฤติ เป็นต้น นับเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาด้านการปฏิบัติสมาธิภาวนาที่เก่าแก่มาก ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ภาพวาด พระภิกษุอันซื่อเกา (ภาพยุคปัจจุบัน) ที่มา : http://blog.sina.com.cn/s/blog_9b8530cf0102w29g.html |
คัมภีร์ฝอซัวม่าอี้จิง ซึ่งเชื่อกันว่าแปลเป็นภาษาจีน โดยพระภิกษุอันซื่อเกา สมัยราชวงศ์โห้วฮั่น ที่มา : http://auction.artxun.com/paimai-109895-549472013.shtml |
ในพุทธศตวรรษที่ ๙ พระกุมารชีพ หรือ พระกุมารชีวะ ผู้มีกำเนิดสูงศักดิ์ พระมารดาเป็นเจ้าหญิงชื่อชีพะแห่งอาณาจักรกูชา
ส่วนบิดาเป็นชาวแคชเมียร์ชื่อกุมารยณะ ท่านได้เข้ามาในจีนเมื่อปี พ.ศ. ๙๔๔
เดิมตัวท่านบวชเรียนในอินเดียและได้เผยแผ่ธรรมะที่อาณาจักรกูชาเรื่อยมาจนมีชื่อเสียง
และได้รับนิมนต์จากเจ้าแคว้นโห้วฉิน ให้พำนักที่เมืองฉางอัน
โดยได้รับการสถาปนาเป็นพระราชครู
พระกุมารชีพเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาออกเป็นภาษาจีน ท่านแปลคัมภีร์ต่าง ๆ มากมายรวมถึงพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต ๗๔ คัมภีร์ รวม๓๘๔ ผูก เช่น คัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรและคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของฝ่ายสาวกยานการแปลของท่านเป็นที่นิยมกันว่าถูกต้องเที่ยงตรง เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญรอบรู้ทั้งทางจีนและอินเดีย สามารถแปลอุปมาอุปไมยในสันสกฤตเป็นภาษาจีนได้อย่างลึกซึ้งและเห็นภาพชัดเจน ท่านมรณภาพเมื่ออายุ ๗๔ ปี นับเป็นผู้มีคุณูปการยังพระศาสนาในจีนให้ไพบูลย์
พระกุมารชีพเป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่งในการแปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนาออกเป็นภาษาจีน ท่านแปลคัมภีร์ต่าง ๆ มากมายรวมถึงพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต ๗๔ คัมภีร์ รวม๓๘๔ ผูก เช่น คัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตรและคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของฝ่ายสาวกยานการแปลของท่านเป็นที่นิยมกันว่าถูกต้องเที่ยงตรง เนื่องจากท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญรอบรู้ทั้งทางจีนและอินเดีย สามารถแปลอุปมาอุปไมยในสันสกฤตเป็นภาษาจีนได้อย่างลึกซึ้งและเห็นภาพชัดเจน ท่านมรณภาพเมื่ออายุ ๗๔ ปี นับเป็นผู้มีคุณูปการยังพระศาสนาในจีนให้ไพบูลย์
อนุสาวรีย์พระกุมารชีพ ประดิษฐานไว้หน้าวัดถ้ำคิซิล กูชา มณฑลซินเจียง จีน ที่มา : http://farm3.staticflickr.com/2205/2047925776_dlddc54e0f_z.jpg |
เจดีย์ม้าขาว (ไป๋หม่าถ่า) หน้าถ้ำตุนหวง สร้างอุทิศพระกุมารชีพ มณฑลกันซู จีน ที่มา : http://z.abang.com/d/gansu/1/3/5/2/-/-/bmt1.jpg |
งานแปลฉบับพิมพ์สัทธรรมปุณฑริกสูตรสำนวนของพระกุมารชีพ ที่มา : http://images.takungpao.com/2014/0912/20140912031428772.jpg |
ในช่วงต้นที่พระพุทธศาสนาเผยแผ่มายังประเทศจีน
ยังต้องอาศัยพระภิกษุต่างชาติในการถ่ายทอดและแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนอย่างต่อเนื่องอีกหลายท่าน กล่าวคือพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ท่านคุณภัทรแห่งอินเดียกลาง
ได้แปลพระสูตรธรรมทุนทุภิศรีมาลาเทวีสูตรและลังกาวตารสูตรช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ท่านโพธิรุจิแห่งอินเดียเหนือ แปลทศภูมิศาสตร์ ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น
ท่านปรมัตถะแห่งอินเดียตะวันตก แปลคัมภีร์ฝ่ายปรัชญาโยคาจารและปรัชญาภูตตถตาวาทิน
ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ท่านติปิฎกธราจารย์ เสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง ) ได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา นานถึง ๑๗ ปี เมื่อรวมการเดินทางไปกลับเป็นระยะทางถึงกว่า ๕ หมื่นลี้ จดหมายเหตุบันทึกเรื่องราวระหว่างทางของท่านมากไปด้วยข้อมูลของดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ๑๑๐ แคว้น ขณะที่อีก ๒๘ แคว้น ท่านบันทึกจากคำบอกเล่า นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ท่านติปิฎกธราจารย์ เสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง ) ได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา นานถึง ๑๗ ปี เมื่อรวมการเดินทางไปกลับเป็นระยะทางถึงกว่า ๕ หมื่นลี้ จดหมายเหตุบันทึกเรื่องราวระหว่างทางของท่านมากไปด้วยข้อมูลของดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ๑๑๐ แคว้น ขณะที่อีก ๒๘ แคว้น ท่านบันทึกจากคำบอกเล่า นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง
เมื่อท่านกลับประเทศจีน
ก็ได้นำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วยเมื่อถึงนครหลวงฉางอันใน พ.ศ. ๑๑๘๘
เป็นต้นมา ท่านได้แปลคัมภีร์ถึง ๗๖ ฉบับ จำนวนรวม ๑,๓๔๗
ผูก ออกสู่ภาคภาษาจีน มีทั้ง คัมภีร์ฝ่ายศูนยตวาทินและโยคาจาร
จักรพรรดิถังไท่จงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎกของพระเสวียนจั้งจักรพรรดิถังเกาจงรัชกาลถัดมาทรงรับอุปถัมภ์งานแปลพระไตรปิฎกต่อไปอีก
งานของท่านจึงเป็นงานพระพุทธศาสนาที่ผู้แปลเป็นพระภิกษุชาวจีน
พระเสวียนจั้งดำเนินงานต่อไปจนมรณภาพในปี พ.ศ. ๑๒๐๗ รวมอายุได้ ๖๒ ปี
อนุสาวรีย์พระเสวียนจั้ง (พระถังซำจั๋ง) หน้าพระเจดีย์ห่านป่าใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า) ในวัดต้าเฉียน (ต้าฉือเอินซื่อ) ซีอาน มณฑลส่านซี จีน ที่ใช้เป็นสถานที่แปลคัมภีร์เป็นภาษาจีน |
ต่อมา
ประเทศจีนได้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศข้างเคียง เช่น
ทิเบต มองโกเลีย เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนาม อีกนานหลายศตวรรษ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒
พระเจ้าซงเซนกัมโปะ แห่งทิเบตได้รุกรานจีนไปถึงเมืองเสฉวน จักรพรรดิถังไท่จง
ในสมัยนั้น ทรงพระประสงค์จะผูกสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งทิเบต
จึงพระราชทานพระธิดาพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าหญิงเหวินเฉิง ให้เป็นพระมเหสีกษัตริย์ทิเบต
ในขณะนั้นทิเบตได้ยกกองทัพเข้ารุกรานเนปาลเช่นกัน
กษัตริย์เนปาลก็ทรงกระทำเช่นเดียวกับจีน คือ ถวายพระราชธิดา คือ
เจ้าหญิงกุฏีเทวีเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ทิเบต พระมเหสีทั้งสองทรงเป็นพุทธมามกะ
ทรงนำพระพุทธรูปพระธรรมคัมภีร์ไปยังทิเบตด้วย ซึ่งปรากฏว่าเป็นที่สบพระทัยของพระเจ้าซงเซนกัมโปะ พระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มวางรากฐานในทิเบต
พระเจ้าซงเซนกัมโปะทรงสร้าง วัดโจกังเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาของทิเบต ทรงส่งทูตไปศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย เมื่อกลับมายังได้นำเอาอักษรเทวนาครีของอินเดียมาปรับใช้เป็นอักษรทิเบต และคัดลอกคัมภีร์ภาษาสันสกฤตด้วยอักษรทิเบต ในรัชสมัย พระเจ้าราลปาเชน ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการติดต่อกับทางอินเดียด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น ได้อาราธนาพระคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มาสอนธรรมะ และแปลพระคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบต จึงทำให้ทิเบตเป็นแหล่งรวมพระคัมภีร์ทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน นับเป็นแหล่งค้นคว้าหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
พระเจ้าซงเซนกัมโปะทรงสร้าง วัดโจกังเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาของทิเบต ทรงส่งทูตไปศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย เมื่อกลับมายังได้นำเอาอักษรเทวนาครีของอินเดียมาปรับใช้เป็นอักษรทิเบต และคัดลอกคัมภีร์ภาษาสันสกฤตด้วยอักษรทิเบต ในรัชสมัย พระเจ้าราลปาเชน ผู้ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการติดต่อกับทางอินเดียด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น ได้อาราธนาพระคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มาสอนธรรมะ และแปลพระคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบต จึงทำให้ทิเบตเป็นแหล่งรวมพระคัมภีร์ทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน นับเป็นแหล่งค้นคว้าหลักฐานทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ตัวอย่างอักษรทิเบตที่ใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนา (บทสวดโพธิจิต) ที่มา : http://www.gonghoog.com/main/index.php/component/content/category/16-2012-11-18-01-46-13 |
เมื่อย้อนกลับมาที่ชมพูทวีประหว่าง พ.ศ. ๑๒๒๓-๑๖๖๓
เวลานั้นมีมหาวิทยาลัยในพระพุทธศาสนาอยู่หลายแห่ง ทาง
ฝ่ายสาวกยานมีมหาวิทยาลัยวลภี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกและ
ฝ่ายมหายานมีมหาวิทยาลัยนาลันทามหาวิทยาลัยโอทันตปุระ มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา
มหาวิทยาลัยโสมปุระ และมหาวิทยาลัยชคัททละ เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก สำหรับเส้นทางการเผยแผ่นั้นใช้เส้นทางการค้าขายเป็นหลัก
ดังกล่าวไว้แล้วว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ทางบกตามเส้นทางแพรไหมไปทางตะวันออกถึงจีน
ส่วนการเผยแผ่ตามทางค้าขายทางเรือนั้น พระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปถึงอาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรต่าง
ๆ ของสุวรรณภูมิ
จากการที่ผู้เขียนและทีมงานนักวิจัยของสถาบันฯ
ได้ตั้งใจศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
จึงทำให้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจในพื้นที่เหล่านี้ และได้พบหลักฐานและข้อมูล
รายละเอียดจากผู้รู้นักวิชาการที่มีผลงานระดับโลก ซึ่งจะได้นำเสนอในฉบับต่อไป
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๕๙ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๘)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
06:17
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: