ชีวิตที่ลิขิตเอง
มนุษย์มิใช่มีเพียงชีวิต แต่ยังมีภารกิจคิดสร้างสรรค์
อีกฟากฟ้าจะคว้าดาวสาวตะวัน มากำนัลคนยากไร้ในแผ่นดิน
ประวัติศาสตร์บ่งชี้กี่ยุคแล้ว ว่าดวงแก้วมักอยู่ในภูผาหิน
ไม่สกัดภูผาเป็นอาจิณ ก็ชื่นชมเพียงเศษดินจนสิ้นใจ
(นิรนาม)
บุคคลผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นโทษภัยในวัฏสงสารจึงไม่ควรประมาทในชีวิต
หมั่นสั่งสมกุศลกรรมทีละเล็กทีละน้อยอย่างเนืองนิตย์
ด้วยจิตใจที่ร่าเริงเบิกบานแจ่มใส โดยไม่เห็นแก่ความยากลำบาก
จนกุศลความดีที่ได้สั่งสมไว้ดีแล้วนับภพนับชาติไม่ถ้วนนั้นเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ย่อมได้ชื่อว่า
เป็นบัณฑิตผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว
ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ว่า
อนุปุพฺเพน เมธาวี โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ
กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน
กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน
ผู้มีปัญญา ทำกุศลอยู่คราวละน้อย ๆ
ทุก ๆ ขณะ โดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้
เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทองให้หมดไปได้ฉะนั้น.
ดังเช่นเรื่องราวอันน่าสนใจของครอบครัวคุณฉวี่ หลานอย่า อายุ ๒๖ ปี
และคุณแม่เฉิน ซิ่วฮวา อายุ ๖๐ ปี ชาวไต้หวัน ที่ลิขิตชีวิตตัวเองอย่างผู้มีปัญญา
ตามที่ได้ศึกษาจากคำสอนในพระพุทธศาสนา
“ดิฉันเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวพุทธ ตั้งแต่เด็กคุณแม่จะพาไปรับบุญอาสาสมัครที่วัดและร่วมพิธีกรรมงานบุญต่าง
ๆ อยู่เสมอ คุณแม่และดิฉันชอบสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าและรักการนั่งสมาธิ
และได้ถือปฏิบัติเป็นหลักในการดำรงชีวิตตลอดมา
“คุณแม่ท่านเล่าว่า
เมื่อตอนคุณยายป่วยและเสียชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คุณแม่รู้สึกว่าชีวิตเราสั้นยิ่งนัก
และพร้อมจะจากโลกใบนี้ไปได้ทุกเมื่อ
เพื่อนของท่านได้แนะนำให้คุณแม่รู้จักความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต จนทำให้ท่านเข้าใจคำสอนของพระพุทธศาสนาและปล่อยวางได้ คุณแม่จึงตั้งใจประกาศตนเป็นพุทธมามกะ
นับถือพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต
“หลังจากนั้น
ท่านก็ก้าวเดินในเส้นทางธรรม ศึกษาและลงมือปฏิบัติธรรมตามสำนักต่าง ๆ อย่างจริงจัง
จนได้ดูรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่เผยแพร่ออกอากาศในประเทศ
จึงทราบข่าวการสร้างพระธรรมกายประจำตัวเพื่อประดิษฐานบนพระมหาธรรมกายเจดีย์
“ดิฉันและคุณแม่พร้อมทั้งทุกคนในครอบครัวเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า
ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยไปวัดพระธรรมกาย
แต่ก็ติดต่อขอร่วมบุญสร้างองค์พระประจำตัวรวมทั้งสิ้น ๙ องค์
หลังจากนั้นก็เริ่มแสวงหาหนังสือธรรมะและสื่อต่าง ๆ ของทางวัดพระธรรมกายทุก ๆ ด้าน
เช่น หนังสือประวัติปฏิปทาคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นต้น
จนท้ายที่สุดดิฉันได้เดินทางไปวัดพระธรรมกายไทเป และวัดพระธรรมกายที่ประเทศไทย
“ยิ่งดิฉันและคุณแม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจมากขึ้นเท่าไร
ยิ่งทำให้ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาคำสอนของหลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย และเคารพรักท่านเป็นอย่างมาก
ที่ท่านได้เป็นต้นแบบผู้ทำความเพียรอย่างกลั่นกล้าจนเข้าถึงพระธรรมกายอันเป็นที่พึ่งแก่ชีวิตได้
แล้วตั้งใจเผยแผ่ธรรมปฏิบัติและหลักธรรมของการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้คนมากมายทั่วทั้งโลกในทุกวิถีทาง
จนครอบครัวของดิฉันที่อยู่ต่างประเทศมีโอกาสเข้าใจความหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง
“ตั้งแต่นั้นดิฉันและครอบครัวได้มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ดี
มีมหาปูชนียาจารย์ท่านเป็นต้นแบบของผู้ที่ดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมีเป้าหมาย
และใช้วันเวลาที่มีอยู่ให้เป็นไปเพื่อละเว้นบาปอกุศลกรรมทั้งปวง และสั่งสมบุญทุก ๆ
บุญอยู่ตลอดเวลา
“ครอบครัวของดิฉันสวดมนต์และนั่งสมาธิกันอยู่ตลอด
และอธิษฐานอยู่บ่อยครั้งว่า ตั้งแต่นี้ไปทุกภพทุกชาติ
ขอให้มีศรัทธาที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย มีสติตั้งมั่น
ติดตามมหาปูชนียาจารย์สร้างบุญบารมีไปจนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม”
Cr. พระมหาภูรัช ทนฺตวํโส
Cr. พระมหาภูรัช ทนฺตวํโส
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๒ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๒ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ที่นี่
- สยบคำถามดราม่า (Drama) กรณีวัดพระธรรมกาย..โปรยดอกไม้
- กฐิน มหากุศล มหากาลทาน
- ศาสนาพุทธนี้อยู่ได้ด้วยการให้
- โครงการอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทนานาชาติ AEC รุ่นที่ ๒
- พิธีตักบาตรพระ ๑,๑๑๑ รูป จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ชีวิตที่ลิขิตเอง
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๑)
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- คนฉลาด ย่อมละบาป
- นิสัยมีความอดทนนั้นเป็นอย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๒)
- ทำอย่างไร..เมื่อรู้สึกท้อแท้ ?
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ที่นี่
- ฉบับที่ ๑๘๑ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๓ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๔ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๕ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๖ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๗ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๘ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๙ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๐ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๒ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปีได้ที่นี่
ชีวิตที่ลิขิตเอง
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
21:16
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: