สิ่งใดที่คุ้ม.. สิ่งนั้นจึงควร..


“...มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ ต่างก็แสวงหาความสุขที่แท้จริงด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่ในระดับไหนก็ตาม ต่างก็อยากกินอย่างมีความสุข นอนก็อยากนอนอย่างมีความสุข เที่ยวก็อยากเที่ยวอย่างมีความสุข แม้กระทั่งจะตาย ก็ยังอยากตายอย่างมีความสุข ตายไปแล้วก็ยังอยากเกิดในที่ที่มีความสุข นี้คือความปรารถนาของมนุษย์ทั้งหลาย

“แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่า ความปรารถนาของมนุษย์ทั้งหลายนั้นหาได้สมหวังไม่ เขาทั้งหลายเหล่านั้นกลับไม่เคยพบความสุขที่แท้จริงเลย แต่มักจะพบกับความสุขอันจอมปลอมทั้งสิ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าเขาไม่รู้เลยว่า ความสุขที่แท้จริงมีลักษณะอย่างไร อยู่ตรงไหน และจะเข้าถึงได้อย่างไร ?

“เมื่อไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตมนุษย์ เขาก็แสวงหาความสุขไปตามรสนิยมเท่าที่ความรู้แจ้งในใจเขาจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็จะแสวงหาไปเรื่อย เหมือนนกที่กระโดดจากกิ่งนี้ไปสู่กิ่งโน้นจนกระทั่งหมดลม แล้วก็ตายไปฟรี ๆ โดยไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย

“แต่ประสบการณ์ภายในที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม ได้สอนให้เรารู้จักกับความสุขที่แท้จริงที่มนุษย์ทั้งหลายแสวงหา และเมื่อใดเราได้เข้าถึงธรรมกาย เมื่อนั้นเราก็จะค้นพบได้ด้วยตัวของเราเอง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ธรรมกายเป็นที่รวมแห่งความสุขที่แท้จริง ที่มนุษย์ทั้งหลายพึงปรารถนาและกำลังแสวงหานั่นเอง..” (ทบทวนโอวาทหลวงพ่อธัมมชโย )
    
    ตรึกให้ได้ตลอดเวลานะลูกนะ
มองดูพระมองดูดวงสว่างไสว
อิริยาบถทั้ง ๔ นี้เรื่อยไป
แต่อย่าใช้นัยน์ตาเวลามอง
ทำเหมือนว่าไม่มีหัวและดวงตา
มีเพียงหนึ่งกายาและใจสอง
ค่อยค่อยหยุด ค่อยค่อยนิ่ง ค่อยค่อยมอง
เดี๋ยวจะร้องก้องฟ้า สุขจังเล้ย
!
(ตะวันธรรม)

ดังเช่นการตั้งใจจะบวชวันต่อวันจนตลอดชีวิตของ พระซีซาเรส ธีรงฺกุโร (Cezariusz Platta) อดีตนักธุรกิจ อายุ ๕๓ ปี ชาวโปแลนด์ หลังจากที่ท่านได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่คุมค่าและคู่ควรที่สุดให้แก่ชีวิตของตัวเอง

“ย้อนไปเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีที่แล้ว อาตมาเริ่มสนใจที่จะพัฒนาจิตใจตัวเองให้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการอ่านหนังสือเป็นร้อย ๆ เล่มเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเข้าร่วมพิธีกรรมของพุทธศาสนิกชนในประเทศต่าง ๆ จนได้เรียนรู้เทคนิคการทำสมาธิอย่างหลากหลาย ซึ่งนี้เองเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดที่อาตมาต้องการจะบวชพระ เพราะตระหนักได้ว่า ถ้าจะพัฒนาการนั่งสมาธิให้ดียิ่งขึ้น อาตมาไม่เห็นแนวทางอื่นนอกเสียจากการหาคำแนะนำจากผู้สอนสมาธิที่ดี

“ในตอนนั้น อาตมาทราบข่าวการบวชของโครงการไอดอป ( IDOP ) จากสื่อวิดีโอบนโซเชียลเน็ตเวิร์กเรื่อง การจะมาเป็นพระสงฆ์ในประเทศไทยได้อย่างไร ? - โดยหลวงพี่นิค ( How to Become a Monk in Thailand by Nick Keomahavong) ทำให้อาตมาเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายในทันที จนเกิดการตัดสินใจว่าจะบวชที่วัดแห่งนี้ เพราะตรองดูแล้วว่าวัดนี้เป็นอีกที่หนึ่งที่ดีที่สุด

“เมื่ออาตมาได้บวชเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะสงฆ์ กิจวัตรผ่านบทฝึกที่สงบเรียบง่ายช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม และยังมีพระพี่ชายมาเป็นติวเตอร์ช่วยให้คำแนะนำตั้งแต่พื้นฐานการปรับท่านั่ง จนทำให้อาตมามีพัฒนาการในการนั่งสมาธิได้ดียิ่งขึ้น

“และเมื่อใจหยุดอยู่ในกลางตัวอย่างสม่ำเสมอ ก็ทำให้เกิดความสุขขึ้นจากภายใน แม้ในช่วงเวลาการนั่งสมาธิในรอบหรือระหว่างทำกิจวัตรต่าง ๆ ตลอดวัน ทั้งในระหว่างการเดินหรือการนั่ง ใจของอาตมาก็ยังคงมีความสุขสงบอยู่ภายในตัวตลอดเวลา

“ความสุขที่ไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ นั่นคือ การค้นพบความสุขในชีวิตจากภายในตัวของเรานั่นเอง ซึ่งสิ่งคุ้มค่านี้ จึงเป็นสิ่งที่คู่ควรแก่ชีวิตของคนเราทุก ๆ คน”

เรื่อง : พระมหาภูรัช ทนฺตวํโส
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๔ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒



คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/11/llp1262.html

***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/18gu8XlvlXseruh8QaZ6CvVADzjt75MbO/view

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202562/204%20YNB_6212/YNB204_1262.html

คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๔ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่

คลิกที่รูป หรือ สแกน QR-CODE เพื่ออ่านบทความนี้
สิ่งใดที่คุ้ม.. สิ่งนั้นจึงควร.. สิ่งใดที่คุ้ม.. สิ่งนั้นจึงควร.. Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 22:03 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.