โอกาสของผู้กล้า
ความตระหนี่เป็นมลทินของใจ แม้เราจะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่หากไม่รู้จักนำออกด้วยการให้ทาน ทรัพย์นั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด บุญจากการให้ก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนห้วงมหาสมุทรที่เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ แต่ว่ามีรสเค็ม ดื่มกินไม่ได้ แม้สิ่งนั้นมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย นอกจากนี้ เพราะความประมาททำให้พลาดโอกาสในการสั่งสมบุญ ชีวิตจึงเป็นโมฆะ คือ รวยฟรี ตายฟรี ไม่มีโอกาสรวยข้ามชาติ
ส่วนผู้ไม่ประมาทจะไม่พลาดในทุก ๆ งานบุญ แม้จะประสบวิกฤตก็พลิกให้เป็นโอกาสได้เสมอ ชีวิตขาดบุญไม่ได้ เหมือนลมหายใจที่ต้องใช้ทุกวัน ขาดบุญเหมือนขาดใจ ตราบที่ลมหายใจไม่สิ้นสุดก็จะไม่ หยุดสั่งสมบุญ เพราะท่านเหล่านั้นตระหนักดีว่า บุญคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จทั้งมวล บุญเท่านั้นที่จะอำนวยผลให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เหมือนดังเรื่องของเศรษฐีผู้ใจกล้า ทุ่มสุดฤทธิ์เพื่อพิชิตการได้เป็นประธานฉลองมหาสุวรรณเจดีย์ ทำให้ท่านได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ เกิดมาชาตินี้ก็ได้บรรลุธรรมทั้งครอบครัว
เศรษฐียอดนักบุญ
ในสมัยหนึ่ง หลังจากที่พระกัสสปพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน มหาชนชาวชมพูทวีปได้พร้อมใจกันสร้างมหาเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้ปรึกษากันว่าทำอย่างไรมหาเจดีย์ถึงจะยิ่งใหญ่สมกับที่เป็นเจดีย์ของบุคคลผู้เลิศที่สุด จึงตกลงกันว่าจะต้องหาทองคำแท่งบริสุทธิ์มาทำเป็นอิฐทองคำในการก่อเป็นพระเจดีย์ ซึ่งแต่ละก้อนมีราคาถึงหนึ่งแสนกหาปณะ รวมทั้งยังให้ช่างเขียนจิตรกรรมงดงามวิจิตรมากมาย ไว้ที่หน้ามุขด้านนอก ทำให้มหาเจดีย์นี้งดงามสุกปลั่งด้วยทองคำและหาค่าประมาณมิได้
เมื่อพุทธศาสนิกชนช่วยกันสร้างเจดีย์สำเร็จแล้ว ก็ถึงคราวที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ภายในมหาเจดีย์ จึงตั้งกติกาขึ้นมาว่า ถ้าใครบริจาคทรัพย์มากที่สุดจะได้เป็นประธานใหญ่ในการบรรจุและเป็นประธานฉลองพระเจดีย์ ครั้งนั้นมีเศรษฐีชนบทท่านหนึ่ง อยากจะได้บุญใหญ่ในการเป็นประธานฉลอง จึงได้มอบทรัพย์จำนวน ๑ โกฏิเพื่อบูชาพระเจดีย์ มหาชนต่างก็อนุโมทนาในความใจบุญของท่านเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีในเมืองเมื่อทราบข่าวก็อดรนทนอยู่ไม่ได้ อยากเป็นประธานใหญ่อย่างนั้นบ้าง จึงมอบทรัพย์ให้มากกว่าเศรษฐีชนบทเป็นจำนวน ๒ โกฏิ
เศรษฐีชนบทรู้ดีว่านี่เป็นบุญพิเศษ ตลอดชีวิตนี้ไม่รู้จะหาโอกาสอย่างนี้ได้อีกหรือไม่ จึงเพิ่มทรัพย์ให้มากขึ้นเป็น ๓ โกฏิ เศรษฐีในเมืองก็ไม่ยอมแพ้ เพิ่มทรัพย์เข้าไปอีกเป็น ๔ โกฏิ ต่างฝ่ายต่างก็แข่งกันเพิ่มทรัพย์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเศรษฐีในเมืองให้ทรัพย์สูงถึง ๘ โกฏิ
แต่ทว่าเศรษฐีชนบทมีทรัพย์ทั้งสิ้นอยู่ ๙ โกฏิเท่านั้น ส่วนเศรษฐีในเมืองมีทรัพย์ถึง ๔๐ โกฏิ ถึงกระนั้นเศรษฐีชนบทก็ไม่ละความพยายาม ไฉนเลยเรื่องทำความดีจะยอมแพ้กันได้ ท่านจึงคิดว่า "ถ้าเราให้ทรัพย์ ๙ โกฏิไป ทรัพย์ในเรือนของเราก็จะไม่มีอีกต่อไป จากนั้นท่านตัดสินใจแน่วแน่โดยทุ่มทรัพย์หมดทั้ง ๙ โกฏินั้น พร้อมกับประกาศว่า ทั้งตนเองและครอบครัว คือ ภรรยา ลูกชาย ๗ คน และสะใภ้อีก ๗ คน รวมเป็น ๑๖ คน จะขอมอบกายถวายชีวิต ยอมตนเป็นทาสของพระเจดีย์ คอยปัดกวาด ทำความสะอาดดูแลมหาเจดีย์ไปจนชั่วชีวิต
โอกาสเป็นของผู้กล้า
มหาชนได้ฟังแล้วต่างปลื้มปีติใจ พร้อมใจกันยกตำแหน่งประธานใหญ่ให้แก่เศรษฐีชนบท เพราะเห็นความตั้งใจจริงในการทุ่มเททำบุญกุศลของท่าน จึงกล่าวตกลงมอบตำแหน่งให้ว่า "ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติเป็นของนอกกาย หากยังมีลมหายใจอยู่ ก็สามารถหาใหม่ได้ แต่เศรษฐีชนบทพร้อมทั้งลูกและภรรยามอบตัวรับใช้พระเจดีย์ไปตลอดชาติเช่นนี้ เป็นความมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่ง ผู้มีใจกล้าเช่นนี้จึงเป็นผู้ที่สมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นประธานใหญ่ในงานฉลองพระเจดีย์"
หลังจากงานฉลองพระเจดีย์และการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาชนพร้อมใจกันให้ท่านเศรษฐีและครอบครัวยกเลิกการเป็นผู้เฝ้าดูแลทำความสะอาดพระเจดีย์ เพื่อไม่ให้ต้องมาลำบาก แต่ถึงกระนั้น ท่านเศรษฐีก็ยังเต็มใจที่จะมาปัดกวาดลานพระเจดีย์ตามปกติ เพราะรู้ว่า เป็นบุญพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง
เมื่อเศรษฐีละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง ๑ พุทธันดร ครั้นมาถึง สมัยของพระพุทธเจ้าของเรา ท่านเศรษฐีพร้อมทั้งครอบครัวรวม ๑๖ คนนั้น ได้มาเกิดร่วมกันอีก ซึ่งทั้งหมดมีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ในที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันกันหมด ยกครอบครัว
ในสมัยหนึ่ง หลังจากที่พระกัสสปพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน มหาชนชาวชมพูทวีปได้พร้อมใจกันสร้างมหาเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้ปรึกษากันว่าทำอย่างไรมหาเจดีย์ถึงจะยิ่งใหญ่สมกับที่เป็นเจดีย์ของบุคคลผู้เลิศที่สุด จึงตกลงกันว่าจะต้องหาทองคำแท่งบริสุทธิ์มาทำเป็นอิฐทองคำในการก่อเป็นพระเจดีย์ ซึ่งแต่ละก้อนมีราคาถึงหนึ่งแสนกหาปณะ รวมทั้งยังให้ช่างเขียนจิตรกรรมงดงามวิจิตรมากมาย ไว้ที่หน้ามุขด้านนอก ทำให้มหาเจดีย์นี้งดงามสุกปลั่งด้วยทองคำและหาค่าประมาณมิได้
เมื่อพุทธศาสนิกชนช่วยกันสร้างเจดีย์สำเร็จแล้ว ก็ถึงคราวที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ภายในมหาเจดีย์ จึงตั้งกติกาขึ้นมาว่า ถ้าใครบริจาคทรัพย์มากที่สุดจะได้เป็นประธานใหญ่ในการบรรจุและเป็นประธานฉลองพระเจดีย์ ครั้งนั้นมีเศรษฐีชนบทท่านหนึ่ง อยากจะได้บุญใหญ่ในการเป็นประธานฉลอง จึงได้มอบทรัพย์จำนวน ๑ โกฏิเพื่อบูชาพระเจดีย์ มหาชนต่างก็อนุโมทนาในความใจบุญของท่านเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีในเมืองเมื่อทราบข่าวก็อดรนทนอยู่ไม่ได้ อยากเป็นประธานใหญ่อย่างนั้นบ้าง จึงมอบทรัพย์ให้มากกว่าเศรษฐีชนบทเป็นจำนวน ๒ โกฏิ
เศรษฐีชนบทรู้ดีว่านี่เป็นบุญพิเศษ ตลอดชีวิตนี้ไม่รู้จะหาโอกาสอย่างนี้ได้อีกหรือไม่ จึงเพิ่มทรัพย์ให้มากขึ้นเป็น ๓ โกฏิ เศรษฐีในเมืองก็ไม่ยอมแพ้ เพิ่มทรัพย์เข้าไปอีกเป็น ๔ โกฏิ ต่างฝ่ายต่างก็แข่งกันเพิ่มทรัพย์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเศรษฐีในเมืองให้ทรัพย์สูงถึง ๘ โกฏิ
แต่ทว่าเศรษฐีชนบทมีทรัพย์ทั้งสิ้นอยู่ ๙ โกฏิเท่านั้น ส่วนเศรษฐีในเมืองมีทรัพย์ถึง ๔๐ โกฏิ ถึงกระนั้นเศรษฐีชนบทก็ไม่ละความพยายาม ไฉนเลยเรื่องทำความดีจะยอมแพ้กันได้ ท่านจึงคิดว่า "ถ้าเราให้ทรัพย์ ๙ โกฏิไป ทรัพย์ในเรือนของเราก็จะไม่มีอีกต่อไป จากนั้นท่านตัดสินใจแน่วแน่โดยทุ่มทรัพย์หมดทั้ง ๙ โกฏินั้น พร้อมกับประกาศว่า ทั้งตนเองและครอบครัว คือ ภรรยา ลูกชาย ๗ คน และสะใภ้อีก ๗ คน รวมเป็น ๑๖ คน จะขอมอบกายถวายชีวิต ยอมตนเป็นทาสของพระเจดีย์ คอยปัดกวาด ทำความสะอาดดูแลมหาเจดีย์ไปจนชั่วชีวิต
โอกาสเป็นของผู้กล้า
มหาชนได้ฟังแล้วต่างปลื้มปีติใจ พร้อมใจกันยกตำแหน่งประธานใหญ่ให้แก่เศรษฐีชนบท เพราะเห็นความตั้งใจจริงในการทุ่มเททำบุญกุศลของท่าน จึงกล่าวตกลงมอบตำแหน่งให้ว่า "ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติเป็นของนอกกาย หากยังมีลมหายใจอยู่ ก็สามารถหาใหม่ได้ แต่เศรษฐีชนบทพร้อมทั้งลูกและภรรยามอบตัวรับใช้พระเจดีย์ไปตลอดชาติเช่นนี้ เป็นความมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่ง ผู้มีใจกล้าเช่นนี้จึงเป็นผู้ที่สมควรอย่างยิ่งที่จะเป็นประธานใหญ่ในงานฉลองพระเจดีย์"
หลังจากงานฉลองพระเจดีย์และการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาชนพร้อมใจกันให้ท่านเศรษฐีและครอบครัวยกเลิกการเป็นผู้เฝ้าดูแลทำความสะอาดพระเจดีย์ เพื่อไม่ให้ต้องมาลำบาก แต่ถึงกระนั้น ท่านเศรษฐีก็ยังเต็มใจที่จะมาปัดกวาดลานพระเจดีย์ตามปกติ เพราะรู้ว่า เป็นบุญพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง
เมื่อเศรษฐีละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง ๑ พุทธันดร ครั้นมาถึง สมัยของพระพุทธเจ้าของเรา ท่านเศรษฐีพร้อมทั้งครอบครัวรวม ๑๖ คนนั้น ได้มาเกิดร่วมกันอีก ซึ่งทั้งหมดมีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ในที่สุดก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันกันหมด ยกครอบครัว
ทุ่มสุดฤทธิ์ ปิดเจดีย์ คือโอกาสดีของทุกท่าน
ยอดนักสร้างบารมีทั้งหลาย ใจที่มุ่งมั่น ไมยอมแพ้ต่อโอกาสที่ดี ๆ ที่จะได้ทำความดี นับเป็นหัวใจของผู้กล้าตัวจริง โอกาสดีไม่ได้มีบ่อยนัก ถ้าเศรษฐีชนบทยอมแพ้ถอดใจแล้ว ประวัติศาสตร์อันดีงามของท่านคงไม่ถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎก ในทำนองเดียวกัน หากทุกท่านมัวกังวลกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แล้วปล่อยใจให้ตกไปตามกระแสโลก มงคลนามของท่านจะมีโอกาสจารึกไว้ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ได้อย่างไร ซึ่งผู้จะถึงฝั่งแห่งความสำเร็จ ชิตัง เม ให้กับตัวเองได้นั้น ไม่ใช่แค่รอโอกาสหรือรอความพร้อม มีแต่ต้องพร้อมเสมอในทุกโอกาส ด้วยการเป็นผู้กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ไม่ให้ความตระหนี่หรือความกังวลมาปิดกั้น ขณะนี้นับเป็นโอกาสทองของพวกเราที่จะได้โอกาสในการทุ่มสุดฤทธิ์ เพื่อเป็นหนึ่งในล้านชื่อบุคคลประวัติศาสตร์ของการปิดเจดีย์ให้เป็นมรดกโลก ชื่อของเราจะถูกจารึกก้องกล่าวขานผ่านองค์พระธรรมกายประจำตัว ที่มนุษย์และเทวาจะมา
กราบสักการบูชา ยาวนานนับพันปี
ปิดเจดีย์ ปิดอบายให้มนุษยชาติ
การสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัว คือการปิดประตูอบาย เปิดทางไปสู่สวรรค์ให้กับตัวเอง และชาวโลกอีกมากมายนับไม่ถ้วน เพราะใครก็ตามที่มาสักการบูชาองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ใจเขาจะน้อมถึงพระพุทธองค์ได้อย่างง่ายดาย พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยได้เคยให้โอวาทไว้ว่า "ถ้ามีพระธรรมกายเพียงองค์เดียวหรือจำนวนน้อย ไม่พอที่จะทำให้ประทับลงไปในใจของคนได้ ควรจะต้องมีพระธรรมกายเป็นล้านๆ องค์ และจะต้องประดิษฐานในที่เดียวกัน เราจึงจะนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออก" ดังนั้นองค์พระที่ได้สร้างไปในวันนี้ จะเป็นกำลังใจแก่คนนับไม่ถ้วนให้เกิดเป็นบุญตาและพุทธานุสติ เพราะเป้าหมายที่สุดของมนุษยชาติจะต้องรู้ให้ได้ว่า พระธรรมกายในตัวมีลักษณะเป็นอย่างไร เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะเกิดความสุขและเกิดสันติภาพโลกได้อย่างไร
๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ คือวันปิดตำนานการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ เราทุกคนจะเป็นบุคคลมหัศจรรย์ ที่ได้ร่วมสร้างสิ่งมหัศจรรย์ ด้วยการลุยทำหน้าที่ทุ่มสุดฤทธิ์ ปิดเจดีย์ ด้วยใจใส ๆ ที่ไร้ความวิตกกังวลถึงปัญหา ประดุจม้าศึกที่วิ่งอยู่แต่ในเส้นทาง ด้วยพลังใจที่มุ่งมั่นเปี่ยมล้นด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย เชื่อเหลือเกินว่าทุกท่าน จะประสบชัยชนะ แล้วเปล่งวาจา "ชิตัง เม" ได้อย่างภาคภูมิใจ ประดุจดั่งว่าพระนิพพานเปิดแสงประทานมาให้เราได้พบทางสว่างสู่ความสำเร็จของการทุ่มสุดฤทธิ์ปิดเจดีย์ในครั้งนี้อย่างแน่นอน
Cr.พระมหาสเถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๗๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
โอกาสของผู้กล้า
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:52
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: