ปฏิวัติจุดคิด เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์แบบ
ชีวิตต้องการอะไร นับเป็นคำถามที่กว้างมาก แต่ก็ตอบได้ง่ายมาก คือทุกคนต้องการความสุขและความสำเร็จ แต่วิธีการคิดในการแสวงหาสุขของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เพราะความคิดต่างวิธีการที่แตกต่างจึงเกิดขึ้น ผลลัพธ์จึงมีทั้งได้ไปเสวยสุขในสวรรค์และเสวยทุกข์ทรมานในอบายภูมิ ทว่าวิสัยบัณฑิตมีมิติในการคิดไม่เหมือนใคร ท่านคิดนอกกรอบ จึงสามารถตอบคำถามแห่งชีวิตของตนเองได้
ในอดีตกาล พระบรมโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นช่างหม้อในกรุงพาราณสี วันหนึ่งท่านได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ เหาะมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อมาบิณฑบาต จึงเกิดความเสือมใส ได้นิมนต์ไปที่บ้านเพื่อถวายภัตตาหาร ช่างหม้อสนทนากับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า "อินทรีย์ของพวกท่านผ่องใสเหลือเกิน พวกท่านเห็นเหตุอย่างไรถึงพากันออกบวช ขอรับ" เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเล่าเรื่องราว ชีวิตก่อนการออกบวชของตนเองให้นายช่างหม้อฟัง ดังต่อไปนี้
ต้นไม้มีผลย่อมต้องถูกโค่น
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์แรกเล่าว่า ในอดีต ท่านเคยเป็นพระราชาครองเมืองทันตปุระ วันหนึ่งในเวลาเช้าได้เสด็จไปพระราชอุทยาน ผ่านต้นมะม่วงที่มีผลดก ครั้นเสด็จกลับในตอนเย็น ทอดพระเนตร เห็นต้นมะม่วงต้นนั้นหักโค่นลง ทำให้ทรงได้คิดว่า "มะม่วงต้นนี้ถูกโค่นลงเพราะออกผล แม้การครองเรือนก็เช่นกัน การบวชเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์ได้ชื่อว่ายังมีภัย ส่วนผู้ไม่มีทรัพย์ชื่อว่าปราศจากภัย แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล" ทรงกำหนดอารมณ์จากต้นมะม่วงนั้นแล้วทำสมาธิ ก็ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณในอุทยานนั้น ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบพระเกศาปรากฏเป็นเพศนักบวชในทันที ทรงได้ประทานโอวาทแก่มหาชนแล้ว จึงเหาะไปป่าหิมพานต์ เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์แรกเล่าว่า ในอดีต ท่านเคยเป็นพระราชาครองเมืองทันตปุระ วันหนึ่งในเวลาเช้าได้เสด็จไปพระราชอุทยาน ผ่านต้นมะม่วงที่มีผลดก ครั้นเสด็จกลับในตอนเย็น ทอดพระเนตร เห็นต้นมะม่วงต้นนั้นหักโค่นลง ทำให้ทรงได้คิดว่า "มะม่วงต้นนี้ถูกโค่นลงเพราะออกผล แม้การครองเรือนก็เช่นกัน การบวชเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไม่มีผล ผู้มีทรัพย์ได้ชื่อว่ายังมีภัย ส่วนผู้ไม่มีทรัพย์ชื่อว่าปราศจากภัย แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล" ทรงกำหนดอารมณ์จากต้นมะม่วงนั้นแล้วทำสมาธิ ก็ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณในอุทยานนั้น ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นลูบพระเกศาปรากฏเป็นเพศนักบวชในทันที ทรงได้ประทานโอวาทแก่มหาชนแล้ว จึงเหาะไปป่าหิมพานต์ เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมต่อไป
กำไลหยกข้างเดียวกัน ย่อมกระทบกัน
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เล่าว่า ในอดีตเคยเป็นพระราชาครองเมืองตักสิลา วันหนึ่งขณะที่ ประทับอยู่ในปราสาท ทอดพระเนตรนางกำนัลที่กำลังนั่งบดของหอมอยู่ นางสวมกำไลหยกที่ข้อมือข้างละอัน ขณะบดของหอมอยู่ก็ยังไม่มีเสียงกระทบกัน แต่เมื่อนางถอดกำไลหยกมาสวมที่ข้อมือข้างเดียวกันแล้ว กำไลก็เกิดเสียงกระทบกันขึ้น จึงทรงได้ข้อคิดว่า "ธรรมดาชีวิตครองเรือน หากแยกกันอยู่ตามลำพังก็จะไม่มีการกระทบกระทั่ง แต่เมื่อมี ๒ - ๓ คนขึ้นไป ก็ต้องมีการกระทบกระทั่งทะเลาะกัน เราควรจะเป็นเหมือนกำไลแขนข้างเดียว อยู่กับตัวเองจะดีกว่า" ทรงกำหนดอารมณ์จากกำไลหยกนั้น แล้วทำสมาธิจนได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในปราสาทนั้นเอง ทรงอธิษฐานจิตปรากฏเป็นเพศนักบวชในทันใด ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนประชุมชนในที่นั้น แล้วเหาะไปป่าหิมพานต์เช่นกัน
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เล่าว่า ในอดีตเคยเป็นพระราชาครองเมืองตักสิลา วันหนึ่งขณะที่ ประทับอยู่ในปราสาท ทอดพระเนตรนางกำนัลที่กำลังนั่งบดของหอมอยู่ นางสวมกำไลหยกที่ข้อมือข้างละอัน ขณะบดของหอมอยู่ก็ยังไม่มีเสียงกระทบกัน แต่เมื่อนางถอดกำไลหยกมาสวมที่ข้อมือข้างเดียวกันแล้ว กำไลก็เกิดเสียงกระทบกันขึ้น จึงทรงได้ข้อคิดว่า "ธรรมดาชีวิตครองเรือน หากแยกกันอยู่ตามลำพังก็จะไม่มีการกระทบกระทั่ง แต่เมื่อมี ๒ - ๓ คนขึ้นไป ก็ต้องมีการกระทบกระทั่งทะเลาะกัน เราควรจะเป็นเหมือนกำไลแขนข้างเดียว อยู่กับตัวเองจะดีกว่า" ทรงกำหนดอารมณ์จากกำไลหยกนั้น แล้วทำสมาธิจนได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในปราสาทนั้นเอง ทรงอธิษฐานจิตปรากฏเป็นเพศนักบวชในทันใด ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนประชุมชนในที่นั้น แล้วเหาะไปป่าหิมพานต์เช่นกัน
นกยื้อแย่งกันครองชี้นเนื้อ
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ เล่าว่า ในอดีตท่านเป็นพระราชาครองเมืองมิถิลา วันหนึ่งทอดพระเนตรเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งคาบชี้นเนื้อบินมา โดยมีนกตัวอื่น ๆ ไล่กวดมารุมจิกตีเพื่อแย่งชี้นเนื้อ เหยี่ยวตัวนั้นทนการรังแกไม่ไหวจึงจำยอมปล่อยชี้นเนื้อที้งไป นกตัวใหม่คาบชี้นเนื้อนั้นต่อไป และถูกรุมรังแก เหมือนเหยี่ยวตัวแรก จึงทรงได้ข้อคิดว่า "นกตัวใดที่ยังคาบชี้นเนื้ออยู่ ตัวนั้นมีทุกข์ปางตาย ผู้ที่ยังยึดติดในกามคุณชื่อว่ามีทุกข์อยู่ ส่วนใครปล่อยได้ก็จะพ้นทุกข์ เพราะกามคุณเป็นของต้องการของผู้คนทั่วไป เราควรจะเป็นดั่งเช่นนกตัวที่สละชี้นเนื้อได้แล้ว" ทรงพิจารณาถึงความทุกข์นั้น แล้วทำสมาธิจนได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทันที ทรงอธิษฐานเพศนักบวชให้ปรากฏ แล้วประทานโอวาทสั่งสอนประชุมชน แล้วเหาะไปป่าหิมพานต์
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ เล่าว่า ในอดีตท่านเป็นพระราชาครองเมืองมิถิลา วันหนึ่งทอดพระเนตรเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งคาบชี้นเนื้อบินมา โดยมีนกตัวอื่น ๆ ไล่กวดมารุมจิกตีเพื่อแย่งชี้นเนื้อ เหยี่ยวตัวนั้นทนการรังแกไม่ไหวจึงจำยอมปล่อยชี้นเนื้อที้งไป นกตัวใหม่คาบชี้นเนื้อนั้นต่อไป และถูกรุมรังแก เหมือนเหยี่ยวตัวแรก จึงทรงได้ข้อคิดว่า "นกตัวใดที่ยังคาบชี้นเนื้ออยู่ ตัวนั้นมีทุกข์ปางตาย ผู้ที่ยังยึดติดในกามคุณชื่อว่ามีทุกข์อยู่ ส่วนใครปล่อยได้ก็จะพ้นทุกข์ เพราะกามคุณเป็นของต้องการของผู้คนทั่วไป เราควรจะเป็นดั่งเช่นนกตัวที่สละชี้นเนื้อได้แล้ว" ทรงพิจารณาถึงความทุกข์นั้น แล้วทำสมาธิจนได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทันที ทรงอธิษฐานเพศนักบวชให้ปรากฏ แล้วประทานโอวาทสั่งสอนประชุมชน แล้วเหาะไปป่าหิมพานต์
วัวถูกขวิดด้วยความหึงหวง
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ เล่าว่า ในอดีตท่านเคยเป็นพระราชาครองเมืองกปิละ วันหนึ่งได้ทอดพระเนตรไปที่พระลานหลวง ขณะนั้นคนเลี้ยงวัว กำลังปล่อยวัวออกจากคอก ทรงสังเกตเห็นวัวตัวผู้หลายตัวเดินติดตามวัวตัวเมียตัวหนึ่งเพราะอำนาจตัณหา ขณะนั้น มีวัวตัวหนึ่งเกิดความหึงหวง จึงได้ขวิดท้องของตัวผู้อีกตัวจนไส้ทะลักและล้มตายทันที พระราชาทรงสลดพระทัยว่า "สัตว์โลกทั้งหลายตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานล้วนทุกข์เพราะกิเลส วัวตัวนั้นก็ต้องมาตายเพราะอำนาจกิเลส เราควรจะประหารกิเลสที่บังคับสัตว์เหล่านั้นให้หมดสี้นไปเสีย" แล้วทรงทำสมาธิจนได้บรรลุเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในที่นั้น ทรงประทานโอวาทสั่งสอนมหาชน แล้วอธิษฐานเพศนักบวชให้ปรากฏ จากนั้นก็เหาะไปที่ป่าหิมพานต์
พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับเรื่องราวเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่มีเยื่อใยในชีวิตฆราวาส และปรารถนาชีวิตนักบวช เมื่อส่งท่านทั้งสี่เรียบร้อยแล้ว ก็พูดกับภรรยาว่า "พระคุณเจ้า ๔ องค์นี้ ต่างก็สละราชสมบัติออกผนวช อย่างไม่มีกังวล ชีวิตของท่านจึงเต็มไปด้วยความสุข เราจะไม่ครองเรือนอีกต่อไปแล้ว เธอจงเลี้ยงดูลูกแทนเราด้วยเถิด"
ส่วนภรรยาก็ปรารถนาจะบวชเช่นกัน จึงพูดขึ้นมาว่า "ตั้งแต่ได้ฟังธรรมของพระคุณเจ้าแล้ว แม้ใจของฉันเองก็ไม่อยากที่จะอยู่ครองเรือน ดังนั้น ฉันจะขอไปตามทางของตัวเอง" พระโพธิสัตว์ได้ฟัง แล้วก็ได้แต่นิ่งไม่เอ่ยปากอนุญาต นางจึงตัดบทว่า "เดี๋ยวฉันจะไปหาน้ำดื่มที่ท่าน้ำก่อนนะ ขอให้ท่านดูลูกไว้ให้ดี" จึงถือหม้อน้ำทำทีเป็นเหมือนเดินไปท่าน้ำแล้วหนีไปบวชเป็นปริพาชิกา ช่างหม้อรู้ว่านางหนีไปบวชแล้ว จึงต้องก้มหน้าเลี้ยงลูกต่อไป ต่อมาเมื่อลูกเติบโตขึ้นพอช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จึงได้มอบลูกไว้ให้ญาติดูแล แล้วออกบวชเป็นฤๅษี ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาจนได้ฌาน เมื่อละโลกแล้วก็มีพรหมโลกเป็นที่ไป
พระโพธิสัตว์ครั้นได้สดับเรื่องราวเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่มีเยื่อใยในชีวิตฆราวาส และปรารถนาชีวิตนักบวช เมื่อส่งท่านทั้งสี่เรียบร้อยแล้ว ก็พูดกับภรรยาว่า "พระคุณเจ้า ๔ องค์นี้ ต่างก็สละราชสมบัติออกผนวช อย่างไม่มีกังวล ชีวิตของท่านจึงเต็มไปด้วยความสุข เราจะไม่ครองเรือนอีกต่อไปแล้ว เธอจงเลี้ยงดูลูกแทนเราด้วยเถิด"
ส่วนภรรยาก็ปรารถนาจะบวชเช่นกัน จึงพูดขึ้นมาว่า "ตั้งแต่ได้ฟังธรรมของพระคุณเจ้าแล้ว แม้ใจของฉันเองก็ไม่อยากที่จะอยู่ครองเรือน ดังนั้น ฉันจะขอไปตามทางของตัวเอง" พระโพธิสัตว์ได้ฟัง แล้วก็ได้แต่นิ่งไม่เอ่ยปากอนุญาต นางจึงตัดบทว่า "เดี๋ยวฉันจะไปหาน้ำดื่มที่ท่าน้ำก่อนนะ ขอให้ท่านดูลูกไว้ให้ดี" จึงถือหม้อน้ำทำทีเป็นเหมือนเดินไปท่าน้ำแล้วหนีไปบวชเป็นปริพาชิกา ช่างหม้อรู้ว่านางหนีไปบวชแล้ว จึงต้องก้มหน้าเลี้ยงลูกต่อไป ต่อมาเมื่อลูกเติบโตขึ้นพอช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จึงได้มอบลูกไว้ให้ญาติดูแล แล้วออกบวชเป็นฤๅษี ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาจนได้ฌาน เมื่อละโลกแล้วก็มีพรหมโลกเป็นที่ไป
เราจะเห็นว่าบัณฑิตในกาลก่อนจากที่เคยมีชีวีตที่ยิ่งใหญ่ไม่ด้อยไปกว่าใคร แต่ทว่ากลับมีความคิดที่ไม่สนต่อแรงดึงดูดของโลก ที่ทำให้ชาวโลกพากันหาความสุขซึ่งมาพร้อมกับทุกข์ ที่ทำให้ต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่รู้จบ ดังนั้นท่านจึงไม่ได้เลือกทางเดินแบบเดิม แต่เลือกเส้นทางสายใหม่ที่สดใสกว่าเดิม คือ เส้นทางสมณะ ที่จะยกตนจากสิ่งสมมติ มุ่งสู่วิมุตติเหมือนนกที่หลุดพ้นจากบ่วงของนายพราน โผผินบินไปในอากาศได้อย่างอิสรเสรี
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย.. ควรมีโอกาสสักครั้งที่จะได้มาใช้ชีวิตอันบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ เพื่อศึกษา เรียนรู้ธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง มาเริ่มแสวงหาความสุขที่แท้จริงให้กับชีวิต ด้วยการหยุดคิดและทำจิตให้บริสุทธิ์กันเถอะ นี่คือการลงทุนชีวิตอย่างคุ้มค่า สมกับที่ได้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน แสวงหาคำตอบให้กับชีวิตมายาวนาน.. การแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต ต้องเริ่มต้นด้วยการหยุดคิด.. เพราะ "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย.. ควรมีโอกาสสักครั้งที่จะได้มาใช้ชีวิตอันบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ เพื่อศึกษา เรียนรู้ธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง มาเริ่มแสวงหาความสุขที่แท้จริงให้กับชีวิต ด้วยการหยุดคิดและทำจิตให้บริสุทธิ์กันเถอะ นี่คือการลงทุนชีวิตอย่างคุ้มค่า สมกับที่ได้เอาชีวิตเป็นเดิมพัน แสวงหาคำตอบให้กับชีวิตมายาวนาน.. การแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต ต้องเริ่มต้นด้วยการหยุดคิด.. เพราะ "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"
Cr. เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘๑ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ปฏิวัติจุดคิด เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์แบบ
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:19
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: