การยอมรับความเปลี่ยนแปลง
วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ในโลกยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมาก เราต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางเรื่องเป็นเรื่องเฉพาะตัวเรา บางเรื่องเป็นเรื่องของหมู่คณะ บ้างก็เป็นเรื่องระดับประเทศ ระดับโลก แล้วเราก็ต้องมีบทบาทอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
๑. ตัวเราเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
๒. ตัวเราเป็นผู้รับการเปลี่ยนแปลง
เราจะรับบทบาท ๒ บทบาทนี้อย่างไร
ประเด็นแรก ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีข้อที่ควรคำนึงถึง ๒ ข้อ คือ
๑) การเปลี่ยนแปลงที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า วิสัยทัศน์ในการนำการเปลี่ยนแปลง ถูกต้องและชัดเจนไหม ถ้าผู้นำนำไปถูกทาง ก็ดีไป แต่ถ้านำไปผิดทาง ก็ลงเหวกันทั้งคณะ เหมือนอย่างกอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต คิดว่าโซเวียตถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว อยู่อย่างเก่าไม่ได้ ไปไม่รอด เศรษฐกิจแย่แล้ว ก็เลยให้นโยบายกลาสนอสต์และเปเรสทรอยก้า ซึ่งโด่งดังมาก ไทม์แมกกาซีนขึ้นหน้าปก เลือกให้กอร์บาชอฟ เป็น The Man of the Year เป็นบุรุษแห่งปีของโลก
แต่ปรากฏว่า ผ่านไปแค่ ๕ ปีเท่านั้น สหภาพโซเวียตแตกสลายกลายเป็น ๑๕ ประเทศ จนถึงปัจจุบัน เพียงแค่นำการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ประเทศยักษ์ใหญ่ ๑ ใน ๒ อภิมหาอำนาจของโลกแตกสลายโดยข้าศึกไม่ต้องทำอะไรเลย มีคนเคยถามกอร์บาชอฟว่า คุณกำลังจะนำการเปลี่ยนแปลงไปทางไหน ภาพของสหภาพโซเวียตเมื่อสำเร็จรูปแล้วจะเป็นอย่างไร กอร์บาชอฟ ตอบว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่ามันต้องเปลี่ยน ต้องเปิดกว้างทั้งเศรษฐกิจและการเมืองไปพร้อมกัน ตอนเปลี่ยนใหม่ ๆ ใคร ๆ ก็ชม ปรากฏว่าสุดท้าย ลงเหวไปเลย
เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเสมอไป ถ้านำไปถูกทิศก็ดี แต่ถ้าผิด ทิศจะทำให้เกิดอันตรายได้
ประเด็นแรก ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีข้อที่ควรคำนึงถึง ๒ ข้อ คือ
๑) การเปลี่ยนแปลงที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า วิสัยทัศน์ในการนำการเปลี่ยนแปลง ถูกต้องและชัดเจนไหม ถ้าผู้นำนำไปถูกทาง ก็ดีไป แต่ถ้านำไปผิดทาง ก็ลงเหวกันทั้งคณะ เหมือนอย่างกอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต คิดว่าโซเวียตถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว อยู่อย่างเก่าไม่ได้ ไปไม่รอด เศรษฐกิจแย่แล้ว ก็เลยให้นโยบายกลาสนอสต์และเปเรสทรอยก้า ซึ่งโด่งดังมาก ไทม์แมกกาซีนขึ้นหน้าปก เลือกให้กอร์บาชอฟ เป็น The Man of the Year เป็นบุรุษแห่งปีของโลก
แต่ปรากฏว่า ผ่านไปแค่ ๕ ปีเท่านั้น สหภาพโซเวียตแตกสลายกลายเป็น ๑๕ ประเทศ จนถึงปัจจุบัน เพียงแค่นำการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น ประเทศยักษ์ใหญ่ ๑ ใน ๒ อภิมหาอำนาจของโลกแตกสลายโดยข้าศึกไม่ต้องทำอะไรเลย มีคนเคยถามกอร์บาชอฟว่า คุณกำลังจะนำการเปลี่ยนแปลงไปทางไหน ภาพของสหภาพโซเวียตเมื่อสำเร็จรูปแล้วจะเป็นอย่างไร กอร์บาชอฟ ตอบว่าผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ว่ามันต้องเปลี่ยน ต้องเปิดกว้างทั้งเศรษฐกิจและการเมืองไปพร้อมกัน ตอนเปลี่ยนใหม่ ๆ ใคร ๆ ก็ชม ปรากฏว่าสุดท้าย ลงเหวไปเลย
เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเสมอไป ถ้านำไปถูกทิศก็ดี แต่ถ้าผิด ทิศจะทำให้เกิดอันตรายได้
แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงนี้ จะดีจริง ๆ เรื่องนี้จะสัมพันธ์กับข้อที่ ๒ คือ
๒) ถ้าเรื่องไหนที่เรายังไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ก็ควรทำ Pilot Project คือ โครงการนำร่อง ทดลองในกลุ่มที่ไม่ใหญ่เกินไปก่อน แล้วดูผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ดีจริงไหม ถ้ามีรายละเอียดบางอย่างต้องปรับแก้ ก็ปรับแก้ให้เรียบร้อย แล้วค่อยขยายผลไปสู่ระดับที่กว้างขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมาโยงถึงประเด็นต่อไป คือ
กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรที่เรารับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร ประเด็นนี้ ฝากไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. เราในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างเครดิตให้ตัวเองเสียก่อน ถ้าเครดิตดีจะเปลี่ยน อะไรก็ง่าย เพราะผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชายอมรับเรา พูดคำเดียวเขาก็ทำตาม แรงต้านก็ไม่มี แต่ถ้าเครดิต ไม่พอ เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องยากก็ยิ่งยาก เพราะว่าแต่ละเรื่องก็จะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวาย ถ้าเครดิตเราดีมากขึ้นเท่าไร แรงต้านก็จะยิ่งน้อยลง แล้วการเปลี่ยนแปลงก็จะราบรื่น
๒) ถ้าเรื่องไหนที่เรายังไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ก็ควรทำ Pilot Project คือ โครงการนำร่อง ทดลองในกลุ่มที่ไม่ใหญ่เกินไปก่อน แล้วดูผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ดีจริงไหม ถ้ามีรายละเอียดบางอย่างต้องปรับแก้ ก็ปรับแก้ให้เรียบร้อย แล้วค่อยขยายผลไปสู่ระดับที่กว้างขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมาโยงถึงประเด็นต่อไป คือ
กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรที่เรารับผิดชอบ ต้องทำอย่างไร ประเด็นนี้ ฝากไว้ ๓ ข้อ คือ
๑. เราในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างเครดิตให้ตัวเองเสียก่อน ถ้าเครดิตดีจะเปลี่ยน อะไรก็ง่าย เพราะผู้ที่อยู่ในบังคับบัญชายอมรับเรา พูดคำเดียวเขาก็ทำตาม แรงต้านก็ไม่มี แต่ถ้าเครดิต ไม่พอ เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องยากก็ยิ่งยาก เพราะว่าแต่ละเรื่องก็จะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวาย ถ้าเครดิตเราดีมากขึ้นเท่าไร แรงต้านก็จะยิ่งน้อยลง แล้วการเปลี่ยนแปลงก็จะราบรื่น
ถามว่าเครดิตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบมีอยู่ ๒ อย่างคือ
๑.๑ เราต้องสั่งสมบารมี คือ ทำผลงานที่ดีออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้คนที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในตัวเราว่า วิสัยทัศน์ของเราใช้ได้จริง ๆ เวลาจะทำอะไรก็สำเร็จหมด
๑.๒ เราจะต้องทำแบบไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีผลประโยชน์ตัวเองเข้าไป แอบแฝง อย่างนี้คนก็จะไม่ระแวง ถ้าเครดิตและผลงานเสริมกันอย่างนี้แล้วละก็ น้ำหนักในการชี้นำของตัวเองจะเพี่มขึ้นมาอย่างมหาศาล
๒. กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลง ให้ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่าบุ่มบ่าม ให้ชั่งน้ำหนัก เสมอว่า เครดิตของเราในใจของผู้รับผลกระทบทั้งหมดมีขนาดไหน แล้วก็ทำการเปลี่ยนแปลงไปเท่าที่น้ำหนักเรามี แต่ถ้าเราเดินเร็วเกินไปจนกระทั่งเครดิตที่เรามีอยู่ไม่พอจะรองรับ ผลกระทบจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล
อย่างกรณีการเลิกทาสของไทยกับสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินงานอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน พอที่คนอื่นจะรับได้ ทรงประกาศก่อนว่าจะไม่แตะต้องทาสเก่าที่มีอยู่แล้ว แต่ทาสในเรือนเบี้ย คือลูกทาสที่เกิดมานับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ขอให้เป็นไทแก่ตัวทุกคน คนที่มีทาส ทั้งหลายก็พอรับได้ แล้วพระองค์ก็ทรงค่อย ๆ ทำทีละขั้น ใช้เวลา ๓๐ กว่าปี จึงประกาศเลิกทาสทั้งแผ่นดิน ซึ่งตอนนั้นกระทบผลประโยชน์ของแต่ละคน ไม่มาก เพราะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้น เป็นตอนมาแล้ว จึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง
แต่ที่อเมริกา พอประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาส ผลคือ รัฐทางฝ่ายใต้ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมต้องมีทาสมาก ๆ ไม่อยากเลิกทาส เพราะจะเสียผลประโยชน์มาก ไม่เหมือนรัฐทางฝ่ายเหนือที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ต้องการให้แต่ละคนมีอิสระ ซึ่งจะทำให้หาแรงงานมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่าย พอลินคอล์นประกาศเลิกทาส เปรี้ยง! ฝ่ายใต้ประกาศแยกตัวทันที เกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา คนตายมหาศาล ความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย เป็นบาดแผลใหญ่ของคนอเมริกาจนถึงปัจจุบันนี้
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศจีน เดิมเป็นคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงนำระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้ประมาณ ๓๐ ปี พอเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิตไปแล้ว เตี้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ประกาศนโยบายว่าต้องการนำเศรษฐกิจการตลาดเข้ามา แต่พวกคอมมิวนิสต์เขาคิดว่าเศรษฐกิจการตลาดเป็นของทุนนิยม เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน พอเตี้งเสี่ยวผิงจะเอานโยบายนี้เข้ามาใช้ แรงต้านในพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีมหาศาล
เตี้งเสี่ยวผิงใช้วีธิการเดินงานเป็นขั้นเป็นตอน ขอจุดเล็ก ๆ อย่างเสิ่นเจี้น ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ทำเลดีเพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามฮ่องกง ขอใช้ระบบการตลาด แล้วก็ให้สิทธิพิเศษกับคนที่มาลงทุน ยกเว้นภาษีให้ อำนวยความสะดวกให้หลายอย่าง คนอื่น ๆ ในพรรครู้สึกว่าเป็นของเล่นของผู้มีอำนาจ พื้นที่เล็ก ๆ ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ประชากรแค่ ๓๐,๐๐๐ คน เทียบกับทั้งประเทศหลายพันล้านคนถือว่าน้อยมาก เมื่อผู้นำขอก็อนุมัติ จากจุดเล็ก ๆ พอทำไป ๓ ปี ๕ ปี เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก คราวนี้ เตี้งเสี่ยวผิงจะพูดอะไรน้ำหนักก็ดีขึ้น เพราะไม่ใช่แนวคิดแล้ว แต่กลายเป็นสิ่งที่ทำได้จริง และมีผลประจักษ์ให้เห็น
จากจุดเดียวก็เริ่มขยายเป็นหลาย ๆ จุด สุดท้ายขยายทั้งประเทศ เสียงต้านก็พอมีอยู่บ้าง แต่น้ำหนักอ่อนลงไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นผลกับตาว่า ตรงไหนใช้เศรษฐกิจพิเศษ ใช้ระบบการตลาดเข้ามา เจริญหมด ผลก็คือ เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ๓๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงปัจจุบัน ๓๐ ปีมานี้ เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละเกือบ ๑๐ % ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก
แต่ต้องรอดูต่อไปว่าจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะทุก ๆ อย่าง เป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก ทิศทางใหญ่ถูกแล้ว แต่ถ้าทิศทางย่อยเดินผิด ก็ล้มอีกเหมือนกัน แต่ละอย่างต้องเดินด้วยความสุขุม รอบคอบ ระมัดระวังตลอดเวลา จะนำคนเป็นพัน ๆ ล้านคนไม่ใช่ของง่าย วิสัยทัศน์ที่ถูกต้องของคนเพียงคนเดียว ถ้าทำดี ๆ ให้ถูกวิธีการ ก็ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนเป็นพัน ๆ ล้านคนทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้านำไปผิด ก็จะทำให้คนเป็นพันล้านคนเดือดร้อนไปหมดได้ เช่น ระบอบคอมมิวนิสต์ เริ่มต้นทำเหมือนดี คือ ให้ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผลิตอะไรได้มาก็แบ่งปันเท่าเทียมกัน เหมือนสังคมในฝัน แต่ลืมมองความจริงว่า คนแต่ละคนขยันไม่เท่ากัน ความพากเพียรพยายามไม่เท่ากัน ความประหยัดไม่เหมือนกัน นิสัยไม่เหมือนกัน สติปัญญาไม่เท่ากัน พอทุกคนได้เท่ากันหมด คนก็เลยไม่ทุ่มเท ไม่รู้จะทุ่มไปทำไม ทุ่มเท่าไรก็ได้เท่ากัน ผลคือประสิทธิภาพการผลิตลดฮวบฮาบ แล้วระบอบคอมมิวนิสต์เองก็ไปไม่รอด เพราะขัดแย้งกับพื้นฐานความเป็นจริงของมนุษย์หลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบกับคนเป็นร้อยเป็นพันล้านคนมาเกือบ ๑๐๐ ปีเพราะว่านำไปผิด ๆ
๓. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราทำนั้นถูกหรือผิด คำตอบคือ ถ้าไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ให้ทดลองทำดูก่อน การทดลองจะเป็นตัวบอกเราได้ ลองผิดลองถูกไปแล้ว ได้ข้อมูลแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้เครดิตมาด้วย ค่อย ๆ ขยายผลเป็นขั้นเป็นตอนไป ตัวเราเองที่นำการเปลี่ยนแปลงก็ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น อะไรที่ไม่ถูกเราก็แก้ แล้วทุกคนที่ได้รับผลกระทบก็ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีโอกาสในการปรับตัว
วิธีการนี้ในปัจจุบันก็มีคนนำมาใช้กันมาก แม้แต่บริษัทที่จะผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมาขาย ก็ต้องมีการทดลองตลาด คือ เอาสินค้าไปวางในเขตพื้นที่จำกัด แล้วดูว่ากระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง มีข้อเสียอะไรที่ต้องปรับปรุง พอปรับปรุงสิ่งเหล่านี้เสร็จ คราวนี้ก็ขยายตลาดทั้งประเทศ
ในการเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีผู้ได้รับผลกระทบ มีคนเสียประโยชน์ มีคนได้ประโยชน์ เราต้องดูตรงนี้ให้ดีว่าเราทำทุกอย่างด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร และให้เขาได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าอย่างนี้คนพอจะรับกันได้ ส่วนผลกระทบในแง่ของความคุ้นเคยเดิม ๆ ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ต้องค่อย ๆ ปรับให้ตรงกัน โดยชื่นชม ยกย่อง ให้เกียรติเขา โอกาสได้รับความร่วมมือก็จะสูงขึ้น ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเปลี่ยนไม่ดี ก็จะพากันเสียหาย แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงได้ดี ถูกต้อง ทั้งทิศทางและกระบวนการ ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับตัวของเรา หมู่คณะของเรา ประเทศชาติ หรือโลกอย่างมหาศาลทีเดียว
ประเด็นที่ ๒ ในฐานะผู้รับการเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจ หรือว่าดำเนินการอย่างไร ให้เป็นประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด
การทัดทานอะไรต่าง ๆ นั้น ไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไร ขอให้วางใจเรากลาง ๆ นี่ง ๆ อารมณ์ขัดเคืองไม่พอใจผู้อื่นพยายามเอาออกไป ให้หมดจากใจของเรา นั่งสมาธิใจนี่ง ๆ สบาย ๆ แล้วก็ใคร่ครวญดูสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นว่า จริง ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ดีหรือไม่ดี มีบางส่วนดี บางส่วนไม่ดี ควรจะปรับอย่างไร แล้วเข้าไปร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั้นเองด้วย ในส่วนที่เราสามารถทำได้ ทำอย่างนี้เป็นประโยชน์ที่สุด ถ้าเรามัวแต่ค้าน ก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่ว่าถ้าเราเข้าร่วมในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง อย่างน้อยทำให้ส่วนที่เรารับผิดชอบปรับไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง อย่างนี้เป็นประโยชน์มากกว่า ขณะเดียวกัน เราก็ควรจะฝึกอัธยาศัยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเอง เพราะว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ให้ดูว่ามีอะไรใหม่เกิดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราก็ใหม่ กติกาของสังคมกฎหมาย กฎระเบียบใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราควรจะใช้สี่งนั้นให้เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วนำมาเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเลย คนที่ทำอย่างนี้ได้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากที่สุด
ดังตัวอย่าง ยูทูบ (YouTube) เขาเห็นว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตมีบอร์ดแบนด์เข้ามาแล้ว ความเร็วสูงมาก สามารถดูวิดีโอทางอินเทอร์เน็ตได้ เขาก็ไปรวมวิดีโอมาได้ ๕๐ เรื่อง แล้วตั้งเว็บไซต์ยูทูบขึ้นมา ตั้งตัวเองเป็นเวทีกลาง ใครสนใจก็มาดูกัน ปรากฏว่าวิสัยทัศน์ของเขาถูก ใครมีอะไรน่าดู ก็อยากให้คนอื่นเห็นสี่งที่ตัวเองถ่ายไว้ รูปตัวเองบ้าง ธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือเรื่องอะไรที่น่าสนใจ ก็มาแบ่งให้คนอื่นดู เห็นคนมาดูเยอะ ๆ ตัวเองก็ปลื้มใจ ผ่านไปปีเศษ ผลคือในเว็บไซต์ยูทูบมีวิดีโอ ๑๐๐ ล้านเรื่อง เจ้าของเว็บไซต์ทำหน้าที่จัดระเบียบ จัดหมวดหมู่ ให้คนดูหาเนื้อหาได้ง่าย ผ่านไปปีกว่า ๆ Google มาขอซื้อ ได้ผลตอบแทนมา ๕-๖ หมื่นล้านบาท ปีเศษ เท่านั้น เพราะวิสัยทัศน์ถูกต้อง สามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปได้
ดังนั้น เราจะเป็นคนที่ยึดติดกับสี่งเก่า ๆ โดยไม่ยอมลืมตาดูรอบตัวหรือ ลองเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วดูสิว่าจะมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร บางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจเรานัก ต้องเรียนรู้ใหม่ อะไรเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสียเวลาปรับตัว แต่ผลลัพธ์ที่ดีย่อมเกิดกับตัวเราเองเสมอ
๑.๑ เราต้องสั่งสมบารมี คือ ทำผลงานที่ดีออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งผู้คนที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในตัวเราว่า วิสัยทัศน์ของเราใช้ได้จริง ๆ เวลาจะทำอะไรก็สำเร็จหมด
๑.๒ เราจะต้องทำแบบไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีผลประโยชน์ตัวเองเข้าไป แอบแฝง อย่างนี้คนก็จะไม่ระแวง ถ้าเครดิตและผลงานเสริมกันอย่างนี้แล้วละก็ น้ำหนักในการชี้นำของตัวเองจะเพี่มขึ้นมาอย่างมหาศาล
๒. กระบวนการในการนำการเปลี่ยนแปลง ให้ทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่าบุ่มบ่าม ให้ชั่งน้ำหนัก เสมอว่า เครดิตของเราในใจของผู้รับผลกระทบทั้งหมดมีขนาดไหน แล้วก็ทำการเปลี่ยนแปลงไปเท่าที่น้ำหนักเรามี แต่ถ้าเราเดินเร็วเกินไปจนกระทั่งเครดิตที่เรามีอยู่ไม่พอจะรองรับ ผลกระทบจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล
อย่างกรณีการเลิกทาสของไทยกับสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทย รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินงานอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน พอที่คนอื่นจะรับได้ ทรงประกาศก่อนว่าจะไม่แตะต้องทาสเก่าที่มีอยู่แล้ว แต่ทาสในเรือนเบี้ย คือลูกทาสที่เกิดมานับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ขอให้เป็นไทแก่ตัวทุกคน คนที่มีทาส ทั้งหลายก็พอรับได้ แล้วพระองค์ก็ทรงค่อย ๆ ทำทีละขั้น ใช้เวลา ๓๐ กว่าปี จึงประกาศเลิกทาสทั้งแผ่นดิน ซึ่งตอนนั้นกระทบผลประโยชน์ของแต่ละคน ไม่มาก เพราะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้น เป็นตอนมาแล้ว จึงไม่มีการเสียเลือดเนื้อ ไม่เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง
แต่ที่อเมริกา พอประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาส ผลคือ รัฐทางฝ่ายใต้ซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรมต้องมีทาสมาก ๆ ไม่อยากเลิกทาส เพราะจะเสียผลประโยชน์มาก ไม่เหมือนรัฐทางฝ่ายเหนือที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ต้องการให้แต่ละคนมีอิสระ ซึ่งจะทำให้หาแรงงานมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่าย พอลินคอล์นประกาศเลิกทาส เปรี้ยง! ฝ่ายใต้ประกาศแยกตัวทันที เกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา คนตายมหาศาล ความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย เป็นบาดแผลใหญ่ของคนอเมริกาจนถึงปัจจุบันนี้
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศจีน เดิมเป็นคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงนำระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาใช้ประมาณ ๓๐ ปี พอเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิตไปแล้ว เตี้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ประกาศนโยบายว่าต้องการนำเศรษฐกิจการตลาดเข้ามา แต่พวกคอมมิวนิสต์เขาคิดว่าเศรษฐกิจการตลาดเป็นของทุนนิยม เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน พอเตี้งเสี่ยวผิงจะเอานโยบายนี้เข้ามาใช้ แรงต้านในพรรคคอมมิวนิสต์จึงมีมหาศาล
เตี้งเสี่ยวผิงใช้วีธิการเดินงานเป็นขั้นเป็นตอน ขอจุดเล็ก ๆ อย่างเสิ่นเจี้น ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวประมง แต่ทำเลดีเพราะอยู่ฝั่งตรงข้ามฮ่องกง ขอใช้ระบบการตลาด แล้วก็ให้สิทธิพิเศษกับคนที่มาลงทุน ยกเว้นภาษีให้ อำนวยความสะดวกให้หลายอย่าง คนอื่น ๆ ในพรรครู้สึกว่าเป็นของเล่นของผู้มีอำนาจ พื้นที่เล็ก ๆ ไม่กี่ตารางกิโลเมตร ประชากรแค่ ๓๐,๐๐๐ คน เทียบกับทั้งประเทศหลายพันล้านคนถือว่าน้อยมาก เมื่อผู้นำขอก็อนุมัติ จากจุดเล็ก ๆ พอทำไป ๓ ปี ๕ ปี เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก คราวนี้ เตี้งเสี่ยวผิงจะพูดอะไรน้ำหนักก็ดีขึ้น เพราะไม่ใช่แนวคิดแล้ว แต่กลายเป็นสิ่งที่ทำได้จริง และมีผลประจักษ์ให้เห็น
จากจุดเดียวก็เริ่มขยายเป็นหลาย ๆ จุด สุดท้ายขยายทั้งประเทศ เสียงต้านก็พอมีอยู่บ้าง แต่น้ำหนักอ่อนลงไปเรื่อย ๆ เพราะเห็นผลกับตาว่า ตรงไหนใช้เศรษฐกิจพิเศษ ใช้ระบบการตลาดเข้ามา เจริญหมด ผลก็คือ เศรษฐกิจของประเทศจีนเติบโตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ๓๐ ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงปัจจุบัน ๓๐ ปีมานี้ เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละเกือบ ๑๐ % ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก
แต่ต้องรอดูต่อไปว่าจากนี้จะเป็นอย่างไร เพราะทุก ๆ อย่าง เป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก ทิศทางใหญ่ถูกแล้ว แต่ถ้าทิศทางย่อยเดินผิด ก็ล้มอีกเหมือนกัน แต่ละอย่างต้องเดินด้วยความสุขุม รอบคอบ ระมัดระวังตลอดเวลา จะนำคนเป็นพัน ๆ ล้านคนไม่ใช่ของง่าย วิสัยทัศน์ที่ถูกต้องของคนเพียงคนเดียว ถ้าทำดี ๆ ให้ถูกวิธีการ ก็ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนเป็นพัน ๆ ล้านคนทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้านำไปผิด ก็จะทำให้คนเป็นพันล้านคนเดือดร้อนไปหมดได้ เช่น ระบอบคอมมิวนิสต์ เริ่มต้นทำเหมือนดี คือ ให้ทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผลิตอะไรได้มาก็แบ่งปันเท่าเทียมกัน เหมือนสังคมในฝัน แต่ลืมมองความจริงว่า คนแต่ละคนขยันไม่เท่ากัน ความพากเพียรพยายามไม่เท่ากัน ความประหยัดไม่เหมือนกัน นิสัยไม่เหมือนกัน สติปัญญาไม่เท่ากัน พอทุกคนได้เท่ากันหมด คนก็เลยไม่ทุ่มเท ไม่รู้จะทุ่มไปทำไม ทุ่มเท่าไรก็ได้เท่ากัน ผลคือประสิทธิภาพการผลิตลดฮวบฮาบ แล้วระบอบคอมมิวนิสต์เองก็ไปไม่รอด เพราะขัดแย้งกับพื้นฐานความเป็นจริงของมนุษย์หลาย ๆ อย่าง ส่งผลกระทบกับคนเป็นร้อยเป็นพันล้านคนมาเกือบ ๑๐๐ ปีเพราะว่านำไปผิด ๆ
๓. แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราทำนั้นถูกหรือผิด คำตอบคือ ถ้าไม่มั่นใจ ๑๐๐ % ให้ทดลองทำดูก่อน การทดลองจะเป็นตัวบอกเราได้ ลองผิดลองถูกไปแล้ว ได้ข้อมูลแล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้เครดิตมาด้วย ค่อย ๆ ขยายผลเป็นขั้นเป็นตอนไป ตัวเราเองที่นำการเปลี่ยนแปลงก็ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น อะไรที่ไม่ถูกเราก็แก้ แล้วทุกคนที่ได้รับผลกระทบก็ได้รับผลกระทบอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีโอกาสในการปรับตัว
วิธีการนี้ในปัจจุบันก็มีคนนำมาใช้กันมาก แม้แต่บริษัทที่จะผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมาขาย ก็ต้องมีการทดลองตลาด คือ เอาสินค้าไปวางในเขตพื้นที่จำกัด แล้วดูว่ากระแสตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง มีข้อเสียอะไรที่ต้องปรับปรุง พอปรับปรุงสิ่งเหล่านี้เสร็จ คราวนี้ก็ขยายตลาดทั้งประเทศ
ในการเปลี่ยนแปลงนั้น จะมีผู้ได้รับผลกระทบ มีคนเสียประโยชน์ มีคนได้ประโยชน์ เราต้องดูตรงนี้ให้ดีว่าเราทำทุกอย่างด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร และให้เขาได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ถ้าอย่างนี้คนพอจะรับกันได้ ส่วนผลกระทบในแง่ของความคุ้นเคยเดิม ๆ ความคิดที่ไม่เหมือนกัน ต้องค่อย ๆ ปรับให้ตรงกัน โดยชื่นชม ยกย่อง ให้เกียรติเขา โอกาสได้รับความร่วมมือก็จะสูงขึ้น ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเปลี่ยนไม่ดี ก็จะพากันเสียหาย แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงได้ดี ถูกต้อง ทั้งทิศทางและกระบวนการ ผลดีก็จะเกิดขึ้นกับตัวของเรา หมู่คณะของเรา ประเทศชาติ หรือโลกอย่างมหาศาลทีเดียว
ประเด็นที่ ๒ ในฐานะผู้รับการเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจ หรือว่าดำเนินการอย่างไร ให้เป็นประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด
การทัดทานอะไรต่าง ๆ นั้น ไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไร ขอให้วางใจเรากลาง ๆ นี่ง ๆ อารมณ์ขัดเคืองไม่พอใจผู้อื่นพยายามเอาออกไป ให้หมดจากใจของเรา นั่งสมาธิใจนี่ง ๆ สบาย ๆ แล้วก็ใคร่ครวญดูสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นว่า จริง ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ดีหรือไม่ดี มีบางส่วนดี บางส่วนไม่ดี ควรจะปรับอย่างไร แล้วเข้าไปร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนั้นเองด้วย ในส่วนที่เราสามารถทำได้ ทำอย่างนี้เป็นประโยชน์ที่สุด ถ้าเรามัวแต่ค้าน ก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่ว่าถ้าเราเข้าร่วมในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง อย่างน้อยทำให้ส่วนที่เรารับผิดชอบปรับไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง อย่างนี้เป็นประโยชน์มากกว่า ขณะเดียวกัน เราก็ควรจะฝึกอัธยาศัยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ตัวเอง เพราะว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ให้ดูว่ามีอะไรใหม่เกิดขึ้น เทคโนโลยีใหม่ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราก็ใหม่ กติกาของสังคมกฎหมาย กฎระเบียบใหม่ ๆ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราควรจะใช้สี่งนั้นให้เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง แล้วนำมาเปลี่ยนแปลงตัวเราเองเลย คนที่ทำอย่างนี้ได้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากที่สุด
ดังตัวอย่าง ยูทูบ (YouTube) เขาเห็นว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป อินเทอร์เน็ตมีบอร์ดแบนด์เข้ามาแล้ว ความเร็วสูงมาก สามารถดูวิดีโอทางอินเทอร์เน็ตได้ เขาก็ไปรวมวิดีโอมาได้ ๕๐ เรื่อง แล้วตั้งเว็บไซต์ยูทูบขึ้นมา ตั้งตัวเองเป็นเวทีกลาง ใครสนใจก็มาดูกัน ปรากฏว่าวิสัยทัศน์ของเขาถูก ใครมีอะไรน่าดู ก็อยากให้คนอื่นเห็นสี่งที่ตัวเองถ่ายไว้ รูปตัวเองบ้าง ธรรมชาติ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือเรื่องอะไรที่น่าสนใจ ก็มาแบ่งให้คนอื่นดู เห็นคนมาดูเยอะ ๆ ตัวเองก็ปลื้มใจ ผ่านไปปีเศษ ผลคือในเว็บไซต์ยูทูบมีวิดีโอ ๑๐๐ ล้านเรื่อง เจ้าของเว็บไซต์ทำหน้าที่จัดระเบียบ จัดหมวดหมู่ ให้คนดูหาเนื้อหาได้ง่าย ผ่านไปปีกว่า ๆ Google มาขอซื้อ ได้ผลตอบแทนมา ๕-๖ หมื่นล้านบาท ปีเศษ เท่านั้น เพราะวิสัยทัศน์ถูกต้อง สามารถนำการเปลี่ยนแปลงไปได้
ดังนั้น เราจะเป็นคนที่ยึดติดกับสี่งเก่า ๆ โดยไม่ยอมลืมตาดูรอบตัวหรือ ลองเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แล้วดูสิว่าจะมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร บางเรื่องอาจจะไม่ถูกใจเรานัก ต้องเรียนรู้ใหม่ อะไรเปลี่ยนแปลงก็ต้องเสียเวลาปรับตัว แต่ผลลัพธ์ที่ดีย่อมเกิดกับตัวเราเองเสมอ
Cr. พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘๒ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
การยอมรับความเปลี่ยนแปลง
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:11
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: