อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์ฯ
พระธรรมเทศนา
อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง อาคารหลังนี้หลวงพ่อรับเป็นประธานในการสร้าง เมื่อตั้งใจแล้วต้องลุยให้สำเร็จให้ได้ เพราะว่าจะเป็นจุดที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก
ซึ่งตอนนี้เราเริ่มเห็นผู้มีบุญ ท่านศาสตราจารย์จากหลาย ๆ ประเทศ ให้ความสำคัญในการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาเถรวาท จนกระทั่งให้โอกาสตัวเองได้มาบวช แต่ละท่านนั้นเป็นนักวิชาการระดับโลก โดยเฉพาะท่านศาสตราจารย์จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นนักวิชาการระดับโลก บวชแล้วก็ขึ้นไปปฏิบัติธรรมที่วัดกิ่วลม แล้วก็ไปพักอยู่ที่สนแก้ววนาราม ปฏิบัติธรรมใต้ต้นไทร ท่านบอกว่าบรรยากาศเหมือนสมัยพุทธกาล ท่านมีปีติเบิกบานและมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดี ท่านมีความสุขมาก ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องพระอภิธรรมมา ๔๐ ปี แต่ท่านบอกว่าใน ๔๐ ปีที่ผ่านมา มันมีอยู่ในตำราเท่านั้นเอง ยังไม่เคยพบความสุขจากการปฏิบัติจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ท่านปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาที่ท่านศึกษาพระอภิธรรม ๔๐ ปี ในหลาย ๆ วิธีการ แต่เพิ่งมาพบความสุขตอนมาบวช และปฏิบัติธรรมที่วัดกิ่วลม ที่สนแก้ววนาราม
และท่านยังบอกอีกว่า ได้ออกไปบิณฑบาต น้ำตาท่านไหลด้วยความปีติ คือ ท่านเห็นชาวบ้านที่เป็นชาวพุทธมีกุศลศรัทธามาใส่บาตรของท่านอย่างมีระบบระเบียบ อาหารก็ไม่ใช่จะประณีตอะไรมากอย่างที่ท่านเคยเห็น แต่ว่าใจของทุกคนประณีต และได้จัดเตรียมอาหารที่ดีที่สุด ดีกว่าที่ภายในบ้านของเขาจะได้รับประทานเอามาใส่ เพื่อจะให้เป็นกำลังแห่งการตรัสรู้ธรรมของพุทธบุตร ท่านสังเกตเห็น และน้ำตาแห่งความปีติของท่านไหลระหว่างท่านเดินบิณฑบาต แต่ในตัวท่านเห็นพระภายใน แล้วท่านยังบอกว่าให้ใช้ชื่อของท่านได้เลยในการที่จะประกาศเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย และท่านมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีในระดับหนึ่งเป็นครั้งแรก และได้พบความสุขอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นครั้งแรก จะมีอย่างนี้ขึ้นอีกในหลาย ๆ สถาบัน ของต่างประเทศ มีทั้งญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอีกหลาย ๆ แห่ง ที่แต่ละมหาวิทยาลัยเชื่อมโยงกัน ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่พุทธศาสนา วิชชาธรรมกายกำลังจะขยายออกไป
เพราะฉะนั้นอาคารหลังนี้จึงมีความสำคัญ เพราะจะเป็นส่วนสำคัญที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปริยัติธรรม และจะเป็นที่ประชุมของนักวิชาการระดับโลกทั่วโลกที่จะมาประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีคัมภีร์เก่า ๆ มากมายที่เก็บคำสอนดั้งเดิมเอาไว้ในภาษาต่าง ๆ บางคัมภีร์เก็บไว้ในเปลือกไม้ อย่างของเรามีเก็บไว้ในใบลาน เปลือกไม้ถือว่าเก่าที่สุดประมาณหลังพุทธปรินิพพาน ๖๐๐ ปี จารึกคำสอนดั้งเดิมอย่างนี้เราได้มาจากนักวิชาการ ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน
อาคารหลังนี้จะเป็นที่รวบรวมคำสอนความรู้เกี่ยวกับเรื่องธรรมกาย พระธรรมกายมีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ว่านักปราชญ์ นักวิชาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นนักคิด ไม่ใช่นักปฏิบัติก็พูดกันไป คนละทิศละทางกัน ความหมายไม่่ตรงกัน แต่ถ้ามีประสบการณ์ภายในจากตัวของเราเอง โดยเราไม่ได้คิดอะไรเลย พอใจหยุดแล้วเราเข้าถึง เราจะทราบว่าอะไรเป็นอย่างไร เพื่อให้ข้อสงสัยนี้หมดไป เพราะว่าชาวโลกเขาฟังนักวิชาการ หลวงพ่อจึงให้ไปรวบรวมคำสอนดั้งเดิมโดยเฉพาะ คำว่า "ธรรมกาย" มีอยู่ในคัมภีร์ไหน ก็ส่งพระลูกชาย ลูกอุบาสก อุบาสิกา กระจายกันไปศึกษา ทั่วโลกในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อที่จะไปสืบเสาะดูว่ามีคัมภีร์โบราณที่เก็บคำสอนดั้งเดิม แล้วมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายที่ไหนบ้าง จะได้เอามารวบรวมไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานให้นักวิชาการระดับโลกเขาเห็นว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตรงกัน
ซึ่งตอนนี้เราเริ่มเห็นผู้มีบุญ ท่านศาสตราจารย์จากหลาย ๆ ประเทศ ให้ความสำคัญในการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาเถรวาท จนกระทั่งให้โอกาสตัวเองได้มาบวช แต่ละท่านนั้นเป็นนักวิชาการระดับโลก โดยเฉพาะท่านศาสตราจารย์จากประเทศญี่ปุ่นที่เป็นนักวิชาการระดับโลก บวชแล้วก็ขึ้นไปปฏิบัติธรรมที่วัดกิ่วลม แล้วก็ไปพักอยู่ที่สนแก้ววนาราม ปฏิบัติธรรมใต้ต้นไทร ท่านบอกว่าบรรยากาศเหมือนสมัยพุทธกาล ท่านมีปีติเบิกบานและมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดี ท่านมีความสุขมาก ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องพระอภิธรรมมา ๔๐ ปี แต่ท่านบอกว่าใน ๔๐ ปีที่ผ่านมา มันมีอยู่ในตำราเท่านั้นเอง ยังไม่เคยพบความสุขจากการปฏิบัติจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่ท่านปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาที่ท่านศึกษาพระอภิธรรม ๔๐ ปี ในหลาย ๆ วิธีการ แต่เพิ่งมาพบความสุขตอนมาบวช และปฏิบัติธรรมที่วัดกิ่วลม ที่สนแก้ววนาราม
และท่านยังบอกอีกว่า ได้ออกไปบิณฑบาต น้ำตาท่านไหลด้วยความปีติ คือ ท่านเห็นชาวบ้านที่เป็นชาวพุทธมีกุศลศรัทธามาใส่บาตรของท่านอย่างมีระบบระเบียบ อาหารก็ไม่ใช่จะประณีตอะไรมากอย่างที่ท่านเคยเห็น แต่ว่าใจของทุกคนประณีต และได้จัดเตรียมอาหารที่ดีที่สุด ดีกว่าที่ภายในบ้านของเขาจะได้รับประทานเอามาใส่ เพื่อจะให้เป็นกำลังแห่งการตรัสรู้ธรรมของพุทธบุตร ท่านสังเกตเห็น และน้ำตาแห่งความปีติของท่านไหลระหว่างท่านเดินบิณฑบาต แต่ในตัวท่านเห็นพระภายใน แล้วท่านยังบอกว่าให้ใช้ชื่อของท่านได้เลยในการที่จะประกาศเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย และท่านมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดีในระดับหนึ่งเป็นครั้งแรก และได้พบความสุขอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเป็นครั้งแรก จะมีอย่างนี้ขึ้นอีกในหลาย ๆ สถาบัน ของต่างประเทศ มีทั้งญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอีกหลาย ๆ แห่ง ที่แต่ละมหาวิทยาลัยเชื่อมโยงกัน ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่พุทธศาสนา วิชชาธรรมกายกำลังจะขยายออกไป
เพราะฉะนั้นอาคารหลังนี้จึงมีความสำคัญ เพราะจะเป็นส่วนสำคัญที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปริยัติธรรม และจะเป็นที่ประชุมของนักวิชาการระดับโลกทั่วโลกที่จะมาประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีคัมภีร์เก่า ๆ มากมายที่เก็บคำสอนดั้งเดิมเอาไว้ในภาษาต่าง ๆ บางคัมภีร์เก็บไว้ในเปลือกไม้ อย่างของเรามีเก็บไว้ในใบลาน เปลือกไม้ถือว่าเก่าที่สุดประมาณหลังพุทธปรินิพพาน ๖๐๐ ปี จารึกคำสอนดั้งเดิมอย่างนี้เราได้มาจากนักวิชาการ ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน
อาคารหลังนี้จะเป็นที่รวบรวมคำสอนความรู้เกี่ยวกับเรื่องธรรมกาย พระธรรมกายมีอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ว่านักปราชญ์ นักวิชาการต่าง ๆ ซึ่งเป็นนักคิด ไม่ใช่นักปฏิบัติก็พูดกันไป คนละทิศละทางกัน ความหมายไม่่ตรงกัน แต่ถ้ามีประสบการณ์ภายในจากตัวของเราเอง โดยเราไม่ได้คิดอะไรเลย พอใจหยุดแล้วเราเข้าถึง เราจะทราบว่าอะไรเป็นอย่างไร เพื่อให้ข้อสงสัยนี้หมดไป เพราะว่าชาวโลกเขาฟังนักวิชาการ หลวงพ่อจึงให้ไปรวบรวมคำสอนดั้งเดิมโดยเฉพาะ คำว่า "ธรรมกาย" มีอยู่ในคัมภีร์ไหน ก็ส่งพระลูกชาย ลูกอุบาสก อุบาสิกา กระจายกันไปศึกษา ทั่วโลกในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อที่จะไปสืบเสาะดูว่ามีคัมภีร์โบราณที่เก็บคำสอนดั้งเดิม แล้วมีข้อความเกี่ยวกับเรื่องธรรมกายที่ไหนบ้าง จะได้เอามารวบรวมไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานให้นักวิชาการระดับโลกเขาเห็นว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตรงกัน
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๘๓ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์ฯ
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:41
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: