บุคลิกของคนมีสัจจะเป็นอย่างไร
คำว่า สัจจะ แปลว่า ซื่อสัตย์ หรือ ความจริง
บุคลิกลักษณะของคนมีสัจจะอยู่ในตัวมี ๓ อย่าง
ซึ่งหลวงพ่อได้พบในตัวของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
บุคลิกลักษณะที่ ๑ มีสัจจะกับบุคคล คือ จริงใจต่อคน
คุณยายท่านจะคบค้าสมาคมกับใครก็ตาม หรือว่าใครจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านก็ตาม ท่านมีความจริงใจกับบุคคลเหล่านั้น คือเมื่อรับเขาเข้าหมู่หรือว่ารับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านก็มีความจริงใจต่อเขา ท่านเคี่ยวเข็ญทุกคนเลย หวังจะให้เขาเข้าถึงธรรม เข้าถึงพระธรรมกาย แตกฉานวิชชาธรรรมกายเหมือนกับท่าน ใครจะโง่ ใครจะฉลาดแค่ไหนก็แล้วแต่ ท่านเคี่ยวเข็ญหมด จะอายุมากหรืออายุน้อย ภูมิเดิมจะเป็นอะไร อย่างไร ท่านไม่เกี่ยง จะทำหน้าที่ดีไม่ดีอย่างไร ท่านก็ไม่เกี่ยง มีฐานะดีไม่ดีอย่างไรไม่เกี่ยง เมื่อท่านรับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านทุ่มเทให้สุด ๆ เลย เป็นความจริงใจที่ท่านมีต่อทุกรูป ทุกคน
คุณยายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ยังมีชีวิตอยู่ ในการแต่งตั้งครูบาอาจารย์สอนธรรมะนั้น นอกจากผู้นั้นจะชำนาญในการเข้ากลางธรรมกายแล้ว ยังต้องสามารถติดตามแก้ไขและคุ้มครองลูกศิษย์ด้วย หลวงปู่สั่งว่า ถ้ารับใครมาเป็นลูกศิษย์ ไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ต้องเอาเข้ามาไว้ในศูนย์กลางกายธรรมอรหัตตลอดเวลา เพื่อกลั่นกายกลั่นใจของเขา เพราะเขามาฝากชีวิตไว้กับเราแล้ว
ถ้าใครรับลูกศิษย์ แล้วปล่อยให้ลูกศิษย์เกิดอุบัติเหตุเภทภัย หลวงปู่จะเรียกมาเคี่ยวเข็ญเพื่อสอนวิธีที่จะติดตามคุ้มครองลูกศิษย์ให้ได้บุญตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อเขามาสมัครเป็นลูกศิษย์แล้วก็ต้องเข็นกันไป เอาไปให้ได้ทุกคน ดังนั้น โดยทั่วไปอุบัติเหตุเภทภัยร้ายแรง ๆ จึงยากจะเกิดกับลูกศิษย์ของท่าน แม้กระทั่งทรัพย์สมบัติหรือบริวารก็ถูกดูแลรักษาไปด้วยในตัวเสร็จ
อย่างนี้จึงเป็นภาระหนักตามมาของผู้เป็นครูอาจารย์ที่ต้องตามดูแลกันไปตลอด คุณยายบอกว่าต้องทำอย่างนี้ เพราะหลวงปู่ท่านสั่งเอาไว้ แล้วหลวงปู่เองท่านก็ทำอย่างนี้ ท่านพูดชัดเจนว่าหลวงปู่ท่านทำตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำไว้ในอดีต เหมือนสมัยพุทธกาล ใครเคารพ ยอมรับนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงเคี่ยวเข็ญบุคคลนั้นให้บรรลุธรรมกันไปให้ได้
นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงความจริงใจของคุณยายที่มีต่อลูกศิษย์ลูกหา ซึ่งเป็นทั้งนิสัยดั้งเดิมของท่านที่มีความจริงใจต่อหมู่ญาติของท่าน และเมื่อถึงคราวมีลูกศิษย์ก็จริงใจต่อลูกศิษย์ ตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ คือพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำทุกประการ
บุคลิกลักษณะที่ ๒ มีสัจจะกับงาน คือจริงจังต่องาน
ไม่ว่าคุณยายจะหยิบจะทำงานอะไร ท่านมีลักษณะจริงจัง คือ ทำอะไรจะต้องเสร็จ ต้องทันและต้องดี ไม่เสร็จ ไม่ทัน ไม่ดี คุณยายไม่ยอม
เมื่อถึงคราวเริ่มสร้างวัดพระธรรมกาย คุณยายตั้งใจทำอย่างดีและต้องสร็จ ไม่เสร็จท่านไม่ยอม อะไรคั่งค้างก็ไม่ยอม นั่นเป็นความจริงจังของคุณยาย
อาคารทุกหลังที่สร้างวัด พื้นที่ต่าง ๆ ในวัดที่กำหนดให้ใช้ทำโน่นทำนี่ ท่านทำด้วยความจริงจังที่จะให้ดีและทุกส่วนต้องเสร็จ อาคารหอฉันนี้ก็เป็นตัวอย่าง แม้ว่าคุณยายไม่ได้อยู่สร้างด้วยตัวเอง แต่ว่าหลวงพ่อธัมมชโยสั่งกำชับกับชุดที่ดูแลการก่อสร้าง ตั้งแต่ก่อนลงมือสร้างอาคารหลังนี้ ท่านบอกว่าให้ถ่ายทอดเอาความจริงจังของคุณยายไปอยู่ในตัวอาคารนี้ทั้งหมด นั่นคือไม่ว่าทำอะไรต้องเสร็จ ต้องดี อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างดีเยี่ยมให้เราเห็น ทั้งการใช้งานก็ดี รูปร่างอาคารก็ดี เวลาใช้ก็ใช้อย่างสะดวก แล้วก็เสร็จเร็วด้วย อาคารหลังนี้จึงเป็นการถ่ายทอดบุคลิกของคุณยายเอาไว้
สำหรับคุณยายแล้วไม่ว่างานชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็กก็ต้องเสร็จและต้องดี ไม่มีข้อแม้เงื่อนไขว่าเพราะงานมันชิ้นใหญ่ เลยต้องปล่อยไป
ยกตัวอย่างเรื่องสีจีวรที่ใช้ในวัดขณะนี้ คุณยายท่านใช้เวลาตั้งหลายปี ทดสอบแล้วทดสอบอีกว่าสีจีวรที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร ท่านหมดเวลาไป ๑๐ กว่าปี ท่านลงมากำกับการตัดเย็บผ้านุ่งผ้าห่มด้วยตัวเอง โดยมีโยมพี่เข่ง (กัลฯ แข่งแข จิระชุติโรจน์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นลูกมือ
คุณยายท่านเห็นว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้พระภิกษุไม่อยากบวช หรือว่าบวชแต่อยู่ไม่พ้นพรรษา คือสบงจีวรตัดเย็บไม่เรียบร้อย เพราะแต่เดิมผู้บวชจะต้องตระเตรียมทำสบงจีวรเอง ต่อมามีขายกันตามร้านค้า เมื่อร้านค้าทำการค้าก็มุ่งเอากำไรเป็นตัวตั้ง ในระยะหลัง ๆ นี้ เวลาซื้อผ้าไตร เมื่อนำมาวัดดูความกว้างความยาว เห็นว่าพอเหมาะพอดี แต่พอนำไปห่ม นำไปซักทำความสะอาดผ้าก็หดตัว สบงจีวรผิดรูปผิดร่างไปจนหมด ก็เลยกลายเป็นของไม่น่าใช้ขึ้นมา
คุณยายท่านไม่มองข้ามปัญหานี้ ท่านจึงลงมาดูแลกำกับงานเอง ท่านกำหนดแม้กระทั่งเนื้อผ้า แล้วต่อมาก็กำหนดวิธีเย็บ วิธีย้อม ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ผล จึงจะใช้งานได้คงทน จากนั้นก็มาดูเรื่องสี โบราณเขาใช้สีที่ทำจากพวกยางไม้ ผลไม้ แก่นไม้ แล้วเอามาย้อม ปรากฏว่าสีไม่สม่ำสมอ เมื่อย้อมแต่ละครั้ง แม้จะเป็นแก่นไม้ชนิดเดียวกันสีก็ไม่สม่ำเสมอกัน เช่น เอาแก่นขนุนมาย้อม ถ้าแก่นขนุนอายุไม่เท่ากัน ก็จะทำให้สีไม่เสมอกัน หรือแก่นขนุนต่างพันธุ์กัน สีก็ไม่ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น ได้จีวรมาครั้งนี้ ได้สบงมาอีกครั้งนี้ ได้สังฆาฏิมาอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏผ้าไตรจีวรสามผืน สีไม่เหมือนกันเลย พอห่มแล้วปรากฏว่ากลายเป็นหลวงพ่อ ๓ สี ซึ่งดูแล้วไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา คุณยายท่านพากเพียรทดสอบเรื่องสีจีวรอยู่หลายปีกว่าจะลงตัวได้ นี่คือตัวอย่างความจริงจังที่คุณยายมีต่องาน ไม่ว่าชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ถ้าทำแล้วต้องดีและต้องเสร็จ
บุคลิกลักษณะที่ ๓ มีสัจจะต่อธรรม คือจริงแสนจริงด้วยชีวิตต่อธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณยายท่านจริงแสนจริงล้านจริงกับการปฏิบัติธรรม เมื่อท่านอายุ ๒๐ กว่าปี ท่านตัดสินใจออกจากบ้านไม่คิดถึงอนาคตใด ๆ ขอให้มาถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำก็แล้วกันจะได้ศึกษาวิชชาธรรมกาย จะได้ไปตามหาพ่อของท่านที่ละโลกไปแล้ว ท่านมีความจริงจังจริงใจอย่างชนิดจริงแสนจริงล้านจริง แม้ว่าพ่อของท่านตายไปแล้ว ไม่ว่าจะไปเกิดอยู่หนใด ท่านตั้งใจว่าต้องตามไปเจอให้ได้ ดังนั้น แม้ท่านมีอายุเพียง ๒๐ กว่าปี และเป็นหญิงสาวที่ไม่เคยออกจากบ้านไปไหน แต่เมื่อถึงคราวจะไปเรียนธรรมะเพื่อจะตามหาพ่อให้พบ ท่านก็ตั้งใจทำอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านหาทางดั้นด้นไปจนถึงวัดปากน้ำ แล้วในที่สุดก็ได้เรียนธรรมะ ได้ศึกษาวิชชาธรรมกายกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ แล้วก็สามารถไปตามหาพ่อของท่านที่ละโลกไปแล้วได้สมใจจริง ๆ
คุณยายท่านเกิดจากพื้นฐานคุณธรรมข้อสัจจะนี้ ทำให้ท่านมีธรรมะแก่กล้าพอที่จะเป็นต้นแบบคุณธรรมให้กับพวกเราได้จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านฝึกอบรมตนมาด้วยฤทธิ์แห่งความมีสัจจะของท่าน คือท่านจริงใจต่อบุคคล จริงจังต่อการงาน จริงแสนจริงต่อธรรมะของพระพุทธองค์ โลกนี้จึงได้มีวัดพระธรรมกายกำเนิดขึ้นมา จึงได้มีพวกเราทั้งที่เป็นพระภิกษุ เป็นสามเณร เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา ซึ่งต่างก็เป็นชาววัดที่ตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรมกันอยู่ที่นี่ นี่ก็เป็นผลแห่งความจริงแสนจริง หรือจริงด้วยชีวิตของท่าน ในการที่จะดำรงรักษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อยู่คู่กับโลกต่อไปนานแสนนาน
เพราะฉะนั้น โดยสรุปแล้วบุคลิกของคนที่มีสัจจะ ก็คือ คนที่จริงใจต่อบุคคล จริงจังต่อการงาน จริงแสนจริงต่อการทำความดีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เหมือนดังที่คุณยายอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติเป็นต้นแบบคุณธรรม จนสามารถสร้างวัดพระธรรมกายไว้ให้พวกเราและชาวโลกได้มาปฏิบัติธรรมกันในวันนี้นั่นเอง
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
บุคลิกลักษณะที่ ๑ มีสัจจะกับบุคคล คือ จริงใจต่อคน
คุณยายท่านจะคบค้าสมาคมกับใครก็ตาม หรือว่าใครจะฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านก็ตาม ท่านมีความจริงใจกับบุคคลเหล่านั้น คือเมื่อรับเขาเข้าหมู่หรือว่ารับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านก็มีความจริงใจต่อเขา ท่านเคี่ยวเข็ญทุกคนเลย หวังจะให้เขาเข้าถึงธรรม เข้าถึงพระธรรมกาย แตกฉานวิชชาธรรรมกายเหมือนกับท่าน ใครจะโง่ ใครจะฉลาดแค่ไหนก็แล้วแต่ ท่านเคี่ยวเข็ญหมด จะอายุมากหรืออายุน้อย ภูมิเดิมจะเป็นอะไร อย่างไร ท่านไม่เกี่ยง จะทำหน้าที่ดีไม่ดีอย่างไร ท่านก็ไม่เกี่ยง มีฐานะดีไม่ดีอย่างไรไม่เกี่ยง เมื่อท่านรับเป็นลูกศิษย์แล้ว ท่านทุ่มเทให้สุด ๆ เลย เป็นความจริงใจที่ท่านมีต่อทุกรูป ทุกคน
คุณยายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ยังมีชีวิตอยู่ ในการแต่งตั้งครูบาอาจารย์สอนธรรมะนั้น นอกจากผู้นั้นจะชำนาญในการเข้ากลางธรรมกายแล้ว ยังต้องสามารถติดตามแก้ไขและคุ้มครองลูกศิษย์ด้วย หลวงปู่สั่งว่า ถ้ารับใครมาเป็นลูกศิษย์ ไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ต้องเอาเข้ามาไว้ในศูนย์กลางกายธรรมอรหัตตลอดเวลา เพื่อกลั่นกายกลั่นใจของเขา เพราะเขามาฝากชีวิตไว้กับเราแล้ว
ถ้าใครรับลูกศิษย์ แล้วปล่อยให้ลูกศิษย์เกิดอุบัติเหตุเภทภัย หลวงปู่จะเรียกมาเคี่ยวเข็ญเพื่อสอนวิธีที่จะติดตามคุ้มครองลูกศิษย์ให้ได้บุญตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อเขามาสมัครเป็นลูกศิษย์แล้วก็ต้องเข็นกันไป เอาไปให้ได้ทุกคน ดังนั้น โดยทั่วไปอุบัติเหตุเภทภัยร้ายแรง ๆ จึงยากจะเกิดกับลูกศิษย์ของท่าน แม้กระทั่งทรัพย์สมบัติหรือบริวารก็ถูกดูแลรักษาไปด้วยในตัวเสร็จ
อย่างนี้จึงเป็นภาระหนักตามมาของผู้เป็นครูอาจารย์ที่ต้องตามดูแลกันไปตลอด คุณยายบอกว่าต้องทำอย่างนี้ เพราะหลวงปู่ท่านสั่งเอาไว้ แล้วหลวงปู่เองท่านก็ทำอย่างนี้ ท่านพูดชัดเจนว่าหลวงปู่ท่านทำตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำไว้ในอดีต เหมือนสมัยพุทธกาล ใครเคารพ ยอมรับนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงเคี่ยวเข็ญบุคคลนั้นให้บรรลุธรรมกันไปให้ได้
นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงความจริงใจของคุณยายที่มีต่อลูกศิษย์ลูกหา ซึ่งเป็นทั้งนิสัยดั้งเดิมของท่านที่มีความจริงใจต่อหมู่ญาติของท่าน และเมื่อถึงคราวมีลูกศิษย์ก็จริงใจต่อลูกศิษย์ ตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ คือพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำทุกประการ
บุคลิกลักษณะที่ ๒ มีสัจจะกับงาน คือจริงจังต่องาน
ไม่ว่าคุณยายจะหยิบจะทำงานอะไร ท่านมีลักษณะจริงจัง คือ ทำอะไรจะต้องเสร็จ ต้องทันและต้องดี ไม่เสร็จ ไม่ทัน ไม่ดี คุณยายไม่ยอม
เมื่อถึงคราวเริ่มสร้างวัดพระธรรมกาย คุณยายตั้งใจทำอย่างดีและต้องสร็จ ไม่เสร็จท่านไม่ยอม อะไรคั่งค้างก็ไม่ยอม นั่นเป็นความจริงจังของคุณยาย
อาคารทุกหลังที่สร้างวัด พื้นที่ต่าง ๆ ในวัดที่กำหนดให้ใช้ทำโน่นทำนี่ ท่านทำด้วยความจริงจังที่จะให้ดีและทุกส่วนต้องเสร็จ อาคารหอฉันนี้ก็เป็นตัวอย่าง แม้ว่าคุณยายไม่ได้อยู่สร้างด้วยตัวเอง แต่ว่าหลวงพ่อธัมมชโยสั่งกำชับกับชุดที่ดูแลการก่อสร้าง ตั้งแต่ก่อนลงมือสร้างอาคารหลังนี้ ท่านบอกว่าให้ถ่ายทอดเอาความจริงจังของคุณยายไปอยู่ในตัวอาคารนี้ทั้งหมด นั่นคือไม่ว่าทำอะไรต้องเสร็จ ต้องดี อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างดีเยี่ยมให้เราเห็น ทั้งการใช้งานก็ดี รูปร่างอาคารก็ดี เวลาใช้ก็ใช้อย่างสะดวก แล้วก็เสร็จเร็วด้วย อาคารหลังนี้จึงเป็นการถ่ายทอดบุคลิกของคุณยายเอาไว้
สำหรับคุณยายแล้วไม่ว่างานชิ้นใหญ่หรือชิ้นเล็กก็ต้องเสร็จและต้องดี ไม่มีข้อแม้เงื่อนไขว่าเพราะงานมันชิ้นใหญ่ เลยต้องปล่อยไป
ยกตัวอย่างเรื่องสีจีวรที่ใช้ในวัดขณะนี้ คุณยายท่านใช้เวลาตั้งหลายปี ทดสอบแล้วทดสอบอีกว่าสีจีวรที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร ท่านหมดเวลาไป ๑๐ กว่าปี ท่านลงมากำกับการตัดเย็บผ้านุ่งผ้าห่มด้วยตัวเอง โดยมีโยมพี่เข่ง (กัลฯ แข่งแข จิระชุติโรจน์ ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นลูกมือ
คุณยายท่านเห็นว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้พระภิกษุไม่อยากบวช หรือว่าบวชแต่อยู่ไม่พ้นพรรษา คือสบงจีวรตัดเย็บไม่เรียบร้อย เพราะแต่เดิมผู้บวชจะต้องตระเตรียมทำสบงจีวรเอง ต่อมามีขายกันตามร้านค้า เมื่อร้านค้าทำการค้าก็มุ่งเอากำไรเป็นตัวตั้ง ในระยะหลัง ๆ นี้ เวลาซื้อผ้าไตร เมื่อนำมาวัดดูความกว้างความยาว เห็นว่าพอเหมาะพอดี แต่พอนำไปห่ม นำไปซักทำความสะอาดผ้าก็หดตัว สบงจีวรผิดรูปผิดร่างไปจนหมด ก็เลยกลายเป็นของไม่น่าใช้ขึ้นมา
คุณยายท่านไม่มองข้ามปัญหานี้ ท่านจึงลงมาดูแลกำกับงานเอง ท่านกำหนดแม้กระทั่งเนื้อผ้า แล้วต่อมาก็กำหนดวิธีเย็บ วิธีย้อม ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ผล จึงจะใช้งานได้คงทน จากนั้นก็มาดูเรื่องสี โบราณเขาใช้สีที่ทำจากพวกยางไม้ ผลไม้ แก่นไม้ แล้วเอามาย้อม ปรากฏว่าสีไม่สม่ำสมอ เมื่อย้อมแต่ละครั้ง แม้จะเป็นแก่นไม้ชนิดเดียวกันสีก็ไม่สม่ำเสมอกัน เช่น เอาแก่นขนุนมาย้อม ถ้าแก่นขนุนอายุไม่เท่ากัน ก็จะทำให้สีไม่เสมอกัน หรือแก่นขนุนต่างพันธุ์กัน สีก็ไม่ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น ได้จีวรมาครั้งนี้ ได้สบงมาอีกครั้งนี้ ได้สังฆาฏิมาอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏผ้าไตรจีวรสามผืน สีไม่เหมือนกันเลย พอห่มแล้วปรากฏว่ากลายเป็นหลวงพ่อ ๓ สี ซึ่งดูแล้วไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา คุณยายท่านพากเพียรทดสอบเรื่องสีจีวรอยู่หลายปีกว่าจะลงตัวได้ นี่คือตัวอย่างความจริงจังที่คุณยายมีต่องาน ไม่ว่าชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ถ้าทำแล้วต้องดีและต้องเสร็จ
บุคลิกลักษณะที่ ๓ มีสัจจะต่อธรรม คือจริงแสนจริงด้วยชีวิตต่อธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คุณยายท่านจริงแสนจริงล้านจริงกับการปฏิบัติธรรม เมื่อท่านอายุ ๒๐ กว่าปี ท่านตัดสินใจออกจากบ้านไม่คิดถึงอนาคตใด ๆ ขอให้มาถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำก็แล้วกันจะได้ศึกษาวิชชาธรรมกาย จะได้ไปตามหาพ่อของท่านที่ละโลกไปแล้ว ท่านมีความจริงจังจริงใจอย่างชนิดจริงแสนจริงล้านจริง แม้ว่าพ่อของท่านตายไปแล้ว ไม่ว่าจะไปเกิดอยู่หนใด ท่านตั้งใจว่าต้องตามไปเจอให้ได้ ดังนั้น แม้ท่านมีอายุเพียง ๒๐ กว่าปี และเป็นหญิงสาวที่ไม่เคยออกจากบ้านไปไหน แต่เมื่อถึงคราวจะไปเรียนธรรมะเพื่อจะตามหาพ่อให้พบ ท่านก็ตั้งใจทำอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านหาทางดั้นด้นไปจนถึงวัดปากน้ำ แล้วในที่สุดก็ได้เรียนธรรมะ ได้ศึกษาวิชชาธรรมกายกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ แล้วก็สามารถไปตามหาพ่อของท่านที่ละโลกไปแล้วได้สมใจจริง ๆ
คุณยายท่านเกิดจากพื้นฐานคุณธรรมข้อสัจจะนี้ ทำให้ท่านมีธรรมะแก่กล้าพอที่จะเป็นต้นแบบคุณธรรมให้กับพวกเราได้จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านฝึกอบรมตนมาด้วยฤทธิ์แห่งความมีสัจจะของท่าน คือท่านจริงใจต่อบุคคล จริงจังต่อการงาน จริงแสนจริงต่อธรรมะของพระพุทธองค์ โลกนี้จึงได้มีวัดพระธรรมกายกำเนิดขึ้นมา จึงได้มีพวกเราทั้งที่เป็นพระภิกษุ เป็นสามเณร เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา ซึ่งต่างก็เป็นชาววัดที่ตั้งใจมาประพฤติปฏิบัติธรรมกันอยู่ที่นี่ นี่ก็เป็นผลแห่งความจริงแสนจริง หรือจริงด้วยชีวิตของท่าน ในการที่จะดำรงรักษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อยู่คู่กับโลกต่อไปนานแสนนาน
เพราะฉะนั้น โดยสรุปแล้วบุคลิกของคนที่มีสัจจะ ก็คือ คนที่จริงใจต่อบุคคล จริงจังต่อการงาน จริงแสนจริงต่อการทำความดีอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เหมือนดังที่คุณยายอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติเป็นต้นแบบคุณธรรม จนสามารถสร้างวัดพระธรรมกายไว้ให้พวกเราและชาวโลกได้มาปฏิบัติธรรมกันในวันนี้นั่นเอง
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
บุคลิกของคนมีสัจจะเป็นอย่างไร
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
05:26
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: