มาฆบูชา การรวมตัวของผู้มีศีลย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
มาฆบูชา
การรวมตัวของผู้มีศีลย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
-------------------------------
“มาฆะ” เป็นชื่อของเดือน
๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมี” แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญเดือน
๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ
มีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
จุดเริ่มต้นความสำคัญของวันมาฆบูชา คือ การประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ครั้งแรกและครั้งเดียวในพุทธันดรนี้ และมีพุทโธวาทที่ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา รวมทั้งมีเหตุการณ์สำคัญอื่นด้วย ดังนี้
เหตุการณ์ที่ ๑ วันจาตุรงคสันนิบาต คือ วันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์
คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ “จาตุร” แปลว่า ๔ / “องค์” แปลว่า ส่วน / “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ
๑. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย
๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนแต่เป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น
๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้บรรลุอรหันต์แล้วทั้งสิ้น
๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง,พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
การไม่กล่าวร้าย, การไม่ทำร้าย, ความสำรวมในปาฏิโมกข์, ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร, ที่นั่งนอนอันสงัด, ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหตุการณ์ที่ ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร
ในวันเพ็ญเดือน ๓ แห่งพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์ (เมื่อทรงพระชนมายุ ๘๐ พรรษา) พระพุทธองค์ได้ทรงปลงพระชนมายุสังขารโดยขณะที่เสด็จพักผ่อนกลางวัน ณ ปาวาลเจดีย์ทรงแสดงนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ว่า ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ประการ อาจมีอายุยืนได้ถึงกัปแต่พระอานนท์มิได้ทูลอาราธนา เมื่อพระอานนท์ออกไปแล้ว มารจึงได้มาอาราธนาให้นิพพานพระองค์ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ว่า อีก ๓ เดือนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทำให้เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อพระอานนท์ทราบ จึงกราบทูลอาราธนาให้ทรงพระชนม์ชีพอยู่อีก แต่พระศาสดาตรัสว่ามิใช่กาล เพราะได้ทรงแสดงนิมิตแล้วถึง ๑๖ ครั้ง และทรงทำนายว่า ในวันเพ็ญเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ที่จะมาถึง พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน
เหตุการณ์ที่ ๔
พระสารีบุตรบรรลุอรหัตผล ณ ถ้ำสุกรขาตา เชิงเขาคิชฌกูฏ นครราชคฤห์
หลังจากที่พระสารีบุตรบวชในพระพุทธศาสนาได้ ๑๕ วัน ทีฆนขปริพาชกหลานของพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลถามปัญหา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับทิฏฐิและเวทนา ทีฆนขะได้บรรลุโสดาบัน ส่วนพระสารีบุตรนั้นกำลังถวายงานพัดพระพุทธองค์ ท่านได้ยินและมีใจน้อมไปในธรรมเหล่านั้นอยู่ด้วย จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ นั่นเอง
เหตุการณ์ที่ ๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก
คือ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ในการประชุมพระสาวกครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหารเมืองราชคฤห์ ที่มีพระสาวกล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตั้งให้พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา ให้พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย เพื่อเป็นกำลังหลักในการช่วยเผยแผ่พระธรรมวินัย
๔๘ ปี วัดพระธรรมกาย
ที่วัดพระธรรมกายเกิดเหตุการณ์ดี ๆ ตั้งแต่ขุดดินก้อนแรกเพื่อสร้างวัดในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นับเนื่องถึงปัจจุบันได้ ๔ รอบนักษัตร หรือ ๔๘ ปี ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มีกิจกรรมงานบุญตักบาตร ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาสวดธรรมจักร พิธีมอบโล่รางวัลการสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า และจุดโคมมาฆประทีปถวายเป็นพุทธบูชา จึงเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายไปทำความดีโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งไปด้วยตนเองด้วย ชักชวนหมู่ญาติอันเป็นที่รักไปด้วย สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า
“สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ ...
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุขผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘.
ความพร้อมเพรียงนั้น หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษย์หรือสัตว์ที่อาศัยกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มาจากคำบาลีว่าสามัคคี แบ่งออกได้ ๒ อย่าง คือ กายสามัคคี ความสามัคคีกันทางกาย และ จิตตสามัคคี ความสามัคคีทางด้านจิตใจ
ด้วยว่า “ความดีคนดีทำง่าย คนชั่วทำยาก, ความชั่วคนชั่วทำง่าย คนดีทำยาก” และ “ความดี ยิ่งทำยิ่งดี” ดังนั้น มาร่วมแรงร่วมใจพร้อมเพรียงกันทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ เถิดเพราะว่า
การสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย... เป็นสิ่งที่ดี
การสวดธรรมจักรบูชาพระรัตนตรัย ...เป็นสิ่งที่ดี
การตักบาตรพระ ถวายภัตตาหารพระ... เป็นสิ่งที่ดี
การตั้งใจรักษาศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗ ข้อ ... เป็นสิ่งที่ดี
การเจริญสมาธิภาวนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การทำทานเพื่อสละความตระหนี่ ...เป็นสิ่งที่ดี
การทำทานเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธ-ศาสนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การสร้างศาสนสถานไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การเป็นกัลยาณมิตรชักชวนให้คนทำความดี ... เป็นสิ่งที่ดี
ฯลฯ
มาฆบูชาปีนี้ สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นอีกมากมาย เพราะคนดีมารวมตัวกันทำความดีอีกทั้งความสว่างไสวย่อมเกิดขึ้นแก่โลกด้วยมาฆประทีปนับแสนดวงที่จุดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และด้วยดวงใจที่สว่างไสวของคนดีทั้งหลาย เชิญชวนทำความดีกันเยอะ ๆ นะ เพราะ “ความดี ยิ่งทำยิ่งดี”
Cr. พ.สนิทวงศ์
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ที่วัดพระธรรมกายเกิดเหตุการณ์ดี ๆ ตั้งแต่ขุดดินก้อนแรกเพื่อสร้างวัดในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นับเนื่องถึงปัจจุบันได้ ๔ รอบนักษัตร หรือ ๔๘ ปี ในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มีกิจกรรมงานบุญตักบาตร ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาสวดธรรมจักร พิธีมอบโล่รางวัลการสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า และจุดโคมมาฆประทีปถวายเป็นพุทธบูชา จึงเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายไปทำความดีโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งไปด้วยตนเองด้วย ชักชวนหมู่ญาติอันเป็นที่รักไปด้วย สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า
“สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ ...
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุขผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ” (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘.
ความพร้อมเพรียงนั้น หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษย์หรือสัตว์ที่อาศัยกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ มาจากคำบาลีว่าสามัคคี แบ่งออกได้ ๒ อย่าง คือ กายสามัคคี ความสามัคคีกันทางกาย และ จิตตสามัคคี ความสามัคคีทางด้านจิตใจ
ด้วยว่า “ความดีคนดีทำง่าย คนชั่วทำยาก, ความชั่วคนชั่วทำง่าย คนดีทำยาก” และ “ความดี ยิ่งทำยิ่งดี” ดังนั้น มาร่วมแรงร่วมใจพร้อมเพรียงกันทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ เถิดเพราะว่า
การสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย... เป็นสิ่งที่ดี
การสวดธรรมจักรบูชาพระรัตนตรัย ...เป็นสิ่งที่ดี
การตักบาตรพระ ถวายภัตตาหารพระ... เป็นสิ่งที่ดี
การตั้งใจรักษาศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๑๐, ศีล ๒๒๗ ข้อ ... เป็นสิ่งที่ดี
การเจริญสมาธิภาวนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การทำทานเพื่อสละความตระหนี่ ...เป็นสิ่งที่ดี
การทำทานเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธ-ศาสนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การสร้างศาสนสถานไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ... เป็นสิ่งที่ดี
การเป็นกัลยาณมิตรชักชวนให้คนทำความดี ... เป็นสิ่งที่ดี
ฯลฯ
มาฆบูชาปีนี้ สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นอีกมากมาย เพราะคนดีมารวมตัวกันทำความดีอีกทั้งความสว่างไสวย่อมเกิดขึ้นแก่โลกด้วยมาฆประทีปนับแสนดวงที่จุดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และด้วยดวงใจที่สว่างไสวของคนดีทั้งหลาย เชิญชวนทำความดีกันเยอะ ๆ นะ เพราะ “ความดี ยิ่งทำยิ่งดี”
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
มาฆบูชา การรวมตัวของผู้มีศีลย่อมยังโลกนี้ให้สว่างไสว
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:30
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: