ความสะอาด มีความสำคัญต่อการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอย่างไร?
คำตอบ
สำหรับเรื่องนี้หลวงพ่อขอตอบแบบยกตัวอย่างวันแรกที่ได้มาวัดปฏิบัติธรรมกับคุณยายให้พวกเราฟังก็แล้วกัน
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ท่านเป็นต้นแบบของการรักความสะอาด อะไรสกปรกนิดหนึ่ง ท่านยอมไม่ได้ หลวงพ่อเองถ้าไม่ได้พบคุณยาย ก็จะไม่เข้าใจเลยว่าความสะอาดมีความสำคัญต่อการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอย่างไร
เมื่อวันแรกที่หลวงพ่อไปพบคุณยาย วันนั้นหลวงพ่อยังไม่ได้บวช หลวงพ่อตัดสินใจเลือกคุณยายเป็นครูบาอาจารย์ ก็เพราะการรักษาความสะอาดของท่าน ที่สะท้อนถึงคำว่า “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” อย่างชัดเจน คำว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรานี้ หลวงพ่อได้ยินมาตั้งแต่เด็ก แต่ว่าไม่เข้าใจลึกซึ้งมากนัก เพราะยังขาดต้นแบบอย่างคุณยาย
ในวันแรกที่หลวงพ่อไปพบคุณยายที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตอนนั้นหลวงพ่อยังไม่ได้บวช เมื่อไปถึงก็นั่งคุยกับท่าน และสังเกตเห็นว่า คุณยายท่านซึ่งเป็นคนแก่แล้วนั้น บางครั้งพอพูดไปได้สักพัก ท่านก็ไปหยิบกระโถนมาบ้วนน้ำลาย พอบ้วนเสร็จ ท่านก็เอากระดาษที่ท่านฉีกพับเอาไว้ใส่ลงไปในกระโถนแผ่นหนึ่ง แล้วก็คุยกับคนโน้นคนนี้ พอมีน้ำลายอีกท่านก็บ้วนลงไป และใส่ไปอีกแผ่นหนึ่ง
หลวงพ่อถามท่านว่า “ทำไมคุณยายต้องเอากระดาษใส่ไปในกระโถนด้วย?”
คุณยายตอบว่า “คุณ...ยายแก่แล้ว อายุตั้ง ๖๐ กว่าแล้ว กระโถนก็ต้องอาศัยเด็ก ๆ หลาน ๆ เอาไปเทให้ ขยะก็ให้เขาเอาไปเท น้ำลายเป็นของสกปรก เดี๋ยวเด็กที่เอาไปเทจะรังเกียจ ถึงจะเป็นลูกหลานเราก็อดรังเกียจไม่ได้ ยายเลยเอากระดาษใส่ไปด้วยแผ่นหนึ่ง มันจะได้ซับแล้วก็แห้งไป เวลาเด็กเอาไปเทจะได้ไม่มีความรู้สึกรังเกียจ เพราะเหมือนกับเทกระดาษชื้น ๆ เท่านั้นเอง”
พอหลวงพ่อได้ยินคุณยายตอบแบบนี้ ก็เลยเข้าใจว่า ที่ผ่านมาแม้เราจะเคยอ่านตำราจิตวิทยามาว่า คนเรานั้นจะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขได้ ต้องรู้จักเอาใจเราใส่ใจเขา เอาใจเขาใส่ใจเรา แต่ก็ไม่รู้วิธีการว่าจะทำอย่างไร
เมื่อได้ยินคำตอบของคุณยาย ทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นมาว่า คำว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็คืออย่างนี้นี่เอง
ธรรมชาติของคนเรานั้น ย่อมอยากได้ของสะอาด ของสกปรกไม่อยากได้ แต่ถ้ามันสกปรกแล้ว เราควรจะทำอย่างไร หลวงพ่อเพิ่งมาได้คำตอบจากคุณยายนี่เอง เมื่อสกปรกแล้วก็ควรทำให้รู้สึกว่าสกปรกน้อยที่สุด การที่บ้วนน้ำลายลงไป แล้วใส่กระดาษไปแผ่นหนึ่ง ช่วยให้ดูสกปรกน้อยที่สุด เอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นอย่างนี้นี่เอง
เมื่อหลวงพ่อมาเจอคุณยายวันแรก ก็นึกในใจว่า เราเจอครูของเราแล้ว หามาตลอดชีวิต ท่านอยู่ที่นี่เอง ท่านสมจะเป็นครูของเรา เพราะท่านเอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเรามาใส่ใจเขา ถ้าเรามาศึกษาธรรมะเป็นลูกศิษย์ท่าน ท่านจะสามารถแก้ไขข้อข้องใจให้เราได้
จากนั้น หลวงพ่อก็สังเกตดูเนื้อผ้าของเสื้อที่คุณยายใส่ รวมทั้งผ้าสไบด้วย พบว่า แม้เสื้อของท่านมีรอยปะหลายแห่ง แต่ก็สะอาดกว่าเสื้อผ้าของเราซึ่งยังใหม่ ๆ อยู่ เสื้อของเราเพิ่งใส่ไม่นานเท่านั้น ยังไม่ขาวเท่าเสื้อคุณยายซึ่งปะแล้วปะเล่า
ตอนนั้น หลวงพ่อสงสัยแล้วก็ไม่รอช้า รีบถามคุณยายเลยว่า " คุณยาย เสื้อของคุณยายมีรอยปะตั้งหลายแห่ง แต่ทำไมยังขาวกว่าเสื้อผมอีก คุณยายทำอย่างไรถึงขาวสะอาดขนาดนี้ " คุณยายก็อมยิ้ม ๆ แล้วตอบว่า "ยายซักผ้าทุกวัน ยายไม่เคยปล่อยผ้าผืนไหนซึ่้งยายใช้ทิ้งข้ามคืนโดยไม่ซักเลย แม้แต่ผ้าขี้ริ้วเหมือนกัน ยายซักทุกวัน"
คุณยายท่านพูดเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ๆ แต่มันไม่ธรรมดาสำหรับหลวงพ่อ เพราะว่าสมัยยังไม่เข้าวัดนั้น อารมณ์ดีวันไหนก็ซักวันนั้น บางที ๒ วัน ๓ วัน ก็ซักที ถ้าช่วงนั้นมีงานสนุก ๆ ก็เก็บไว้นาน ๗ วัน ค่อยซักก็มี แล้วบางทียังไม่หมดตู้ก็ผัดวันประกันพรุ่งเอาไว้ก่อน พอได้ยินคุณยายพูดคำนี้เท่านั้น มันแปล๊บเข้าไปถึงสันหลัง แล้วก็คิดในใจ "โถ! ทำไมเราน่าสงสารอย่างนี้"
เมื่อหลวงพ่อเดินไปดูที่หลังครัวของคุณยาย ไปดูราวที่คุณยายตากผ้า ก็ไปเจอผ้าขี้ริ้วของท่านซึ่งขาดกะรุ่งกะริ่งแล้ว แต่มันก็ยังขาวจั๊วอยู่เลย คุณยายมีปกติรักความสะอาดอย่างนี้เอง
กระจกหน้าต่าง คุณยายก็เช็ดทุดวัน ไม่มีเว้นไว้สัก ๑ วัน ๒ วัน แล้วค่อยเช็ด ทั้ง ๆ ที่มันก็ยังใสอยู่ คุณยายท่านบอกว่า “เดี๋ยวมันติดนิสัยข้ามชาติ ถ้าเราเช็ดบ้านของเราสะอาดเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลาแม้แต่บริวารเราที่รออยู่ที่วิมานบนสวรรค์ชั้นดุสิต ก็ต้องรักความสะอาดเหมือนกับเรา เขาจะต้องดูแลที่นั้นให้สะอาดใสอยู่ตลอดเวลา ภพชาติต่อไปเวลาที่เรามาเกิด ทุกอย่างเราจะสะอาดเป็นเงาวับอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญ ใจของเราจะคุ้นเคยกับความสะอาดข้ามภพข้ามชาติ”
เมื่อหลวงพ่อมาถึงคุณยาย คุณยายให้การอบรมโดยเจาะลึกมาถึงนิสัยต่าง ๆ ท่านก็ค่อย ๆ แก้ไขนิสัยให้มาตามลำดับ ๆ ตั้งแต่นิสัยเดินก็ให้รู้จักเดินเบา ๆ พูดก็รู้จักพูดเบา ๆ เอาแค่ได้ยินกันก็พอ ยิ่งกว่านั้นก็ได้วิชาขัดส้วม ขัดห้องน้ำมาจากคุณยาย
หลวงพ่อเคยเรียนวิชาโรงงานอุตสหกรรม วิชาการทำผลิตภัณฑ์อาหารมาจากประเทศออสเตรเลีย เราก็ถือว่า เรารักษาความสะอาดมาไม่น้อยหน้าใคร แต่ต้องมาเรียนวิชาเช็ดโต๊ะ เช็ดเก้าอี้จากคุณยายเพราะว่าการเช็ดโต๊ะแบบของท่านนั้น เช็ดบนโต๊ะเสร็จก็ต้องเช็ดขอบโต๊ะแล้วไปเช็ดใต้โต๊ะอีก พอเช็ดขาโต๊ะเสร็จแล้ว ท่านยังยกขาโต๊ะขึ้นมา แล้วก็เช็ดข้างล่างอีก เราอุตส่าห์เรียนจบจากทั้งในประเทศ นอกประเทศ ผลสุดท้ายมาเรียนวิชาเช็ดโต๊ะจากคุณยาย
คุณยายท่านบอกว่า "ถ้าของหยาบ ๆ อย่างนี้ เรายังทำให้ละเอียดไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นธรรมะซึ่งเป็นของละเอียด ๆ คือวิชาธรรมกาย ซึ่งจะต้องใช้ใจที่ละเอียดจริง ๆ ไปเรียน เราจะทำได้อย่างไร"
คุณยายท่านดัดนิสัยรักความสะอาด ความเป็นระเบียบให้แก่หลวงพ่อ จนกระทั่งหลวงพ่อเป็นผู้เป็นคนขึ้นมา
เมื่อคุณยายบอกว่า "คุณเด็จบวชได้แล้วนะ" หลวงพ่อรู้สึกดีใจมาก เพราะฉะนั้นการที่หลวงพ่อบวชมาถึงวันนี้ได้ ก็เพราะคุณยายค่อย ๆ ฝึกให้ แล้วก็ได้พระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม้ใหญ่มาช่วยเป็นกัลยาณมิตร ช่วยมาขยายความ ช่วยชี้ข้อบกพร่องให้อีกด้วย ก็เลยทำให้ปรับตัวเข้ากับวัตรปฏิบัติของนักปฏิบัติธรรมได้ จนกระทั่งได้มาบวชนี่เอง
เมื่อหลวงพ่อนึกถึงคุณยายตอนก่อนบวชคราใด ก็ปลื้มใจทุกครั้ง นึกทบทวนว่า ถ้าหลวงพ่อไม่ถูกคุณยายจ้ำจี้จ้ำไชมาตั้งแต่ก่อนบวชอย่างนั้น จะรอดตัวมาบวชได้อย่างไร เรารอดตัวมาบวชได้
ก็เพราะคุณยายคอยขนาบแล้วขนาบอีกนี่เอง
เมื่อหลวงพ่อบวชแล้ว ก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงสรุปว่า การบรรลุธรรมในแต่ละระดับนั้น ให้เราเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งหากย่นย่อลงมาอีก ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หากย่นย่อลงมาอีกก็เหลือเพียงหนึ่งคือ ความไม่ประมาท
แม้ว่าเราได้บทสรุปจากพระไตรปิฎกมาอย่างนี้ แต่ก็ยากต่อการนำมาปฏิบัติ จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตั้งใจสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อค้นธรรม แล้วในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพยานการตรัสรู้ธรรม ยืนยันว่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนมานั้นถูกต้อง เป็นจริง เข้าถึงได้จริง ไม่จำกัดกาล
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านจึงสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ในทางปฏิบัติว่า ความไม่ประมาทก็คือ การนำใจของเรามาหยุดมานิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั่นเอง เมื่อเราทำให้ใจหยุดนิ่งได้ที่ศูนย์กลางกายเมื่อไรเราก็จะสามารถดำเนินตามรอยหนทางแห่งการตรัสรู้ธรรมที่อยู่ภายในตัวของเรา ตามเส้นทางการบรรลุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้
การหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายนั้นเป็นงานที่ละเอียด เพราะเป็นงานทางใจ การจะฝึกให้เป็นคนมีใจละเอียดได้ ก็ต้องเริ่มจากการฝึกความละเอียดของใจ ผ่านการฝึกรักษาความสะอาดในงานหยาบ ๆ เช่นการดูแลปัจจัย ๔ ให้เป็นนิสัยรักความสะอาดให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก
ในวัฏสงสารที่เรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น มีเรื่องต้องเรียนรู้มากมาย แต่ว่าอายุของเรานั้นสั้น ถ้าจับประเด็นไม่ถูก ชาตินี้เกิดแล้วตายเปล่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งในทุกวันนี้ ยุคนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารเจริญก้าวหน้า วิชาการสารพัดสาขาเกิดขึ้นอย่างมากมาย ลำพังเพียงสาขาใดสาขาหนึ่งหากเราจะอ่านหนังสือในสาขานั้นให้หมด ชาตินี้คงไม่จบ
คนเราทุกวันนี้มีความรู้กันมาก แต่เป็นความรู้เรื่องนอกตัว เรื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมือง แต่ว่าเรื่องของตัวเองไม่รู้จัก ไม่รู้จักเรื่องความจริงของชีวิต ไม่รู้เลยว่าที่เขาเดือดเนื้อร้อนใจอยู่ทุกวันนี้ เพราะว่ากิเลสที่ห่อหุ้มใจมันบีบคั้นเขา
ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ คนในโลกนี้คงมีไม่กี่คนที่จะได้มาศึกษาความจริงเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับจักรวาล เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงของวัฏสงสาร ทางแก้ไขที่คุณยายท่านบอกไว้ คือ ต้องสอนให้คนทั้งโลกรู้จักทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี่คือวิชาของพระพุทธเจ้า ให้ไปชวนคนรุ่นหลังฝึกสมาธิ เขาจะได้ทำ แล้วจะได้ประโยชน์จากการสร้างบารมีของตัวเราและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างบารมีของเขาเหล่านั้นด้วย
เมื่อพวกเราได้เขาวัดกันมาเพื่อปฏิบัติธรรมแล้ว จึงไม่ใช่ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่จำเป็นต้องช่วยนำทางคนอื่น ๆ ด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ชวนคนในบ้านของเรามาเข้าวัดให้ครบ เพื่อให้เขาได้เข้ามาศึกษาแนวทางของชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป
ขณะเดียวกันก็มาฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนตัวของเรา ตามที่หลวงพ่อยกเรื่องนิสัยรักความสะอาดของคุณยายท่านมาแล้วข้างต้น ถ้าเราทำได้ดีขึ้นเพียงใด ก็จะเป็นแบบอย่าง เป็นมาตรฐานให้ลูกหลานเยาวชนรุ่นต่อไปเขาได้เห็นและทำตาม แล้วพวกเราก็จะสามารถช่วยกันรักษาความดีให้คงอยู่ในตัวคนของเรา เป็นมรดกที่สมควรจะมอบไว้ให้ลูกหลานต่อไป
ดังนั้น ความสะอาดจึงมีความสำคัญตั้งแต่ก้าวแรกที่เริ่มปฏิบัติ จนก้าวสุดท้ายของการบรรลุมรรค ผล นิพพานเลยทีเดียว ขอให้ตั้งใจฝึกฝนตามที่คุณยายสอนไว้ให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติให้ได้...
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
เมื่อหลวงพ่อบวชแล้ว ก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงสรุปว่า การบรรลุธรรมในแต่ละระดับนั้น ให้เราเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งหากย่นย่อลงมาอีก ก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หากย่นย่อลงมาอีกก็เหลือเพียงหนึ่งคือ ความไม่ประมาท
แม้ว่าเราได้บทสรุปจากพระไตรปิฎกมาอย่างนี้ แต่ก็ยากต่อการนำมาปฏิบัติ จนกระทั่งพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านตั้งใจสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อค้นธรรม แล้วในที่สุดก็ได้บรรลุธรรมตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพยานการตรัสรู้ธรรม ยืนยันว่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและสั่งสอนมานั้นถูกต้อง เป็นจริง เข้าถึงได้จริง ไม่จำกัดกาล
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านจึงสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ในทางปฏิบัติว่า ความไม่ประมาทก็คือ การนำใจของเรามาหยุดมานิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั่นเอง เมื่อเราทำให้ใจหยุดนิ่งได้ที่ศูนย์กลางกายเมื่อไรเราก็จะสามารถดำเนินตามรอยหนทางแห่งการตรัสรู้ธรรมที่อยู่ภายในตัวของเรา ตามเส้นทางการบรรลุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้
การหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายนั้นเป็นงานที่ละเอียด เพราะเป็นงานทางใจ การจะฝึกให้เป็นคนมีใจละเอียดได้ ก็ต้องเริ่มจากการฝึกความละเอียดของใจ ผ่านการฝึกรักษาความสะอาดในงานหยาบ ๆ เช่นการดูแลปัจจัย ๔ ให้เป็นนิสัยรักความสะอาดให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก
ในวัฏสงสารที่เรายังต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น มีเรื่องต้องเรียนรู้มากมาย แต่ว่าอายุของเรานั้นสั้น ถ้าจับประเด็นไม่ถูก ชาตินี้เกิดแล้วตายเปล่าไม่ได้อะไรเลย ยิ่งในทุกวันนี้ ยุคนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารเจริญก้าวหน้า วิชาการสารพัดสาขาเกิดขึ้นอย่างมากมาย ลำพังเพียงสาขาใดสาขาหนึ่งหากเราจะอ่านหนังสือในสาขานั้นให้หมด ชาตินี้คงไม่จบ
คนเราทุกวันนี้มีความรู้กันมาก แต่เป็นความรู้เรื่องนอกตัว เรื่องคอมพิวเตอร์ เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการเมือง แต่ว่าเรื่องของตัวเองไม่รู้จัก ไม่รู้จักเรื่องความจริงของชีวิต ไม่รู้เลยว่าที่เขาเดือดเนื้อร้อนใจอยู่ทุกวันนี้ เพราะว่ากิเลสที่ห่อหุ้มใจมันบีบคั้นเขา
ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ คนในโลกนี้คงมีไม่กี่คนที่จะได้มาศึกษาความจริงเกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับจักรวาล เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงของวัฏสงสาร ทางแก้ไขที่คุณยายท่านบอกไว้ คือ ต้องสอนให้คนทั้งโลกรู้จักทำใจหยุดใจนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี่คือวิชาของพระพุทธเจ้า ให้ไปชวนคนรุ่นหลังฝึกสมาธิ เขาจะได้ทำ แล้วจะได้ประโยชน์จากการสร้างบารมีของตัวเราและเป็นประโยชน์ต่อการสร้างบารมีของเขาเหล่านั้นด้วย
เมื่อพวกเราได้เขาวัดกันมาเพื่อปฏิบัติธรรมแล้ว จึงไม่ใช่ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่จำเป็นต้องช่วยนำทางคนอื่น ๆ ด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ชวนคนในบ้านของเรามาเข้าวัดให้ครบ เพื่อให้เขาได้เข้ามาศึกษาแนวทางของชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป
ขณะเดียวกันก็มาฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนตัวของเรา ตามที่หลวงพ่อยกเรื่องนิสัยรักความสะอาดของคุณยายท่านมาแล้วข้างต้น ถ้าเราทำได้ดีขึ้นเพียงใด ก็จะเป็นแบบอย่าง เป็นมาตรฐานให้ลูกหลานเยาวชนรุ่นต่อไปเขาได้เห็นและทำตาม แล้วพวกเราก็จะสามารถช่วยกันรักษาความดีให้คงอยู่ในตัวคนของเรา เป็นมรดกที่สมควรจะมอบไว้ให้ลูกหลานต่อไป
ดังนั้น ความสะอาดจึงมีความสำคัญตั้งแต่ก้าวแรกที่เริ่มปฏิบัติ จนก้าวสุดท้ายของการบรรลุมรรค ผล นิพพานเลยทีเดียว ขอให้ตั้งใจฝึกฝนตามที่คุณยายสอนไว้ให้เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติให้ได้...
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ความสะอาด มีความสำคัญต่อการเข้าวัดปฏิบัติธรรมอย่างไร?
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
22:46
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: