อานิสงส์แห่งการสดุดียกย่องพระพุทธคุณ
ในยุคสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ
ท่านได้มาบังเกิดเป็นกุลบุตรแห่งตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มากมายในนครพาราณสี
วันหนึ่งกุลบุตรนั้นได้เดินเที่ยวเล่นไปเรื่อย ๆ จนถึงป่ามฤคทายวัน
ในเขตเมืองพาราณสีนั้น เขาได้พบพระบรมศาสดาโดยบังเอิญ
ขณะที่พระองค์กำลังทรงแสดงธรรมเทศนาเรื่องหนทางอมตธรรม
ทันทีที่เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาก็เกิดความปีติเลื่อมใสในพระสุรเสียงแห่งการแสดงธรรมของพระองค์ว่า
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเทพที่ยิ่งกว่าทวยเทพองค์ใด
ๆ ทรงมีถ้อยคำที่กลมกล่อมน่าชื่นใจ พระสุรเสียงก็ไพเราะดุจนกการเวกขับขาน
พระสำเนียงกึกก้องเหมือนเสียงหงส์และกลองที่ตีเสียงกึกก้องกังวาน
จนสามารถทำให้มหาชนได้ยินกันชัดเจนทั่วถึง”
เมื่อเขาได้สดับธรรมะและพระสุรเสียงที่ไพเราะของพระพุทธองค์เช่นนี้ ก็คิดจะสละทรัพย์สมบัติเพื่อออกบวช ครั้นได้บวชสมใจแล้ว ก็หมั่นศึกษาธรรมะต่าง ๆ จนแตกฉานเป็นพหูสูต อีกทั้งยังเป็นพระธรรมกถึก (นักแสดงธรรม) ที่มีความสามารถด้านปฏิภาณวิจิตร คือ สามารถกล่าวบทธรรมในรูปแบบร้อยกรองกาพย์กลอนได้
เมื่อเขาได้สดับธรรมะและพระสุรเสียงที่ไพเราะของพระพุทธองค์เช่นนี้ ก็คิดจะสละทรัพย์สมบัติเพื่อออกบวช ครั้นได้บวชสมใจแล้ว ก็หมั่นศึกษาธรรมะต่าง ๆ จนแตกฉานเป็นพหูสูต อีกทั้งยังเป็นพระธรรมกถึก (นักแสดงธรรม) ที่มีความสามารถด้านปฏิภาณวิจิตร คือ สามารถกล่าวบทธรรมในรูปแบบร้อยกรองกาพย์กลอนได้
เนื่องจากท่านมีความสามารถพิเศษด้านการใช้ภาษาที่ไพเราะในการแสดงธรรมเช่นนี้
จึงได้พรรณนาพระคุณอันไม่มีประมาณของพระพุทธเจ้าให้ชาวประชาได้สดับฟังและยังจิตให้เลื่อมใสในพุทธคุณ
เป็นต้นว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นพระขีณาสพ
(หมดกิเลส) เป็นผู้ตื่นแล้ว ทรงไม่มีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้หมดสิ้นแล้ว
ทรงพ้นกิเลสแล้ว”
“พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ประเสริฐยิ่งนัก
ทรงประกาศพระธรรมคำสอนทั้งแก่มนุษย์และเทวดา ทรงเป็นผู้ฝึกพระองค์เองและทรงฝึกผู้อื่น
ทรงเป็นผู้สงบและทรงทำผู้อื่นให้สงบตาม
เป็นผู้ดับกิเลสและทรงทำให้ผู้อื่นดับกิเลสตาม ทรงมีความเพียรและองอาจกล้าหาญ
ทรงมีพระปัญญาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ” ซึ่งท่านมักชอบแสดงธรรมกถาอย่างนี้ในท่ามกลางหมู่ชน
โดยการพรรณนาสรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งอันสูงสุดอยู่เสมอ ๆ
เมื่อละโลกในชาตินั้น ก็ได้ไปเสวยทิพยสุขอันโอฬารในสวรรค์ชั้นดุสิต
ครั้นมาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งและได้ออกบวชในภพชาติสุดท้าย
อานิสงส์จากการที่ได้พรรณนาพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ตามส่งผลอย่างน่ามหัศจรรย์ดังนี้ คือ ทำให้เป็นผู้มีกลิ่นหอม
ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นลมหายใจก็ดี กลิ่นปากหรือกลิ่นตัว
ล้วนแผ่หอมฟุ้งกระจายไปเป็นนิจทุกทิพาราตรีกาล
ปานดังดอกปทุมและดอกจำปาที่ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลอด เพราะเหตุนี้พระเถระจึงมีนามว่า “พระสุคันธเถระ” หรือพระเถระผู้มีกลิ่นหอม
อีกทั้งยังเป็นผู้มีสรีระที่งดงามได้สัดส่วน
ซึ่งก็ล้วนเกิดจากผลบุญอันอัศจรรย์ที่เคยพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ยกย่องเช่นใด..ย่อมได้เป็นเช่นนั้น
ในการพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้านั้น คุณสมบัติด้านใดของพระพุทธองค์ที่ท่านได้พรรณนาประกาศพระคุณเอาไว้
ท่านก็ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณสมบัตินั้น ๆ ตามที่พรรณนาด้วย พูดให้เข้าใจง่าย ๆ
ก็คือ “สร้างผังสำเร็จ..ด้วยวจีกรรมที่ดี” ดังต่อไปนี้
๑. การที่ท่านได้พรรณนาถึงพระยศของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้นแม้ท่านจะไปเกิดในภพใด
ก็ย่อมได้เป็นผู้มียศรุ่งเรืองในภพนั้น ๆ
๒.การที่ท่านได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า
พระพุทธองค์ชื่อว่าเป็นผู้ประทานความสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นท่านจึงได้อานิสงส์คือ เป็นผู้เข้าถึงความสุข
๓. การที่ท่านได้กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าในด้านคุณสมบัติส่วนพระองค์
และคุณสมบัติในส่วนที่เป็นประโยชน์แก่มหาชน ท่านจึงได้อานิสงส์ คือ
เป็นผู้มีความงดงาม
๔.
การที่ท่านได้กล่าวสรรเสริญชมเชยพระพุทธองค์ว่าเป็นผู้ทรงชนะมาร
ทรงโดดเด่นเหนือจากนักบวชเดียรถีย์ อีกทั้งยังทรงปราบเดียรถีย์ชั่ว จึงทำให้เป็นผู้มีแต่ความรุ่งเรือง
๕.
การที่ท่านได้กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าว่า
พระองค์ทรงเป็นที่รักแห่งหมู่ชน จึงทำให้ได้อานิสงส์ คือ เป็นผู้น่ารัก น่าชม
เหมือนพระจันทร์ในสรทกาล (เดือนท้ายฤดูฝน ซึ่งจะพ้นช่วงที่เมฆหมอกปกคลุม)
๖. การที่ท่านได้ชมเชยพระพุทธเจ้าในทุก ๆ ด้าน
ตามสติกำลังและความสามารถอย่างเต็มที่ จึงทำให้ได้อานิสงส์ คือ มีปฏิภาณวิจิตร
เหมือนพระวังคีสะ (ปฏิภาณวิจิตรของพระวังคีสะ คือ
ท่านสามารถเล่าธรรมะในรูปแบบกาพย์กลอนได้ในทันที
โดยที่ไม่ต้องนึกคิดเตรียมมาก่อนเลย)
๗. คนพาลเหล่าใดมักมีความสงสัยกังขาแล้วดูหมิ่นพระพุทธเจ้า
ท่านได้ใช้วาทะปราบคนพาลเหล่านั้นโดยชอบธรรม จึงได้อานิสงส์ คือ
ไม่เคยถูกใครดูหมิ่นเลย
๘.การที่ท่านได้ช่วยทำให้กิเลสของสัตว์ทั้งหลายหมดไปจากใจ
ด้วยการสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า กรรมนั้นจึงทำให้ได้อานิสงส์ คือ
เป็นผู้มีใจไม่มีกิเลส
๙. การที่ท่านได้เทศน์พุทธานุสติ
และทำปัญญาตรัสรู้ให้เกิดแก่ผู้ฟัง จึงทำให้ได้อานิสงส์ คือ
เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งเนื้อความแห่งธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง
และด้วยผลบุญจากการพรรณนาสรรเสริญครั้งนี้
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาตลอดทัั้งแสนกัป ท่านไม่ต้องไปอบายภูมิอีกเลย จนสามารถเผากิเลสในชาติสุดท้ายได้หมดสิ้น
จับดีให้เป็นนิสัย
การที่ใครสักคนยกย่องชื่นชมผู้อื่นได้นั้น
ต้องเกิดจากจิตที่ดีงามและมีใจที่ผ่องใสมาก ๆ
จนสามารถมองเห็นข้อดีของผู้อื่นหรือที่เรียกว่าการจับดี แม้ว่าจะรับรู้ข้อไม่ดีของผู้อื่นโดยบังเอิญ
ก็ไม่ควรดูหมิ่นเขา
แต่ให้นำข้อบกพร่องของเขามาเป็นบทเรียนแก่ตัวเองว่าจะไม่ยอมกระทำผิดพลาดอย่างนั้น
ประดุจม้าอาชาไนยที่เห็นเพื่อนม้าโดนแส้เฆี่ยนลงโทษฉันใด
ก็รีบนำความผิดพลาดของเพื่อนม้ามาเป็นบทเรียนว่าจะไม่ยอมทำผิดอย่างนั้นเด็ดขาดฉันนั้น
Cr. เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ.๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี
ป.ธ.๙
คลิกอ่านอานิสงส์แห่งบุญของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามบทความด้านล่างนี้
อานิสงส์ถวายเภสัชและรักษาพระภิกษุอาพาธ
อานิสงส์การรักษาศีล ๕
อานิสงส์ถวายความหอม
อานิสงส์บุญถวายสังฆทาน
อานิสงส์บูชาการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อานิสงส์การให้ทานเพื่อขจัดความตระหนี่
อานิสงส์การเป็นภรรยาที่ดี
อานิสงส์ถวายน้ำอ้อย
อานิสงส์ถวายทานบ่อย ๆ
อานิสงส์การให้ทาน
อานิสงส์สร้างที่ปฏิบัติธรรม
อานิสงส์การบูชาด้วยดอกบัว (ปีถัดไป)
อานิสงส์แห่งการสดุดียกย่องพระพุทธคุณ
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:44
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: