กฐินทาน... ผลานิสงส์ใหญ่ที่ใครก็ไม่ควรพลาด
เสียงผู้แทนคณะสงฆ์ดังขึ้นท่ามกลางมหาสมาคมใหญ่ในพิธีอปโลกน์กฐิน
ณ ศาลาการเปรียญภายในวัดแห่งหนึ่ง
สาธุชนนั่งประนมมือสงบนิ่งร่วมพิธีกรรมอย่างใจจดใจจ่อ เพราะได้รอคอยมาตลอด ๑
ปี เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า ขึ้นชื่อว่า “ผ้ากฐิน”
นี้เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลยาวนานกว่า ๒,๕๐๐
ปี นอกจากนี้โดยนัยแห่งอรรถกถาชาดกมี “อติเทวราชชาดก” เป็นต้นนั้น
ยังได้กล่าวถึงการมีอยู่ของ “ผ้ากฐิน” ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ก่อน
ๆ อีกด้วย ในทางพระพุทธศาสนาเราใช้คําว่า “กฐิน” นี้
ใน ๓ นัย คือ เป็นชื่อผ้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบขึ้นของพระภิกษุสงฆ์ ๑
เป็นชื่อของพิธีกรรมสงฆ์ ๑ และเป็นชื่อการทําบุญโดยมีผ้าเป็นสื่อกลาง ๑
พิธีทอดกฐินนี้มีความสําคัญและสืบทอดยาวนานมาถึงในปัจจุบันอย่างไร
เรามาดูไปพร้อม ๆ กัน
ประการแรก “ผ้ากฐิน”
นี้เป็นพระบรมพุทธานุญาตโดยแท้ เพราะการถวายผ้าประเภทอื่น ๆ อาทิ “ผ้าอาบน้ำฝน”
นั้น
เกิดขึ้นเพราะมีมหาอุบาสิกาวิสาขาเป็นผู้กราบทูลเพื่อขอพระบรมพุทธานุญาต
โดยมีมูลเหตุตามนัยแห่งพระวินัยปิฎก มหาวรรค กฐินขันธกะ (หมวดว่าด้วยกฐิน) ที่ว่าพระภิกษุชาวเมืองปาฐากลุ่มหนึ่งมีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก่อนที่จะเดินทางไปถึงนั้น
ได้เข้าสู่ฤดูกาลจําพรรษาเสียก่อน ครั้นออกพรรษาแล้ว
จึงได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
และเมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบถึงความมุ่งมั่น กอปรกับความเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัติไว้จึงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สามารถทําหรือรับผ้ากฐินนี้ได้โดยมีข้อปฏิบัติของพระภิกษุผู้คู่ควรต่อผ้ากฐินนี้ได้แก่
เป็นผู้ที่อยู่จําพรรษาครบถ้วนไตรมาส ณ อาวาสแห่งใดแห่งหนึ่ง
อีกทั้งเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถกระทํากิจที่เนื่องด้วยกฐินนี้ได้เพียงด้วยมูลเหตุนี้ก็นับเป็นบุญลาภที่หาได้ยากยิ่งของผู้มีส่วนแห่งการกระทํานี้
จึงนับเป็นบุญลาภอันประเสริฐของผู้ที่ได้มีโอกาสร่วมบุญเป็นอย่างยิ่งที่สําคัญ
๑ ปีมีเพียง ๑ ครั้งเท่านั้น และกระทําได้ไม่เกิน ๑ เดือน
ภายหลังจากออกพรรษาอีกด้วย
จึงควรที่พุทธศาสนิกชนผู้รักในพระพุทธศาสนาจะพึงเห็นความสําคัญและร่วมกันทอดกฐินสามัคคี
ณ วัดใกล้บ้านหรือวัดที่เราคุ้นเคย
ทั้งกระทําด้วยตนเองและชักชวนบุคคลอันเป็นที่รักให้มาร่วมกันด้วย
กาเล ททนฺติ สปฺปญฺญา วทญฺญู วีตมจฺฉรา
กาเลน ทินฺนํ อริเยสุ
อุชุภูเตสุ ตาทิสุ วิปฺปสนฺนมนา ตสฺส
วิปุลา โหติ ทกฺขิณา...
ทายกทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีปัญญา
มีความเอื้อเฟื้อ ปราศจากความตระหนี่ ให้ทานในกาลสมัย
มีจิตเลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้คงที่
บริจาคทาน ให้ทานตามกาลนิยม
ทักษิณาทานของทายกทั้งหลายเหล่านั้นมีผลไพบูลย์...
Cr. พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ที่นี่
- กฐินทาน...ผลานิสงส์ใหญ่ที่ใครก็ไม่ควรพลาด
- ๑๐ ตุลาคม ร่วม ๗ บุญใหญ่ด้วยใจกตัญญู
- เราคือความหวังของโลกใบนี้
- ทุกอย่างเผลอเป็นเสร็จ
- พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ ๓๒๓ วัด ปีที่ ๑๔ ครั้งที่ ๑๓๙
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๐)
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- ผู้ประพฤติธรรม
- วินัยสำคัญอย่างไร ?
- ย้อนอดีต..ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๑)
- อานุภาพของความเป็นระเบียบ
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ที่นี่
- ฉบับที่ ๑๘๑ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๒ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๓ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๔ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๕ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๖ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๗ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๘ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๘๙ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๐ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๑ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
- ฉบับที่ ๑๙๒ ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปีได้ที่นี่
กฐินทาน... ผลานิสงส์ใหญ่ที่ใครก็ไม่ควรพลาด
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:21
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: