พุทธประเพณี การบูชาโดยการโปรยดอกไม้ อานิสงส์ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ !
พุทธประเพณี
การบูชาโดยการโปรยดอกไม้
อานิสงส์ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ !
☘............................................................☘
คนยุคนี้ไม่คุ้นกับการโปรยดอกไม้ (Scattering
Flowers) ต้อนรับคณะพระภิกษุสงฆ์
จึงเข้าใจไปว่า..สิ่งที่วัดพระธรรมกายทําเป็นสิ่งแปลกประหลาด !!!
แต่แท้จริงแล้ว..การโปรยดอกไม้เป็นประเพณีที่มีมายาวนานในทุกยุคทุกสมัย
อีกทั้งในสมัยพุทธกาลก็มีหลักฐานชัดในพระไตรปิฎกว่า
มีชาวเมืองแห่กันออกมาโปรยดอกไม้ต้อนรับขบวนเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจํานวนมหาศาล
เพราะการทําอย่างนี้ตรงกับมงคลชีวิตข้อ ๓ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือ
การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
นอกเหนือจากนี้ ยังพบหลักฐานเรื่องการโปรยดอกไม้ในคัมภีร์พุทธโบราณ
เรื่อง มหาวัสตุอวทานสูตร อีกทั้งตามความเชื่อของชาวอินเดีย
การโปรยดอกไม้ถือเป็นการแสดงความเคารพ ศรัทธา เป็นการยกย่องให้เกียรติผู้สูงศักดิ์กว่า
และที่สําคัญ...ยังเป็นการอวยพรให้พ้นจากภัยพิบัติ สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ
และให้ประสบแต่ความโชคดีตลอดไป
จําเป็นด้วยหรือ..ที่เราจะต้องบูชาบุคคลที่ควรบูชา
?
เหมือนเด็กสมัยนี้ เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบไอดอล (Idol) ถ้าได้ไอดอลดี
ก็เลียนแบบพฤติกรรมที่ดีไป แต่ถ้าได้ไอดอลที่เลวล่ะ จะเป็นอย่างไร..ก็ลองคิดดูเอา
เฉกเช่นกัน การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บูชาบุคคลที่ควรบูชา
ก็เพื่อให้เราหาบุคคลที่เป็นตัวอย่างการดําเนินชีวิตที่ถูก
แล้วทําตามบุคคลเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ เป็นต้น
การโปรยดอกไม้ถือเป็นการบูชาอย่างไร ?
การโปรยดอกไม้ถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ฝึกใจให้อ่อนโยนลง เพื่อน้อมรับ
คุณความดีของบุคคลที่ควรบูชา เพราะถ้าเคยชินกับการบูชาแล้ว
ในที่สุดเราก็จะตระหนักถึงคุณความดีของผู้ที่เราบูชา แล้วเกิดความเลื่อมใส
อยากทําความดีตามอย่างท่านขึ้นมาจริง ๆ
มากไปกว่านั้น การที่เรานอบน้อมบูชาอยู่เนืองนิตย์
ย่อมทําให้เราได้อานิสงส์ คือ มีอายุยืน มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส มีความสุข
มีกําลัง ดังคําให้พรที่พระภิกษุให้เมื่อเราไปทําบุญว่า...
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง...
ซึ่งแปลว่า..ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ
วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติไหว้กราบ
มีปกติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิจ...
อานิสงส์การโปรยหรือการบูชาด้วยดอกไม้มีอะไรบ้าง
?
มีเรื่องราวจํานวนมากใน พระสูตร ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ที่ได้กล่าวถึงบุพกรรมของนางเทพธิดา..ที่ตอนเป็นมนุษย์ได้ถวายดอกไม้ของหอมแด่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วทําให้ไปเกิดในเทวโลก เป็นเทพธิดาผู้งดงามในทิพยวิมานอันวิจิตรพิสดาร
แม้ใน ขุททกนิกาย อปทาน ก็ได้กล่าวถึงบุพกรรมของพระเถระและพระเถรี
หลายองค์ก่อนที่จะสิ้นอาสวกิเลสว่า
ในอดีต..ท่านได้ถวายดอกไม้แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงเป็นผลทําให้ท่านเหล่านั้นไม่ไปทุคติเลย ตราบจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ดังมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
เรื่องอโธปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๘๔)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้บูชา
เรื่องมีอยู่ว่า..พระอโธปุปผิยเถระ ได้เล่าถึงชาติที่เคยเอาดอกไม้ ๗
ดอกโปรยบูชา พระอภิภู ผู้เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าสิขี ด้วยผลแห่งบุญนี้
ทําให้ท่านไม่ไปทุคติเลย และชาติสุดท้ายได้คุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
อภิญญา ๖ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เรื่องติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี
เรื่องมีอยู่ว่า..พระติมิรปุปผิยเถระ
ได้เล่าถึงชาติที่เคยถือดอกดีหมีมาโปรยบูชาพระสิทธัตถสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทําให้ท่านไม่ไปทุคติเลย ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ มีพระนามว่า “มหารหะ”
สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลานุภาพมาก ชาติสุดท้ายได้คุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๘ อภิญญา ๖ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เรื่องปุปผฉทนิยเถราปทานที่ ๔ (๑๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้เป็นหลังคา
เรื่องมีอยู่ว่า..พระปุปผฉทนิยเถระ
ได้เล่าถึงชาติที่เคยเกิดเป็นพราหมณ์แล้วได้ชวนลูกศิษย์ทั้งหมดโยนดอกไม้ขึ้นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า แต่ด้วยพุทธานุภาพทําให้ดอกไม้ทั้งหมดลอยปกคลุมเป็นหลังคาทั่วพระนครตลอด ๗ วัน
และด้วยผลแห่งบุญนี้ ทําให้ท่านไม่ไปทุคติเลย ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า
“อัมพรังสะ” มีพลานุภาพมาก ชาติสุดท้ายได้คุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
อภิญญา ๖ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
เรื่องนาคปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๕๘)
ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกสารภีที่ทางเสด็จ
เรื่องมีอยู่ว่า..พระนาคปุปผิยเถระ
ได้เล่าถึงชาติที่เคยเป็นพราหมณ์มีนามว่า “สุวัจฉะ”
ได้เอาดอกสารภีไปโปรยลงทางเสด็จ เพื่อบูชาพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ด้วยผลแห่งบุญนี้
ทําให้ท่านไม่ไปทุคติเลย ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า “มหารถะ” ด้วยรัตนะ ๗
ประการ มีพลานุภาพมาก และชาติสุดท้ายได้คุณวิเศษ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
อภิญญา ๖ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
จะเห็นว่า..จากที่ตั้งคําถามกันเข้ามามากมายจนเป็นเรื่องดราม่า (Drama)
ในกรณีวัดพระธรรมกายโปรยดอกไม้ ก็เป็นเรื่องที่ล้วนมีคําตอบในพระไตรปิฎกทั้งนั้น
ที่สําคัญพุทธประเพณีดังกล่าวก็มีหลักฐานยืนยันความถูกต้องว่า..การบูชาด้วยใจ
ที่ศรัทธานั้น มีผล มีอานิสงส์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติบูชาหรืออามิสบูชา
ฉะนั้น...การบูชาด้วยการโปรยดอกไม้ต่าง ๆ ถือว่าเป็นอริยประเพณีที่สืบทอดมายาวนาน
เป็นวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาและความศรัทธาของชาวพุทธแท้ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม
เพราะเป็นพุทธประเพณีที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลายพระองค์
ดังนั้นก็เป็นการควรมิใช่หรือที่ชาวพุทธในยุคเราจะสืบสานพุทธประเพณี
เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
Cr. ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์
Line ID : natchy1972
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๓ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปีได้ที่นี่
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/01/blog-post_12.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- พุทธประเพณี การบูชาโดยการโปรยดอกไม้ อานิสงส์ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ !
- ตักบาตร ณ นครแห่งความสุข "ตักบาตรพระ ๑,๓๓๘ รูป ฉลองเมืองลำปาง ๑,๓๓๘ ปี"
- ความปลื้มที่ได้จากการทอดผ้าป่าต้นสมบัติจักรพรรดิ ๒๐๕ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก
- พิธีถวายอุปกรณ์เครื่องกันหนาว ณ ห้องแก้วสารพัดนึก
- กตัญญูบูชา ฉลองอายุวัฒนมงคล ๗๘ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว
- BEHIND THE SCENE พิธีกร Thailand Game Show 2018
- เสียงสวดธรรมจักรเปลี่ยนชีวิตฝรั่งในต่างแดน
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๒)
- หยัดสู้คู่ ๔ จังหวัดภาคใต้ ปีที่ ๑๔ กับพิธีถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ครั้งที่ ๑๔๐
- ปีใหม่ก็อยากจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ดีกว่าเดิม แต่จะทำได้อย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๓)
- คนบริหารเวลาเป็น..เป็นอย่างไร ?
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
พุทธประเพณี การบูชาโดยการโปรยดอกไม้ อานิสงส์ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ !
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
21:21
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: