ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๓)
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
----------✵✵✵✵✵✵✵✵----------
ตอนที่ ๑๓ : ตัวเลข
๕...พยานในการตรัสรู้ธรรม ณ จังหวะและเวลาที่เหมาะสม
ภายหลังจากพระโพธิสัตว์บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับว่าเป็นความสําเร็จอันยิ่งใหญ่สูงสุดที่มนุษย์ผู้หนึ่งจะสามารถกระทําได้
แต่ถึงกระนั้น สิ่งนี้นับเป็นเพียงภารกิจ “กึ่งหนึ่ง” ของพระพุทธองค์เท่านั้น เพราะการที่พระพุทธองค์ทรงบําเพ็ญบารมีธรรมมาตลอดกาลยาวนาน
หาได้เพียงเพื่อตัวพระองค์เองเท่านั้นไม่
หากเป็นไปเพื่อมนุษยชาติทั้งหลาย ดังนั้นภารกิจอีก “กึ่งหนึ่ง” ที่เหลืออยู่นั้น
จึงได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อ ๒,๖๐๖
ปีที่ผ่านมา
ภารกิจแรกภายหลังจากการตรัสรู้คือ
การเข้านิโรธสมาบัติอันเป็นการตระเตรียมความพร้อมในการเผยแผ่อมตธรรมที่ถูกปิดงํามาตลอดกาลยาวนาน หลังจากนั้นพระพุทธองค์จึงทรง
“เลือกเฟ้นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในเวลานั้น” ดาบสทั้งสอง คือ “อาฬารดาบส” และ
“อุทกดาบส” ได้เข้ามาสู่ข่ายพระญาณของพระองค์แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าท่านทั้งสองละสังขารไปเสียก่อน
ดังนั้นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในเวลานั้นจึงมาสู่นักบวชปัญจวัคคีย์โดยมี “ท่านโกณฑัญญะ”
เป็นประธาน และจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ท่านโกณฑัญญะได้เป็น “พยานในการตรัสรู้ธรรม”
ของพระพุทธองค์ โดยมีดวงตาเห็นธรรมเป็นท่านแรก และบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง
๕ ท่าน ในกาลต่อมา
จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่ปรากฏขึ้นในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานี้
ทําให้เราได้ข้อคิดที่น่าสนใจ คือ “จังหวะและเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสําคัญ”
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของท่าน “อาฬารดาบส” และ “อุทกดาบส” หากยกเรื่องบุญบารมีไว้
จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของดาบสทั้งสองนั้นเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง คือ
มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมและมีศิษยานุศิษย์อยู่เป็นจํานวนมาก
แต่น่าเสียดายว่าจังหวะและเวลาไม่เอื้ออํานวยต่อท่านทั้งสอง
เพราะได้กระทํากาละไปเสียก่อน บุคคลต่อมาที่เหมาะสมทั้งจังหวะและเวลา
คือท่านโกณฑัญญะและปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่าน
ดังนั้น ในการทํางานไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม “จังหวะและเวลาที่เหมาะสม”
เป็นสิ่งสําคัญยิ่ง แต่ทว่าจังหวะและเวลาที่เหมาะสมก็มิใช่ว่าเราจะต้องตั้งตาคอยเสมอไป
เพราะในบางครั้งเราก็สามารถสร้างจังหวะและเวลาที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นได้ขอเพียงมีโอกาสให้ใจเราได้หยุดนิ่งในกลางความสงบ
และสิ่งที่สําคัญ คือ เมื่อโอกาสได้เกิดขึ้นในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมแล้ว
อย่าได้ผัดวันประกันพรุ่ง จนเป็นเหตุให้โอกาสนั้นหลุดลอยไปเสีย
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
--------------------------------------------------------
Cr. พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๓ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/01/blog-post_91.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- พุทธประเพณี การบูชาโดยการโปรยดอกไม้ อานิสงส์ใหญ่ที่หลายคนไม่รู้ !
- ตักบาตร ณ นครแห่งความสุข "ตักบาตรพระ ๑,๓๓๘ รูป ฉลองเมืองลำปาง ๑,๓๓๘ ปี"
- ความปลื้มที่ได้จากการทอดผ้าป่าต้นสมบัติจักรพรรดิ ๒๐๕ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก
- พิธีถวายอุปกรณ์เครื่องกันหนาว ณ ห้องแก้วสารพัดนึก
- กตัญญูบูชา ฉลองอายุวัฒนมงคล ๗๘ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว
- BEHIND THE SCENE พิธีกร Thailand Game Show 2018
- เสียงสวดธรรมจักรเปลี่ยนชีวิตฝรั่งในต่างแดน
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๒)
- หยัดสู้คู่ ๔ จังหวัดภาคใต้ ปีที่ ๑๔ กับพิธีถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ครั้งที่ ๑๔๐
- ปีใหม่ก็อยากจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ดีกว่าเดิม แต่จะทำได้อย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๓)
- คนบริหารเวลาเป็น..เป็นอย่างไร ?
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๓)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
22:57
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: