กว่าจะเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแต่ละแห่งนั้น ต้องเจออะไรมาบ้าง ?
กว่าจะมาเป็น
ศูนย์ปฏิบัติธรรมแต่ละแห่งนั้น
ต้องเจออะไรมาบ้าง ?
พระวัชระ ฐิตสํวโร
ประธานส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดลพบุรี
ก่อนหน้านั้นในอำเภอเมืองลพบุรียังไม่มีศูนย์สาขา หลวงพี่ได้รับมอบหมายให้ไปบุกเบิกสถานที่ตรงนี้ เดิมพื้นที่เป็นป่าอ้อยเก่าที่เขาตัดแล้ว ตอนไปลงพื้นที่ไม่มีอะไรเลยจริง ๆ ความรู้ในการก่อสร้างมีไหม ไม่มี ปัจจัยมีไหม ไม่มี ทีมงานบุกเบิกมีแค่ ๒ ถึง ๓ รูปเท่านั้นเอง แต่ที่สำคัญคือ เรามีใจ แล้วก็มีภาพความสำเร็จว่า ต้องทำศูนย์นี้ให้สำเร็จให้ได้ ก็เลยลุยตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
ความช่วยเหลือจากคนในชุมชน
เราไปขอความเมตตาจากหลวงพ่อในวัดประจำชุมชน ไปพูดคุยกับท่านก่อนว่าเรามาทำอะไร ญาติโยมชาวบ้านแถว ๆ นั้น ตอนแรกเขาไม่เข้าใจ ผู้ใหญ่บ้านท่านช่วยคุยแล้วก็เชื่อมญาติโยมให้เราทำความเข้าใจกับชุมชนในละแวกนั้น แล้วเราก็ออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม ทำให้เขาเข้าใจเรามากขึ้น และเห็นว่าเรามีความตั้งใจดี ต่อมาชาวบ้านในละแวกศูนย์ของเราก็มาช่วยสร้างศูนย์ด้วย
เราต้องสร้างคนไปด้วย
ตอนเริ่มต้นไม่มีอะไร ต้องหาเองทั้งหมด น้ำไม่มี ไฟก็ไม่มี ที่พักก็ไม่มี มีแค่ป่าเล็ก ๆ มีต้นไม้แค่กลุ่มเดียว นอกนั้นเป็นพื้นที่โล่งหมดเลย ต้องเอาเต็นท์ธรรมทายาทไปกางจำวัดอยู่ตรงนั้น ท่ามกลางแสงเทียนในยามค่ำคืน เจอขโมยหลายครั้ง แต่ว่าเราก็รอดมาได้
ตอนเรามาบุกเบิก ญาติโยมผู้นำบุญก็ระดมทุนมาช่วย มาเจาะน้ำ มาหาไฟ ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่หลวงพ่อมีนโยบายให้เราจัดบวชสามเณร หลวงพี่ก็รับนโยบายนั้นด้วย เพราะหลวงพี่ชอบคำพูดที่หลวงพ่อบอกว่า “เราไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ไม่ใช่แค่สร้างสถานที่ แต่เราต้องสร้างคนไปด้วย” หลวงพี่จึงจัดบวชสามเณรที่วัดกัลยาณมิตร ตอนนั้นบวช ๕๐-๖๐ รูป พาสามเณรมาทำกิจกรรม มาช่วยกันปรับปรุงสถานที่
ร่วมด้วยช่วยกัน
พอเราบวชสามเณร ญาติโยมก็จะตามมาด้วย เพราะว่าพ่อแม่ผู้ปกครองของสามเณรมาดูสามเณรลูก ๆ ของเขา เราก็ได้มวลชนจากตรงนั้นมาช่วยกันขุดดิน ปลูกต้นไม้ มาปรับแต่งสถานที่ให้ใช้งานได้ ตอนนั้นได้สร้างศาลาหลังแรกเป็นศาลามุงจาก น้อง ๆ ทหารมาช่วยสร้าง พวกหลวงพี่เองก็ไปช่วยเทปูน เรามีพระที่ทำงานช่างเป็น ใครช่วยตรงไหนได้ก็มาช่วยกันสร้างศูนย์ จนศูนย์เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง พัฒนาไปเรื่อย ๆ ตอนนี้ย่างเข้าปีที่ ๗ แล้ว สามารถที่จะรองรับงานได้หลาย ๆ อย่าง ก็ถือว่าตรงจุดนี้เป็นศูนย์รวมใจให้ญาติโยมมาทำบุญ ถวายภัตตาหาร มาปฏิบัติธรรม มาสร้างบารมีร่วมกัน
ตอบโจทย์เรื่องการอบรม
ที่ศูนย์ฯ เน้นเรื่องการปฏิบัติธรรมและการฝึกอบรมคน ทางเขตพื้นที่การศึกษาของลพบุรีก็มาใช้สถานที่อบรมเด็ก และมีน้อง ๆ ในมหาวิทยาลัยมาใช้สถานที่จัดค่ายปฏิบัติธรรม ซึ่งปีที่ผ่านมาได้อบรมเยาวชนไปเกือบ ๕,๐๐๐ คน ถือว่าค่อนข้างมาก เพราะว่างานอบรมที่เราทำนั้น ทางโรงเรียนเขาชอบ เขาได้หลักการที่หลวงพ่อท่านสอน คือเรื่องของ UG5 เรื่องการสอนสมาธิให้เด็ก ๆ ส่วนการสวดธรรมจักรที่เราเอาลงไปให้ตามโรงเรียนสวด ก็มีผลตอบรับกลับมาค่อนข้างดี ทำให้เราเหมือนเป็นสถานที่ที่ตอบโจทย์ของการฝึกอบรมเรื่องของคน โดยเฉพาะเรื่องเยาวชน โดยใช้ศูนย์สาขาของเราเป็นศูนย์กลางในการทำงาน
หลายล้านคนรอเราอยู่
กราบขอบพระคุณในความเมตตาของหลวงพ่อที่ให้บุญใหญ่กับลูกพระที่อยู่ตามศูนย์สาขาต่าง ๆ ซึ่งทุกรูปมีความตั้งใจว่าอยากจะขยายงานของหลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย ให้วิชชาธรรมกายปักหลักมั่นคง เข้มแข็ง แล้วสืบทอดยาวนานกว้างไกลไปทั่วทั้งโลก เป็นที่พึ่งแก่คนอีกหลาย ๆ ล้านคนที่กำลังรอเราอยู่
ต้นสมบัติจักรพรรดินั้น หลวงพี่ถือว่าเป็นเหมือนกำลังใจจากหลวงพ่อ และจากญาติโยมทั่วโลกที่ส่งแรงใจมาช่วย ทำให้งานของหลวงพ่อที่จะขยายวิชชาธรรมกายทั้งในประเทศและต่างประเทศสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ที่สำคัญคือ ปัจจัยที่โยมทำบุญมาเป็นต้นสมบัติ ไม่ใช่แค่สร้างอาคารสถานที่ แต่ปัจจัยนี้แปรเปลี่ยนไปเป็นงานพระศาสนา ที่เกิดขึ้นอีกมากมายในศูนย์สาขากว่า ๒๐๐ แห่งทั่วโลก ต้องบอกว่าบุญนี้สำคัญ เราในฐานะผู้ได้ทำบุญหรือเป็นเจ้าภาพ ก็จะมีส่วนในบุญนั้นทุกบุญ คนดีเกิดขึ้นขนาดไหน ได้เข้าถึงธรรมมากขนาดไหน เราย่อมได้ส่วนของอานิสงส์นั้นทั้งหมดเลย
หมายเหตุ รูปในคอลัมน์นี้เป็นรูปก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-๑๙
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๑๗ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
- บวชฟรีแล้วจะได้อะไร !
- บวช ๑๘ ครั้ง ชีวิตดีกว่าเดิมทุกครั้ง
- ผ้าป่าต้นสมบัติจักรพรรดิ ปีที่ ๙
- กว่าจะมาเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแต่ละแห่งนั้น ต้องเจออะไรมาบ้าง ?
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖๔)
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย จัดพิธีมอบทุนการศึกษาแด่สามเณรผู้สอบผ่านนักธรรมชั้นตรี
- น้อมกราบมุทิตาหลวงพ่อทัตตชีโว
- หลวงพ่อตอบปัญหา
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๓๖)
- ก่อนจะเปรียบเทียบกับใคร..ต้องรู้สิ่งนี้ !
- ฉบับที่ ๒๑๗ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๑๘ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๑๙ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๐ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๑ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๒ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ไม่มีความคิดเห็น: