พลิกชีวิตเกมเมอร์จิ๋ว
พลิกชีวิต
เกมเมอร์จิ๋ว
สามเณร ๒ รูปนี้ อดีตเป็นเกมเมอร์จิ๋วตัวพ่อ
แต่ปัจจุบันมีแรงบันดาลใจอยากทำวิชชา
และเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก
☘ สามเณรดวิชญ์ คำขัติ อายุ ๑๓ ปี
สามเณรเป็นคนเชียงใหม่ครับ มีอยู่วันหนึ่ง สามเณรได้ไปส่งพี่ที่รู้จักกันมาบวชที่วัด พอเห็นพี่เขาบวช สามเณรเลยเกิดความคิดอยากบวชตามบ้าง
ช่วงนั้นสามเณรตัดสินใจอยู่นานเลย เพราะถ้าบวชก็จะไม่ได้เล่นเกมอีกแล้ว แต่อีกความคิดหนึ่งมันบอกสามเณรว่า สามเณรเคยเขียนข้อความเป็นของขวัญให้โยมแม่ในวันแม่ว่า สามเณรตั้งใจจะบวชตอบแทนคุณให้โยมแม่ ๑ พรรษา และสุดท้ายความตั้งใจฝ่ายดีก็ชนะครับ เพราะสามเณรอยากรักษาสัจจะที่เคยบอกโยมแม่เอาไว้ จากนั้นพอจบ ป.๖ ก็เลยตัดสินใจมาบวชเลย
เดิมทีเดียวก่อนบวชสามเณรไม่ได้เป็นเด็กดีอย่างที่คิดหรอกครับ เพราะสามเณรติดเกมมาก เล่นเกมวันละ ๕-๑๕ ชม. เลยทีเดียว จนโยมแม่บ่นแล้วบ่นอีก แล้วมาต่อรองกับสามเณรว่า “ถ้าจะเล่นเกม แม่ไม่ว่า แต่ต้องช่วยทำงานบ้านให้เสร็จก่อน” ซึ่งสามเณรก็ยอมทำตามข้อตกลง
แต่หลังจากที่สามเณรเข้ามาบวชแล้ว ชีวิตเปลี่ยนไปเยอะมาก ต้องขยันกว่าเดิมมาก ต้องตื่นแต่เช้า เล่นเกมก็ไม่ได้ ต้องตั้งใจท่องบาลีเพื่อให้สอบได้ ทุกวันนี้สามเณรชอบชีวิตแบบนี้ และมีความตั้งใจว่า ถ้าโตขึ้นอยากจะเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก อยากจะเทศน์สอนเปลี่ยนความคิดผู้คนให้เขาเป็นคนดี รู้จักบุญบาป ซึ่งก็เคยมีคนมาพูดกับสามเณรว่า “ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง จะทำดีไปทำไม” สามเณรขอตอบว่า “ตอนนี้..ถ้ายังไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราทำความดี ไม่ทำบาป ก็จะทำให้เราและคนรอบข้างมีความสุข ไม่เดือดร้อนเพราะเรา สังคมก็น่าอยู่ขึ้น เพราะมีแต่คนดี ๆ”
สุดท้ายนี้ สามเณรอยากจะบอกว่า ถ้าอยากตอบแทนพระคุณพ่อแม่ อยากฝึกตัวเพื่อให้เป็นคนดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็อยากจะให้มาบวชกันนะครับ…
☘ สามเณรกฤษกร รายคำ อายุ ๑๓ ปี
สามเณรเป็นคนเชียงราย คุณป้าเป็นคนชวนสามเณรมาบวชครับ ซึ่งช่วงนั้นสามเณรตัดสินใจมาบวช เพราะรู้สึกเบื่อทางโลกมาก เนื่องจากวัน ๆ เล่นแต่เกม เล่นอย่างน้อยวันละ ๑๐ ชม. ขึ้นไป กลับจากโรงเรียนก็ไปร้านเกมเลย เล่นเสร็จก็กลับบ้านดึก พอเสาร์อาทิตย์ก็ตื่นสายอีก แต่พอเล่นถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกเบื่อ รู้สึกชีวิตมันไม่มีอะไรเลย
เมื่อสามเณรเข้ามาบวชแล้ว รู้สึกว่านิสัยตัวเองเปลี่ยนไปมาก คือ ขยันขึ้นเยอะ ผิดกับตอนอยู่ทางโลกที่ไม่เคยตั้งใจเรียนเลย แต่พอมาอยู่วัดก็ตั้งใจเรียนมาก จนตอนนี้สอบนักธรรมตรีผ่านแล้วครับ เพราะสามเณรตั้งใจอ่านหนังสือ ฟังพระอาจารย์สอน และไม่หลับในห้องเรียน พอเวลาว่างก็จะหยิบหนังสือมาอ่าน และที่สำคัญ สามเณรชอบนั่งสมาธิด้วย เพราะมีความใฝ่ฝันอยากจะทำวิชชา อยากนั่งสมาธิให้ได้ทั้งวัน และอีกอย่างโตขึ้นก็อยากจะเป็นพระพี่เลี้ยงด้วย...
ขอเชิญบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนในโครงการ “หน่อแก้วเปรียญธรรม”
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
๑. จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕-๖
๒. เป็นเพศชายที่สมบูรณ์ อายุระหว่าง ๑๑-๑๓ ปี
๓. ผ่านการตรวจร่างกาย สอบท่องขานนาค และสัมภาษณ์
สิ่งของที่ต้องเตรียมมาใช้ในการอบรม
เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สมัครทุกคนต้องเตรียมมาเอง คือ ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้โรคกระเพาะ ฯลฯ
สิ่งของที่ทางโครงการจัดเตรียมให้ในวันเข้าอบรม
๑. ชุดอบรม เสื้อยืดคอกลม ๒ ตัว กางเกงวอร์ม ๒ ตัว
๒. เสื้อพระราชทานแขนสั้น สีขาว ไม่ปักอักษร ไม่มีลายใด ๆ ๑ ตัว
๓. ขันน้ำ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ยาสระผม
๔. กระบอกน้ำดื่มประจำตัว ๑ กระบอก
๕. กางเกงขาสั้นสำหรับใส่อาบน้ำ ๑ ตัว
๖. ผ้าไตรจีวรและบาตร
๗. มีดโกนและใบมีดสำหรับใช้ในการปลงผม
๘. ผ้าห่มและเครื่องนอน
กำหนดการ
• วันสัมภาษณ์
วันอาทิตย์ที่ ๒๑, ๒๘ มีนาคม ๔, ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง SPD 6 สภาธรรมกายสากล
• วันปฐมนิเทศและตัดปอยผม
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ มหารัตนวิหารคด คอร์ ๑๗
• วันบรรพชา
วันเสาร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
• วันตักบาตรสามเณรใหม่
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
• วันลาสิกขา
วันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
หลักฐานการสมัคร
๑. สำเนาหลักฐานการศึกษาชั้นที่จบสูงสุด ๑ ชุด
๒. สำเนาทะเบียนบ้านผู้สมัคร ๑ ชุด
๓. สำเนาบัตรประชาชนผู้ปกครอง ๑ ชุด
รับใบสมัคร
ติดต่อรับเอกสารการสมัครได้ที่ Line ID : BAN9072
ขั้นตอนการรับสมัคร
๑. ธรรมทายาทจะต้องสอบท่องคำขานนาค และบทให้พรครบทุกบท (สามารถสอบบทที่ยังท่องไม่ได้ในวันอาทิตย์ต่อไป)
๒. ทดสอบนั่งสมาธิอย่างน้อย ๓๐ นาที
๓. ผ่านการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการการอบรม
๔. ผ่านการตรวจสุขภาพเบื้องต้นในวันที่มาสัมภาษณ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. ๐๘ ๓๒๙๙ ๒๘๘๑
หรือ ๐๘ ๑๒๓๔ ๕๔๓๘
เรื่อง : พระมหาณัฐวุฒิ ณฏฺฐชโย
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๒๐ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๑๗ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๑๘ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๑๙ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๐ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๑ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
- ฉบับที่ ๒๒๒ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ไม่มีความคิดเห็น: