หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๑)
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ภาพจาก : http://www.enjoythailandtravel.com/1439 |
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปี
ถือเป็นวันสำคัญของลูกศิษย์หลานศิษย์ของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
เพราะไม่เพียงแต่เป็นวันคล้ายวันละสังขารของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีเท่านั้น ยังเป็นวันคล้ายวันละสังขารของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข สำแดงปั้น
และวันคล้ายวันสลายร่างของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงด้วย ซึ่งทั้ง
๒ ท่านเป็นผู้สืบสานวิชชาธรรมกายที่สำคัญ
มหาปูชนียาจารย์ทั้ง ๓ ท่าน
ควรนับได้ว่าเป็นเพชรของพระพุทธศาสนา ที่เป็นต้นบุญต้นแบบในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
วิชชาธรรมกาย
เป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนามาจนตลอดชีวิตของท่าน
ควรที่เราผู้เป็นลูกศิษย์หลานศิษย์ของท่านจะต้องเดินตามรอยเท้าของท่าน
สืบสานมโนปณิธานของท่านอย่างเต็มที่เต็มกำลังโดยไม่หวั่นต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งนี้เพื่อให้พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย
ที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ทุ่มเทค้นคว้ามาด้วยชีวิตคงอยู่และสืบทอดต่อไปถึงลูกหลานในอนาคต
ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ตั้งใจศึกษาความรู้ในพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะด้านวิปัสสนาธุระอย่างจริงจังมาตั้งแต่บรรพชาอุปสมบทได้เพียงวันเดียว
ในตลอดพรรษาแรกของการศึกษาที่ได้เรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ
แล้ว ท่านเพียรท่องหนังสือสวดมนต์จนจบหมดทั้งพระปาฏิโมกข์ภายในพรรษานั้น
ครั้นเมื่อเรียนคันถธุระ ท่านศึกษาจนไปพบกับคำว่า
“อวิชฺชาปจฺจยา” จึงเกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าหมายถึงอะไร
จึงพยายามสอบถามเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน สอบถามพระพี่ชายลูกพี่ลูกน้องของท่าน
ตลอดจนพระอาจารย์อีกรูปหนึ่งก็กลับได้รับคำตอบว่า “เขาไม่แปลกันหรอกคุณ...อยากรู้ต้องไปเรียนที่บางกอก” ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ท่านตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจะเดินทางไปกรุงเทพฯ1
1นักวิจัยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยสัมภาษณ์สอบทานข้อมูลครั้งล่าสุดจากกัลยาณมิตรองุ่น
สุขเจริญ ประมาณต้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งสอดคล้องกับหนังสือหลายเล่มที่เรียบเรียงเกี่ยวกับพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่ระบุว่าท่านติดค้างความหมายของคำว่า “อวิชฺชาปจฺจยา” อยู่พักใหญ่
พยายามสืบค้นจากผู้รู้ต่าง ๆ แล้วยังไม่ได้คำตอบที่จะคลายข้อสงสัยได้
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะไขคำตอบของคำนี้ ในท้ายที่สุดพระพี่ชายผู้เป็นญาติของท่าน
คือ หลวงปู่หอม เกสฺโร ได้กล่าวกับท่านว่า “ถ้าท่านติดใจสงสัยในคำนี้จริง
ๆ ท่านควรลงไปหาคำตอบที่กรุงเทพฯ”
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่สำนักวัดพระเชตุพนฯ
แล้ว ท่านตั้งใจศึกษาความรู้ทุกอย่างในภาคปริยัติอย่างเต็มที่
โดยเริ่มเรียนตั้งแต่มูลกัจจายนะถึง ๓ จบ พระธรรมบท ๘ ภาค พระคัมภีร์มังคลัตถทีปนี
และอภิธรรมสังคหะ ซึ่งในยุคของท่านนั้น (พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๕๐๒)
การศึกษาเล่าเรียนพระบาลียังเป็นไปด้วยความยากลำบากการคมนาคมยังไม่คล่องตัว
ขณะเดียวกันท่านไม่ได้เล่าเรียนจากพระอาจารย์เพียงรูปเดียว และไม่ได้เรียนแต่ความรู้ด้านปริยัติอย่างเดียว แต่ท่านศึกษาควบคู่ไปกับด้านวิปัสสนาธุระตลอดเวลา
สำนักใดวัดใดที่ทราบว่าเป็นที่นิยมหรือมีคณาจารย์ที่มีความรู้เชี่ยวชาญ
พระเดชพระคุณหลวงปู่ก็มีวิริยอุตสาหะเข้าไปศึกษาหาความรู้จนครบถ้วน
ไม่ว่าจะเป็นการไปศึกษากับท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม ท่านพระครูญาณวิรัติ วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์สิงห์
วัดละครทำ พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี หรือพระอาจารย์รูปอื่น ๆ
จากอีกหลายวัด เช่น ที่วัดอรุณราชวรารามฯ วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ วัดจักรวรรดิราชาวาสฯ เป็นต้น
แต่ก็ไม่หมดเพียงเท่านั้น เมื่อกลับมายังวัดพระเชตุพนฯ
ที่ท่านพำนักในเวลากลางคืนแล้ว
ในแต่ละวันท่านก็ยังคงไปขอศึกษาเพิ่มเติมกับอาจารย์ท่านอื่นอีกอย่างสม่ำเสมอ
ความตั้งใจอย่างจริงจังของท่านดังกล่าวนี้ ทำให้เรารู้ว่า “ความรู้ในภาคปริยัติ” ของพระเดชพระคุณหลวงปู่จะต้องมีความสมบูรณ์บริบูรณ์ไม่น้อยก่อนที่ท่านจะก้าวเข้าสู่การศึกษาใน
“ภาคปฏิบัติและปฏิเวธ” ในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับในหนังสือ “ชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี และ
อานุภาพธรรมกาย” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่
๑๗ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
(ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต) นั้น
ได้กล่าวไว้ตรงกันถึงคุณลักษณะของผู้มีความเพียรในการศึกษาความตั้งใจทำตามเป้าหมายอย่างจริงจังของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร)
ก่อนที่ท่านจะก้าวเข้ามาสู่การเป็น “ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย” ว่า (หลวงปู่) ท่านมิได้ใช้เวลาเพียงวันเดียว
เดือนเดียว หรือปีเดียวเพื่อเรียนรู้
แต่ใช้เวลานับสิบ ๆ ปี ในการศึกษาเล่าเรียน
บ่มเพาะความรู้ความเข้าใจจากครูบาอาจารย์เกือบจะทั่วแผ่นดินไทย แม้ภายหลังเมื่อท่านมุ่งศึกษาธรรมปฏิบัติแล้ว
การศึกษาก็ยังทำควบคู่ไปกับการตำรา (เช่นวิสุทธิมรรค) อยู่เสมอ
จนกระทั่งเกิดผลที่ชัดเจนจากการปฏิบัติ จนท่านมีความเข้าใจขึ้นในตนว่า
ธรรมะไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย เป็นของที่ลึกซึ้งยากที่มนุษย์จะเข้าถึง2
ความรู้จากการปฏิบัติที่ท่านได้รับจึงไม่ใช่ความรู้ที่ฉาบฉวยหรือเกิดจากการคิดพิจารณา
วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ ภายนอก
แต่เป็นผลรวมจากความเพียรอย่างจริงจังเกือบตลอดทั้งชีวิตของท่านค้นพบมา
และด้วยความเชื่อมั่นอันนี้เองที่ทำให้ท่านมุ่งมั่นที่จะขยายความรู้ที่ท่านค้นพบออกไปให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพียงแต่จุดที่สำคัญอยู่ที่ว่า
การจะพิสูจน์ความรู้ที่ท่านสอนได้นั้นจะต้องเกิดจากการปฏิบัติ (แบบนักปฏิบัติธรรม)
อย่างจริงจังเท่านั้นจึงจะพบได้
ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายประการหนึ่งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายต้องเผชิญตลอดมาเช่นกัน
2สิงหล, บุคคลยุคต้นวิชชา
เจาะลึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ บุคคลยุคสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๕๐๒), กรุงเทพฯ : บริษัท
มอนิ่งกราฟ จำกัด, ๒๕๕๓, หน้า ๒๗.
ดังที่เราทราบกันมาว่า
เมื่อท่านอุปสมบทมาจนล่วงเข้าในพรรษาที่ ๑๒ อายุของท่านอยู่ในราว ๓๓-๓๔ ปี
ความรู้ในด้านการแปลคัมภีร์ภาษามคธและความมุ่งหมายเดิมในการแปลหนังสือมหาสติปัฏฐานลานยาวสำเร็จบริบูรณ์ลงแล้ว
ท่านจึงหันไปเอาจริงเอาจังกับการศึกษาด้านวิปัสสนาธุระเพียงอย่างเดียว
ในช่วงเวลานั้น
พระเดชพระคุณหลวงปู่กำลังพิจารณาเลือกสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะสม
ในครั้งแรกท่านเห็นว่าบริเวณพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ นั้น มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ร่มรื่น
สงบเงียบ เหมาะแก่การปฏิบัติ
แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมสูง
จึงได้ระลึกว่าเมื่อแรกบรรพชาอุปสมบทมา ท่านเจ้าอธิการชุ่ม วัดโบสถ์บน บางคูเวียง คลองบางกอกน้อย
เคยมีอุปการะแก่ท่านมาก ได้เคยถวายคัมภีร์มูลกัจจายนะและคัมภีร์พระธรรมบทให้ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม
ท่านคิดตอบแทนพระคุณของท่านเจ้าอธิการชุ่ม จึงเลือกไปจำพรรษาที่วัดโบสถ์บน
บางคูเวียง
ด้วยหวังว่าความรู้ที่ท่านมีจะได้ใช้แสดงธรรมเผยแผ่เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุ สามเณร
อุบาสก อุบาสิกาบ้าง
จึงได้เดินทางไปยังวัดโบสถ์บน บางคูเวียง ในช่วงก่อนพรรษาที่ ๑๒ นั้น และในที่สุดแล้ว
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
จึงได้ปรารภความเพียรปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดย “เอาชีวิตเป็นเดิมพัน... ถ้าไม่ได้ตายเถิด” จนบรรลุธรรมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ในอุโบสถวัดโบสถ์บน
บางคูเวียง เมื่อกลางพรรษาที่ ๑๒ นั้นเอง
หลังจากการบรรลุธรรม สิ่งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ทำต่อ
ๆ มา พบว่าเป็นเรื่องของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายเป็นหลัก
และทำอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่ท่านเองก็ตระหนักว่า “ธรรมที่ท่านเข้าถึงนี้เป็นของลึกซึ้ง
ยากนักที่มนุษย์จะเข้าถึงได้” เนื่องจากจะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติอย่างแท้จริงก่อน
แต่ด้วยความที่ท่านเห็นความสำคัญของการนำธรรมะให้เผยแผ่ออกไปสู่วงกว้าง
ต้องการเป็นพยานยืนยันถึง “ความมีอยู่จริงของพระธรรมกายภายใน” ที่ท่านเข้าถึง ท่านจึงไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคหรือปัญหาใด
ๆ ตลอดระยะเวลาที่เริ่มขยายวิชชาธรรมปฏิบัติไปสู่สังคม
แม้ว่าในระหว่างการเผยแผ่วิชชาธรรมกายในหลายปีต่อมาจะเต็มไปด้วยปัญหาการถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมาย
แต่ในขณะเดียวกันก็มีศิษยานุศิษย์ที่ “สำเร็จการศึกษา” คือ
บรรลุธรรมตามท่านมามากมายเช่นกัน จากวัดบางปลา จ.นครปฐม ซึ่งเป็นที่เผยแผ่ธรรมปฏิบัติครั้งแรก
มีพระภิกษุที่เจริญรอยตามท่านได้ ๓ รูป คือ พระภิกษุสังวาลย์ พระภิกษุแบน พระภิกษุอ่วม กับคฤหัสถ์ ๔
คน ส่วนในพรรษาที่ ๑๓
พระภิกษุหมกได้บรรลุธรรมตามท่านเพิ่มอีก ๑ รูป
การมีพระภิกษุและคฤหัสถ์บรรลุธรรมตามท่านขึ้นมานี้
จึงเท่ากับว่าธรรมที่ท่านค้นพบและธรรมปฏิบัติที่ท่านสอนนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิดเพี้ยน
ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกพระพุทธศาสนา เพราะมีลักษณะที่เป็น “สันทิฏฐิโก” (ผู้ที่ปฏิบัติจึงจะรู้เห็นได้ด้วยตนเอง) “อกาลิโก” (ผู้ใดที่ปฏิบัติ
ผลย่อมจะเกิดแก่ผู้นั้นเหมือนๆ กันโดยไม่จำกัดกาล) “เอหิปัสสิโก” (เป็นของมีจริงและดีจริง)
“ปัตจัตตัง เวทิตตัพโพ วิญญูหิ” (ธรรมนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน
ผู้อื่นจะพลอยรู้พลอยเห็น และสัมผัสตามด้วยมิได้เลย)3 ครบถ้วนตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวสอนไว้
และการที่มี “ทนายพระศาสนา” เพิ่มขึ้นโดยลำดับนี้ ย่อมมีส่วนให้การเผยแผ่ธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่ค่อย
ๆ เจริญรุดหน้าขึ้นได้อย่างมั่นคงโดยลำดับ
3 พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ
ทตฺตชีโว), พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ บทขยายความพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
(หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ), กรุงเทพฯ : บริษัท นฤมิต โซล (เพรส) จำกัด, ๒๕๕๖.
นอกจากบุคคลกลุ่มแรกซึ่งได้บรรลุธรรมตามพระเดชพระคุณหลวงปู่แล้ว
ภายหลังก็ยังมีศิษยานุศิษย์อีกเป็นจำนวนมากที่เข้ามาศึกษาและบรรลุธรรมต่อ ๆ
มาอีกนับหมื่นคน (จากจำนวนผู้ที่สนใจเข้ามาฝึกปฏิบัติกับท่านนับแสนคน)4 การเผยแผ่ในยุคของท่านเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย ท่ามกลางกลุ่มชนทั้งที่เข้าใจและไม่เข้าใจ เช่นเดียวกับในยุคปัจจุบัน
ความวิริยอุตสาหะในการศึกษา ตลอดจนการยืนหยัดเพื่อการเผยแผ่ “วิชชาธรรมกาย”
ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ดังที่กล่าวมานี้
เป็นเครื่องยืนยันให้เราเห็นว่า พระเดชพระคุณหลวงปู่ “จริง” ต่อการเป็นทนายแก้ต่างให้แก่พระพุทธศาสนามากเพียงใด
ในท่ามกลางกระแสทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมากมาย
แต่ท่านมิได้หวั่นไหวหรือเปลี่ยนแปลงมโนปณิธานที่ตั้งไว้
ยังดำเนินตามเป้าหมายของท่านเรื่อยมาจนวันสุดท้ายแห่งชีวิต คือ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๒
หรือกว่า ๕๘ ปีล่วงมาแล้ว
4สิงหล, บุคคลยุคต้นวิชชา
เจาะลึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ บุคคลยุคสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๕๐๒), กรุงเทพฯ : บริษัท
มอนิ่งกราฟ จำกัด, ๒๕๕๓, หน้า ๓๔-๓๕ และ ๔๙.
จากที่ผู้เขียนได้ย้อนรำลึกไปถึงเส้นทางของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ให้ท่านผู้อ่านได้เห็นเป็นเบื้องต้นนี้
โดยจุดประสงค์ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ซึ่งเราเคารพรักยิ่งนี้
ท่านรักและให้ความสำคัญกับวิชชาธรรมกายเพียงใด
ท่านเริ่มต้นฝึกหัดขัดเกลาตัวของท่านมาอย่างไร หรือสั่งสมคุณลักษณะของการเป็น “ครู” มาอย่างไร กว่าที่ท่านจะได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาปูชนียาจารย์ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายเช่นในปัจจุบันนี้
การย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวที่สำคัญของท่าน โดยเฉพาะในด้านการศึกษาของท่านนั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในหลาย
ๆ แง่มุม เช่น
ทำให้เราเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคำสอนและหลักการของท่านทั้งในภาคปริยัติ
ปฏิบัติ และปฏิเวธ เชื่อมั่นในความ “มีอยู่จริง”
ของวิชชาธรรมกาย
รวมทั้งทำให้เราทราบว่า เราควรดำเนินตามรอยท่านอย่างไรบ้าง
ในโอกาสวันคล้ายวันครบรอบการละสังขารของท่านในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่จะถึงนี้
ในฉบับหน้า ผู้เขียนจะขอโอกาสนำ
เรื่องราวที่ลึกซึ้งในปฏิปทาของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
อันเกี่ยวกับการประกาศคุณของวิชชาธรรมกายจากตัวท่านเอง
เมื่อครั้งที่ท่านยังจำพรรษา ณ วัดปากน้ำ
ตลอดจนเรื่องราวประวัติศาสตร์ของท่านในขณะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มานำเสนอเพิ่มเติม
เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนในวงกว้าง
ซึ่งบางส่วนอาจไม่ทราบหรือหลงลืมไป ในท้ายที่สุดนี้
ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านทุกท่านนักสร้างบารมีทุกท่าน
พุทธศาสนิกชนทุกท่านจงมีความสุขสวัสดี มีความเข้มแข็ง องอาจ กล้าหาญในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดไป
ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอชื่นชมอนุโมทนากับลูกหลานมหาปูชนียาจารย์ทุกคน
ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันด้วยสามัคคีธรรม
ร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตรจนบรรลุเป้าหมาย ๑๗,๑๙๑,๙๑๙ จบ
ในวันคล้ายวันเกิดคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
และพร้อมกันนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านมารวมใจให้เป็นหนึ่งกันอีกครั้งโดยร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ๒๐,๐๐๐,๓๓๓ จบ ในวันมหาปูชนียาจารย์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อถวายเป็นกตัญญูบูชาแด่ครูวิชชาธรรมกายโดยพร้อมเพรียงกัน และขอให้ความปรารถนาอันดีงามของทุกๆ ท่านที่ได้ตั้งใจไว้ดีแล้วนั้นจงสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการเทอญ
ขอเจริญพร
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม
สุธมฺโม)
และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๗๒ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ภาพจาก : http://www.dmc.tv/pages/พระพุทธศาสนา/วัดโบสถ์บน บางคูเวียง.html |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ภาพจาก : https://sites.google.com/site/thxmgtheiywthiwadphothi/ |
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ภาพจาก : http://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=moonee&month=01-0211&date=05&group=179&gblog=19 |
วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ภาพจาก : https://m.diariodelviajero.com/asia/guia-de-templos-de-bangkok-wat-suthat-y-el-columpio-gigante |
วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร ภาพจาก : http://www.gerryganttphotography.com/wat_chakkrawat_ratchawat.html |
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๑)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
20:33
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: