หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๒)
อนึ่ง ปีนี้ยังนับเป็นปีสำคัญอีกปีหนึ่งของลูกศิษย์หลานศิษย์ในวิชชาธรรมกายด้วย
กล่าวคือ เป็นปีแห่งการครบ ๑๐๐ ปี แห่งการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ซึ่งเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนหน้านี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีเคยตั้งสัตยาธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติสมาธิภาวนาจนบรรลุธรรม
เข้าถึงพระธรรมกายในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ณ อุโบสถวัดโบสถ์บน
บางคูเวียง ดังที่เราทราบกันมาแล้ว ดังนั้นสำหรับผู้เขียนแล้ว
การที่ยังคงมุ่งมั่นดำเนินการสืบค้นหลักฐานธรรมกายของผู้เขียนและทีมงานจึงมีความสำคัญมาก
เพราะในด้านหนึ่งย่อมเท่ากับเป็นการสานต่อภารกิจของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ให้เป็นจริงอีกทางหนึ่ง กล่าวคือ เป็นการยืนยันถึงความแท้จริงและการมีอยู่จริงของวิชชาธรรมกายในภาคปริยัติ
(วิชาการ) ให้ปรากฏออกมา ซึ่งทั้งผู้เขียนและทีมงานสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ทุกคนต่างก็มีความตระหนักและมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นในการทำงานอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันเช่นเดียวกัน
เพื่อเป็นการบูชาคุณพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ให้ดีกว่าดีที่สุดนั่นเอง
ทั้งนี้เพราะเราต่างทราบกันดีว่า หากทุก ๆ คนในโลกมีความรู้ความเข้าใจและเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย
และมีโอกาสน้อมนำไปปฏิบัติจนบังเกิดผลอย่างกว้างขวางแล้ว สันติภาพและสันติสุขที่แท้จริงย่อมจะเกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างแน่นอน
เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้รับโอกาสและความเมตตาจากนักวิชาการสำคัญทางพระพุทธศาสนาท่านต่าง
ๆ โดยเฉพาะจากแวดวงวิชาการตะวันตก
ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นการเข้าไปร่วมศึกษา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราว
พระสูตรต่าง ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนาระหว่างกันมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความคุ้นเคย
และเกิดความซาบซึ้งในการจะเผยแผ่ความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา (ที่พบในคัมภีร์โบราณ)
ออกสู่โลกและสาธารณชนในช่วงเวลาต่อ ๆ มาจนปัจจุบัน
คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกที่มีความเมตตาต่อคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย
(DIRI) มาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้แก่ ศาสตราจารย์ Jens Braarvig และศาสตราจารย์ Richard Salomon ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์
ภาษาโบราณ และคัมภีร์โบราณในพระพุทธศาสนา
ท่านทั้งสองเป็นหนึ่งในจำนวนคณาจารย์มากมายที่ให้ความอนุเคราะห์ร่วมมือกับสถาบันตลอดมา
โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัยของสถาบันฯ (อาทิ พระวีรชัย เตชงฺกุโร
และ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล1 เป็นต้น) ได้เข้าไปร่วมอ่านและศึกษาคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งที่คัมภีร์โบราณแต่ละชุดล้วนเป็นทรัพยากรที่หายาก และประเมินค่ามิได้ของโลก
เป็นสมบัติทิพย์ที่บรรจุความรู้ เรื่องราว และหลักฐานสำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนาไว้มากมาย การได้รับโอกาสและความไว้วางใจดังกล่าวจึงเป็นประวัติศาสตร์อันงดงามที่ควรบันทึกไว้
1ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล บศ.๙ : นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) แห่งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีผลงานการวิจัยและบทความทางวิชาการที่สำคัญๆ มากมาย อาทิ ร่องรอยวิชชาธรรมกายในคันธาระและเอเชียกลาง (๒๕๕๖) หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ๑ ฉบับวิชาการ (๒๕๕๗) และชิ้นล่าสุดคือ Fragments of an Ekottarikagama Manuscript in Gandhar เขียนร่วมกับ Timothy Lenz, Lin Qian และ Richard Salomon (2016) ตีพิมพ์ใน Manuscripts in the SchØyen Collection Buddhist Manuscripts Volume IV
สิ่งที่เหมือนกันอย่างยิ่งประการหนึ่งของท่านศาสตราจารย์
Jens Braarvig และศาสตราจารย์ Richard Salomon ก็คือ การที่ท่านทั้งสองต่างก็มีความรักในการทำงานศึกษา
ค้นคว้าคัมภีร์โบราณอย่างสุดจิตสุดใจ
แม้แต่ในวันหยุดประจำสัปดาห์ ท่านก็ยังเดินทางมาทำงาน มาอ่าน
วิเคราะห์เรื่องราวที่ค้นพบอย่างไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ท่านมีทัศนะว่า การถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญในการอ่านคัมภีร์โบราณนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น
เพราะความรู้เหล่านี้คือกุญแจที่จะช่วยไขความจริงและประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในยุคก่อน
ๆ ให้กระจ่างออกมาได้ ซึ่งการได้อ่าน ได้ตีความ และสังเคราะห์เรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้นี้ถือเป็น
“ความสุขของชีวิต” ในหลาย ๆ ครั้ง ท่านปรารภว่า “การได้อ่าน ได้แปล ข้อความพระสูตรต่าง
ๆ ที่พบนั้น ทำให้รู้สึกเสมือนว่าได้ยินเสียงของพระภิกษุผู้คงแก่เรียนมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลให้ท่านฟังโดยตรงเลยทีเดียว” ซึ่งทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งและแน่นอนที่สุดว่า
คุณค่าที่เกิดขึ้นนี้ไม่อาจนำทรัพย์หรือสิ่งอื่นใดมาซื้อหาหรือทดแทนได้
ด้วยความโชคดีมีโอกาสที่ดี ๆ ได้พบผู้รู้ที่จิตใจดีเช่นนี้
ทำให้การทำงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายของทีมงานฯ เกิดความสำเร็จและคืบหน้ามาโดยลำดับ
ทำให้สถาบันผลิตผลงานและตีพิมพ์ชิ้นงานวิจัยเกี่ยวกับหลักฐานธรรมกายที่ศึกษาโดยตรงมาจากคัมภีร์พุทธโบราณอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งศักยภาพในการสร้างนักวิจัยที่อ่านและศึกษาคัมภีร์โบราณ ภาษาโบราณ
ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นอัศจรรย์ ซึ่งในอนาคตนักวิจัยหลาย ๆ คน
หลาย ๆ ท่านที่ศึกษาและทำงานคลุกคลีอยู่กับคัมภีร์โบราณในขณะนี้
ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการ “ปักหลักพระพุทธศาสนา” “ปักหลักวิชชาธรรมกาย” เชื่อมโยงความรู้ภาคปริยัติ ปฏิบัติ
ปฏิเวธ ให้สำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต
ในส่วนของผู้เขียนเองก็ได้พยายามสร้างและให้การสนับสนุนส่งเสริมนักศึกษา นักวิจัยเพิ่มขึ้นตลอดมา โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา
(ในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๖๐) ก่อนเดินทางไปประกอบศาสนกิจที่ประเทศอังกฤษ
ผู้เขียนได้ร่วมทำบุญใหญ่กับวัดสาขาทั่วทุกแห่งในโอเชียเนียในวาระโอกาสอายุวัฒนมงคล
๖๕ ปี ได้ร่วมพัฒนาวัดทั้งที่เมืองโอคแลนด์ ดันนีดิน เวลลิงตัน และซิดนีย์ ได้เข้าร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทย-โอเชียเนียในระหว่างวันที่
๑๙-๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พร้อมทั้งร่วมมอบทุนการศึกษา
แก่นักศึกษาที่สอบได้คะแนนดีเยี่ยมในแต่ละปีที่ Department of
Theology and Religion ณ มหาวิทยาลัย Otago ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างนั้นได้สนับสนุนการจัดหาทุนเพื่อการจัดงาน
“วิสาขบูชาแห่งออสเตรเลีย” พร้อมกันไปด้วย ทำให้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
การปฏิบัติศาสนกิจส่วนใหญ่ดูจะเป็นการมุ่งเน้นไปในเรื่องการบ่มเพาะและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร
(ทางพระพุทธศาสนา) ร่วม ๆ ไปกับการร่วมประชุมเสวนา และการประสานความร่วมมือกับองค์กรทางพระพุทธศาสนาอื่น
ๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากในพันธกิจ ๗ ขั้นตอนที่ได้ดำเนินการตลอดมาเช่นกัน
จนเมื่อผู้เขียนเดินทางมาที่ประเทศอังกฤษในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
(Oxford University) ได้แวะเยี่ยมให้กำลังใจพระภิกษุทีมงาน
(พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปัญฺ โญ) ที่กำลังศึกษาและร่วมทำงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายอยู่ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนก่อนสิ่งอื่น
และได้ทราบว่าผลการศึกษาและค้นคว้าของท่านมีความก้าวหน้า ประสบความสำเร็จด้วยดีเป็นที่น่าปลื้มใจ
ในระหว่างการไปเยี่ยมเยียน
ผู้เขียนได้ใช้เวลาช่วงหนึ่งเพื่ออ่านและศึกษาค้นคว้าข้อมูลภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยด้วย
ทำให้พบเห็นข้อมูลระดับปฐมภูมิที่เก่าแก่และสำคัญหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่องานพระพุทธศาสนา
ได้พบเห็นและสัมผัสบรรยากาศความเป็นวิชาการในอาณาบริเวณต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
ทั้งที่มหาวิทยาลัย London และมหาวิทยาลัย Oxford
โดยเฉพาะที่ Keble
College ภายในมหาวิทยาลัย
Oxford นั้น ผู้เขียนประทับใจในความสะอาดเป็นระเบียบ
การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมไว้อย่างมาก
ทำให้ระลึกถึงเรื่องการปลูกฝังแนวคิด “ความดีสากล ๕ ประการ”
(UG 5) ที่คุณครูไม่เล็กท่านดำเนินการมาโดยตลอด
ว่าช่างสอดคล้องกับวัฒนธรรมทางสังคมของที่นี่อย่างมาก ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างมากมายที่จะส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการในพระพุทธศาสนา ในมิติต่าง ๆ ขึ้นอีกมากในอนาคต
นอกจากการมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจทีมงานและนักวิจัยแล้ว ในการเดินทางมาประเทศอังกฤษในครั้งนี้ ผู้เขียนยังได้ร่วมหารือรายละเอียดความร่วมมือทางวิชาการกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies) ในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี การสนับสนุนเรื่องการทำงานวิจัยในประเด็นใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ ฯลฯ เนื่องด้วยท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ถือเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าในวงการพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ศิษยานุศิษย์ของท่านที่มีอยู่จำนวนมากนั้นก็ล้วนแต่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยสำคัญไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง จำนวนกว่า ๔๐ ท่าน ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการดังกล่าวก็ยังคงมีบทบาทผลิตองค์ความรู้ใหม่ ๆ การค้นคว้า ใหม่ ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา การได้มาเยี่ยมเยียนท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการส่งเสริมสังคหวัตถุธรรมและสามัคคีธรรมระหว่างกัน
ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางกลับไปยังประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนได้บันทึกถึงการเดินทางครั้งนี้ไว้ว่าเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่คุ้มค่า ทั้งนี้มิได้หมายเอาแต่เพียงความสำเร็จในการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันของผู้เขียนและผู้ทรงความรู้ต่าง ๆ หรือความสำเร็จในการส่งเสริมการศึกษาของทีมงานเท่านั้น แต่ในความรู้สึกของผู้เขียนแล้ว การเดินทางครั้งนี้ยังคุ้มค่า ต่อการ “ค่อย ๆ ต่อภาพความสำเร็จของเรื่องราวหลักฐานธรรมกายให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย”
นอกจากการมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจทีมงานและนักวิจัยแล้ว ในการเดินทางมาประเทศอังกฤษในครั้งนี้ ผู้เขียนยังได้ร่วมหารือรายละเอียดความร่วมมือทางวิชาการกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies) ในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลี การสนับสนุนเรื่องการทำงานวิจัยในประเด็นใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ ฯลฯ เนื่องด้วยท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ถือเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าในวงการพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ศิษยานุศิษย์ของท่านที่มีอยู่จำนวนมากนั้นก็ล้วนแต่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยสำคัญไม่น้อยกว่า ๒๐ แห่ง จำนวนกว่า ๔๐ ท่าน ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการดังกล่าวก็ยังคงมีบทบาทผลิตองค์ความรู้ใหม่ ๆ การค้นคว้า ใหม่ ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา การได้มาเยี่ยมเยียนท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะในแง่ของการส่งเสริมสังคหวัตถุธรรมและสามัคคีธรรมระหว่างกัน
ก่อนที่ผู้เขียนจะเดินทางกลับไปยังประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนได้บันทึกถึงการเดินทางครั้งนี้ไว้ว่าเป็นการเดินทางที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่คุ้มค่า ทั้งนี้มิได้หมายเอาแต่เพียงความสำเร็จในการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันของผู้เขียนและผู้ทรงความรู้ต่าง ๆ หรือความสำเร็จในการส่งเสริมการศึกษาของทีมงานเท่านั้น แต่ในความรู้สึกของผู้เขียนแล้ว การเดินทางครั้งนี้ยังคุ้มค่า ต่อการ “ค่อย ๆ ต่อภาพความสำเร็จของเรื่องราวหลักฐานธรรมกายให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย”
ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว แม้ว่าในระหว่างการเดินทาง
เราอาจไม่พบสิ่งที่ระบุเรื่องราวของ “ธรรมกาย” ได้ในทันทีทุก ๆ ครั้ง
แต่หลักฐานธรรมกายที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกนั้น
มักจะ “ดำเนินเข้ามาหากันทีละก้าว ๆ” อย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกับที่เราเห็นในวิถีการเผยแผ่และถ่ายทอดวิชชาธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ตลอดชีวิตการสร้างบารมีของท่านก็เป็นการค่อย
ๆ ต่อภาพความสำเร็จของหลักฐานธรรมกายให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่เรากำลังทำ
ต่างกันตรงที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านดำเนินจากปริยัติ เข้าไปสู่การปฏิบัติและสำเร็จลงที่ปฏิเวธ
ขณะที่ยุคของเรากำลังเป็นการ “ยืนยันย้อนกลับจากปฏิเวธนั้นด้วยปริยัติธรรม” ให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สาธุชนผู้มีบุญในอนาคตได้มีข้อมูล
มีความเชื่อมั่นมากเพียงพอที่จะเข้ามาพิสูจน์ มาศึกษา และค้นพบความจริงอันไพบูลย์ภายในตน
เพราะธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลา (อกาลิโก)
จะต้องรู้เห็นได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ (สันทิฏฐิโก) เป็นของที่มีจริงและดีจริง
(เอหิปัสสิโก) ผู้อื่นจะพลอยรู้พลอยเห็นไปด้วยมิได้
(ปัจจัตตัง เวทิตตัพโพ วิญญูหิ) ดังนี้
ในท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอน้อมนำบุญทุก ๆ บุญที่ได้กระทำมาด้วยดีแล้ว รวมกับบุญที่ตั้งใจสานงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายนี้ถวายเป็นพุทธบูชา ถวายเป็นกตัญญูบูชาแด่มหาปูชนียาจารย์วิชชาธรรมกาย กับทั้งขอให้บุญนี้เป็นบุญใหญ่แผ่ไปถึงยังพุทธศาสนิกชนและท่านสาธุชนทุกท่าน ให้มีดวงปัญญา สว่างไสว รู้แจ้งเห็นจริงในปัญญาตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ติดตามตามติดพระเดชพระคุณหลวงปู่ หลวงพ่อธัมมชโย และมหาปูชนียาจารย์ทุกท่านไปจนตราบกระทั่งเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญฯ
ขอเจริญพร
ในท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอน้อมนำบุญทุก ๆ บุญที่ได้กระทำมาด้วยดีแล้ว รวมกับบุญที่ตั้งใจสานงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายนี้ถวายเป็นพุทธบูชา ถวายเป็นกตัญญูบูชาแด่มหาปูชนียาจารย์วิชชาธรรมกาย กับทั้งขอให้บุญนี้เป็นบุญใหญ่แผ่ไปถึงยังพุทธศาสนิกชนและท่านสาธุชนทุกท่าน ให้มีดวงปัญญา สว่างไสว รู้แจ้งเห็นจริงในปัญญาตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ติดตามตามติดพระเดชพระคุณหลวงปู่ หลวงพ่อธัมมชโย และมหาปูชนียาจารย์ทุกท่านไปจนตราบกระทั่งเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญฯ
ขอเจริญพร
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม)
และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๗๓ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
คณะนักวิจัยเข้าเยี่ยมชมวิธีการดูแลรักษาคัมภีร์โบราณของมหาวิทยาลัย Oslo นอร์เวย์ |
ศาสตราจารย์ Jens Braarvig |
อาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ตั้งอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัย Otago เมืองดันนีดิน นิวซีแลนด์ |
ร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทย-โอเชียเนีย ณ เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ๑๙ - ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ |
มอบทุนการศึกษาที่ Department of Theology and Religion มหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์ |
บรรยากาศภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Oxford |
อาณาบริเวณต่างๆ ของมหาวิทยาลัย Oxford |
ร่วมหารือกับท่านศาสตราจารย์ Richard Gombrich ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Centre for Buddhist Studies) |
ลงนามสัญญาความร่วมมือสนับสนุนการศึกษากับมหาวิทยาลัย Otago นิวซีแลนด์ |
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๒)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
02:36
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: