หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗)
เดือนกันยายนที่ผ่านมา
เป็นเดือนสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับมหาปูชนียาจารย์ ในฐานะที่พวกเราเป็นศิษยานุศิษย์ต่างก็น้อมระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่และตั้งใจแสดงความกตัญญูบูชาธรรมในวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
โดยร่วมกันเจริญสมาธิ ๙๙ ชั่วโมง เนื่องในโอกาส ๙๙ ปี
แห่งการบรรลุธรรมของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ที่ท่านตั้งใจสละชีวิตนั่งสมาธิในอุโบสถวัดโบสถ์บน บางคูเวียง จ.นนทบุรี
ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน)
และทุกท่านยังได้ร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร ครบ ๒,๐๐๐,๐๐๐ จบ เพื่อบูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์
พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ และตั้งใจที่จะร่วมกันสวดให้ได้ ๔,๐๐๐,๐๐๐ จบ ภายในวันลอยกระทง
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายนที่ผ่านมา
ก็เป็นวันคล้ายวันละสังขารของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์
ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ผู้สืบสานหลักการปฏิบัติหนทางสายกลาง
มัชฌิมาปฏิปทา ตามคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่
จนสืบทอดวิชชาธรรมกายมาถึงหลวงพ่อธัมมชโย องค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย ( DIRI ) อีกด้วย
"ทูลเรื่องอื่นมิได้ชื่นเหมือนเรื่องวัด
เวียนแต่ตรัสถามไถ่ให้ใฝ่ฝัน
ถึงวัดนั้นวัดนี้เป็นนิรันดร์
ถึงเรื่องปั้นเขียนถากสลักกลึง"
วัดเทพธิดาราม วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๗๙ ภาพจาก www.woodychannel.com |
วัดราชนัดดาราม วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๘๙ ภาพจาก www.rattanakosinontour.weebly.com |
วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร สร้างปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ภาพจาก http://watthailands.blogspot.com/2013/07/blog-post.html |
คัมภีร์ใบลานหลวงชุดนี้
สร้างสำหรับพระราชทานวัดพระเชตุพนฯ และต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
ให้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดการสำรวจและลงทะเบียนไว้และมีบันทึกชัดเจนว่า
คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับเทพชุมนุมชุดนี้นำมาจากวัดพระเชตุพนฯ ต่อมา
เมื่อทรงจดการลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พระองค์ก็ทรงส่งคืนและให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดพระเชตุพนฯ ดังเดิม
เพื่อสนองพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๓ ตราบเท่าทุกวันนี้
ภาพโดยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย DIRI/โดยการเอื้อเฟื้อจากวัดพระเชตุพนฯ |
คัมภีร์ฉบับเทพชุมนุม ของรัชกาลที่ ๓ นี้ ควรกล่าวได้ว่า
เป็นคัมภีร์ที่ปรากฏหลักฐานธรรมกายที่ชัดเจนที่สุด กล่าวคือ “คาถาธรรมกาย” ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ประกอบด้วยคาถาธรรมกายมีความยาว
๒ หน้าลาน รวมกับส่วนที่เป็นบทอรรถาธิบายอีก ๑๔ หน้าลานจารเป็นภาษาบาลี
โดยเฉพาะส่วนที่ควรกล่าวถึงคือเรื่องพระพุทธญาณและพระพุทธคุณต่าง
ๆ ว่าเปรียบประดุจดั่งพระธรรมกาย
คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดน้ำเอก หรือฉบับรดน้ำดำเอก
ภาพโดยสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย DIRI/โดยการเอื้อเฟื้อจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ |
คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดนํ้าโท
คัมภีร์ใบลานหลวงพระไตรปิฎกฉบับนี้มีลักษณะเหมือนฉบับรดนํ้าดำเอกทุกประการแตกต่างกันตรงที่ฝีมือสร้างยังเป็นรองฉบับรดนํ้าดำเอก
ลวดลายจึงดูหยาบกว่าและไม่ประณีต อักษรข้อความในใบลานเป็นเส้นจารทั้งหมด
ไม้ประกับคัมภีร์ตกแต่งประดับมุกทำเป็นลายช่อดอกไม้คล้ายลายฮ่อ
คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรดนํ้าแดง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างซ่อมเพิ่มเติมจนสมบูรณ์จาก ฉบับรดนํ้าแดง ในรัชกาลที่ ๒ ลักษณะคัมภีร์ใบลานปกหน้าและปกหลังตกแต่งด้วยลายรดนํ้าบนพื้นรักแดง
ภาพจากหนังสือ "คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์" สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๔๖ |
คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองน้อย
จากฉบับที่แล้ว
ผู้เขียนได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจพระมหากษัตริย์ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ คือ
รัชกาลที่ ๑
ที่พระองค์มีพระราชศรัทธาจัดให้มีการทำสังคายนาและมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างคัมภีร์ใบลานหลวงหลายฉบับ ดังรายละเอียดที่นำเสนอในฉบับที่แล้ว
(เดือนกันยายน ตอนที่ ๑๖) ส่วนในฉบับเดือนตุลาคมนี้
ผู้เขียนจะกล่าวเน้นถึงคัมภีร์ใบลานหลวงของรัชกาลที่ ๓ ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างหลายฉบับดังกล่าวข้างต้น และกรณีพิเศษที่พระราชทานแก่พระอารามหลวง คือ
ฉบับเทพชุมนุม ที่พระราชทานไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงข้อความที่มีนักวิชาการบันทึกไว้ว่า “การสร้างคัมภีร์มีความถูกต้องและแม่นยำค่อนข้างสูง
เพราะมีการตรวจทานกันหลาย ๆ ครั้ง จนสามารถนำไปใช้เป็นต้นฉบับแก่ฉบับอื่น ๆ ได้
และใช้คัดลอกต่อ ๆ กันมา ซึ่งถือเป็นมงคลยิ่งเพราะคัมภีร์ใบลานที่สร้างขึ้นโดยมีพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์นั้น
จัดว่าเป็นหนึ่งในเอกสารโบราณ คือประเภทใบลานที่เรียกว่า “คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง”
ดังตารางแสดงผลนี้
อ้างอิง
๑.
บทบรรยายสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว “การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา” คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี
๒.
บทความวิชาการ
คู่มือการลงทะเบียนบัญชีคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทยของสมาคมอนุรักษ์เอกสารโบราณกรุงเทพฯ
๒๕๕๙
หมายเหตุ
ช่วงวันที่ ๙ กันยายนที่ผ่านมา
ผู้เขียนได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปบรรยายเสวนาวิชาการเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์พระพุทธศาสนา
วัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ซึ่งได้นำเรื่องราวของการอนุรักษ์จากระบบดั้งเดิมที่ทำการสืบต่อโดยการเขียนหรือจารึกในเอกสารโบราณ
เช่น ใบลานหนังสือไทย พับสา (ปั๊บสา) หรือในวัตถุอื่น ๆ เช่น ศิลาจารึก
ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนสืบมาจนถึงปัจจุบันด้วยระบบการถ่ายไมโครฟิล์ม
และพัฒนาต่อเนื่องมาถึงการถ่ายด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นวิธีการทำสำเนา หรือ Back up ได้หลาย ๆ ครั้ง
ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ได้ยาวนาน และขยายผลการเผยแผ่ได้กว้างไกล
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๖๘ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
คลิกอ่านหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามบทความด้านล่างนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๓)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๔)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๕)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๘)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๙)
|
คลิกอ่านหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามบทความด้านล่างนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๓)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๔)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๕)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๘)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๙)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๗)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:36
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: