ธรรมะกับเสียงเพลง
ทำไมเวลาฟังดนตรีซึ่งไม่มีคำร้องใดๆ
คนส่วนใหญ่ถึงมีอารมณ์ร่วม ?
ความคุ้นของเรากับจังหวะและเสียงดนตรีมีมาข้ามภพข้ามชาติ ไม่เฉพาะชาตินี้เท่านั้น บนสวรรค์ก็มีดนตรี ในนรกแม้ไม่มีดนตรี แต่มีจังหวะเสียงร้องอยู่ เพราะฉะนั้นคนเราจึงมีประสบการณ์ในอดีตที่ฝังลึกอยู่ ซึ่งกายละเอียดข้างในรู้
บนสวรรค์มีดนตรีหลายแบบ ไม่ต้องมีเนื้อหาอะไร แค่ฟังทำนองก็จินตนาการเป็นเรื่องราวตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเป็นจังหวะเสียงร้องในนรก ในอบายภูมิขุมตื้นๆ เช่น เปรต อสุรกาย ก็มีเสียงแควกควาก เสียงเปรตร้องก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ถ้าลงไปนรกโดนไฟแผดเผา โดนหอกทิ่ม ก็ร้องด้วยความเจ็บปวด ธรรมะกับเสียงเพลงบ้าง ความโกรธบ้าง เป็นเสียงโหยหวนอีกแบบหนึ่ง ให้ความรู้สึกที่น่าหวาดกลัว น่าตกใจ เศร้าสลด อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราได้ฟังเสียงที่สอดคล้องกับดนตรีบนสวรรค์ ก็ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบหนึ่ง ถ้าฟังเสียงที่ไม่ดี ก็ให้อารมณ์อีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนภาษาไหนก็คล้าย ๆ กัน เพราะว่าสวรรค์หรือนรกไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ เป็นสวรรค์เดียวกันนรกเดียวกัน เมื่อใครได้ฟังเสียงที่เป็นจังหวะเหมาะสมนุ่มนวล ก็จะรู้สึกเบิกบาน ผ่อนคลายมีความสุขเหมือนกัน แต่ถ้าได้ฟังเสียงที่น่าตกใจ เสียงกรีดร้อง เสียงโหยหวน ก็จะเกิดอารมณ์เศร้าหมอง หรือตระหนกตกใจ อย่างนี้เป็นต้น
ถ้ามาดูกระบวนการแต่งเพลงของฝรั่งกับของไทยบางทีไม่ค่อยเหมือนกัน คนไทยแต่งเนื้อเพลงก่อน แล้วหาทำนองมาใส่ แต่ของฝรั่งเขียนทำนองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เนื้อเพลงมาทีหลัง กลายเป็นว่าจังหวะทำนองมีผลไม่น้อยกว่าเนื้อเพลง ดังนั้นเวลาเราฟังเพลงภาษาต่างประเทศที่เราไม่เข้าใจความหมายของเนื้อเพลงแล้วมีอารมณ์ร่วม ก็เพราะอย่างนี้
การใช้ดนตรีบำบัด สามารถบำบัดร่างกายและจิตใจได้จริงหรือ ?
ได้แน่นอน เพราะว่าเสียงที่เราได้ยินจะส่งผลต่ออารมณ์ ความจริงอายตนะทั้ง ๖ ตั้งแต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องรับรู้ตลอด สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด ต่ออารมณ์ของเราตลอด แล้วอารมณ์จะไปส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะ ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายอีกทอดหนึ่ง ถ้าหากรับรู้เป็นรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส คล้าย ๆ ที่เราเคยเจอบนสวรรค์ ก็จะส่งผลเป็นอารมณ์ด้านบวก เมื่อใดที่เป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คล้าย ๆ ที่เราเจอในนรก จะให้อารมณ์ด้านลบ
สังเกตว่าจะเป็นคนชาติไหน ภาษาไหนเวลาเห็นวิว ต้นไม้เขียวๆ มีทะเล มีนกบิน มีลมโชยพัดพลิ้ว ๆ ก็ชอบทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นภาพที่สยองขวัญ คนถูกทำร้าย คนฆ่ากัน ใครเห็นก็เศร้าสลดหดหู่ เกิดความรู้สึกหวาดกลัวทั้งนั้นเพราะไปสอดคล้องกับภาพในนรก
เสียงก็เหมือนกัน เสียงเพลงที่เราได้ยินหรือเสียงอะไรที่เป็นเชิงลบ ก็ส่งผลต่ออารมณ์ของเรา และส่งผลต่อการทำงานของระบบร่างกาย ถ้าเป็นอารมณ์ด้านลบ เป็นเสียงที่น่ากลัว ฟังแล้วตกใจ หัวใจก็เต้นตุบตับ ระบบฮอร์โมนในร่างกาย อะดรีนาลีน (Adrenaline) หลั่งแล้ว ระบบการทำงานในร่างกายรวนไปหมด เส้นเลือดมีการหด มีการขยาย บางคนแค่เห็นคนถูกทำร้าย ตัวเองไม่ได้โดน ก็เป็นลมแล้วอย่างนี้เป็นต้น เพราะว่ามันส่งผลกระทบต่ออารมณ์ แล้วอารมณ์ก็ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย
เมื่อเข้าใจกระบวนการนี้แล้ว จึงมีการศึกษาและใช้งานจริง คือใช้เสียงดนตรีในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางด้านอารมณ์ กลุ่มที่ใหญ่กลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มทหารผ่านศึกที่ไปรบแล้วเพื่อนโดนยิงนอนตายอยู่แทบเท้า หรือว่าดิ้นทรมานอยู่พักใหญ่แล้วถึงค่อยตาย ภาพเหล่านั้นฝังใจมาก แม้ตัวเองไม่ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกาย พอไปรบนาน ๆ ก็ต้องมีช่วงให้มาพัก เพราะอารมณ์ไม่ไหว บางคนฝังใจอยู่ทั้งชาติ กลายเป็นคนซึมเศร้า หดหู่ ร่างกายไม่ได้ป่วย แต่มีปัญหาด้านอารมณ์
เคยมีข่าวว่าผ้รู้ายที่ไปปล้น ไปจี้ ไปฆ่าคน ผ่านไป ๓-๔ วันตำรวจยังจับไม่ได้ ผู้ร้ายมามอบตัว เพราะหลับตาแล้วเห็นภาพหลอนว่าตัวเองไปฆ่าเขา เพราะการฆ่าขัดกับสามัญสำนึกของมนุษย์ เพราะปกติของมนุษย์จะต้องไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนกัน และถ้าฆ่ามนุษย์ก็แรงยิ่งกว่าฆ่าสัตว์อื่น ฆ่าสัตว์ใหญ่แรงกว่าฆ่าสัตว์เล็ก บี้มดตบยุงยังไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร แต่ถ้าให้คนที่บี้มดตบยุงไปฆ่าหมู หรือไปแทงคอวัวให้ตายในโรงฆ่าสัตว์ คงไม่กล้าทำ แม้แต่คนที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ก็ตาม ถ้าให้มาฆ่ามนุษย์ ความรู้สึกจะแรงกว่ามาก ดังนั้นคนที่ไปฆ่าคนอื่นตาย ตามปกติต้องหนีตำรวจเพราะกลัวการลงโทษ แต่สุดท้ายทนต่อมโนธรรมในใจที่หลอกหลอนไม่ได้ ต้องออกมามอบตัว ยอมรับโทษเสียดีกว่า หนีไปแล้วนอนไม่หลับ มีความทุกข์สารพัด
ทหารที่ไปรบก็เหมือนกัน ในเชิงกฎหมายไม่ผิด เพราะออกไปรบ ก็ต้องสู้กับข้าศึก ถ้าเราไม่ยิงเขา ก็ถูกเขายิง ก็เลยต้องฆ่า แต่ว่าขัดต่อมโนธรรมในใจเหมือนกัน ฆ่าเขาแล้วไม่สบายใจ ทั้งเพื่อนก็ถูกฆ่า ทั้งตัวเองก็ฆ่าเขา สิ่งเหล่านี้เป็นบาดแผลลึกทางอารมณ์ ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า แล้วมีอาการสารพัดตามมา จึงมีการค้นคว้าหาทางแก้ไข
ในอเมริกาเจอเคสอย่างนี้เยอะ การรบในสงครามเวียดนาม อเมริกาส่งทหารไปตั้งมากมาย คนอเมริกันที่ไปเป็นทหารในเวียดนามตายไปเป็นหมื่น เป็นแสน กลับมาอยู่ในอเมริกาเป็นล้าน คนเหล่านี้มีปัญหาติดยาเสพติดเยอะ เพราะว่ามีบาดแผลทางอารมณ์ นอนไม่หลับ หลับตาทีไรเห็นภาพเพื่อนตายบ้าง ภาพคนที่ตัวเองฆ่าบ้าง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ายาเสพติดไม่ดี กัญชา ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน อะไรก็ได้ ขอให้หลุดไปจากความรู้สึกทุกข์ทรมานที่บีบคั้นตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เกิดปัญหาเยอะมาก เขาจึงต้องหากระบวนการเอาเสียงเพลงมาช่วย ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพลงเพราะ ๆ เย็น ๆ เยียวยาทางอารมณ์ได้ เพราะมนุษย์เราคุ้นกับเสียงเหล่านี้มาตั้งแต่อยู่ในท้อง เช่น เสียงหัวใจแม่เต้น เสียงไหลของหลอดเลือด เป็นเสียงประสานที่ไพเราะเพราะพริ้ง ทารกในครรภ์ฟังอยู่ทั้งวันทั้งคืน ๒๔ ชั่วโมงตั้งหลายเดือน ถ้าคุณแม่อารมณ์ดี หัวใจก็เต้นสม่ำเสมอ อารมณ์ไม่ดี หัวใจก็เต้นไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ของลูกก็แปรปรวน เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่มีลูกต้องอารมณ์ดี ๆ ฟังเพลงเพลิน ๆ คุณพ่อก็ต้องให้ความร่วมมือด้วย ระบบร่างกายจะได้ทำงานอย่างสมดุล บรรเลงเป็นเพลงที่ไพเราะไปถึงลูกของเรา
ถ้าดนตรีมีส่วนของการบำบัดหรือรักษาจิตใจของเรา ทำไมศีล ๘ ถึงห้ามเล่นดนตรี ขับร้อง และฟ้อนรำ ?
เราจะทำเรื่องอะไรก็ตาม ต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการทำสิ่งนั้นก่อน เราจะได้สามารถบริหารตัวเองได้อย่างถูกต้อง ศีล ๘ มีวัตถุประสงค์หลักก็คือ ควบคุมกามกิเลสไม่ให้กำเริบ
ศีล ๘ คือ ศีล ๕ บวกศีลอีก ๓ ข้อ แต่เปลี่ยนที่ข้อ ๓ ศีลข้อ ๓ ในศีล ๕ คือไม่เจ้าชู้ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ไปยุ่งกับลูกเมียคนอื่น แต่ข้อ ๓ ของศีล ๘ คือประพฤติพรหมจรรย์ นี้คือวัตถุประสงค์หลักของศีล ๘ ส่วนศีลข้อ๖, ๗, ๘ แค่มาช่วยเสริม
ศีลข้อ ๖ ไม่รับประทานอาหารในยามวิกาล เพื่อตัดเสบียงกาม เพราะมื้อเช้ามื้อเที่ยงเราทานแล้วก็ทำงานทั้งวัน แต่มื้อเย็นเดี๋ยวก็พักแล้ว ถ้าไปทานเดี๋ยวจะมีกำลังส่วนเหลือกลายเป็นเสบียงกาม เดี๋ยวกามจะกำเริบ
ศีลข้อ ๗ไม่ดีดสีตีเป่าร้องรำทำเพลง ไม่ตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องหอมถามว่าเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเชื้อให้กามกำเริบได้ ที่แต่งตัวสวยก็เพื่อให้เพศตรงข้ามดู ที่ร้องรำทำเพลงก็เป็นเพลงรัก ๆ ใคร่ ๆ ส่วนใหญ่ ฉะนั้นท่านจึงห้ามสิ่งนี้เอาไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้กามกำเริบ พอเข้าใจตรงนี้เราจะบริหารจัดการได้ ถ้าเป็นไปเพื่อการทำให้ใจสงบ ไม่ทำให้กามกำเริบก็ใช้ได้
คนธรรพ์มีความเกี่ยวข้องอย่างไรในทางพระพุทธศาสนา ?
คนธรรพ์ก็คือ เทวดาพวกหนึ่ง ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งเป็นสวรรค์ที่อยู่ใกล้มนุษย์มากที่สุด อาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม อยู่ตามแก่นไม้บ้าง เปลือกไม้บ้าง กระพี้ไม้บ้าง อยู่ที่ใบก็มี ที่ดอกก็มี ที่ผลก็มีคืออยู่จุดใดจุดหนึ่งของต้นไม้ ซึ่งต่างจากรุกขเทวดา รุกขเทวดาจะมีวิมานอยู่ที่ตัวต้นไม้ ถ้าต้นไม้ถูกโค่น รุกขเทวดาก็ไปหาต้นไม้ใหม่ต้นไม้เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เมตร วิมานอาจจะใหญ่โตโอฬารอยู่ในนั้นก็ได้ เพราะวิมานเป็นของละเอียด ถ้าเป็นของละเอียดของใหญ่ซ้อนในของเล็กได้ แต่คนธรรพ์ไม่ได้เป็นอย่างนั้น สมมุติว่าอยู่ที่แก่นไม้ เกิดมีการตัดไม้นั้นไปทำเครื่องดนตรี คนธรรพ์ก็ยังอยู่ในไม้นั้น แล้วคนธรรพ์มีเอกลักษณ์คือเก่งเกี่ยวกับเรื่องดนตรี เรื่องนาฏศิลป์ ดีด สี ตี เป่า ขับร้อง
คนที่ชอบสิ่งเหล่านี้ตอนยังมีชีวิตอยู่ เช่นนักร้องที่มีชื่อเสียง ขณะมีชีวิตทำบุญกุศลมาพอสมควร ตายไปก็มีโอกาสไปเกิดเป็นเทวดา ประเภทคนธรรพ์ เพราะว่ามีพื้นไปจากบนโลกมนุษย์
ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปทรงจำพรรษาอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อไปโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งไปเกิดเป็นท้าวสันดุสิต เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นที่ ๔ ตอนนั้นพระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระอินทร์ไปทูลเชิญเทพบุตรพุทธมารดาลงมาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงพระอภิธรรมโปรด จนกระทั่งเทพบุตรพุทธมารดาบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ตอนเสด็จลงมาจากสวรรค์ ปัญจสิขะซึ่งเป็นคนธรรพ์ดีดพิณนำขบวนเลย นี้ขนาดนำเสด็จพระพุทธเจ้า เราเห็นไหมว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ๘ ข้อที่ ๗ คือ ป้องกันไม่ให้กิเลสฟู ไม่ให้กามกำเริบเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการใช้ดนตรีเพื่อบูชาพระรัตนตรัยทำได้
ถ้าเราดูภาพวาดฝาผนังตามวัดต่าง ๆ จะพบว่าเวลามีภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีข้าง ๆ มีเทวดาถือพิณอยู่ นั่นแหละปัญจสิขคนธรรพ์
บทสวดมนต์หรือบทสวดสรรเสริญถือเป็นจังหวะอย่างหนึ่งใช่ไหม?
ใช่ ที่จริงแล้วถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าการสวดมนต์มีจังหวะ เป็นภาษาบาลีที่มีจังหวะมีเสียงหนักเสียงเบา เพราะฉะนั้นในเมื่อเรารู้แล้วว่าดนตรีดี ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกซ้อมดนตรีอะไรหรอก ดีที่สุดคือตั้งใจสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ เวลาพระสวดก็ตั้งใจฟัง แล้วน้อมใจไปตามเสียงสวดมนต์ นั้นคือดนตรีที่เยี่ยมที่สุดทั้งจังหวะ ทำนอง เนื้อหา ถือเป็นการบูชาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ถ้าใช้ดนตรีอย่างนี้แล้ว การันตีว่าได้แต่บุญล้วน ๆ ละโลกแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์สูงกว่าคนธรรพ์ด้วย
แต่ถ้าหากไปศึกษาเรียนรู้ดนตรีทางโลกยังมีโอกาสพลาด กามกำเริบได้ เพราะว่าแต่ละเรื่องในดีมีเสีย ในเสียมีดี ในดีมีเสียคือดนตรีเป็นสิ่งที่ดีถ้าเอามาใช้ในทางบวก แต่ว่ามันมีจุดอ่อนของมัน คนแวดวงนี้จุดอ่อนคือเรื่องศีล ข้อ ๓ เผลอนิดเดียวมีโอกาสกามกำเริบ แล้วถ้าไปทำสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรมเข้า จะเป็นวิบากกรรมติดตัว คราวนี้ไม่ได้ไปสวรรค์ แต่ไปอบายเลย มันเสี่ยง ดีที่สุดสำหรับพวกเราชาวพุทธ ก็เสียงสวดมนต์นี้แหละคือดนตรีชั้นเลิศ ซึ่งจะน้อมนำใจของเราให้บริสุทธิ์ผ่องใส บุญกุศลก็จะไหลมาเทมา ละโลกแล้วก็จะไปสู่สุคติโลกสวรรค์
ความคุ้นของเรากับจังหวะและเสียงดนตรีมีมาข้ามภพข้ามชาติ ไม่เฉพาะชาตินี้เท่านั้น บนสวรรค์ก็มีดนตรี ในนรกแม้ไม่มีดนตรี แต่มีจังหวะเสียงร้องอยู่ เพราะฉะนั้นคนเราจึงมีประสบการณ์ในอดีตที่ฝังลึกอยู่ ซึ่งกายละเอียดข้างในรู้
บนสวรรค์มีดนตรีหลายแบบ ไม่ต้องมีเนื้อหาอะไร แค่ฟังทำนองก็จินตนาการเป็นเรื่องราวตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเป็นจังหวะเสียงร้องในนรก ในอบายภูมิขุมตื้นๆ เช่น เปรต อสุรกาย ก็มีเสียงแควกควาก เสียงเปรตร้องก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ถ้าลงไปนรกโดนไฟแผดเผา โดนหอกทิ่ม ก็ร้องด้วยความเจ็บปวด ธรรมะกับเสียงเพลงบ้าง ความโกรธบ้าง เป็นเสียงโหยหวนอีกแบบหนึ่ง ให้ความรู้สึกที่น่าหวาดกลัว น่าตกใจ เศร้าสลด อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราได้ฟังเสียงที่สอดคล้องกับดนตรีบนสวรรค์ ก็ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบหนึ่ง ถ้าฟังเสียงที่ไม่ดี ก็ให้อารมณ์อีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนภาษาไหนก็คล้าย ๆ กัน เพราะว่าสวรรค์หรือนรกไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ เป็นสวรรค์เดียวกันนรกเดียวกัน เมื่อใครได้ฟังเสียงที่เป็นจังหวะเหมาะสมนุ่มนวล ก็จะรู้สึกเบิกบาน ผ่อนคลายมีความสุขเหมือนกัน แต่ถ้าได้ฟังเสียงที่น่าตกใจ เสียงกรีดร้อง เสียงโหยหวน ก็จะเกิดอารมณ์เศร้าหมอง หรือตระหนกตกใจ อย่างนี้เป็นต้น
ถ้ามาดูกระบวนการแต่งเพลงของฝรั่งกับของไทยบางทีไม่ค่อยเหมือนกัน คนไทยแต่งเนื้อเพลงก่อน แล้วหาทำนองมาใส่ แต่ของฝรั่งเขียนทำนองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เนื้อเพลงมาทีหลัง กลายเป็นว่าจังหวะทำนองมีผลไม่น้อยกว่าเนื้อเพลง ดังนั้นเวลาเราฟังเพลงภาษาต่างประเทศที่เราไม่เข้าใจความหมายของเนื้อเพลงแล้วมีอารมณ์ร่วม ก็เพราะอย่างนี้
การใช้ดนตรีบำบัด สามารถบำบัดร่างกายและจิตใจได้จริงหรือ ?
ได้แน่นอน เพราะว่าเสียงที่เราได้ยินจะส่งผลต่ออารมณ์ ความจริงอายตนะทั้ง ๖ ตั้งแต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องรับรู้ตลอด สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด ต่ออารมณ์ของเราตลอด แล้วอารมณ์จะไปส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะ ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายอีกทอดหนึ่ง ถ้าหากรับรู้เป็นรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส คล้าย ๆ ที่เราเคยเจอบนสวรรค์ ก็จะส่งผลเป็นอารมณ์ด้านบวก เมื่อใดที่เป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส คล้าย ๆ ที่เราเจอในนรก จะให้อารมณ์ด้านลบ
สังเกตว่าจะเป็นคนชาติไหน ภาษาไหนเวลาเห็นวิว ต้นไม้เขียวๆ มีทะเล มีนกบิน มีลมโชยพัดพลิ้ว ๆ ก็ชอบทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นภาพที่สยองขวัญ คนถูกทำร้าย คนฆ่ากัน ใครเห็นก็เศร้าสลดหดหู่ เกิดความรู้สึกหวาดกลัวทั้งนั้นเพราะไปสอดคล้องกับภาพในนรก
เสียงก็เหมือนกัน เสียงเพลงที่เราได้ยินหรือเสียงอะไรที่เป็นเชิงลบ ก็ส่งผลต่ออารมณ์ของเรา และส่งผลต่อการทำงานของระบบร่างกาย ถ้าเป็นอารมณ์ด้านลบ เป็นเสียงที่น่ากลัว ฟังแล้วตกใจ หัวใจก็เต้นตุบตับ ระบบฮอร์โมนในร่างกาย อะดรีนาลีน (Adrenaline) หลั่งแล้ว ระบบการทำงานในร่างกายรวนไปหมด เส้นเลือดมีการหด มีการขยาย บางคนแค่เห็นคนถูกทำร้าย ตัวเองไม่ได้โดน ก็เป็นลมแล้วอย่างนี้เป็นต้น เพราะว่ามันส่งผลกระทบต่ออารมณ์ แล้วอารมณ์ก็ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย
เมื่อเข้าใจกระบวนการนี้แล้ว จึงมีการศึกษาและใช้งานจริง คือใช้เสียงดนตรีในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางด้านอารมณ์ กลุ่มที่ใหญ่กลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มทหารผ่านศึกที่ไปรบแล้วเพื่อนโดนยิงนอนตายอยู่แทบเท้า หรือว่าดิ้นทรมานอยู่พักใหญ่แล้วถึงค่อยตาย ภาพเหล่านั้นฝังใจมาก แม้ตัวเองไม่ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกาย พอไปรบนาน ๆ ก็ต้องมีช่วงให้มาพัก เพราะอารมณ์ไม่ไหว บางคนฝังใจอยู่ทั้งชาติ กลายเป็นคนซึมเศร้า หดหู่ ร่างกายไม่ได้ป่วย แต่มีปัญหาด้านอารมณ์
เคยมีข่าวว่าผ้รู้ายที่ไปปล้น ไปจี้ ไปฆ่าคน ผ่านไป ๓-๔ วันตำรวจยังจับไม่ได้ ผู้ร้ายมามอบตัว เพราะหลับตาแล้วเห็นภาพหลอนว่าตัวเองไปฆ่าเขา เพราะการฆ่าขัดกับสามัญสำนึกของมนุษย์ เพราะปกติของมนุษย์จะต้องไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนกัน และถ้าฆ่ามนุษย์ก็แรงยิ่งกว่าฆ่าสัตว์อื่น ฆ่าสัตว์ใหญ่แรงกว่าฆ่าสัตว์เล็ก บี้มดตบยุงยังไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร แต่ถ้าให้คนที่บี้มดตบยุงไปฆ่าหมู หรือไปแทงคอวัวให้ตายในโรงฆ่าสัตว์ คงไม่กล้าทำ แม้แต่คนที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ก็ตาม ถ้าให้มาฆ่ามนุษย์ ความรู้สึกจะแรงกว่ามาก ดังนั้นคนที่ไปฆ่าคนอื่นตาย ตามปกติต้องหนีตำรวจเพราะกลัวการลงโทษ แต่สุดท้ายทนต่อมโนธรรมในใจที่หลอกหลอนไม่ได้ ต้องออกมามอบตัว ยอมรับโทษเสียดีกว่า หนีไปแล้วนอนไม่หลับ มีความทุกข์สารพัด
ทหารที่ไปรบก็เหมือนกัน ในเชิงกฎหมายไม่ผิด เพราะออกไปรบ ก็ต้องสู้กับข้าศึก ถ้าเราไม่ยิงเขา ก็ถูกเขายิง ก็เลยต้องฆ่า แต่ว่าขัดต่อมโนธรรมในใจเหมือนกัน ฆ่าเขาแล้วไม่สบายใจ ทั้งเพื่อนก็ถูกฆ่า ทั้งตัวเองก็ฆ่าเขา สิ่งเหล่านี้เป็นบาดแผลลึกทางอารมณ์ ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า แล้วมีอาการสารพัดตามมา จึงมีการค้นคว้าหาทางแก้ไข
ในอเมริกาเจอเคสอย่างนี้เยอะ การรบในสงครามเวียดนาม อเมริกาส่งทหารไปตั้งมากมาย คนอเมริกันที่ไปเป็นทหารในเวียดนามตายไปเป็นหมื่น เป็นแสน กลับมาอยู่ในอเมริกาเป็นล้าน คนเหล่านี้มีปัญหาติดยาเสพติดเยอะ เพราะว่ามีบาดแผลทางอารมณ์ นอนไม่หลับ หลับตาทีไรเห็นภาพเพื่อนตายบ้าง ภาพคนที่ตัวเองฆ่าบ้าง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ายาเสพติดไม่ดี กัญชา ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเคน อะไรก็ได้ ขอให้หลุดไปจากความรู้สึกทุกข์ทรมานที่บีบคั้นตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เกิดปัญหาเยอะมาก เขาจึงต้องหากระบวนการเอาเสียงเพลงมาช่วย ซึ่งพบว่าได้ผลดี เพลงเพราะ ๆ เย็น ๆ เยียวยาทางอารมณ์ได้ เพราะมนุษย์เราคุ้นกับเสียงเหล่านี้มาตั้งแต่อยู่ในท้อง เช่น เสียงหัวใจแม่เต้น เสียงไหลของหลอดเลือด เป็นเสียงประสานที่ไพเราะเพราะพริ้ง ทารกในครรภ์ฟังอยู่ทั้งวันทั้งคืน ๒๔ ชั่วโมงตั้งหลายเดือน ถ้าคุณแม่อารมณ์ดี หัวใจก็เต้นสม่ำเสมอ อารมณ์ไม่ดี หัวใจก็เต้นไม่สม่ำเสมอ อารมณ์ของลูกก็แปรปรวน เพราะฉะนั้นคุณแม่ที่มีลูกต้องอารมณ์ดี ๆ ฟังเพลงเพลิน ๆ คุณพ่อก็ต้องให้ความร่วมมือด้วย ระบบร่างกายจะได้ทำงานอย่างสมดุล บรรเลงเป็นเพลงที่ไพเราะไปถึงลูกของเรา
ถ้าดนตรีมีส่วนของการบำบัดหรือรักษาจิตใจของเรา ทำไมศีล ๘ ถึงห้ามเล่นดนตรี ขับร้อง และฟ้อนรำ ?
เราจะทำเรื่องอะไรก็ตาม ต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการทำสิ่งนั้นก่อน เราจะได้สามารถบริหารตัวเองได้อย่างถูกต้อง ศีล ๘ มีวัตถุประสงค์หลักก็คือ ควบคุมกามกิเลสไม่ให้กำเริบ
ศีล ๘ คือ ศีล ๕ บวกศีลอีก ๓ ข้อ แต่เปลี่ยนที่ข้อ ๓ ศีลข้อ ๓ ในศีล ๕ คือไม่เจ้าชู้ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ไปยุ่งกับลูกเมียคนอื่น แต่ข้อ ๓ ของศีล ๘ คือประพฤติพรหมจรรย์ นี้คือวัตถุประสงค์หลักของศีล ๘ ส่วนศีลข้อ๖, ๗, ๘ แค่มาช่วยเสริม
ศีลข้อ ๖ ไม่รับประทานอาหารในยามวิกาล เพื่อตัดเสบียงกาม เพราะมื้อเช้ามื้อเที่ยงเราทานแล้วก็ทำงานทั้งวัน แต่มื้อเย็นเดี๋ยวก็พักแล้ว ถ้าไปทานเดี๋ยวจะมีกำลังส่วนเหลือกลายเป็นเสบียงกาม เดี๋ยวกามจะกำเริบ
ศีลข้อ ๗ไม่ดีดสีตีเป่าร้องรำทำเพลง ไม่ตกแต่งประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องหอมถามว่าเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเชื้อให้กามกำเริบได้ ที่แต่งตัวสวยก็เพื่อให้เพศตรงข้ามดู ที่ร้องรำทำเพลงก็เป็นเพลงรัก ๆ ใคร่ ๆ ส่วนใหญ่ ฉะนั้นท่านจึงห้ามสิ่งนี้เอาไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้กามกำเริบ พอเข้าใจตรงนี้เราจะบริหารจัดการได้ ถ้าเป็นไปเพื่อการทำให้ใจสงบ ไม่ทำให้กามกำเริบก็ใช้ได้
คนธรรพ์มีความเกี่ยวข้องอย่างไรในทางพระพุทธศาสนา ?
คนธรรพ์ก็คือ เทวดาพวกหนึ่ง ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งเป็นสวรรค์ที่อยู่ใกล้มนุษย์มากที่สุด อาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม อยู่ตามแก่นไม้บ้าง เปลือกไม้บ้าง กระพี้ไม้บ้าง อยู่ที่ใบก็มี ที่ดอกก็มี ที่ผลก็มีคืออยู่จุดใดจุดหนึ่งของต้นไม้ ซึ่งต่างจากรุกขเทวดา รุกขเทวดาจะมีวิมานอยู่ที่ตัวต้นไม้ ถ้าต้นไม้ถูกโค่น รุกขเทวดาก็ไปหาต้นไม้ใหม่ต้นไม้เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ เมตร วิมานอาจจะใหญ่โตโอฬารอยู่ในนั้นก็ได้ เพราะวิมานเป็นของละเอียด ถ้าเป็นของละเอียดของใหญ่ซ้อนในของเล็กได้ แต่คนธรรพ์ไม่ได้เป็นอย่างนั้น สมมุติว่าอยู่ที่แก่นไม้ เกิดมีการตัดไม้นั้นไปทำเครื่องดนตรี คนธรรพ์ก็ยังอยู่ในไม้นั้น แล้วคนธรรพ์มีเอกลักษณ์คือเก่งเกี่ยวกับเรื่องดนตรี เรื่องนาฏศิลป์ ดีด สี ตี เป่า ขับร้อง
คนที่ชอบสิ่งเหล่านี้ตอนยังมีชีวิตอยู่ เช่นนักร้องที่มีชื่อเสียง ขณะมีชีวิตทำบุญกุศลมาพอสมควร ตายไปก็มีโอกาสไปเกิดเป็นเทวดา ประเภทคนธรรพ์ เพราะว่ามีพื้นไปจากบนโลกมนุษย์
ตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปทรงจำพรรษาอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อไปโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งไปเกิดเป็นท้าวสันดุสิต เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นที่ ๔ ตอนนั้นพระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระอินทร์ไปทูลเชิญเทพบุตรพุทธมารดาลงมาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงพระอภิธรรมโปรด จนกระทั่งเทพบุตรพุทธมารดาบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ตอนเสด็จลงมาจากสวรรค์ ปัญจสิขะซึ่งเป็นคนธรรพ์ดีดพิณนำขบวนเลย นี้ขนาดนำเสด็จพระพุทธเจ้า เราเห็นไหมว่าวัตถุประสงค์ของการรักษาศีล ๘ ข้อที่ ๗ คือ ป้องกันไม่ให้กิเลสฟู ไม่ให้กามกำเริบเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการใช้ดนตรีเพื่อบูชาพระรัตนตรัยทำได้
ถ้าเราดูภาพวาดฝาผนังตามวัดต่าง ๆ จะพบว่าเวลามีภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางทีข้าง ๆ มีเทวดาถือพิณอยู่ นั่นแหละปัญจสิขคนธรรพ์
บทสวดมนต์หรือบทสวดสรรเสริญถือเป็นจังหวะอย่างหนึ่งใช่ไหม?
ใช่ ที่จริงแล้วถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าการสวดมนต์มีจังหวะ เป็นภาษาบาลีที่มีจังหวะมีเสียงหนักเสียงเบา เพราะฉะนั้นในเมื่อเรารู้แล้วว่าดนตรีดี ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกซ้อมดนตรีอะไรหรอก ดีที่สุดคือตั้งใจสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ เวลาพระสวดก็ตั้งใจฟัง แล้วน้อมใจไปตามเสียงสวดมนต์ นั้นคือดนตรีที่เยี่ยมที่สุดทั้งจังหวะ ทำนอง เนื้อหา ถือเป็นการบูชาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ถ้าใช้ดนตรีอย่างนี้แล้ว การันตีว่าได้แต่บุญล้วน ๆ ละโลกแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์สูงกว่าคนธรรพ์ด้วย
แต่ถ้าหากไปศึกษาเรียนรู้ดนตรีทางโลกยังมีโอกาสพลาด กามกำเริบได้ เพราะว่าแต่ละเรื่องในดีมีเสีย ในเสียมีดี ในดีมีเสียคือดนตรีเป็นสิ่งที่ดีถ้าเอามาใช้ในทางบวก แต่ว่ามันมีจุดอ่อนของมัน คนแวดวงนี้จุดอ่อนคือเรื่องศีล ข้อ ๓ เผลอนิดเดียวมีโอกาสกามกำเริบ แล้วถ้าไปทำสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรมเข้า จะเป็นวิบากกรรมติดตัว คราวนี้ไม่ได้ไปสวรรค์ แต่ไปอบายเลย มันเสี่ยง ดีที่สุดสำหรับพวกเราชาวพุทธ ก็เสียงสวดมนต์นี้แหละคือดนตรีชั้นเลิศ ซึ่งจะน้อมนำใจของเราให้บริสุทธิ์ผ่องใส บุญกุศลก็จะไหลมาเทมา ละโลกแล้วก็จะไปสู่สุคติโลกสวรรค์
Cr. พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑฺโฒ) จากรายการข้อคิดรอบตัว ออกอากาศทางช่อง DMC
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๗๖ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
คลิกอ่านข้อคิดรอบตัวของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
จับดีเขา จับผิดเรา |
รอลงบทความ |
คลิกอ่านข้อคิดรอบตัวของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เมื่อโลกเข้าสู่ช่วงกัปไขลง (ปีก่อนหน้า)
ธรรมะกับเสียงเพลง
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
03:26
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: