นักโทษแห่งวัฏสงสาร ตอนที่ ๖ ธรรมที่ทรงตรัสรู้ กับธรรมที่ทรงนำมาตรัสสอน
พระธรรมเทศนา
นักโทษแห่งวัฏสงสาร
ตอนที่ ๖
ธรรมที่ทรงตรัสรู้กับธรรมที่ทรงนำมาตรัสสอน
-----------------------------------------------------
พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อทัตตชีโว
ในรายการ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา”
ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง DMC
(Dhammakaya Media Channel) วันพฤหัสบดีที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
---------------------------------------
แท้ที่จริงนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสรู้เฉพาะเรื่องอริยสัจ ๔ เท่านั้น แต่ยังทรงตรัสรู้ธรรมอื่น ๆ อีกมากมายมหาศาล แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงถูกจำกัดด้วยเวลาของอายุสังขารเพียงแค่ ๘๐ ปีเท่านั้น จึงต้องทรงเลือกสอนธรรมที่จะช่วยให้ชาวโลกพ้นทุกข์ได้ก่อนคือ อริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ส่วนธรรมอื่น ๆ ชาวโลกย่อมสามารถนำความรู้จากเรื่องอริยสัจ ๔ ที่ได้ศึกษาทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติจนเกิดผลดีแล้ว เช่น ได้บรรลุญาณทัสสนะระดับต่าง ๆ ในวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ ไปเป็นพื้นฐาน เพื่อศึกษาค้นคว้าธรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยตนเองต่อไปอีก
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแบ่งธรรมที่ตรัสรู้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ธรรมสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือประเภทหนึ่ง กับธรรมอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอีกประเภทหนึ่ง ดังมีบันทึกปรากฏอยู่ใน สีสปาสูตร๑ (๑ สีสปาสูตร, สํ.ม. ๓๑/๑๗๑๒/๔๔๙ (มมร.))
ดังนี้…
ครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ทรงมองไปทั่วผืนป่าประดู่ลายอันกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเก็บใบประดู่ ๒ - ๓ ใบ มากำไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ครั้นแล้วตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายเป็นเชิงอุปมา มีใจความโดยสรุปว่า
“ธรรมที่เราตรัสรู้นั้น มีมากมายเหมือนใบไม้ทั้งหมดในป่า ส่วนธรรมที่เรานำมาสั่งสอนนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเหมือนใบไม้เพียงหนึ่งกำมือ สิ่งที่เราตรัสสอนนี้เป็นธรรมเบื้องต้น เพราะประกอบด้วยประโยชน์ (ในการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร) เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐเถิด”
จากบันทึกในสีสปาสูตร ย่อมเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงแบ่งธรรมออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ธรรมที่ทรงตรัสรู้และนำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งทุกข์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ เมื่อชาวโลกทั้งหลายต่างตั้งใจศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่สุดก็จะหลุดพ้นจากความเป็นนักโทษแห่งวัฏสงสารโดยถ้วนหน้ากัน
๒) ธรรมที่ทรงตรัสรู้แต่ไม่นำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมนั่นคือ ความรู้ที่ชาวโลกสามารถใช้วิชชา ๓ ไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เช่น ความจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับที่มาของกิเลส ที่มาของกฎแห่งกรรม ที่มาของกฎไตรลักษณ์ ที่มาของวัฏสงสาร ที่มาของมาร เป็นต้น ตัวอย่างของธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ในป่าก็พอมีหลักฐานหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกบ้าง เช่น เรื่องพระอรหันต์ปรินิพพานแล้วไปไหน? ดังที่ปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร๑ (๑ ปหาราทสูตร, องฺ.อฏฺรก. ๒๓/๑๙/๒๕๐ (มจร.)) ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเล่าถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์นี้ว่า แม้จะมีภิกษุจำนวนมากมายดับขันธปรินิพพานก็มิอาจส่งผลกระทบใด ๆ ต่อพระนิพพาน (อายตนนิพพาน) ดังนี้
“แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่นํ้าสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”
เพราะฉะนั้น ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยวิชชา ๓ นั้น นอกจากจะทำให้บรรลุที่สุดแห่งทุกข์ คือ อริยสัจ ๔ แล้ว ยังมีธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ทั้งป่า คือ ธรรมเพื่อบรรลุที่สุดแห่งธรรม ที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าด้วยวิชชา ๓ กันต่อไปอีก ด้วยธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นมีอยู่มากมาย แต่ในขั้นต้นนี้ คือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
เพื่อให้ตนเองรู้แจ้งเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เสียก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงจะสามารถอาศัยวิชชา ๓ ไปศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ นี่คือขั้นตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้แก่นักสร้างบารมีรุ่นหลังที่ตามมาไม่ทันพบพระพุทธองค์
อย่างไรก็ตาม ในสมัยพุทธกาลก็มีผู้พยายามจะถามปัญหาธรรมอันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอยู่บ้างเหมือนกัน แต่พระองค์ก็ยังทรงยืนยันว่า ต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถึงรู้ไปมาก ๆ แต่ยังกำจัดทุกข์ไม่ได้ ก็ยังต้องเป็นนักโทษในวัฏสงสารต่อไปอยู่ดี ต่อไปนี้คือตัวอย่างคำถามของภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ใน จูฬมาลุงกยสูตร๑ (๑ จูฬมาลุงกยสูตร, ม.ม. ๑๓/๑๒๔/๑๓๖ (มจร.)) ดังนี้
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น”
คำถามนี้ ถ้าจะพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “หลังจากปรินิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าสูญหรือไม่สูญ?” พระองค์ไม่ทรงตอบคำถามนี้ แต่ทรงยืนยันว่า พระภิกษุรูปนั้นต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถ้ายังไม่สามารถรู้แจ้งธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือของพระองค์เสียก่อนแล้ว การได้ยินได้ฟังเรื่องราวธรรมะเพื่อถึงที่สุดแห่งธรรม อันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่า ก็ยังไม่อาจกำจัดทุกข์ในตนได้อยู่ดี
อย่างไรก็ตามคำตอบของคำถามนี้ ก็มีปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ
“หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้…นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”
เพราะฉะนั้น ตรงนี้ย่อมเป็นการยืนยันว่า แม้แต่ผู้ที่บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ก็ยังมีธรรมละเอียดลึกซึ้งที่จะต้องศึกษาไปตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน คือ ต้องรู้แจ้งอริยสัจ ๔ อันเป็นธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถศึกษาธรรมในระดับสูงขึ้นไป เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า หลังจากปรินิพพานแล้ว ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น
ดังนั้น ในช่วงที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ จึงทรงทุ่มเทให้กับการสอนเฉพาะธรรมที่จำเป็นต่อการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลที่ยังไม่สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยการรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำที่สุดแห่งธรรมให้บังเกิดขึ้น
สำหรับเรื่องนี้พระองค์ทรงให้เหตุผลในเชิงอุปมาไว้ใน จูฬมาลุงกยสูตร๑ (๑ จูฬมาลุงกยสูตร, ม.ม. ๑๓/๑๒๖/๑๓๗ - ๑๓๙ (มจร.)) โดยมีสาระสำคัญว่า
“คนที่ถูกลูกศรอาบยาพิษยิงปักเข้าที่หน้าอก ก่อนจะไปตามหาว่าใครเป็นคนยิงศร ก็จะต้องหาทางเยียวยารักษาชีวิตให้รอดตายจากพิษร้ายให้ได้ก่อน ฉันใด คนที่ถูกศรกิเลสยิงปักเข้าไปในใจ ก่อนที่จะไปตามหาว่าใครยิงศรกิเลสมาใส่เรา ก็จะต้องหาทางถอนศรกิเลสออกจากใจเพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายในวัฏสงสารให้ได้ก่อนฉันนั้น”
ด้วยเหตุนี้เอง ตลอดเวลา ๔๕ ปี แห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงมุ่งประกาศพระธรรมคำสอนโดยเน้นหนักเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นธรรมเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ทั้งหมด อนึ่ง เวลาเพียง ๔๕ ปีนั้น ต้องถือว่าน้อยมาก ๆ เพราะหากพระองค์ทรงมีระยะเวลาในการเผยแผ่มากกว่านี้ ก็จะทรงสามารถแสดงธรรมได้มากกว่านี้ สามารถพาชาวโลกแหกคุกออกจากวัฏสงสารไปได้มากกว่านี้ และมีเวลาเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ที่เป็นธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมได้มากกว่านี้
ดังนั้น ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดนี้ พระองค์จึงต้องทรงเลือกหนทางที่จะทำให้การบำเพ็ญบารมีเพื่อมาตรัสรู้ธรรมของพระองค์เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ สอนเฉพาะธรรมที่พาชาวโลกแหกคุกออกไปจากวัฏสงสารให้ได้ก่อน ส่วนความลับอื่น ๆ หลังจากนี้ เช่น ใครเป็นผู้สร้างกิเลส ใครเป็นผู้สร้างกฎแห่งกรรม ใครเป็นผู้สร้างกฎไตรลักษณ์ ใครทำให้เกิดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ฯลฯ ผู้มีปัญญาก็จะสามารถไปขวนขวายศึกษาต่อได้ด้วยตนเอง แม้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เนื่องจากมีประสบการณ์ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ มาเป็นอย่างดี จนกระทั่งบรรลุวิชชา ๓ ได้แล้ว..
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
---------------------------------------
แท้ที่จริงนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสรู้เฉพาะเรื่องอริยสัจ ๔ เท่านั้น แต่ยังทรงตรัสรู้ธรรมอื่น ๆ อีกมากมายมหาศาล แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงถูกจำกัดด้วยเวลาของอายุสังขารเพียงแค่ ๘๐ ปีเท่านั้น จึงต้องทรงเลือกสอนธรรมที่จะช่วยให้ชาวโลกพ้นทุกข์ได้ก่อนคือ อริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ส่วนธรรมอื่น ๆ ชาวโลกย่อมสามารถนำความรู้จากเรื่องอริยสัจ ๔ ที่ได้ศึกษาทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติจนเกิดผลดีแล้ว เช่น ได้บรรลุญาณทัสสนะระดับต่าง ๆ ในวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘ ไปเป็นพื้นฐาน เพื่อศึกษาค้นคว้าธรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยตนเองต่อไปอีก
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแบ่งธรรมที่ตรัสรู้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ธรรมสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือประเภทหนึ่ง กับธรรมอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอีกประเภทหนึ่ง ดังมีบันทึกปรากฏอยู่ใน สีสปาสูตร๑ (๑ สีสปาสูตร, สํ.ม. ๓๑/๑๗๑๒/๔๔๙ (มมร.))
ดังนี้…
ครั้งนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าสีสปาวัน ใกล้เมืองโกสัมพี ทรงมองไปทั่วผืนป่าประดู่ลายอันกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเก็บใบประดู่ ๒ - ๓ ใบ มากำไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ครั้นแล้วตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายเป็นเชิงอุปมา มีใจความโดยสรุปว่า
“ธรรมที่เราตรัสรู้นั้น มีมากมายเหมือนใบไม้ทั้งหมดในป่า ส่วนธรรมที่เรานำมาสั่งสอนนั้น เป็นเพียงส่วนน้อยเหมือนใบไม้เพียงหนึ่งกำมือ สิ่งที่เราตรัสสอนนี้เป็นธรรมเบื้องต้น เพราะประกอบด้วยประโยชน์ (ในการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร) เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐเถิด”
จากบันทึกในสีสปาสูตร ย่อมเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงแบ่งธรรมออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ธรรมที่ทรงตรัสรู้และนำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งทุกข์ ได้แก่ ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ เมื่อชาวโลกทั้งหลายต่างตั้งใจศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจถูกต้องถ่องแท้แล้วนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่สุดก็จะหลุดพ้นจากความเป็นนักโทษแห่งวัฏสงสารโดยถ้วนหน้ากัน
๒) ธรรมที่ทรงตรัสรู้แต่ไม่นำมาตรัสสอน หมายถึง ความรู้เพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมนั่นคือ ความรู้ที่ชาวโลกสามารถใช้วิชชา ๓ ไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง เช่น ความจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับที่มาของกิเลส ที่มาของกฎแห่งกรรม ที่มาของกฎไตรลักษณ์ ที่มาของวัฏสงสาร ที่มาของมาร เป็นต้น ตัวอย่างของธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ในป่าก็พอมีหลักฐานหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกบ้าง เช่น เรื่องพระอรหันต์ปรินิพพานแล้วไปไหน? ดังที่ปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร๑ (๑ ปหาราทสูตร, องฺ.อฏฺรก. ๒๓/๑๙/๒๕๐ (มจร.)) ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเล่าถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์นี้ว่า แม้จะมีภิกษุจำนวนมากมายดับขันธปรินิพพานก็มิอาจส่งผลกระทบใด ๆ ต่อพระนิพพาน (อายตนนิพพาน) ดังนี้
“แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่นํ้าสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ การที่แม้หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”
เพราะฉะนั้น ธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยวิชชา ๓ นั้น นอกจากจะทำให้บรรลุที่สุดแห่งทุกข์ คือ อริยสัจ ๔ แล้ว ยังมีธรรมที่เปรียบเสมือนใบไม้ทั้งป่า คือ ธรรมเพื่อบรรลุที่สุดแห่งธรรม ที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าด้วยวิชชา ๓ กันต่อไปอีก ด้วยธรรมในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นมีอยู่มากมาย แต่ในขั้นต้นนี้ คือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘
เพื่อให้ตนเองรู้แจ้งเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เสียก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงจะสามารถอาศัยวิชชา ๓ ไปศึกษาค้นคว้าเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ นี่คือขั้นตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้แก่นักสร้างบารมีรุ่นหลังที่ตามมาไม่ทันพบพระพุทธองค์
อย่างไรก็ตาม ในสมัยพุทธกาลก็มีผู้พยายามจะถามปัญหาธรรมอันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่าอยู่บ้างเหมือนกัน แต่พระองค์ก็ยังทรงยืนยันว่า ต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถึงรู้ไปมาก ๆ แต่ยังกำจัดทุกข์ไม่ได้ ก็ยังต้องเป็นนักโทษในวัฏสงสารต่อไปอยู่ดี ต่อไปนี้คือตัวอย่างคำถามของภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ใน จูฬมาลุงกยสูตร๑ (๑ จูฬมาลุงกยสูตร, ม.ม. ๑๓/๑๒๔/๑๓๖ (มจร.)) ดังนี้
“หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอให้ตรัสบอกมาตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น”
คำถามนี้ ถ้าจะพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ “หลังจากปรินิพพานแล้ว พระพุทธเจ้าสูญหรือไม่สูญ?” พระองค์ไม่ทรงตอบคำถามนี้ แต่ทรงยืนยันว่า พระภิกษุรูปนั้นต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ให้ได้ก่อนเท่านั้น เพราะถ้ายังไม่สามารถรู้แจ้งธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ซึ่งเปรียบเสมือนใบไม้ในกำมือของพระองค์เสียก่อนแล้ว การได้ยินได้ฟังเรื่องราวธรรมะเพื่อถึงที่สุดแห่งธรรม อันเปรียบเสมือนใบไม้ในป่า ก็ยังไม่อาจกำจัดทุกข์ในตนได้อยู่ดี
อย่างไรก็ตามคำตอบของคำถามนี้ ก็มีปรากฏอยู่ใน ปหาราทสูตร ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ
“หากภิกษุจำนวนมากปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้…นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์…”
เพราะฉะนั้น ตรงนี้ย่อมเป็นการยืนยันว่า แม้แต่ผู้ที่บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ก็ยังมีธรรมละเอียดลึกซึ้งที่จะต้องศึกษาไปตามลำดับเป็นขั้นเป็นตอน คือ ต้องรู้แจ้งอริยสัจ ๔ อันเป็นธรรมเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถศึกษาธรรมในระดับสูงขึ้นไป เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า หลังจากปรินิพพานแล้ว ชีวิตของท่านจะเป็นอย่างไรต่อไป เป็นต้น
ดังนั้น ในช่วงที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ จึงทรงทุ่มเทให้กับการสอนเฉพาะธรรมที่จำเป็นต่อการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะบุคคลที่ยังไม่สามารถกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยการรู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ แล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำที่สุดแห่งธรรมให้บังเกิดขึ้น
สำหรับเรื่องนี้พระองค์ทรงให้เหตุผลในเชิงอุปมาไว้ใน จูฬมาลุงกยสูตร๑ (๑ จูฬมาลุงกยสูตร, ม.ม. ๑๓/๑๒๖/๑๓๗ - ๑๓๙ (มจร.)) โดยมีสาระสำคัญว่า
“คนที่ถูกลูกศรอาบยาพิษยิงปักเข้าที่หน้าอก ก่อนจะไปตามหาว่าใครเป็นคนยิงศร ก็จะต้องหาทางเยียวยารักษาชีวิตให้รอดตายจากพิษร้ายให้ได้ก่อน ฉันใด คนที่ถูกศรกิเลสยิงปักเข้าไปในใจ ก่อนที่จะไปตามหาว่าใครยิงศรกิเลสมาใส่เรา ก็จะต้องหาทางถอนศรกิเลสออกจากใจเพื่อรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจากอันตรายในวัฏสงสารให้ได้ก่อนฉันนั้น”
ด้วยเหตุนี้เอง ตลอดเวลา ๔๕ ปี แห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์จึงทรงมุ่งประกาศพระธรรมคำสอนโดยเน้นหนักเรื่องอริยสัจ ๔ เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นธรรมเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ทั้งหมด อนึ่ง เวลาเพียง ๔๕ ปีนั้น ต้องถือว่าน้อยมาก ๆ เพราะหากพระองค์ทรงมีระยะเวลาในการเผยแผ่มากกว่านี้ ก็จะทรงสามารถแสดงธรรมได้มากกว่านี้ สามารถพาชาวโลกแหกคุกออกจากวัฏสงสารไปได้มากกว่านี้ และมีเวลาเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ที่เป็นธรรมเพื่อการบรรลุที่สุดแห่งธรรมได้มากกว่านี้
ดังนั้น ภายใต้ระยะเวลาอันจำกัดนี้ พระองค์จึงต้องทรงเลือกหนทางที่จะทำให้การบำเพ็ญบารมีเพื่อมาตรัสรู้ธรรมของพระองค์เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือ สอนเฉพาะธรรมที่พาชาวโลกแหกคุกออกไปจากวัฏสงสารให้ได้ก่อน ส่วนความลับอื่น ๆ หลังจากนี้ เช่น ใครเป็นผู้สร้างกิเลส ใครเป็นผู้สร้างกฎแห่งกรรม ใครเป็นผู้สร้างกฎไตรลักษณ์ ใครทำให้เกิดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ฯลฯ ผู้มีปัญญาก็จะสามารถไปขวนขวายศึกษาต่อได้ด้วยตนเอง แม้พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เนื่องจากมีประสบการณ์ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ มาเป็นอย่างดี จนกระทั่งบรรลุวิชชา ๓ ได้แล้ว..
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๒ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
นักโทษแห่งวัฏสงสาร ตอนที่ ๖ ธรรมที่ทรงตรัสรู้ กับธรรมที่ทรงนำมาตรัสสอน
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
02:27
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: