นักโทษแห่งวัฏสงสาร ตอนที่ ๕ วิชชา ๓ เครื่องมือแห่งการตรัสรู้ธรรม
พระธรรมเทศนา
นักโทษแห่งวัฏสงสาร
ตอนที่ ๕
วิชชา ๓ เครื่องมือแห่งการตรัสรู้ธรรม
---------------------------------------------
นักโทษแห่งวัฏสงสาร
พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อทัตตชีโว
ในรายการ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง DMC
(Dhammakaya Media Channel) วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
------------------------------------------
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ และธรรมอื่นๆ นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอำนาจแห่งญาณทัสสนะของวิชชา ๓ เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าความจริง วิชชา ๓ นี้ ทรงได้จากการบำเพ็ญสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
วิชชา ๓ คืออะไร ?
วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ๑
วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้แจ้งเป็นเหตุให้ระลึกอดีตชาติของตนเองได้
๑ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ "คำวัด", ๒๕๕๑, (กรุงเทพฯ : ธรรมสภา และสถาบันลือธรรม), หน้า ๘๙๐.
พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อทัตตชีโว
ในรายการ “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง DMC
(Dhammakaya Media Channel) วันพฤหัสบดีที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
------------------------------------------
การตรัสรู้อริยสัจ ๔ และธรรมอื่นๆ นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอำนาจแห่งญาณทัสสนะของวิชชา ๓ เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าความจริง วิชชา ๓ นี้ ทรงได้จากการบำเพ็ญสัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
วิชชา ๓ คืออะไร ?
วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ๑
วิชชา
เป็นความรู้แจ้งเห็นแจ้งตามความเป็นจริงที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนา
มิใช่ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือการนึกคิดคาดคะเน
วิชชา
เป็นชื่อของญาณที่ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ มี ๓ อย่าง คือวิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้แจ้งเป็นเหตุให้ระลึกอดีตชาติของตนเองได้
วิชชาที่ ๒ จุตูปปาตญาณ หรือ
ทิพพจักขุญาณ คือ ความรู้แจ้งในเรื่องการไปเกิดมาเกิดของสัตวโลกทั้งปวง
วิชชาที่ ๓ อาสวักขยญาณ คือ
ความรู้แจ้งที่ทำให้กิเลสสิ้นไป๑ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ "คำวัด", ๒๕๕๑, (กรุงเทพฯ : ธรรมสภา และสถาบันลือธรรม), หน้า ๘๙๐.
ด้วยอานุภาพของวิชชา ๓
พระพุทธองค์จึงทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ได้สำเร็จ นับแต่นั้นมากิเลสที่ ห่อหุ้ม
หมักดอง บีบคั้น บังคับพระทัยของพระองค์มายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วน
ก็ถูกกำจัดออกไปจนหมดสิ้น
ดังนั้น พระองค์จึงตรัสปฐมพุทธพจน์เป็นการประกาศอิสรภาพจากการเป็นนักโทษในวัฏสงสารอย่างเป็นทางการว่า
“เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน
เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร
มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์,
แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว,
ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้,
ซี่โครงทุกซี่ของท่าน เราหักเสียแล้ว,
ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,
จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว,
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว” ๑
๑ ปฐมโพธิกาล, ขุ.ธ. ๔๒/๒๑/๑๔๒ (มมร.)
ถ้อยคำในปฐมพุทธพจน์บางคำแฝงความหมายไว้ดังนี้
เรือน หมายถึง ร่างกายที่ใช้ในการเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน
ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ หมายถึง ท่านจะทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่ได้
ซี่โครง หมายถึง กิเลสเหล่าอื่นทั้งหมด
จากปฐมพุทธพจน์นี้ อาจสรุปได้ว่า วิชชา ๓ นั้น เปรียบเสมือนเครื่องมือที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการค้นพบความจริงต่าง ๆ ที่ถูกปิดบังเป็นความลับไว้ในวัฏสงสารมากมายหลายเรื่อง เช่น อริยสัจ ๔ ภพ ๓ โลกันตร์ เป็นต้น
วัฏสงสารยาวนานเท่าใด
การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงว่า วัฏสงสารนี้มีมายาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลายได้ ดังที่ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ...” ๑
๑ ติงสมัตตาสูตร, สํ.นิ. ๒๖/๔๔๗/๕๒๖ (มมร.)
พระองค์ยังได้ตรัสแสดงธรรมอีกว่า เพราะความไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม ทำให้โลหิตที่มนุษย์แต่ละคนต้องสูญเสีย เนื่องจากการถูกตัดศีรษะเมื่อเกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น โค กระบือ แกะ แพะ ไก่ สุกร หรือเป็นโจรปล้น เป็นชายชู้ ฯลฯ ในระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนั้น มีปริมาณมากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แห่ง รวมกันเสียอีก แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือคุกแห่งสังสารวัฏ ทุกคนล้วนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่ ไม่รู้ว่าตนกำลังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์ ไม่มีใครรู้สาเหตุแท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์ เพราะไม่ว่าคนจนหรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด จำต้องเวียนว่ายตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฏสงสารยาวนานเท่าใด..
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ดังนั้น พระองค์จึงตรัสปฐมพุทธพจน์เป็นการประกาศอิสรภาพจากการเป็นนักโทษในวัฏสงสารอย่างเป็นทางการว่า
“เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน
เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร
มีชาติเป็นอเนก ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์,
แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่านแล้ว,
ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้,
ซี่โครงทุกซี่ของท่าน เราหักเสียแล้ว,
ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,
จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว,
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว” ๑
๑ ปฐมโพธิกาล, ขุ.ธ. ๔๒/๒๑/๑๔๒ (มมร.)
เรือน หมายถึง ร่างกายที่ใช้ในการเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน
นายช่างผู้ทำเรือน หมายถึง ตัณหา
(ความอยาก) ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของกิเลส อันเป็นสาเหตุให้สรรพสัตว์ต้องติดคุกอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด
เราพบท่านแล้ว หมายถึง
เราตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ได้พบท่านแน่นอนแล้วท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ หมายถึง ท่านจะทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกไม่ได้
ซี่โครง หมายถึง กิเลสเหล่าอื่นทั้งหมด
ยอดเรือน หมายถึง อวิชชา ได้แก่
ความไม่รู้แจ้งในเรื่องความจริงของชีวิต ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
อันเป็นเหตุให้สัตวโลกตกอยู่ในสภาพการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
ธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่ง ได้แก่
นิพพาน หมายถึง พระทัยของพระพุทธองค์บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ด้วยการบำเพ็ญสัมมาสมาธิจนกระทั่งบรรลุวิชชา ๓
จากปฐมพุทธพจน์นี้ อาจสรุปได้ว่า วิชชา ๓ นั้น เปรียบเสมือนเครื่องมือที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการค้นพบความจริงต่าง ๆ ที่ถูกปิดบังเป็นความลับไว้ในวัฏสงสารมากมายหลายเรื่อง เช่น อริยสัจ ๔ ภพ ๓ โลกันตร์ เป็นต้น
วัฏสงสารยาวนานเท่าใด
การบรรลุวิชชา ๓ ทำให้พระพุทธองค์ทรงค้นพบความจริงว่า วัฏสงสารนี้มีมายาวนานจนไม่อาจกำหนดระยะเวลาเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องปลายได้ ดังที่ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชาเป็นที่กางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้
ท่องเที่ยวไปมาอยู่
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ...” ๑
๑ ติงสมัตตาสูตร, สํ.นิ. ๒๖/๔๔๗/๕๒๖ (มมร.)
พระองค์ยังได้ตรัสแสดงธรรมอีกว่า เพราะความไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม ทำให้โลหิตที่มนุษย์แต่ละคนต้องสูญเสีย เนื่องจากการถูกตัดศีรษะเมื่อเกิดเป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น โค กระบือ แกะ แพะ ไก่ สุกร หรือเป็นโจรปล้น เป็นชายชู้ ฯลฯ ในระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนั้น มีปริมาณมากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ แห่ง รวมกันเสียอีก แต่ปัญหาก็คือ คนทั้งโลกไม่มีใครเฉลียวใจเลยว่า โลกนี้คือคุกแห่งสังสารวัฏ ทุกคนล้วนกำลังเป็นนักโทษติดคุกนี้อยู่ ไม่รู้ว่าตนกำลังตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมและกฎไตรลักษณ์ ไม่มีใครรู้สาเหตุแท้จริงที่ทำให้ตนประสบทุกข์ เพราะไม่ว่าคนจนหรือคนรวยต่างก็มีทุกข์ทั้งสิ้น จึงไม่มีใครช่วยใครให้พ้นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด จำต้องเวียนว่ายตายเกิด และทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกนี้โดยไม่รู้จบสิ้น โดยไม่มีใครตอบได้ว่า วัฏสงสารยาวนานเท่าใด..
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
นักโทษแห่งวัฏสงสาร ตอนที่ ๕ วิชชา ๓ เครื่องมือแห่งการตรัสรู้ธรรม
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:57
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: