อกุศล และ อนันตริยกรรม
¹อกุศล หมายถึง
ความชั่วหรือสิ่งที่ไม่ดี ใช้แทนบาปก็ได้ บางครั้งก็ใช้คู่กันไปเป็นบาปอกุศล
เป็นคำตรงข้ามกับคำว่า กุศล ซึ่งแปลว่า ความดี
อกุศล เป็นคำที่ถูกนำมาใช้นำหน้าคำอื่นมาก และมีความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น
-อกุศลกรรม หมายถึง ความชั่ว, บาป
-อกุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งความชั่ว
-อกุศลจิต หมายถึง ความคิดชั่ว
-อกุศลเจตนา หมายถึง เจตนาไม่ดี
-อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าแห่งความชั่ว ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
อนันตริยกรรม มาจาก น+อันตรา+อิย+กรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่าง คือให้ผลทันทีหลังจากตายไป ไม่มีกรรมอื่นมาให้ผลคั่นกลาง ถือว่าเป็นครุกรรม คือ กรรมที่หนักที่สุด เป็นบาปที่สุดยิ่งกว่ากรรมใด ๆ มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๒. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงขั้นโลหิตออก
๕. สังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน
กรรม ๕ อย่างนี้ เมื่อผู้ตายทำไปย่อมตกมหานรก แม้จะทำบุญอื่นไว้มาก ก็ต้องไปรับผลกรรมนั้นก่อน เช่น พระเทวทัตซึ่งทำสังฆเภทไว้ ถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีมหานรก
-------------------------------------
¹คำวัตร โดย พระธรรมกิตติวงศ์
Cr. ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๙ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
อกุศล เป็นคำที่ถูกนำมาใช้นำหน้าคำอื่นมาก และมีความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น
-อกุศลกรรม หมายถึง ความชั่ว, บาป
-อกุศลกรรมบถ หมายถึง ทางแห่งความชั่ว
-อกุศลจิต หมายถึง ความคิดชั่ว
-อกุศลเจตนา หมายถึง เจตนาไม่ดี
-อกุศลมูล หมายถึง รากเหง้าแห่งความชั่ว ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
อนันตริยกรรม มาจาก น+อันตรา+อิย+กรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลไม่มีระหว่าง คือให้ผลทันทีหลังจากตายไป ไม่มีกรรมอื่นมาให้ผลคั่นกลาง ถือว่าเป็นครุกรรม คือ กรรมที่หนักที่สุด เป็นบาปที่สุดยิ่งกว่ากรรมใด ๆ มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๒. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงขั้นโลหิตออก
๕. สังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน
กรรม ๕ อย่างนี้ เมื่อผู้ตายทำไปย่อมตกมหานรก แม้จะทำบุญอื่นไว้มาก ก็ต้องไปรับผลกรรมนั้นก่อน เช่น พระเทวทัตซึ่งทำสังฆเภทไว้ ถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีมหานรก
-------------------------------------
¹คำวัตร โดย พระธรรมกิตติวงศ์
Cr. ธรรมรักษ์ ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๙ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
อกุศล และ อนันตริยกรรม
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
06:33
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: