อบายมุข และ อบายภูมิ
อบายมุข มาจาภาษาบาลีว่า อบาย + มุข
อบาย แปลว่า เสื่อมหรือปราศจากความเจริญ มุข แปลว่า ปากทาง
อบายมุข จึงหมายถึงทางแห่งความเสื่อม มี ๖ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านทำการงาน
อบายมุขทั้งหมดนี้ หากประพฤติแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย เสื่อมเสียแก่ทรัพย์สิน เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ
อบายภูมิ มาจากภาษาบาลีว่า อบาย + ภูมิ
อบายภูมิ แปลว่า ดินแดนที่ปราศจากความเจริญ มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดหรือผลลัพธ์ของผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขในสมัยที่เป็นมนุษย์ ผลของอบายมุขจะหนุนนำให้ไปเกิดในอบายภูมิหลังจากตายแล้ว
อบายภูมิ มี ๔ แห่ง ตามระดับบาปกรรมของคน คือ
นรก เป๋นภพภูมิของผู้ทำกรรมหนักมาก กำลังเสวยกรรม
เปรต เป็นภูมิที่มีแต่ความหิวกระหาย ห่างไกลจากความสุข แต่ทุกข์น้อยกว่าสัตว์นรก
อสุรกาย เป็นภูมิของผู้ที่มีร่างกายพิกลพิการ น่าเกลียด เช่น ตัวเป็นหมู หัวเป็นสุนัข
ดิรัจฉาน เป็นภูมิที่เสวยผลบาปน้อยกว่าการเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย
อบายมุขเป็นปากทางแห่งความเสื่อม เป็นปากทางไปสู่อบายภูมิ คือภพภูมิที่ปราศจากความสุข ความเจริญ
Cr. ธรรมรักษ์ ป.ธ. ๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
อบาย แปลว่า เสื่อมหรือปราศจากความเจริญ มุข แปลว่า ปากทาง
อบายมุข จึงหมายถึงทางแห่งความเสื่อม มี ๖ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านทำการงาน
อบายมุขทั้งหมดนี้ หากประพฤติแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความฉิบหาย เสื่อมเสียแก่ทรัพย์สิน เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือชีวิตร่างกายได้เหมือนกันทุกข้อ
อบายภูมิ มาจากภาษาบาลีว่า อบาย + ภูมิ
อบายภูมิ แปลว่า ดินแดนที่ปราศจากความเจริญ มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นที่เกิดหรือผลลัพธ์ของผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขในสมัยที่เป็นมนุษย์ ผลของอบายมุขจะหนุนนำให้ไปเกิดในอบายภูมิหลังจากตายแล้ว
อบายภูมิ มี ๔ แห่ง ตามระดับบาปกรรมของคน คือ
นรก เป๋นภพภูมิของผู้ทำกรรมหนักมาก กำลังเสวยกรรม
เปรต เป็นภูมิที่มีแต่ความหิวกระหาย ห่างไกลจากความสุข แต่ทุกข์น้อยกว่าสัตว์นรก
อสุรกาย เป็นภูมิของผู้ที่มีร่างกายพิกลพิการ น่าเกลียด เช่น ตัวเป็นหมู หัวเป็นสุนัข
ดิรัจฉาน เป็นภูมิที่เสวยผลบาปน้อยกว่าการเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย
อบายมุขเป็นปากทางแห่งความเสื่อม เป็นปากทางไปสู่อบายภูมิ คือภพภูมิที่ปราศจากความสุข ความเจริญ
Cr. ธรรมรักษ์ ป.ธ. ๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๑๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
อบายมุข และ อบายภูมิ
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
06:26
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: