ศรัทธาในพระพุทธศาสนามีผลอย่างไรต่อผู้ศรัทธา ?
คำถาม : ศรัทธาในพระพุทธศาสนามีผลอย่างไรต่อผู้ศรัทธา
?
หลวงพ่อทัตตชีโว : คำว่า “ศรัทธา” ในภาษาไทยมาจากคำว่า ศรทฺธา ในภาษาสันสกฤต และคำว่า สทฺธา ในภาษาบาลีหมายถึง ความเชื่อ เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล คำว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อโดยปราศจากความสงสัยในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความเชื่อที่ปราศจากความสงสัยนั้น หมายถึงว่าหมดสงสัยแล้วจึงได้เชื่อ การที่ผู้ใดจะหมดสงสัยได้ ก็แสดงว่าเขาผู้นั้นได้ศึกษาค้นคว้าเจาะลึกจนเข้าใจเหตุเข้าใจผล ไม่ใช่เป็นความเชื่อชนิดที่บอกอะไรต่อ ๆ กัน แล้วก็เชื่อตาม ๆ กันมา
ผู้มีความศรัทธา ความเชื่อ ที่หมดสงสัยในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แสดงว่าผู้นั้นมีความเข้าใจชัดเจน ได้ศึกษาเรื่องราวขั้นตอนในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว
ซึ่งเรื่องนี้ถามว่าเกิดขึ้นง่ายหรือไม่ ก็คงไม่ง่ายนัก เพราะนอกจากจะศึกษาพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย ประวัติในพระชาติก่อน ๆ ที่สร้างบารมีมาทั้ง ๓๐ ทัศแล้ว จะต้องได้ศึกษาเรื่องสมาธิและฝึกสมาธิมาจนมีประสบการณ์ภายในแล้วในระดับหนึ่ง จึงจะหมดความสงสัย ถ้ายังไม่เคยฝึกสมาธิก็ยากที่จะเข้าใจขั้นตอนการตรัสรู้ หรือแม้เคยฝึกมาบ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงกับมีประสบการณ์ภายใน ยังไม่เคยเจอความสว่างภายใน ยังไม่เข้าถึงปฐมมรรค ยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย ถ้าเช่นนั้นความเข้าใจชัดเจนเรื่องการตรัสรู้ก็คงจะยาก
ด้วยเหตุนี้คำว่าศรัทธาซึ่งเป็นธรรมะเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานที่จะไปสู่การบรรลุธรรม จึงเป็นเรื่องที่ดูเบาไม่ได้ เพราะผู้ที่จะมีศรัทธานั้น จะต้องศึกษาและเข้าใจพุทธประวัติอย่างลึกซึ้งมาก่อน และต้องเคยนั่งสมาธิมามากพอสมควรทีเดียว จนกระทั่งใจสงบหยุดนิ่งได้ในระดับหนึ่ง จึงจะเข้าใจเส้นทางการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในระดับหนึ่ง ถ้าหากเพียงแต่อ่านพุทธประวัติพอผ่าน ๆ นั่งสมาธิเอาแค่เพียงความผ่อนคลายสบายกายสบายใจไม่ได้ต่อเนื่องจริงจัง บุคคลเหล่านี้ก็ยากที่จะมีศรัทธาจริงในพระพุทธศาสนา
ผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้วจึงจะบังเกิดความทุ่มเทที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความทุ่มเทที่จะรักษาพระพุทธศาสนาให้ปราศจากเภทภัยใด ๆ มาพ้องพาน เกิดความทุ่มเทที่จะดูแลรักษาศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้พุทธบริษัทเข้าไปประพฤติปฏิบัติธรรม
ดังเราชาวพุทธได้เห็นความทุ่มเทเป็นแบบอย่างมาจากรุ่นปู่ย่าตาทวด ที่ท่านทุ่มเทรักษาพระพุทธรูปประจำวัดซึ่งเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในย่านนั้น ๆ กันมา แม้แต่โต๊ะหมู่บูชา หิ้งพระประจำบ้าน ก็หมั่นบำรุงรักษาความสะอาด จัดดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระให้สดใหม่อยู่เป็นประจำไม่เคยขาด
วันนี้ เวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่ เป็นโอกาสที่จะได้เพิ่มพูนศรัทธาให้เต็มที่ ก็ขอให้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ และควรทำกันตลอดชีวิตเลยทีเดียว ยิ่งศึกษาและปฏิบัติธรรมมากขึ้น นอกจากจะเพิ่มพูนศรัทธาให้ตนเองแล้ว ยังจะได้เพิ่มพลังความสามารถขึ้นมาอีกระดับ คือสามารถอธิบายให้คนอื่นได้รู้ตามบ้าง
การที่จะเข้าใจการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างชัดเจน จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่อง ตั้งใจฝึกใจของเราให้ดี ฝึกนั่งสมาธิให้สม่ำเสมอให้เป็นนิสัย เพื่อการบรรลุธรรม
ดังนั้น ในระหว่างวันหรือวันต่อวัน พยายามรักษาอารมณ์ให้ดี เริ่มที่ตัวเราต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีที่จะไม่ไปทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร ที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ด้วยกันเกิดความหงุดหงิด และระวังใจอย่าให้ไปหงุดหงิดใครได้ง่าย ๆ ต้องพยายามรักษาใจเมื่อผู้ที่อยู่ด้วยกันเขาทำอะไรที่ผิดพลาดไป ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เราหงุดหงิดได้ พยายามตัดอกตัดใจอย่าไปหงุดหงิดใครเขาง่าย ๆ พยายามฝึกตัวของเราให้ดี
เมื่อการกระทบกระทั่งระหว่างกันมีน้อย โอกาสที่ใจเราจะนิ่งอย่างต่อเนื่องในศูนย์กลางกายก็มีมาก เพิ่มโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมให้มากขึ้น แล้วการทำสมาธิจนกระทั่งใจหยุดใจนิ่งจนเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่เราจะกระทำได้ นี้เองจึงจะเป็นผลที่แสดงว่าความศรัทธาในพระพุทธศาสนานำไปสู่การบรรลุธรรมของพุทธศาสนิกชนตามรอยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
หลวงพ่อทัตตชีโว : คำว่า “ศรัทธา” ในภาษาไทยมาจากคำว่า ศรทฺธา ในภาษาสันสกฤต และคำว่า สทฺธา ในภาษาบาลีหมายถึง ความเชื่อ เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล คำว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อโดยปราศจากความสงสัยในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ความเชื่อที่ปราศจากความสงสัยนั้น หมายถึงว่าหมดสงสัยแล้วจึงได้เชื่อ การที่ผู้ใดจะหมดสงสัยได้ ก็แสดงว่าเขาผู้นั้นได้ศึกษาค้นคว้าเจาะลึกจนเข้าใจเหตุเข้าใจผล ไม่ใช่เป็นความเชื่อชนิดที่บอกอะไรต่อ ๆ กัน แล้วก็เชื่อตาม ๆ กันมา
ผู้มีความศรัทธา ความเชื่อ ที่หมดสงสัยในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แสดงว่าผู้นั้นมีความเข้าใจชัดเจน ได้ศึกษาเรื่องราวขั้นตอนในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว
ซึ่งเรื่องนี้ถามว่าเกิดขึ้นง่ายหรือไม่ ก็คงไม่ง่ายนัก เพราะนอกจากจะศึกษาพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย ประวัติในพระชาติก่อน ๆ ที่สร้างบารมีมาทั้ง ๓๐ ทัศแล้ว จะต้องได้ศึกษาเรื่องสมาธิและฝึกสมาธิมาจนมีประสบการณ์ภายในแล้วในระดับหนึ่ง จึงจะหมดความสงสัย ถ้ายังไม่เคยฝึกสมาธิก็ยากที่จะเข้าใจขั้นตอนการตรัสรู้ หรือแม้เคยฝึกมาบ้างแล้วแต่ยังไม่ถึงกับมีประสบการณ์ภายใน ยังไม่เคยเจอความสว่างภายใน ยังไม่เข้าถึงปฐมมรรค ยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย ถ้าเช่นนั้นความเข้าใจชัดเจนเรื่องการตรัสรู้ก็คงจะยาก
ด้วยเหตุนี้คำว่าศรัทธาซึ่งเป็นธรรมะเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานที่จะไปสู่การบรรลุธรรม จึงเป็นเรื่องที่ดูเบาไม่ได้ เพราะผู้ที่จะมีศรัทธานั้น จะต้องศึกษาและเข้าใจพุทธประวัติอย่างลึกซึ้งมาก่อน และต้องเคยนั่งสมาธิมามากพอสมควรทีเดียว จนกระทั่งใจสงบหยุดนิ่งได้ในระดับหนึ่ง จึงจะเข้าใจเส้นทางการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในระดับหนึ่ง ถ้าหากเพียงแต่อ่านพุทธประวัติพอผ่าน ๆ นั่งสมาธิเอาแค่เพียงความผ่อนคลายสบายกายสบายใจไม่ได้ต่อเนื่องจริงจัง บุคคลเหล่านี้ก็ยากที่จะมีศรัทธาจริงในพระพุทธศาสนา
ผู้ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้วจึงจะบังเกิดความทุ่มเทที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดความทุ่มเทที่จะรักษาพระพุทธศาสนาให้ปราศจากเภทภัยใด ๆ มาพ้องพาน เกิดความทุ่มเทที่จะดูแลรักษาศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้พุทธบริษัทเข้าไปประพฤติปฏิบัติธรรม
ดังเราชาวพุทธได้เห็นความทุ่มเทเป็นแบบอย่างมาจากรุ่นปู่ย่าตาทวด ที่ท่านทุ่มเทรักษาพระพุทธรูปประจำวัดซึ่งเป็นองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในย่านนั้น ๆ กันมา แม้แต่โต๊ะหมู่บูชา หิ้งพระประจำบ้าน ก็หมั่นบำรุงรักษาความสะอาด จัดดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระให้สดใหม่อยู่เป็นประจำไม่เคยขาด
วันนี้ เวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่ เป็นโอกาสที่จะได้เพิ่มพูนศรัทธาให้เต็มที่ ก็ขอให้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกันให้เต็มที่ และควรทำกันตลอดชีวิตเลยทีเดียว ยิ่งศึกษาและปฏิบัติธรรมมากขึ้น นอกจากจะเพิ่มพูนศรัทธาให้ตนเองแล้ว ยังจะได้เพิ่มพลังความสามารถขึ้นมาอีกระดับ คือสามารถอธิบายให้คนอื่นได้รู้ตามบ้าง
การที่จะเข้าใจการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างชัดเจน จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่อง ตั้งใจฝึกใจของเราให้ดี ฝึกนั่งสมาธิให้สม่ำเสมอให้เป็นนิสัย เพื่อการบรรลุธรรม
ดังนั้น ในระหว่างวันหรือวันต่อวัน พยายามรักษาอารมณ์ให้ดี เริ่มที่ตัวเราต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีที่จะไม่ไปทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร ที่จะทำให้ผู้ที่อยู่ด้วยกันเกิดความหงุดหงิด และระวังใจอย่าให้ไปหงุดหงิดใครได้ง่าย ๆ ต้องพยายามรักษาใจเมื่อผู้ที่อยู่ด้วยกันเขาทำอะไรที่ผิดพลาดไป ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เราหงุดหงิดได้ พยายามตัดอกตัดใจอย่าไปหงุดหงิดใครเขาง่าย ๆ พยายามฝึกตัวของเราให้ดี
เมื่อการกระทบกระทั่งระหว่างกันมีน้อย โอกาสที่ใจเราจะนิ่งอย่างต่อเนื่องในศูนย์กลางกายก็มีมาก เพิ่มโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมให้มากขึ้น แล้วการทำสมาธิจนกระทั่งใจหยุดใจนิ่งจนเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่เราจะกระทำได้ นี้เองจึงจะเป็นผลที่แสดงว่าความศรัทธาในพระพุทธศาสนานำไปสู่การบรรลุธรรมของพุทธศาสนิกชนตามรอยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
Cr. หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๘๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ศรัทธาในพระพุทธศาสนามีผลอย่างไรต่อผู้ศรัทธา ?
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:18
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: