ทำไมต้องบวช ? แม้ไม่บวชก็บรรลุธรรมได้จริงหรือไม่ ?
ทำไมต้องบวช
?
แม้ไม่บวชก็บรรลุธรรมได้จริงหรือไม่
?
✦✦✦✦✦✦✦✦✦
หลายคนไม่เคยคิดจะบวชเลย
เพราะคิดว่า แม้ไม่บวชก็บรรลุธรรมได้
หรือสามารถเป็นคนดี มีความสุขได้
แต่แท้จริงแล้วเป็นการเข้าใจผิดต่อ ๆ
กันมาหรือไม่ ?
✦✦✦✦✦✦✦✦✦
มีบางคนพูดว่า “ไม่ต้องบวช...ก็เป็นคนดีได้” ซึ่งความคิดนี้ก็ถูก แต่ถูกไม่หมด
เพราะการเป็นคนดีนั้นมีหลายระดับ แต่ถ้าให้ดีที่สุด
ก็ต้องหมดกิเลสเข้านิพพาน
ดังนั้น การบวชเป็นพระจึงมีความจำเป็น แม้จะเป็นคนดีอยู่แล้ว
ก็ต้องมาขัดเกลากิเลส เพื่อให้ตัวเองเป็นคนดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เนื่องจากภาวะนักบวชเป็นเพศภาวะที่เอื้อต่อการทำความบริสุทธิ์กาย
วาจา ใจ ให้เกิดขึ้นกับตัวเองมากที่สุด เพราะต้องรักษาศีลมากถึง ๒๒๗ ข้อ
ที่สำคัญเพศภาวะนักบวช มีสภาพที่เหมาะต่อการปฏิบัติธรรม
สามารถทำสมาธิเจริญภาวนา ทำให้มีโอกาสบรรลุธรรมขั้นสูง จนหมดกิเลสเข้าถึงนิพพานได้ง่ายกว่าเพศคฤหัสถ์มากมายนัก
แล้วคนธรรมดา
ๆ ที่ไม่ได้บวชมีสิทธิ์บรรลุอรหัตผลหรือไม่ ?
ตอบว่า "มี" แต่ไม่ง่ายเลย อีกทั้งถ้าบรรลุแล้ว อย่างไรก็ต้องรีบบวชทันที เพราะถ้าไม่บวชก็จะต้องนิพพาน เพราะเพศภาวะคนธรรมดา ๆ ไม่สามารถจะรองรับคุณธรรมและคุณวิเศษของอรหัตผลได้ อุปมาเหมือนกับเอาก้อนหินหนัก ๆ
ไปวางบนฟ่อนหญ้าคาเล็ก ๆ ฟ่อนหญ้าคาเล็ก
ๆ ย่อมจมลงไป เพราะกำลังรองรับไม่พอ
เพศภาวะผู้ครองเรือนก็เช่นกัน เป็นเพศภาวะที่มีกำลังทรามหรืออ่อนกำลัง เป็นเพศที่ไม่สงบ เป็นทางมาแห่งธุลี ดังตัวอย่างที่มีมากมายในสมัยพุทธกาล ที่บรรลุอรหัตผลในเพศคฤหัสถ์แล้ว
ก็ต้องบวชทันที อย่างเช่น ยสกุลบุตร พระนางเขมาเถรี…
การตรัสของพระพุทธองค์ประเด็นนี้ จะเห็นได้ชัดจากบทสนทนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับภัททิยเศรษฐีใน
อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๓ เรื่องภัททชิเถรคาถา ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า…
ภัททชิกุมาร เป็นบุตรของภัททิยเศรษฐีผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ แต่หลังจากภัททชิกุมารฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว
ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ทำให้พระศาสดาตรัสเรียกบิดาของภัททชิกุมารมาหาแล้วตรัสว่า…
“บุตรของท่านประดับตกแต่งแล้ว ฟังธรรมอยู่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ด้วยเหตุนั้น การบวชของภัททชิกุมารนั้น
ในบัดนี้เท่านั้นสมควรแล้ว ถ้าไม่บวชจักต้องปรินิพพาน”
เมื่อเศรษฐีผู้เป็นบิดาฟังดังนั้น ก็รีบกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับว่า “เมื่อบุตรของข้าพระองค์ยังเล็กอยู่เช่นนี้
ยังไม่ควรปรินิพพาน ขอพระองค์จงทรงยังเขาให้บวชเถิด” จากนั้นภัททชิกุมารจึงได้บวช
ถ้าบรรลุธรรมแล้วไม่รีบบวช
จะปรินิพพานภายในกี่วัน ?
ประเด็นนี้ค้นได้จาก คัมภีร์มิลินทปัญหา ในคีหิอรหัตตปัญหาที่ ๓ ที่พระเจ้ามิลินทร์ตรัสถามพระนาคเสนว่า..“พระคุณเจ้านาคเสน พวกท่านกล่าวกันว่าคฤหัสถ์คนใดบรรลุความเป็นพระอรหันต์
คฤหัสถ์ผู้นั้นย่อมมีคติ ๒ เท่านั้น ไม่เป็นอื่น คือ
ต้องบวชหรือไม่ก็ต้องปรินิพพานในวันนั้นนั่นแหละ ไม่ล่วงเลยวันนั้นไปได้”
พระเจ้ามิลินท์ : ถ้าหากว่าในวันนั้นไม่อาจได้อาจารย์หรืออุปัชฌาย์
หรือบาตรและจีวร ท่านผู้เป็นพระอรหันต์จะบวชเอง หรือหากล่วงเลยวันนั้นไป
มีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์รูปใดรูปหนึ่งมาบวชให้จะได้หรือไม่ ? หรือล่วงเลยวันนั้นไปแล้วจึงปรินิพพานได้หรือไม่?
พระนาคเสน : ขอถวายพระพรมหาบพิตร
พระอรหันต์นั้นไม่อาจบวชเองได้ เมื่อบวชเองก็ย่อมถึงความเป็นไถยสังวาส
(เท่ากับปลอมบวช) ทั้งไม่อาจล่วงเลยวันนั้นไปได้
แม้จะมีพระอรหันต์รูปอื่นมาในวันรุ่งขึ้นก็ตาม ท่านก็จะต้องปรินิพพานในวันนั้นนั่นแหละ
พระเจ้ามิลินท์ :
ถ้าอย่างนั้นความเป็นพระอรหันต์ของพระอรหันต์ ก็ย่อมเป็นเหตุคร่าชีวิต คือ
เป็นเหตุให้บุคคลผู้บรรลุต้องสิ้นชีวิต
พระนาคเสน : เพศคฤหัสถ์ไม่สงบ
เป็นเพศที่ทรามกำลัง
คฤหัสถ์ผู้บรรลุความเป็นพระอรหันต์จึงต้องบวชในวันนั้นนั่นเทียว
หรือไม่ก็ต้องปรินิพพาน ขอถวายพระพร หาใช่โทษของความเป็นพระอรหันต์ไม่
ความเป็นเพศทรามกำลังนี้เป็นโทษของเพศคฤหัสถ์
จากหลักฐานข้างต้น
พระนาคเสน ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ท่านได้ตอบไว้ชัดเจนแล้วว่า..ถ้าบรรลุธรรมแล้วไม่บวช จะต้องปรินิพพานภายในวันนั้น
จะเห็นว่าการบวชจึงเป็นเพศภาวะที่ดีที่สุด ที่ง่ายต่อการทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือหากบรรลุอรหัตผลแล้ว การบวช..ก็เป็นเพศภาวะเดียวที่สามารถรองรับอรหัตผลได้
ฉะนั้น
ครั้งหนึ่งในชีวิตของลูกผู้ชาย เราต้องบวชให้ได้อย่างน้อย ๑ พรรษา…
ทำไมต้องบวช ? แม้ไม่บวชก็บรรลุธรรมได้จริงหรือไม่ ?
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:57
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: