ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
----------✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦----------
----------✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦----------
“ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย คำว่า ‘บุญ’ นี้ เป็นชื่อของความสุข” มาจากภาษาบาลีที่ว่า “สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานํ” [องฺ.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/ ๕๙/๙๐] ถือเป็นพระพุทธพจน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏอันยาวไกล เพราะ “บุญ” นี้แหละอยู่เบื้องหลังความสุขความสำเร็จทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี พระราชา มหากษัตริย์ พระเจ้าจักรพรรดิ แม้กระทั่งจะหมดกิเลสตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ก็ล้วนต้องอาศัย “บุญ”
ฉะนั้น เราจึงควรหมั่นตรึกระลึกนึกถึงบุญที่เราได้กระทำผ่านมาแล้ว และตั้งจิตตั้งใจจะกระทำในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุญเนื่องในวันมาฆบูชาที่ผ่านมา ตั้งแต่ดวงตะวันเริ่มทอแสงโผล่พ้นขอบฟ้า จวบกระทั่งอับแสงลาลับไปในยามราตรี เราทั้งหลายก็ได้สั่งสมบุญกันตลอดต่อเนื่องทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นบุญตักบาตรพระภิกษุ-สามเณร ประมาณ ๒,๐๐๐ รูป, บุญจากการกลั่นจิตกลั่นใจเจริญสมาธิภาวนา, บุญร่วมพิธีมอบโล่เกียรติยศโครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ครั้งที่ ๓๗, บุญร่วมพิธีมอบโล่วัชรเกียรติยศโครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก (World-PEC) ครั้งที่ ๑๓, บุญเวียนประทักษิณ จุดโคมมาฆประทีป และฉลองชัยชิตัง เม โดยการสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร จำนวน ๑,๑๑๑,๑๑๑,๑๑๑ จบ เบื้องหน้าพระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ เป็นอาทิ
เหตุการณ์ดี ๆ ที่เป็นกุศลเหล่านี้ เมื่อเราตามระลึกนึกถึงด้วยความปลาบปลื้มปีติ บุญของเราก็จะทบทวีเพิ่มพูนขึ้นตลอดเวลา และเราก็จะได้ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติตามแบบอย่างโบราณบัณฑิตทั้งหลาย ผู้มิเคยหยุดนิ่งในการทำความดีเลย ไม่ว่าสถานการณ์ของโลกและสังคมจะดำเนินไปเช่นใดก็ตาม
อนึ่ง “วันมาฆบูชา (วันพระสงฆ์)” เกิดขึ้นหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมได้ ๙ เดือน ณ วัดเวฬุวัน แคว้นมคธ โดยมีเหตุอันน่าอัศจรรย์ใจเกิดขึ้นอยู่ ๔ ประการด้วยกัน คือ
๑. เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. มีพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายทางวาจา
๓. พระสงฆ์ทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันต์ทรงอภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทุกรูปได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ดังนั้น วันนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” แปลว่า “การประชุมอันประกอบด้วยองค์ ๔”
ในที่สุดนี้ ผู้เขียนขอตั้งจิตอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญทุก ๆ ท่าน ที่มีหัวใจอันหนักแน่นเพื่อจะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ซึ่งแม้สายธารจะเปลี่ยนทิศ สายลมจะแปรผัน แต่กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า มิอาจจะโยกคลอนดวงหทัยที่หนักแน่นมั่นคงในพระพุทธศาสนาของพวกเราไปได้ และขอความเจริญรุ่งเรืองในธรรมจงบังเกิดมีแก่ทุก ๆ ท่าน มา ณ ที่นี้...
Cr. พระมหาศุภณัฐ จนฺทชโย ป.ธ. ๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกชมคลิปทบทวนบุญวันมาฆบูชา วัดพระธรรมกาย ปี.พ.ศ.2562 (ช่อง iDream)
คลิกชมคลิปพิธีถวายโคมมาฆประทีป 2562 (ช่อง iDream)
คลิกชมคลิป boon
news 620220
วัดพระธรรมกาย จัดงานวันมาฆบูชา
คลิกชมคลิปพิธีถวายโคมมาฆประทีป 2562 (ช่อง iDream)
คลิกชมคลิป boon news 620220 วัดพระธรรมกาย จัดงานวันมาฆบูชา
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกดูบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/02/blog-post_76.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- หยัดสู้..เคียงคู่พุทธบุตรภาคใต้
- อนุโมทนาบัตรล้นหลาม เจ้าของวัดล้นลานธรรม
- เจาะใจ.. "ต้า AF3" บวชทำไม ?
- เสียงสวดมนต์จะดังกังวานตลอดไป
- ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
- ปลูกฝังศีลธรรมสู่เยาวชนกับโครงการตอบปัญหาธรรมะ "ทางก้าวหน้า"
- ครั้งแรกของโลกที่เยาวชนเมียนมาเข้าร่วมสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๔)
- ทำไม..อาตมาจึงสนใจการฝึกสมาธิ ?
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๕)
- วิธีแก้แค้นอย่างถูกหลักวิชชา
คลิกอ่านบทความทบทวนบุญ ประจำเดือนของปี ๒๕๖๒
- เดือนมกราคม ความปลื้มที่ได้จากการทอดผ้าป่าต้นสมบัติจักรพรรดิ ๒๐๕ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก
- เดือนกุมภาพันธ์ ฟื้นพุทธประเพณีกับโครงการธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
- เดือนมีนาคม ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
- ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๖ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปี (ฉบับ PDF) ได้ที่นี่
ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
23:22
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: