หยัดสู้..เคียงคู่พุทธบุตรภาคใต้
ขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย |
𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖❧☙𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖𝄖
..นึกแล้วสลดเหลือเกินกับเหตุการณ์ความรุนแรงซ้ำ ๆ ที่ทําให้พุทธบุตรชายแดนภาคใต้มรณภาพไปรูปแล้วรูปเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนขวัญ นำความเสียใจมาสู่ชาวพุทธอย่างมากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก็คือกรณีที่คนร้ายกว่า ๑๐ คน พร้อมอาวุธครบมือก่อเหตุยิง พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี เจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ จังหวัดนราธิวาส มรณภาพพร้อมกับพระลูกวัดรวม ๒ รูป และบาดเจ็บอีก ๒ รูป
จากข้อความในเฟซบุ๊กของ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียนอ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้ง จึงขอนำบางส่วนมาจารึกไว้ในบทความนี้ เพื่อประกาศคุณของพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ พระผู้มีมโนปณิธานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
บทความต่อไปนี้เป็นบทความที่พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ได้เล่าถึงครั้งที่เคยพูดคุยกับพระครูประโชติรัตนานุรักษ์
...ผม (พระครูประโชติรัตนานุรักษ์) เกิดที่นี่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายผมเป็นคนนราธิวาส ผมเรียนที่นี่ รุ่นผมมีชาวพุทธ ๒ คน ทุกคนเป็นเพื่อน เป็นพี่น้องกัน ไม่ว่าจะศาสนาไหน ผมภูมิใจที่สุด ครั้งหนึ่งได้ไปเลี้ยงอาหารรุ่นน้องที่โรงเรียน ไปเยี่ยมครู ไปเยี่ยมผู้อำนวยการ เป็นความสุขที่หาอะไรมาเปรียบไม่ได้ เพราะนี่..คือบ้านเกิดของผม บ้านที่ผมรัก
ชีวิตผมเกิดมาชาติหนึ่งได้สร้างวัดด้วยตนเองถวายเป็นพุทธบูชา ผมมาอยู่ที่นี่ (บ้านโคกโก) ตั้งแต่ยังไม่มีอะไร ผมเริ่มสร้างศาลาหลังแรก คือ ศาลาการเปรียญ (ศาลาโรงธรรม) ใช้ชื่อว่า “ธรรมานุภาพ” แล้วก็สร้างศาลาโรงฉัน ใช้ชื่อว่า “สังฆานุภาพ” สิ่งที่ผมจะสร้างเป็นสิ่งสุดท้าย คือ อุโบสถ เป็น “พุทธานุภาพ” รวมทั้งหมดเข้าด้วยจึงเป็น วัดรัตนานุภาพ
ท่านเล่าให้ฟังว่า ในชีวิตผมไม่อยากได้ยินคําว่า “มีวัดร้าง” ในพื้นที่ที่ผมอยู่ เคยมีช่วงหนึ่ง มีวัดหนึ่งชาวบ้านไม่มีที่พึ่ง อยากทําบุญ อยากฟังธรรม แต่ไม่มีพระ ผมคุยกับชาวบ้านโคกโกว่า วันพระช่วงเช้าจะไปที่วัดนั้นให้ชาวบ้านได้ทำบุญ ผมต้องเดินไปตั้งแต่ช่วงเย็นของอีกวัน ไปถึงก็ดึก ตื่นเช้ามาชาวบ้านทำบุญเสร็จ ก็ต้องรีบเดินทางกลับมาให้ทันเพลที่วัดโคกโก เพราะชาวบ้านรออยู่
ท่านมหาลองนึกภาพดู มีวัดแต่ไม่มีพระอยู่ เจ็บปวดใจนะ คนเฒ่าคนแก่มาวัด เห็นจีวรตากหน้าศาลาก็ยังอุ่นใจ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ทำหน้าที่ นั่นหมายถึงลมหายใจของพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว
ท่านพูดย้ำให้ฟังตลอดว่า พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่รักสูงสุดของผม ลมหายใจที่มีอยู่ ขอถวายเป็นพุทธบูชา และขอทำความดีเพื่อพระพุทธศาสนาจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ…
หลังจากการจากไปของท่านพระครู ทางคณะสงฆ์วัดพระธรรมกายและคณะศิษยานุศิษย์รู้สึกใจหายเป็นอย่างยิ่ง จึงรีบพากันไปร่วมพิธีรดน้ำศพ วางพวงหรีด และสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลถวายท่าน เพราะรู้สึกซาบซึ้งใจในอุดมการณ์การหยัดสู้เพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงของพระครูประโชติรัตนานุรักษ์และพระลูกวัด
ยังมีพุทธบุตรอีกเป็นจำนวนมาก ณ ผืนแผ่นดินเสี่ยงภัยแห่งนี้ ที่หยัดสู้และมีมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่เช่นเดียวกันกับท่านพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายก็ขอถวายกำลังใจและช่วยเหลือพุทธบุตรทั้งหลาย โดยได้ทำมาอย่างตลอดต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนเป็นเวลาถึง ๑๕ ปีแล้ว และในเดือนกุมภาพันธ์นี้ได้ลำเลียงข้าวสารอาหารแห้งใส่รถ ๑๐ ล้อ ไปถวาย และจัดพิธีถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ปีที่ ๑๕ ครั้งที่ ๑๔๑ และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ ๑๒ ครั้งที่ ๑๐๖ ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วัดบุณณาราม (วัดโคกงู) อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส วัดประชุมชลธารา เดินทางไปเป็นประธานสงฆ์...
Cr. กองบรรณาธิการ
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
จากข้อความในเฟซบุ๊กของ พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียนอ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้ง จึงขอนำบางส่วนมาจารึกไว้ในบทความนี้ เพื่อประกาศคุณของพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ พระผู้มีมโนปณิธานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
บทความต่อไปนี้เป็นบทความที่พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ได้เล่าถึงครั้งที่เคยพูดคุยกับพระครูประโชติรัตนานุรักษ์
...ผม (พระครูประโชติรัตนานุรักษ์) เกิดที่นี่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายผมเป็นคนนราธิวาส ผมเรียนที่นี่ รุ่นผมมีชาวพุทธ ๒ คน ทุกคนเป็นเพื่อน เป็นพี่น้องกัน ไม่ว่าจะศาสนาไหน ผมภูมิใจที่สุด ครั้งหนึ่งได้ไปเลี้ยงอาหารรุ่นน้องที่โรงเรียน ไปเยี่ยมครู ไปเยี่ยมผู้อำนวยการ เป็นความสุขที่หาอะไรมาเปรียบไม่ได้ เพราะนี่..คือบ้านเกิดของผม บ้านที่ผมรัก
ชีวิตผมเกิดมาชาติหนึ่งได้สร้างวัดด้วยตนเองถวายเป็นพุทธบูชา ผมมาอยู่ที่นี่ (บ้านโคกโก) ตั้งแต่ยังไม่มีอะไร ผมเริ่มสร้างศาลาหลังแรก คือ ศาลาการเปรียญ (ศาลาโรงธรรม) ใช้ชื่อว่า “ธรรมานุภาพ” แล้วก็สร้างศาลาโรงฉัน ใช้ชื่อว่า “สังฆานุภาพ” สิ่งที่ผมจะสร้างเป็นสิ่งสุดท้าย คือ อุโบสถ เป็น “พุทธานุภาพ” รวมทั้งหมดเข้าด้วยจึงเป็น วัดรัตนานุภาพ
ท่านเล่าให้ฟังว่า ในชีวิตผมไม่อยากได้ยินคําว่า “มีวัดร้าง” ในพื้นที่ที่ผมอยู่ เคยมีช่วงหนึ่ง มีวัดหนึ่งชาวบ้านไม่มีที่พึ่ง อยากทําบุญ อยากฟังธรรม แต่ไม่มีพระ ผมคุยกับชาวบ้านโคกโกว่า วันพระช่วงเช้าจะไปที่วัดนั้นให้ชาวบ้านได้ทำบุญ ผมต้องเดินไปตั้งแต่ช่วงเย็นของอีกวัน ไปถึงก็ดึก ตื่นเช้ามาชาวบ้านทำบุญเสร็จ ก็ต้องรีบเดินทางกลับมาให้ทันเพลที่วัดโคกโก เพราะชาวบ้านรออยู่
ท่านมหาลองนึกภาพดู มีวัดแต่ไม่มีพระอยู่ เจ็บปวดใจนะ คนเฒ่าคนแก่มาวัด เห็นจีวรตากหน้าศาลาก็ยังอุ่นใจ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ทำหน้าที่ นั่นหมายถึงลมหายใจของพระพุทธศาสนาหมดไปแล้ว
ท่านพูดย้ำให้ฟังตลอดว่า พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่รักสูงสุดของผม ลมหายใจที่มีอยู่ ขอถวายเป็นพุทธบูชา และขอทำความดีเพื่อพระพุทธศาสนาจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ…
หลังจากการจากไปของท่านพระครู ทางคณะสงฆ์วัดพระธรรมกายและคณะศิษยานุศิษย์รู้สึกใจหายเป็นอย่างยิ่ง จึงรีบพากันไปร่วมพิธีรดน้ำศพ วางพวงหรีด และสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลถวายท่าน เพราะรู้สึกซาบซึ้งใจในอุดมการณ์การหยัดสู้เพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงของพระครูประโชติรัตนานุรักษ์และพระลูกวัด
ยังมีพุทธบุตรอีกเป็นจำนวนมาก ณ ผืนแผ่นดินเสี่ยงภัยแห่งนี้ ที่หยัดสู้และมีมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่เช่นเดียวกันกับท่านพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายก็ขอถวายกำลังใจและช่วยเหลือพุทธบุตรทั้งหลาย โดยได้ทำมาอย่างตลอดต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนเป็นเวลาถึง ๑๕ ปีแล้ว และในเดือนกุมภาพันธ์นี้ได้ลำเลียงข้าวสารอาหารแห้งใส่รถ ๑๐ ล้อ ไปถวาย และจัดพิธีถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ปีที่ ๑๕ ครั้งที่ ๑๔๑ และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ ๑๒ ครั้งที่ ๑๐๖ ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วัดบุณณาราม (วัดโคกงู) อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส วัดประชุมชลธารา เดินทางไปเป็นประธานสงฆ์...
Cr. กองบรรณาธิการ
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกชมคลิป 620223 พิธีถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ปีที่ 15 ครั้งที่ 141
https://youtu.be/-t7I1oAa1EY
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกดูบทความที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/02/blog-post_39.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- หยัดสู้..เคียงคู่พุทธบุตรภาคใต้
- อนุโมทนาบัตรล้นหลาม เจ้าของวัดล้นลานธรรม
- เจาะใจ.. "ต้า AF3" บวชทำไม ?
- เสียงสวดมนต์จะดังกังวานตลอดไป
- ปลื้มกับความสว่าง ณ กลางใจในวันมาฆบูชา
- ปลูกฝังศีลธรรมสู่เยาวชนกับโครงการตอบปัญหาธรรมะ "ทางก้าวหน้า"
- ครั้งแรกของโลกที่เยาวชนเมียนมาเข้าร่วมสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔๔)
- ทำไม..อาตมาจึงสนใจการฝึกสมาธิ ?
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๑๕)
- วิธีแก้แค้นอย่างถูกหลักวิชชา
คลิกอ่านบทความดับไฟใต้ ประจำเดือนของปี ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- เดือนมกราคม ☛ หยัดสู้คู่ ๔ จังหวัดภาคใต้ ปีที่ ๑๔ กับพิธีถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ครั้งที่ ๑๔๐
- เดือนมีนาคม ☛ หยัดสู้..เคียงคู่พุทธบุตรภาคใต้
- เดือนเมษายน ☛ ขอเป็นคนหนึ่ง...ที่ช่วยต่อลมหายใจให้พระพุทธศาสนาใน ๔ จังหวัดภาคใต้
- ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๖ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปี (ฉบับ PDF) ได้ที่นี่
หยัดสู้..เคียงคู่พุทธบุตรภาคใต้
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
23:12
Rating:
พุทธวีรชน ต้นบุญต้นแบบของพุทธบุตรทั่วโลก
ตอบลบน้อมกราบถวายความอาลัยด้วยความเคารพยิ่งเจ้าค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ
กราบสาธุ
ตอบลบสาธุ
ตอบลบ