ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๓)
ตอนที่ ๒๓ : ความสัมพันธ์และความสำคัญของศีล
สมาธิ ปัญญา
ใน “มหาปรินิพพานสูตร” พระพุทธองค์ประทาน “ธรรมาทาส” (dhammādāsa) หรือ “แว่นธรรม” กล่าวคือ มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัยและมีศีลอันบริสุทธิ์ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ เพื่อให้พระพุทธสาวกพยากรณ์คติภพเบื้องหน้าของตนเอง ผู้ใดประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นเหตุให้ไม่ตกไปในทุคติภูมิ เป็นพระโสดาบันผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ต่อไปในอนาคต
หากมองโดยผิวเผิน อาจทำให้เราเข้าใจไปว่า “ขอให้มีเพียงศรัทธาและศีลเท่านั้น เราก็จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้” แต่หากเราพิจารณาถึงพระพุทธดำรัสช่วงท้ายที่ว่า “ศีลที่พระอริยะชอบใจ...เป็นไปเพื่อสมาธิ” นั่นหมายความว่า “นอกจากมีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว จะต้องเจริญสมาธิภาวนาด้วย” ซึ่งเมื่อศึกษาใน “มหาปรินิพพานสูตร” ต่อไป เราจะพบถึงความเชื่อมโยงดังต่อไปนี้
“ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” (ที.ม. ๑๐/๑๔๓/๘๙, ๑๐/๑๕๕/๑๐๐, ๑๐/๑๕๙/๑๐๔, ๑๐/๑๖๒/๑๐๘, ๑๐/๑๘๖/๑๓๔, ๑๐/๑๘๘/๑๓๗ แปล. มจร)
พระพุทธดำรัสนี้ พระพุทธองค์ตรัสถึง ๖ ครั้ง ใน ๖ แห่ง คือ อัมพลัฏฐิกาวัน โกฏิคาม นาทิกคาม อัมพปาลีวัน ภัณฑุคาม และอานันทเจดีย์ในโภคนคร โดยตรัสถึงความเชื่อมโยงของศีล สมาธิ ปัญญา กล่าวคือ สมาธิที่มีผลมาก ต้องมีศีลเป็นฐาน และปัญญาที่มีผลมาก ต้องมีสมาธิเป็นฐาน นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิและปัญญาไว้เป็นพิเศษใน “ธรรมบท” ที่ว่า “ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแลจึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๗๒/๑๔๙) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์และเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของสมาธิและปัญญา ว่าเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกันและไม่สามารถทิ้งขาดจากกันได้นั่นเอง
ดังนั้น เมื่อเราศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นแหล่งบันทึกพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ รวมถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เราจึงต้องค้นคว้าและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
ใน “มหาปรินิพพานสูตร” พระพุทธองค์ประทาน “ธรรมาทาส” (dhammādāsa) หรือ “แว่นธรรม” กล่าวคือ มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัยและมีศีลอันบริสุทธิ์ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ เพื่อให้พระพุทธสาวกพยากรณ์คติภพเบื้องหน้าของตนเอง ผู้ใดประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นเหตุให้ไม่ตกไปในทุคติภูมิ เป็นพระโสดาบันผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ต่อไปในอนาคต
หากมองโดยผิวเผิน อาจทำให้เราเข้าใจไปว่า “ขอให้มีเพียงศรัทธาและศีลเท่านั้น เราก็จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้” แต่หากเราพิจารณาถึงพระพุทธดำรัสช่วงท้ายที่ว่า “ศีลที่พระอริยะชอบใจ...เป็นไปเพื่อสมาธิ” นั่นหมายความว่า “นอกจากมีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว จะต้องเจริญสมาธิภาวนาด้วย” ซึ่งเมื่อศึกษาใน “มหาปรินิพพานสูตร” ต่อไป เราจะพบถึงความเชื่อมโยงดังต่อไปนี้
“ศีลมีลักษณะอย่างนี้ สมาธิมีลักษณะอย่างนี้ ปัญญามีลักษณะอย่างนี้ สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบจากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ” (ที.ม. ๑๐/๑๔๓/๘๙, ๑๐/๑๕๕/๑๐๐, ๑๐/๑๕๙/๑๐๔, ๑๐/๑๖๒/๑๐๘, ๑๐/๑๘๖/๑๓๔, ๑๐/๑๘๘/๑๓๗ แปล. มจร)
พระพุทธดำรัสนี้ พระพุทธองค์ตรัสถึง ๖ ครั้ง ใน ๖ แห่ง คือ อัมพลัฏฐิกาวัน โกฏิคาม นาทิกคาม อัมพปาลีวัน ภัณฑุคาม และอานันทเจดีย์ในโภคนคร โดยตรัสถึงความเชื่อมโยงของศีล สมาธิ ปัญญา กล่าวคือ สมาธิที่มีผลมาก ต้องมีศีลเป็นฐาน และปัญญาที่มีผลมาก ต้องมีสมาธิเป็นฐาน นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิและปัญญาไว้เป็นพิเศษใน “ธรรมบท” ที่ว่า “ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ผู้มีทั้งฌานและปัญญานั่นแลจึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๗๒/๑๔๙) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์และเป็นการยืนยันถึงความสำคัญของสมาธิและปัญญา ว่าเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกันและไม่สามารถทิ้งขาดจากกันได้นั่นเอง
ดังนั้น เมื่อเราศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นแหล่งบันทึกพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ รวมถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เราจึงต้องค้นคว้าและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันการเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
ภาพ : พระณัฏฐวัฒน์ ณฏฺฐิโต (พ.เปรม)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/10/his23.html
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/10/his23.html
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1BC5lnmQeJjFaHHcjcichnXh53eOzDXbD/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202562/203%20YNB_6211/YNB%20Nov%20Hi%201162.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
https://drive.google.com/file/d/1BC5lnmQeJjFaHHcjcichnXh53eOzDXbD/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202562/203%20YNB_6211/YNB%20Nov%20Hi%201162.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ความสุขจากสมาธิที่เกิดกับชาวเมืองโคลนากิลตี
- วันคล้ายวันเกิดพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
- ตักบาตรพระ ๑๐,๐๐๐ รูป ณ พระมหาเจดีย์ทัตตชีโว
- ความปลื้มใจที่ได้ไปพุทธอุทยานนานาชาติริมฝั่งโขง
- ลอยกระทงอย่างไร...ให้สิ่งที่อธิษฐานสมปรารถนา ?
- อะไร...คือช่วงชีวิตที่ดีที่สุด ?
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๒)
- ศาสนทายาท ณ แดนอาทิตย์อุทัย
- ผู้ใฝ่รู้และใคร่ในการศึกษา ฝึกฝนอบรมตนเองให้เป็นคนเก่งและดี ควรมีคุณสมบัติและคุณลักษณะอย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๓)
- คุณสมบัติสำคัญของคนเก่ง
คลิกที่รูป หรือ สแกน QR-CODE เพื่ออ่านบทความนี้
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๓)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
00:38
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: