หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๕)
ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ ถือเป็นอีกปีหนึ่งที่มีความสําคัญของศิษยานุศิษย์วัดพระรรมกายทุกคน เพราะเป็นปีที่วัดพระธรรมกายได้รับการสถาปนามาครบ ๕๐ ปี และยังเป็นวาระแห่งการครบ ๑๑๑ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กําเนิดวัดพระธรรมกายด้วย ซึ่งในฉบับที่แล้ว ผู้เขียนก็ได้กล่าวถึงเรื่องราวบางส่วนของชีวประวัติอันทรงคุณค่าของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เกี่ยวกับการสร้างวัดพระธรรมกาย รวมทั้งมโนปณิธานของท่านที่ทําให้การบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายบรรลุความสําเร็จจนกระทั่งมาเป็นวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ศิษยานุศิษย์ทุกคนต่างชาบซึ้งในพระคุณของท่านสืบมา
ดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้เสมอในหลาย ๆ โอกาสว่า เครื่องมือที่สําคัญอย่างหนึ่งที่คุณยายอาจารย์ฯ ท่านนํามาใช้ในการสร้างวัดพระธรรมกายจนสําเร็จสมบูรณ์นั้น นอกจากการมุ่งสืบสานวิชชาธรรมกายที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นผู้ค้นพบแล้ว คุณยายอาจารย์ฯ ท่านยังให้ความสําคัญกับการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่งยวดด้วย เพื่อให้ทีมงานบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกายทุกท่านทุกคนนั้นได้มีความซาบซึ้งและเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่า วิชชาธรรมกายมีความหมายและความสําคัญเพียงใดทั้งต่อตนเองและสังคม ซึ่งในที่สุดแล้วความรู้ความเข้าใจดังกล่าวนี้ก็ได้ถูกส่งทอดมายังเหล่าศิษยานุศิษย์ทุกรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
โลโก้ ๕๐ ปี วัดพระธรรมกาย
ภาพงานเสวนาหลักฐานธรรมกาย โดยพระมหาอภิวรรณ อภิวณฺโณ |
พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ |
คุณวรเมธ มลาศาสตร์ |
ในการจัดงานเสวนาครั้งนี้ มีหัวข้อการเสวนาที่น่าสนใจหลายเรื่องเช่น “คัมภีร์ในกลุ่มคัมภีร์ธัมมกาย กับความสําคัญทางประวัติศาสตร์ : พิธีกรรมและสมาธิ” โดยคุณวรเมธ มลาศาสตร์² นักวิจัยของสถาบันวิจัย นานาชาติธรรมชัย (DIRI) (มหาบัณฑิตจาก Religious Studies with Distinction, University of Otago) ที่จะชี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ (Manuscripts) เก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เราได้เห็นว่า บรรดาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่มีจํานวนมากมายเหล่านั้น ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น บางคัมภีร์อาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจารึกตํานาน บางคัมภีร์ก็เป็นตําราสำหรับเรียนพระปริยัติธรรม หรือบางคัมภีร์อาจมีวัตถุประสงค์ที่จะจารึกขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตําราพระปริตร เป็นต้น ซึ่งเนื้อหา ตัวอักษร ตลอดจนภาษาที่ใช้จารึกรวมทั้งปีที่สร้างนั้น ก็อาจมีความแตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์และกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งข้อสังเกตเหล่านี้ยังครอบคลุมไปถึงคัมภีร์ในกลุ่มคัมภีร์ “ธัมมกาย” ด้วยเช่นกัน ที่สะท้อนคติความเชื่อ พิธีกรรม หลักการทําสมาธิ และแนวปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ทั้งของไทยและในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้ข้อสังเกตหรือคำถามที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ในหัวข้อ การเสวนาเรื่องนี้ก็มีความน่าสนใจในหลาย ๆ ประเด็น เช่น การค้นพบคัมภีร์ในกลุ่มคัมภีร์ธัมมกายบอกอะไรเรา ? คัมภีร์ในกลุ่มคัมภีร์ธัมมกายใช้ทําอะไร ? ทําไมคัมภีร์ในกลุ่มคัมภีร์ธัมมกายถึงไม่เป็นที่รู้จักกันในภาคกลางในยุคปัจจุบัน ? ซึ่งข้อสังเกตเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อสังเกตที่ไม่เพียงแต่สาธุชนที่เป็นลูกหลานของมหาปูชนียาจารย์ในวิชขาธรรมกายเท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่เหล่าพุทธศาสนิกชนที่สนใจใฝ่รู้ทั่วโลกต่างก็พยายามเสาะหาคําตอบเหล่านี้กันทั่วไป
พระวีรชัย เตชงฺกุโร |
หัวข้อการเสวนาเรื่อง “มุมมองของค่าว่า ธรรมกาย ตามรอยร้าวระหว่างยุคพุทธศาสตร์ดั้งเดิม กับพุทธศาสตร์มหายาน” โดยพระวีรชัย เตชงฺกุโร นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) (Doctor Philosophiae at the University of Oslo, Norway) ที่มีประเด็นที่แหลมคมอย่างยิ่งเกี่ยวกับค่าและความหมายของคําว่า “ธรรมกาย” ซึ่งจะให้ค่าตอบที่ชัดเจนแก่เราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างค่าว่า “ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาดั้งเดิมและพุทธศาสนามหายาน เรื่องราวและประเด็นที่เป็นมูลเหตุการเกิด “รอยร้าว” ของยุคสมัยที่เรียกว่ายุคพุทธศาสตร์ดั้งเดิมกับพุทธศาสนามหายาน ฯลฯ ซึ่งคําถาม หรือประเด็นเหล่านี้มิได้เป็นสิ่งที่เราสามารถหาฟังหรือหาชมได้ทั่วไป หากแต่เป็นประเด็นที่มีความเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นประเด็นที่มีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง ซึ่งเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธควรจะมีโอกาสได้บันทึกไว้
ดร.กิจชัย เอื้อเกษม |
ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล |
หัวข้อการเสวนาของนักวิจัยอาวุโสทั้ง ๒ ท่าน คือ ดร.กิจชัย เอื้อเกษม และ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล (บศ.๙) ที่เราจะได้ร่วมรับฟังนั้นจึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง โดยในส่วนของ ดร. กิจชัย เอื้อเกษม (Doctor of Philosophy at the University of Sydney)³ นั้น ท่านจะมาชี้ให้เราเห็นถึง “ที่มาของคาถาธรรมกาย” ว่ามีความเป็นมาอย่างไร สําคัญอย่างไร เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชาวพุทธไทยมาอย่างไร ซึ่งการอธิบายความเกี่ยวข้องกับคาถาธรรมกาย ดังที่กล่าวมานี้ จะมีส่วนช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจของเราอย่างยิ่ง และเพิ่มความมั่นใจของเราอย่างยิ่งในเวลาที่ถูกถามคําถามเกี่ยวกับธรรมกาย หรือถูกขอให้อธิบายถึงประวัติศาสตร์ที่มาของธรรมกาย เพราะส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่าน ๆ มาหลายสิบปีนั้น เรื่องราวของธรรมกายในสังคมไทยนั้น ก็ยังอยู่ในความสนใจของผู้คนอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ความรู้ความเข้าใจที่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องธรรมกาย ความซาบซึ้งและตระหนักรู้ว่าแท้จริงแล้ว "ธรรมกาย” นั้นเป็นสิ่งที่จรรโลงสังคมและพระพุทธศาสนาตลอดมายังมีอยู่น้อยมาก สมควรที่ลูกศิษย์หลานศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ทุกคนจะได้ช่วยกันทําหน้าที่เผยแผ่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางต่อไปให้ได้โดยไม่ท้อถอย ซึ่งการที่จะทําดังนั้นได้ย่อมต้องอาศัยการเติมเต็มความรู้ความเข้าใจที่สําคัญเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ
เช่นเดียวกัน หากทุกท่านได้มาร่วมการเสวนาในหัวข้อ “การศึกษาหสักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณกับความเข้าใจประวัติศาสตร์ของวิชชาธรมกาย” ของ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล (บศ.๙) (Doctor of Philosophy at the University of Sydney)⁴ แล้ว ผู้เขียนก็ยิ่งมีความเชื่อมั่นว่าทุก ๆ ท่านก็ยิ่งมีความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิมอีกมากเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่างานศึกษาวิจัยของทั้ง ดร.กิจชัย เอื้อเกษม และ งานศึกษาวิจัยของ ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล นั้นมีลักษณะที่ช่วยเติมความสมบูรณ์ซึ่งกันและกัน ในขณะที่งานของ ดร. กิจชัยนั้นเป็นงานที่มุ่งสร้างความเข้าใจในเรื่องเนื้อหาของคาถาธรรมกาย งานของท่าน ดร.ชนิดา ก็เป็นงานซึ่งมุ่งขจัดข้อสงสัยในภาพกว้างทั้งหมด รวมตลอดไปถึงการช่วยคลี่คลายปมเงื่อนและอธิบายถึงต้นธารของวิชชาธรรมกายว่าเป็นมาอย่างไร ซึ่งมีความสําคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ถือว่าเหมาะอย่างยิ่งสําหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลไปใช้ในการทําหน้าที่เป็น “ทนายแก้ต่าง” ให้แก่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อันเป็นบุญอสาธารณะอย่างหนึ่ง
การจัดงานสืบค้นหลักฐานธรรมกายของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) เพื่อประกาศพระคุณมหาปูชนียาจารย์ในวาระ ๑๑๑ ปี ครั้งนี้ จึงมิใช่เป็นเพียงงานที่คณะทํางานจัดขึ้น เพื่อบอกเล่าว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปีนั้น สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) มีภารกิจสําคัญอย่างไร รูปแบบใด และจะมุ่งไปที่จุดหมายใดเท่านั้น แต่ยังมุ่งหมายที่จะทําหน้าที่เป็น “หน่วยสรรพาวุธทางปัญญา” เป็นคลังความรู้ที่ไม่หยุดนิ่งของเหล่าลูกศิษย์หลานศิษย์ในวิชชาธรรมกาย ที่จะผลิตองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชชาธรรมกายเพื่อป้อนให้แก่นักรบทุกคน เพื่อไว้ใช้สําหรับแก้ไขความเข้าใจที่ยังไม่สมบูรณ์ของชาวโลก (อันอาจยังมีอยู่) ให้หมดไป และเพื่อเป็นแหล่งรวมหลักฐานที่จะใช้ยืนยันความมีอยู่จริงของวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ที่สุดต่อไป ซึ่งบุคคลที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากหลักฐานธรรมกายเหล่านี้ก็คือเหล่าศิษยานุศิษย์ในยุคปัจจุบัน รวมทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วโลกในอนาคต
ขอเจริญพร
----------------------------------
¹บรรยายวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
²บรรยายวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
³บรรยายวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
⁴บรรยายวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น ณ อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๗ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://dhamma-media.blogspot.com/2020/02/ynb207.html
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/207%20YNB%206303/YNB%20Mar%2063.html#p=34
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๗ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
http://dhammamedia.org/YNB%202563/207%20YNB%206303/YNB%20Mar%2063.html#p=34
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๗ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
- การฝึกสมาธิ ณ ดินแดนแห่งเขาพันลูก
- โครงการผ้าเหลืองห่มดอย ความเรืองรองแห่งพุทธศาสนาบนยอดดอย
- บุญใหญ่ครบ ๕๐ ปีวัดพระธรรมกาย
- พลิกชีวิตเด็กน้อยติดเกม เปลี่ยนจากเด็กที่ Say No มาเป็นสามเณรที่ Say Yes
- ไม่มีอะไรร้าย ในวันที่ใจเรายังดี
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๕)
- ๑๖ ปี แห่งการหยัดสู้
- วันพระมีความเป็นมาและความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพุทธศาสนาอย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๗)
- ความน่ากลัว ๓ อย่าง
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๕)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:08
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: