ผู้เตือน-ผู้ถูกเตือน


โอวเทยฺยานุสาเสยฺย      อสพฺภา จ นิวารเย
สตํ หิ โส ปิโย โหติ      อสตํ โหติ อปฺปิโย

พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด
คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ
(๒๕/๑๖)
การตักเตือนเป็นการยาก

พร้อม ๆ กับการรับคำเตือนก็เป็นการยาก

ผิดทั้งคู่

ผู้เตือนเตือนจนผู้ถูกเตือนกลัว

ผู้ถูกเตือนมีปฏิกิริยาจนผู้เตือนไม่กล้าเตือน

ถูกทั้งคู่

ผู้เตือนเตือนอย่างมีกุศโลบายจนผู้ถูกเตือนยินดีแก้ไข

ผู้ถูกเตือนน้อมรับพร้อมแก้ไข ทำให้ผู้เตือนกล้าเตือนอีกด้วยความชื่นใจ

ผู้เตือนต้องมีเมตตาจิต มีสติ มีปัญญา

มีกุศโลบาย ค่อย ๆ ชักจูง ค่อย ๆ แนะนำ

แม้รู้ทั้งรู้ว่าอาจไม่เป็นที่รักอยู่บ้าง

ก็เห็นแก่ประโยชน์เป็นหลักใหญ่

ผู้ถูกเตือนต้องมีสติมีปัญญารองรับ

มีความรักในการฝึกฝนตนเอง

น้อมรับคำแนะนำพร้อมปรับปรุงแก้ไขตนเองอยู่เสมอ

ทำให้ผู้เตือนปลาบปลื้มใจว่า

สิ่งที่แนะนำไปเกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวง

ถ้าทำอย่างนี้ได้ทั้งผู้เตือนและผู้ถูกเตือน

ก็จะได้ประโยชน์อย่างยิ่งทั้งสองฝ่าย

และก่อเกิดกุศลอย่างยิ่งทั้งสองฝ่ายเช่นกัน

Cr. อิ่มธรรม 
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๗๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐


เพื่อนแท้คือบุญ (ปีก่อนหน้า)








คลิกอ่านส่องธรรมล้ำภาษิตของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เพื่อนแท้คือบุญ (ปีก่อนหน้า)
สิ่งที่ควรรักษาไว้ยิ่งกว่าทรัพย์
คนสะอาด-ไม่สะอาด
เพียรบากบั่นต่อเนื่อง
คำพูดของคนไม่ดี
จิตใจโพธิสัตว์
ผู้เตือน-ผู้ถูกเตือน ผู้เตือน-ผู้ถูกเตือน Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 21:24 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.