ก้าวสู่ปีที่ ๘ แห่งการหยัดสู้ เคียงข้างพุทธบุตร ๒๘๖ วัด ใน ๔ จังหวัดภาคใต้



ปฐมเริ่มพิธีถวายสังฆทานจาก ๒๓๘ วัด
สู่ ๒๘๖ วัด ในปัจจุบัน

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในจังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี จากนั้น เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นจนเป็นเหตุให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอันตรายและมีความยากลำบากในการประกอบกิจของสงฆ์ จนบางวัดต้องประกาศงดออกบิณฑบาต ซึ่งส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก "โครงการช่วยเหลือพุทธบุตร ๒๓๘ วัด ใน ๓ จังหวัดภาคใต้" จึงได้เกิดขึ้นโดยดำริของหลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกายและประธานมูลนิธิธรรมกาย

ปฐมเริ่มพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ ๒๓๘ วัด พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ จัดขึ้นเมื่อ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ วัดทองดีประชาราม จังหวัดนราธิวาส โดยหลวงพ่อธัมมชโยได้มอบหมายให้พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญฺโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พร้อมด้วยคณะพระภิกษุ จากชมรมพระกัลยาณมิตรทั่วประเทศนำปัจจัยไทยธรรมไปมอบแด่คณะสงฆ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมาในการจัดงานครั้งที่ ๕ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ จังหวัดปัตตานี ได้เพิ่มจำนวนวัดที่เข้าร่วมโครงการอีก ๒๘ วัด รวมเป็น ๒๖๖ วัด และเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดพิธีถวายสังฆทาน ณ โรงแรมมารีน่าสายธาร อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส มีวัดเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก ๒๐ วัด รวมเป็น ๒๘๖ วัด ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ก้าวสู่ปีที่ ๘ เคียงข้างพุทธบุตร
๒๘๖ วัด ๔ จังหวัดภาคใต้

ในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ ก็จะก้าวสู่ปีที่ ๘ แห่งการเคียงข้างพุทธบุตร ๒๘๖ วัด ใน ๔ จังหวัด ภาคใต้ จากการเริ่มต้นโครงการในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายได้ส่งมอบความ ช่วยเหลือทั้งปัจจัยไทยธรรม เครื่องอุปโภคบริโภค ทุก ๆ เดือนไม่เคยขาดเลย และจะส่งมอบความช่วยเหลือนี้ไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ

โดยหลวงพ่อธัมมชโยได้กล่าวว่า "ในฐานะที่เป็นชาวพุทธก็จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ในเมื่อพุทธบุตรหยัดสู้อยู่ที่ตรงนั้น เราต้องอยู่เคียงข้างท่าน และแทนที่จะออกจากพื้นที่ ควรที่จะชวนหมู่ญาติที่อยู่นอกพื้นที่ให้กลับเข้าไปอยู่พื้นที่ตรงนั้นถึงจะถูกหลักวิชา เพราะในอดีตพี่น้องผองไทยแม้จะต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรม ก็อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข เพิ่งไม่นานมานี้เองที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ที่ผ่านมาชาวพุทธได้ให้โอกาสเพื่อนต่างศาสนิกที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือความเชื่อใด ๆ ให้ได้รับ ความอุ่นใจและได้รับความสะดวกสบายในการนับถือความเชื่อและศาสนาของตน เพื่อเดินทางไปสู่สันติสุข เพื่อทำความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ตามความเชื่อของตนเอง ชาวพุทธได้ให้โอกาสอย่างนี้มาตลอด ลองศึกษาดูจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้ ชาวไทยพุทธอยู่บนผืนแผ่นดินนี้มานาน เพราะพระพุทธศาสนาเกิดก่อนความเชื่อใด ๆ มานานทีเดียว


"ลำพังเพียงหมู่คณะวัดพระธรรมกายคงทำได้แค่ระดับหนึ่ง เดือนหนึ่งเราทำได้เพียงครั้งเดียว แต่จริง ๆ แล้วอยากทำทุกวัน เพราะทราบดีว่าพุทธบุตรทุกรูปต้องขบฉันทุกวัน แล้วก็มีความจำเป็นหลาย ๆ อย่างในการที่ต้องอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้น ที่เราทำเป็นการทำเพื่อแสวงบุญ ทำด้วยความรักพระพุทธศาสนา และเทิดทูนพุทธบุตรที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน..."

มอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้

ต่อมาเมื่อคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หลวงพ่อธัมมชโยได้มีดำริจัดตั้งกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่คุณครูผู้หยัดสู้รักษาผืนแผ่นดิน โดยจัดให้มีพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี และจัดต่อเนื่องทุกเดือน จนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ ๕๓ (มิ.ย.๕๕)



บรรเทาความเดือดร้อน ๔ จังหวัดภาคใต้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย

นอกจากนี้ วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย พร้อมด้วยองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน นำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากโครงการตักบาตรพระ ๒,๐๐๐,๐๐๐ รูป ๗๗ จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ไปมอบแด่พระสงฆ์ ทหาร ตำรวจ ครู นักเรียน และประชาชน ในพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคใต้ เป็นจำนวน ๓๐๒ คันรถสิบล้อ น้ำหนักสิ่งของ ช่วยเหลือคันละ ๑๒ ตัน คิดเป็นน้ำหนักรวมข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคที่นำไปช่วยภาคใต้ ๓,๖๒๔ ตัน การช่วยเหลือเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ยกเว้นช่วงน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่นำสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ๓๐ จังหวัด จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ ชุด




นอกจากนี้ อาหารตักบาตรบางส่วนจากโครงการตักบาตรพระ ๒,๐๐๐,๐๐๐ รูป ๗๗ จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ยังนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ ทั่วประเทศอีกด้วย

Cr. บทบรรณาธิการ


ไม่มีบทความ
วารสารอยู่ในบุญ  ฉบับที่ ๑๑๗  เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๕๕


ย่างก้าว ย่างแก้ว ..ย่างไกลของอายุพระพุทธศาสนา 





คลิกอ่านบทความพิเศษของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
Change the World in Nepal จุดประกายแสงแห่งธรรมในแดนประสูติ (เนปาล)  (เดือนมกราคม)
บวชเป็นพระแท้ แบบฉบับลูกผู้ชายหัวใจกตัญญู  (เดือนมีนาคม)

ย่างก้าว ย่างแก้ว ..ย่างไกลของอายุพระพุทธศาสนา (เดือนมิถุนายน)
เข้าพรรษา จำพรรษา ณ กลางวงกาย (เดือนกันยายน)
ก้าวสู่ปีที่ ๘ แห่งการหยัดสู้ เคียงข้างพุทธบุตร ๒๘๖ วัด ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ ก้าวสู่ปีที่ ๘ แห่งการหยัดสู้  เคียงข้างพุทธบุตร ๒๘๖ วัด ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 01:01 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.