หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)
ผู้เขียนและคณะ
ได้ค้นคว้าเรียบเรียงเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
แสดงเหตุและปัจจัยในแต่ละช่วงเวลาและสถานที่ว่ามีเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้น
ในลักษณะบทความอย่างย่อให้ได้สาระสำคัญในแต่ละยุคสมัย
นับตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงฉบับที่ท่านทั้งหลายกำลังอ่านอยู่นี้ ทำให้เราได้เห็นภาพและมีความรู้เป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์
และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวพุทธแต่ละยุคสมัย ซึ่งผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบัน DIRI ก็ได้นำความรู้เหล่านั้นมาเป็นฐานข้อมูลหรือข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยคำสอนดั้งเดิม
เพื่อจะไดท้าความจริงให้ปรากฏเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาต่อไป
ในการนำเสนอสาระโดยย่อของประวัติศาสตร์ที่ยาวนานถึง ๒,๖๐๐ ปี อย่างต่อเนื่องหลายฉบับจนถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนขออนุโมทนากับท่านผู้อ่านที่ให้ความสนใจติดตามมาโดยตลอด และฉบับนี้ผู้เขียนก็ขอเสนอบทความต่อจากฉบับที่แล้ว
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจาก ศรีลังกาไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเกิดภัยสงครามจากอินเดียทำให้ชาวสิงหลต้องถอยร่นลงมาทางใต้ และทำได้เพียงการรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงไว้เท่านั้น ความสัมพันธ์กับประเทศชาวพุทธที่สำคัญครั้งหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวไว้ คือ ในช่วง พ.ศ. ๒๐๑๙ คณะพระภิกษุจากพม่าตอนใต้ได้มารับการอุปสมบทที่ลังกา และ นำคัมภีร์ภาษาบาลีที่มีอยู่กลับไป จึงนับว่า ศรีลังกาเป็นต้นทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่เผยแผ่สืบต่อกันมาช้านานในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายศตวรรษ
อย่างไรก็ตาม
ศรีลังกาในยุคล่าอาณานิคมช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ต้องประสบกับภัยเบียดเบียนทางศาสนาจากโปรตุเกสและฮอลันดา
ประกอบกับภัยสงครามภายในและทุพภิกขภัย
ทำให้สถานการณ์ด้านพระพุทธศาสนาทรุดลงอย่างหนัก
จนไม่เหลือพระสงฆ์พอจะทำอุปสมบทกรรมได้ เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๓ สามเณรผู้ใหญ่ชื่อ
สามเณรสรณังกร ได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น
ส่งทูตมานิมนต์พระสงฆ์จากกรุงศรีอยุธยาไปฟื้นฟูสถานการณ์ด้านพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนา พระอุบาลีเถระและพระสมณทูตไทยรวม ๑๐
รูป เดินทางมาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่ชาวลังกา พร้อมกับเชิญคัมภีร์พุทธศาสนาจากกรุงศรีอยุธยามาด้วยจำนวนหนึ่ง
ในการอุปสมบทที่เมืองแคนดี มีกุลบุตรชาวลังกาเข้ารับการอุปสมบทถึง ๓,๐๐๐ คน ซึ่งได้ตั้งเป็นคณะสงฆ์ นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ขึ้น ในช่วงระยะเดียวกันนั้นมีสามเณรลังกาอีกคณะหนึ่ง เดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้ง นิกายอมรปุระ นอกจากนั้นยังมีชาวลังกาอีกคณะหนึ่งเดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญและกลับมาตั้ง นิกายรามัญ ขึ้น ทั้ง ๓ นิกายนี้ยังคงปรากฏสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อศึกษาประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ประเทศไทยจากหลักฐานโบราณคดีต่าง
ๆ ที่จะได้แสดงต่อไป บ่งชี้ว่าสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินแดนในเขตประเทศไทย
เคยนับถือปฏิบัติพระพุทธศาสนามาแล้วหลายนิกาย ดินแดนนี้เป็นเบ้าหลอมและเป็นสถานที่คัดสรรคติความคิดของพระพุทธศาสนานิกายต่าง
ๆ หลายยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน โดยพบว่า
หลักฐานทางโบราณคดีด้านพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุด คือ ศิลาจารึกอักษรปัลลวะ¹ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
บ่งชี้ว่าพระพุทธศาสนาในเวลาดังกล่าวเผยแผ่เข้ามาจากอินเดียโดยตรง ศิลาจารึกอักษรปัลลวะภาษาบาลีแสดงความเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท
ข้อความในจารึกส่วนใหญ่เป็นคาถาที่คัดลอกมาจากพระไตรปิฎก เช่น คาถา เย ธัมมา...
ซึ่งเป็นคาถาที่พระอัสสชิกล่าวแก่อุปติสสปริพาชก
กล่าวโดยย่อถึงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนโปรดอุปติสสปริพาชก ซึ่งต่อมาคือพระสารีบุตรพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระศาสดา
นอกจากคาถา เย ธัมมา... แล้ว ยังพบศิลาจารึกที่มีคาถาบาลีบทอื่น ๆ เช่น
ธัมมจักกัปปวัตนสูตรและปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
สถานที่ที่พบศิลาจารึกเหล่านี้กระจายอยู่แถบภาคกลางของประเทศไทยบริเวณจังหวัดนครปฐม
ราชบุรี เพชรบุรี ลพบุรี ชัยนาท ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
พระพุทธศาสนาเถรวาทที่เผยแผ่มาจากอินเดียโดยตรงนั้น
เป็นที่ยอมรับปฏิบัติกันในขอบเขตจำกัด
ไม่ได้แพร่ไปไกลกว่าบริเวณจังหวัดดังกล่าวในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔
ในการนำเสนอสาระโดยย่อของประวัติศาสตร์ที่ยาวนานถึง ๒,๖๐๐ ปี อย่างต่อเนื่องหลายฉบับจนถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนขออนุโมทนากับท่านผู้อ่านที่ให้ความสนใจติดตามมาโดยตลอด และฉบับนี้ผู้เขียนก็ขอเสนอบทความต่อจากฉบับที่แล้ว
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจาก ศรีลังกาไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเกิดภัยสงครามจากอินเดียทำให้ชาวสิงหลต้องถอยร่นลงมาทางใต้ และทำได้เพียงการรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงไว้เท่านั้น ความสัมพันธ์กับประเทศชาวพุทธที่สำคัญครั้งหนึ่งที่ควรแก่การกล่าวไว้ คือ ในช่วง พ.ศ. ๒๐๑๙ คณะพระภิกษุจากพม่าตอนใต้ได้มารับการอุปสมบทที่ลังกา และ นำคัมภีร์ภาษาบาลีที่มีอยู่กลับไป จึงนับว่า ศรีลังกาเป็นต้นทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่เผยแผ่สืบต่อกันมาช้านานในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายศตวรรษ
ภาพเขียนฝาผนังเรื่องพิธีสถาปนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา ที่มา : http://static.naewna.com/uploads/userfiles/images/F_สถาปนาสยามวงศ์opt.jpg |
ในการอุปสมบทที่เมืองแคนดี มีกุลบุตรชาวลังกาเข้ารับการอุปสมบทถึง ๓,๐๐๐ คน ซึ่งได้ตั้งเป็นคณะสงฆ์ นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ขึ้น ในช่วงระยะเดียวกันนั้นมีสามเณรลังกาอีกคณะหนึ่ง เดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้ง นิกายอมรปุระ นอกจากนั้นยังมีชาวลังกาอีกคณะหนึ่งเดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญและกลับมาตั้ง นิกายรามัญ ขึ้น ทั้ง ๓ นิกายนี้ยังคงปรากฏสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
จารึกพระพิมพ์เมืองศรีเทพ (ด้านหน้า) ดินเผา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ทะเบียนวัตถุ ลบ.๑๐ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ที่มา : http://www.sac..or.th/databases/inscriptions/uploads/ images/20140825111142etSu.jpg |
จารึกพระพิมพ์เมืองศรีเทพ (ด้านหลัง) ดินเผา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ทะเบียนวัตถุ ลบ.๑๐ พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ที่มา http://www.sac.or.th/databases/inscription./uploads/images/201408251111588GhS.jpg |
หากการปฏิบัติธรรมหมายรวมถึงการทำสมาธิภาวนา ศิลาจารึกนี้จะเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่แสดงถึงการทำสมาธิภาวนาแบบพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
จารึกวัดมเหยงค์ อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤตพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ทะเบียนวัตถุ นศ.๑๐ กล่าวถึงการฉลองพระมหาธาตุเจดีย์ การปฏิบัติพระธรรม พบที่วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช ภาพโดย : ชะเอม แก้วคล้าย |
นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา ๓ สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนและคณะผู้บริหารสถาบันวิจัยฯ เดินทางไปประชุมเพื่อปรึกษางานและสรุปความก้าวหน้าในความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้
๑. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และประชุมกับ Prof. Richard Salomon และคณะ
ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๖–๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
|
๒. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และร่วมประชุมกับ Prof. Jens Erland Braarvig
และคณะ ที่มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ เมื่อ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๕๙
|
๓. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และร่วมประชุมกับ Dr.Raffaele Sammarco ที่สถาบันจิตวิทยา และสมาธิ เมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ เมืองเทรวิโซ ประเทศอิตาลี |
๔. แรกลงนาม MOU เมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และร่วมประชุมกับ Prof. Richard Gombrich
ที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เมื่อ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
|
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๖๒ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๑)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:03
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: