วิถีแห่งการบรรลุธรรม
เริ่มต้นด้วยคำว่า "ง่าย"
แล้วหยุดกับนิ่งอย่างสบายๆ..แค่นี้จริง ๆ
ศิลปะการต่อสู้
เคล็ดลับสำคัญของแต่ละสำนักอยู่ที่ท่าไม้ตาย ซึ่งกว่าจะได้ท่าไม้ตายแต่ละท่ามา
นักสู้ทั้งหลายล้วนต้องผ่านการฝึกฝนที่ผาดโผน ทรหด อดทน จนช่ำชอง ต่างจากศิลปะแห่งการบรรลุธรรม
ซึ่งมีเคล็ดลับที่สำคัญคือ ไม่ต้องทำอะไรเลย
แค่นั่งเฉย ๆ ทำใจโล่ง ๆ ว่าง ๆ ที่ศูนย์กลางกาย แค่ว่างได้ นิ่งได้
ก็สามารถกุมชัยชนะแห่งการเข้าถึงความสุขภายในได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งเคล็ดลับหลักวิชชานี้
เป็นสิ่งที่ทำได้อย่างง่าย ๆ และเมื่อหลาย ๆ คนนำไปปฏิบัติ
ก็สามารถที่จะบรรลุสู่จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรมได้จริง ๆ ดังเรื่องราวตัวอย่างของพระภิกษุธรรมทายาทเหล่านี้...
พระธรรมทายาทยงยุทธ
คุณาธาโร
“ตอนอายุ ๒๑ ปี อาตมาเคยบวชแล้ว ๑ ครั้ง
ตอนนั้นสวดมนต์ทำวัตรไม่เคยขาด ออกรับกิจนิมนต์อย่างสม่ำเสมอ
และยังช่วยหลวงพ่อดูแลรักษาวัด อาตมาบวชอยู่เกือบ ๕ พรรษา ก็มีเหตุให้ต้องลาสิกขา
แต่บุญที่จะได้บวชอีกก็ยังพอมี เพราะเมื่อปีที่แล้ว
แม่ชีที่อยู่ข้างบ้านเห็นอะไรในตัวอาตมาสักอย่าง จู่ ๆ ก็มาบอกให้บวช
แล้วยังบอกอีกว่าถ้าไม่บวชต้องตายไม่ดีแน่ ๆ แล้วโยมแม่ก็อยากให้อาตมาบวชแบบไม่ต้องสึกด้วย
ซึ่งโยมป้าก็อาสาจะดูแลโยมแม่ให้ แถมยังบอกอีกว่า ถ้าบวชได้ตลอดก็บวชไปเลย
ป้าไม่ทิ้งแม่หรอก จึงตัดสินใจเข้ามาบวชในโครงการ
“ ตอนแรก ๆ ที่เข้าโครงการ ยอมรับว่าท้อ
เพราะกฎเยอะ ทำอะไรต้องเป๊ะทุกอย่าง แต่พอทำไปเรื่อย ๆ และได้นั่งสมาธิมากขึ้น
ก็เริ่มดีขึ้น แต่ตอนแรกนั่งได้อย่างมาก ๒ นาที ก็เมื่อยแล้ว แต่ก็พยายามนั่ง และเริ่มรู้สึกแปลก
ๆ เพราะมักจะเห็นแสงแว็บ ๆ เหมือนคนส่องไฟฉายเป็นประจำ บางทีก็รู้สึกวูบ ๆ
บางทีก็รู้สึกโล่งมาก โล่งเหมือนไม่มีใครอยู่ด้วยเลย เป็นอย่างนี้มาเรื่อย ๆ
จนกระทั่งวันหนึ่ง รู้สึกว่าตัวเองนั่งดีมาก แล้วก็มีอาการเหมือนตกจากที่สูงเป็นพัก
ๆ พอตกครั้งที่ ๔ ก็เหมือนมีอะไรมาไต่ยิบ ๆ อยู่ตรงช่วงหน้าผาก
พอไต่ลงมาจนถึงเพดานปากก็รู้สึกเย็น ๆ แล้วก็เห็นเป็นเม็ดแสงกลมเล็ก ๆ
ตอนนั้นใจเต้นแรงมาก แต่ก็ทำว่าง ๆ นิ่ง ๆ รู้อีกทีก้อนแสงเล็ก ๆ
ก็หล่นตุ้บลงที่กลางท้องแล้ว ก็มีแสงสว่างวาบขึ้นมาเลย
“ ตอนนั้นในท้องเย็นมาก ตัวก็เบาโล่ง ๆ
ไม่คิดอะไร แล้วก็เห็นอะไรราง ๆ มีรูปร่างคล้ายองค์พระ พอมองเฉย ๆ เหมือนไม่ได้มอง
องค์พระก็ชัดขึ้น สวยงามมาก องค์พระใหญ่แบบพอดี ๆ จนตัวอาตมาเข้าไปสวมอยู่ในตัวท่านได้
ตอนนั้นขนลุกไปหมด ปีติใจมากจนน้ำตาไหล พอเห็นองค์พระแจ่ม ๆ ใจลึก ๆ มันก็พูดกับตัวเองซ้ำ
ๆ ว่า องค์พระมีจริง ๆ เป็นอย่างนี้เองหรือ อาตมามีความสุขมาก
เกิดมาไม่เคยสุขแบบนี้เลย.. ตั้งแต่วันนั้น องค์พระก็อยู่กับอาตมา คลุมตัวไว้ตลอดทุกฝีก้าว
บางทีก็มาแบบราง ๆ บางทีก็เห็นชัดมาก แต่ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะตรึกถึงท่านเสมอ
และจะอธิษฐานกับหลวงปู่ ขอให้ช่วยให้องค์พระอยู่กับอาตมาตลอดไปด้วย”
พระธรรมทายาทเชิงชาย
ถิรวิริโย
“ ก่อนมาบวช อาตมามีอาชีพเป็นช่างรับเหมา
ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานปูน งานโครงเหล็ก อาตมา ทำได้ทุกชนิด ช่วงประมาณปี ๒๕๕๔
อดีตเทพธิดาข้างกายได้เสียชีวิตลง ทำให้รู้สึกแย่มาก จิตใจว้าวุ่น ทำอะไรไม่ถูก อาตมาเลยหันหน้าเข้าวัด
ยึดธรรมะเป็นที่พึ่ง ซึ่งวัดที่อาตมานับถือแบ่งการปฏิบัติออกเป็นสองบัลลังก์
บัลลังก์แรกให้เดินจงกรม บัลลังก์ที่สองให้นั่งสมาธิ รวมแล้วต้องปฏิบัติถึง ๓
ชั่วโมง แต่อาตมาชอบนั่งสมาธิรวดเดียวไปเลยมากกว่า อาตมาปฏิบัติธรรมอย่างนี้อยู่ช่วงหนึ่ง
ก็พอดีโยมพี่ชายมาเล่าเรื่องที่เคยบวชในโครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูป เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ฟังว่า
" ที่วัดพระธรรมกายเขาฝึกพระเหมือนทหารดี ๆ นี่แหละ
มีการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน เป็นระเบียบทุกอย่างเลย” อาตมาฟังแล้วจึงตัดสินใจมาบวช
“ ตอนบวชใหม่
ๆ อาตมาเคยเห็นองค์พระแก้วใสเข้ามาสัมผัสอยู่ในท้องด้วย แต่ตอนนั้นเห็นแว็บเดียว
แค่ชั่วช้างสะบัดหู พอปฏิบัติมาเรื่อย ๆ ก็เริ่มเห็นดวงแก้วเปล่งแสงได้บ้าง
ซึ่งเวลาอาตมาฟังหลวงพ่ออ่านผลการปฏิบัติธรรมของพระธรรมทายาทศูนย์อื่น
ฟังไปก็จะตรองตามว่าแต่ละขั้นแต่ละตอน ท่านทำกันอย่างไร ความเข้าใจมันก็ค่อย ๆ
แตกแขนงออกไป พอมานั่งตามอย่างไปเรื่อย ๆ สมาธิก็ดีขึ้น โดยเวลานั่งอาตมาจะหายใจลึก
ๆ ยาว ๆ ก่อน แล้วก็ใช้จิตสำนึกจับองค์พระประธานที่อยู่บนหิ้งพระ
เอาท่านมาไว้ในจิตเราที่ศูนย์กลางกาย แล้วก็ค่อย ๆ มองไปเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับภาวนา
"สัมมาอะระหัง" ไปด้วย สักพักจะรู้สึกว่าจิตมันว่างมาก
ว่างเหมือนตัวเราไม่มีน้ำหนัก แล้วก็คล้าย ๆ จะตกอะไรสักอย่างที่ลึก ๆ ลงไป
ใจมันก็หวิว ๆ ตอนนั้นไม่เจ็บไม่ปวด เหมือนทุกอย่างมันลอย ๆ นุ่มนิ่ม
“ พอจิตว่างจนรู้สึกว่าว่างดีจริง
ๆ อาตมาก็เห็นว่าองค์พระที่จับเอาไว้ตั้งแต่แรกมีลักษณะผิดไปจากเดิม คือท่านดูใสแบบโปร่งแสง
มีความสว่างนิด ๆ มีเกตุแหลม ๆ อยู่บนเศียรด้วย แล้วท่านก็ใหญ่ขนาดถ้าจับด้วยมือเดียวก็คงจะเต็มฝ่ามือ
พอเอาจิตไปจับท่านไว้นิ่ง ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง จิตมันก็ว่างขึ้นไปอีก
ต่อมาจึงลองค่อย ๆ นึกให้ท่านขยายกว้างออก ท่านก็ขยายได้ ขยายจนกรอบนอกของท่านเข้ามาสวมกายของอาตมาไว้
ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรเลย รู้แต่ว่าตัวเรากำลังนั่งสมาธิ องค์พระก็กำลังนั่งสมาธิ
นิ่งอยู่อย่างเดียว สมองก็ว่างเปล่า จิตใจก็ว่างเปล่า เย็น ๆ อยู่ข้างใน
ใจก็ชุ่มชื่นตลอดเวลา”
ในทุกครั้งที่เราปฏิบัติธรรม เราต้องเริ่มต้นอย่างง่าย
ๆ สบาย ๆ คือ หลับตาเบา ๆ เอาใจวางนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ วางนิ่ง ๆ เบา ๆ
โดยไม่ต้องคิดหรือคาดหวังอะไรทั้งสิ้น เมื่อจิตปราศจากการคาดหวัง
ความสมหวังจึงจะบังเกิด และต้องหมั่นตอกย้ำเสมอว่า ธรรมะเป็นของลึกซึ้ง
แต่ไม่ยากที่เราจะเข้าถึง โดยเราต้องไม่ทำของง่ายให้เป็นของยาก
เพราะถ้าทำอย่างง่าย ๆ จะเข้าถึงธรรมะได้อย่างง่ายดายจริง ๆ
ดั่งประสบการณ์ของพระท่านที่ได้เข้าถึงมาแล้ว ซึ่งถ้าอ่านอีกกี่รอบ ๆ
เราจะรู้สึกได้ทันทีว่า ทำไมมันช่างง่ายอย่างนี้ ดังนั้น มาเริ่มต้นที่คำว่า “ง่าย”
และหมั่นปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องอย่างสบาย ๆ กันดีกว่า
Cr. ธัมม์ วิชชา
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๒๑
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
คลิกอ่านผลการปฏิบัติธรรมของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เมื่อดวงจิตสดใส ชีวิตก็ก้าวไปบนถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ทุกอย่างก้าวของผู้มีใจอยู่ในธรรม คือ ย่างแก้วอันเจิดล้ำของชีวิต
พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการพัฒนาจิตให้ใสสว่าง
สมาธิ (Meditation) สิ่งเติมเต็มความสมบูรณ์แบบแห่งชีวิต
ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
เข้าถึงธรรมะได้อย่างง่ายๆ แค่หยุดใจนิ่ง ๆ เฉย ๆ เท่านั้น
เมื่อนึกถึงองค์พระ และมองในกลางองค์พระ ก็จะเห็นองค์พระ ที่อยู่ในกลางองค์พระ
เข้าถึงธรรมะได้อย่างง่ายๆ แค่หยุดใจนิ่ง ๆ เฉย ๆ เท่านั้น |
เมื่อนึกถึงองค์พระ และมองในกลางองค์พระฯ |
เมื่อดวงจิตสดใส ชีวิตก็ก้าวไปบนถนนที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ทุกอย่างก้าวของผู้มีใจอยู่ในธรรม คือ ย่างแก้วอันเจิดล้ำของชีวิต
พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการพัฒนาจิตให้ใสสว่าง
สมาธิ (Meditation) สิ่งเติมเต็มความสมบูรณ์แบบแห่งชีวิต
ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
เข้าถึงธรรมะได้อย่างง่ายๆ แค่หยุดใจนิ่ง ๆ เฉย ๆ เท่านั้น
เมื่อนึกถึงองค์พระ และมองในกลางองค์พระ ก็จะเห็นองค์พระ ที่อยู่ในกลางองค์พระ
วิถีแห่งการบรรลุธรรม
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:07
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: