หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๐)
การบวชบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ : หนึ่งในการบันทึกประวัติศาสตร์แห่งหลักฐานธรรมกายที่มีชีวิต
ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๒ ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี้ นับเป็นอีกวาระหนึ่งที่เราทุกคนผู้เป็นลูกศิษย์หลานศิษย์ของ
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ต่างมีความปลื้มปีติใจ และอิ่มในบุญใหญ่ที่ผ่านมาทุก ๆ บุญไปพร้อมกัน ตั้งแต่บุญใหญ่ในการร่วมแสดงมุทิตาจิตถวายแด่พระภิกษุ-สามเณรนาคหลวงและพระภิกษุ-สามเณรเปรียญธรรมทั่วประเทศ บุญใหญ่จากการร่วมถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ๓๒๓ วัด ใน ๔ จังหวัดภาคใต้ เป็นปีที่ ๑๕ บุญใหญ่จากการร่วมประดิษฐานเสาสีมาบรมจักรพรรดิรัตนอนันต์ ประจำทิศทั้ง ๔ ในวันธรรมชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุญจากการอุปสมบทรุ่นบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เพราะเป็นการแสดงถึงความรักและความตั้งใจในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายให้คงอยู่ต่อไปให้ยาวนาน อีกทั้งยังเป็นการบูชาธรรมคุณครูไม่ใหญ่ เพราะตรงกับวันอุปสมบทของท่านเมื่อนับตามจันทรคติ คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เท่ากับว่าพวกเราทุกคนยังระลึกถึง มีท่านอยู่ในใจที่ศูนย์กลางกายของพวกเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
เมื่อกล่าวถึง “วันธรรมชัย” อันเป็นวันคล้ายวันบรรพชาอุปสมบทของคุณครูไม่ใหญ่ หรือองค์ผู้สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) นั้น เราผู้เป็นศิษยานุศิษย์ของท่านต่างก็ได้ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นวันที่คุณครูไม่ใหญ่ท่านมีมโนปณิธานอันสำคัญอย่างยิ่งที่จะ “บรรพชาอุปสมบท” เป็นพระภิกษุที่สมบูรณ์ทั้งภายนอกและภายใน คือ ท่านมุ่งหวังที่จะเป็น พระแท้ ที่เข้าถึงความสะอาดบริสุทธิ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระธรรมกายภายในมาตั้งแต่วันแรกจนถึงบัดนี้ นับเป็นเวลาถึง ๕๐ ปีมาแล้ว และแม้ในปัจจุบันนี้พวกเราศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างก็ยังจดจำได้ดีถึงมโนปณิธานดังกล่าวของท่าน และตั้งใจที่จะสืบสานมโนปณิธานนี้ให้ยืนยงต่อไป ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระที่เป็นพระแท้ สามเณรเป็นสามเณรแท้ต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม ในสายตาของท่านเองนั้น กลับเห็นว่าสิ่งที่สามารถใช้วัด “ความเป็นพระแท้” ได้อย่างสมบูรณ์นั้นมิได้มาจากจริยาหรือความประพฤติภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่พระแท้นั้นต้องหมายถึง การที่ผู้บวชจะต้องเข้าถึง “พระธรรมกาย” ที่ดำรงอยู่ภายในตนด้วย ดังที่พระเดชพระคุณท่านได้กล่าวพระธรรมเทศนาไว้ในโอกาสต่าง ๆ หลาย ๆ คราวด้วยกัน ดังนี้
“....สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด ข้อต้นเรากล่าวว่า พุทโธ ถึงพระพุทธเจ้า ข้อที่ ๒ นั้นเป็นศีลไป ข้อที่ ๓ นี้มาเป็นพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นเลื่อมใสอย่างไร พระสงฆ์นี้ท่านประพฤติน่าเลื่อมใส ท่านประพฤติดีเป็นภิกษุ... สามเณรประพฤติดีละก็อาจจะเป็นอายุพระศาสนาได้ดีเหมือนกัน ...ภิกษุสามเณรในบัดนี้ ถ้าประพฤติตัวดีถึงขนาดนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระศาสนา เป็นที่เลื่อมใสของประชุมชนทั้งหลาย ควรถือเอาเป็นตำรับตำรา ถือเอาไว้เป็นเนติแบบแผนทีเดียวอย่างนั้น นี่เป็นความเห็นที่มนุษย์ปุถุชนเห็นกันอย่างนี้ ว่าเลื่อมใสในพระภิกษุสามเณรอย่างนี้ ...เลื่อมใสซึ้งเข้าไปกว่านั้นต้องปฏิบัติเข้าไปถึงจิตใจ เข้าไปถึงธรรมกาย ตั้งแต่พระตถาคตเจ้าเป็นตัวธรรมกาย ศีลที่จะเข้าธรรมกายเพราะอาศัยเดินถูกทางศีล เข้าไปถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ...เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายแล้วจะเห็นชัด...” (อริยธนคาถา ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๗)
หรือในพระธรรมเทศนาเรื่อง “คารวาทิกถา” ที่ท่านแสดงไว้เมื่อ วันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๗ ก็ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระสงฆ์ที่แท้ ที่จะต้องให้ความเคารพในพระสัทธรรม เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองที่ยังต้องทรงเคารพในพระสัทธรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งการที่จะนับว่าพระสงฆ์รูปใดจะมีความเคารพต่อพระสัทธรรมอย่างแท้จริงนั้น พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร ท่านได้ยกเอาพระโอวาทของพระบรมศาสดามากล่าวไว้เลยทีเดียวว่า
“...อุกาส โย ปน ภิกฺขุ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย” ซึ่งผู้เขียนขอยกเฉพาะเนื้อหาที่ท่านขยายความไว้ว่า... “เราขอโอกาส... ภิกษุผู้ศึกษาในพระธรรมวินัยรูปใดประพฤติตามธรรม ปฏิบัติตามธรรมนั้น ...ก็ได้แก่ใจที่หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้วก็ให้เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด ก็ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ ประพฤติตามธรรมไม่ขาดสาย ...นี่เรียกว่าผู้ศึกษาในธรรมวินัยนั้น ...ได้ชื่อว่าสักการะ ได้ชื่อว่าเคารพ ได้ชื่อว่านับถือ ได้ชื่อว่าบูชาอย่างยิ่ง...”
การเป็นสงฆ์ที่แท้หรือ “พระแท้” ในทัศนะของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) นั้น จึงสัมพันธ์กับการเข้าถึงหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งท่านก็เห็นว่า การได้โอกาสในการเป็นสงฆ์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะพระสงฆ์นั้นเท่ากับเป็น “ทายาทที่ทรงไว้ซึ่งมรดกทางธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นอายุและเป็นกำลังของพระพุทธศาสนา ความเป็นพระสงฆ์ที่สะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายในนั้นมีค่าต่อพระพุทธศาสนามาก เพราะไม่เพียงแต่จะสามารถสืบต่ออายุและความยืนยาวให้แก่พระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไปได้เท่านั้น หากแต่ยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน (อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ) และเป็นบุญเขตอันเยี่ยม (ปญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร) ของมหาชน ซึ่งหากผู้ใดได้ถวายทานแด่พระสงฆ์ผู้เลิศ (ด้วยการเป็นสงฆ์ที่แท้ถึงภายในแล้ว) (อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ) บุญอันเลิศย่อมจะเจริญขึ้นทุกประการทีเดียว
อาจด้วยเพราะท่านมีมโนปณิธานที่จะดำรงตนให้เป็นพระแท้เช่นนี้มาจนตลอดชีวิตของท่านนั้นเอง จึงทำให้เมื่อจะทำการสิ่งใด ท่านก็จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันทุกครั้ง นับตั้งแต่การตั้งมโนปณิธานในการบรรพชาอุปสมบท การเอาจริงเอาจังในการศึกษาค้นคว้าพระปริยัติธรรม การปฏิบัติธรรม การเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ที่ท่านค้นพบ ฯลฯ โดยเฉพาะในการเผยแผ่วิชชาธรรมกายนั้น พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร ท่านยืนยันอย่างหนักแน่นมาโดยตลอดว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นจริง และควรแก่การเข้ามาพิสูจน์ให้รู้ชัดด้วยตนเองเป็นประการสำคัญ
คุณครูไม่ใหญ่ อันเป็นวันที่ตรงกันในทางจันทรคติด้วย ๓) เป็นการบวชที่ถือว่าได้ร่วมเป็น “ทนายแก้ต่าง” ให้แก่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ด้วยทางหนึ่ง ทั้งนี้เพราะในการบวชครั้งนี้ ผู้บวชจะได้โ อกาสใน การศึกษาและปฏิบัติธรรมตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าร่วมกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้เข้าถึงความหมายอันแท้จริงของการบวชร่วมกัน ๔) เป็นการบวชที่อุบาสก ผู้รักในพระพุทธศาสนาจำนวนถึงกว่า ๕,๐๐๐ คน ได้มาเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อม ๆ กัน ในพระอารามนับร้อยแห่ง ซึ่งย่อมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยยากเช่นกัน เพราะต้องอาศัยความเมตตาของพุทธบริษัท ๔ อาศัยพรหมวิหารธรรมของพระอุปัชฌยาจารย์นับร้อยรูปจากพระอารามทั้งหลาย ซึ่งหากการบรรพชาอุปสมบทของผู้มีบุญทุกท่านเหล่านี้บรรลุผลตามเป้าหมาย คือ การเข้าถึงความเป็นพระแท้ เป็นพระสงฆ์ที่แท้ทั้งภายนอกและภายในแล้ว ก็ย่อมจะช่วยทำให้บรรยากาศของสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นการ “บันทึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของหลักฐานธรรมกายที่มีชีวิต” ให้เกิดขึ้นจริงในยุคของเราอีกด้วย ซึ่งเป็นกรณียกิจที่ควรสนับสนุนและน่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง
ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขออาราธนาบารมีพระนิพพาน บารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตลอดจนบารมีของมหาปูชนียาจารย์วิชชาธรรมกายทุก ๆ ท่านได้โปรดปกป้องคุ้มครองลูกหลานนักสร้างบารมีทุก ๆ ท่าน ให้เป็นผู้มีความกตัญญูอย่างเต็มเปี่ยมในการสร้างบารมี มีดวงปัญญาที่สว่างไสวในการศึกษาและค้นพบความรู้ที่ถูกต้องจริงแท้ของพระพุทธศาสนา จะได้เป็นทนายแก้ต่างพระพุทธศาสนาภ วิชชาธรรมกายตลอดกาลนานเทอญฯ
ขอเจริญพรฯ
เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/08/diri50.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๑ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ความสงบสุข ณ ดินแดนแห่งเวทมนตร์และความลี้ลับ
- ครั้งแรกของโลก กับการอัญเชิญรูปหล่อพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ ณ มหารัตนวิหารคด ชั้น ๒
- ปลื้มในบุญวันสมาธิโลก
- ปลื้มบุญบวชรุ่นบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ๕,๕๕๕ รูป
- ยุวโพธิสัตว์ SMART IDOL
- ๕๐ ปี วันธรรมชัย วันสร้างมหากุศลใหญ่ที่โลกต้องจารึก
- ใจหยุด คือ ที่สุดแห่งบุญ
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๐)
- ่โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นที่ ๑๗
- พระพุทธศาสนาสอนวิธีทำให้ตัวเองมีคุณค่าไว้อย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๑)
- ๓ วิธี หนีทุกข์
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๖ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๗ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๘ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบันที่ ๑๙๙ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๒๐๐ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปี (ฉบับ PDF) ได้ที่นี่
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๐)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
20:47
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: