ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๑)
ตอนที่ ๒๑ : คุณสมบัติของพุทธบริษัทเช่นไรที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนา
เมื่อกุลบุตรกุลธิดาผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา บ้างบวชเข้ามาเป็นพระภิกษุภิกษุณี บ้างแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ต่างตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมตามเพศภาวะของตน จนเป็นเหตุให้พระศาสนาของพระชินสีห์ขจรขจายไปทั่วแผ่นดินอินเดียในยุคนั้น และสามารถสืบทอดมาถึงในปัจจุบันนานนับกว่า ๒,๖๐๐ ปี แต่หากจะถามว่า “คุณสมบัติอันเป็นรูปธรรมของพุทธบริษัท ๔ เช่นไร ที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนา” คำตอบนี้มีปรากฏใน “มหาปรินิพพานสูตร” ที่ว่า
“มารผู้มีบาป เราจะยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา...ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้สาวิกาของเรา...อุบาสกทั้งหลายผู้สาวกของเรา...อุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา ยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้” (ที.ม. ๑๐/๑๖๘/๑๑๓-๑๑๕ แปล มจร.)
จากสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ เราสามารถแบ่งคุณสมบัติของพุทธบริษัทได้ ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับที่ ๑ ระดับแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ พุทธบริษัทพึงศึกษาพระธรรมวินัยของพระศาสดาให้แตกฉาน มีความเฉียบแหลม เป็นผู้ทรงธรรม ระดับที่ ๒ ระดับแห่งการฝึกฝนตนเอง กล่าวคือ เมื่อศึกษาเรียนรู้ภาคปริยัติแล้ว พึงลงมือประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นพยานในการตรัสรู้ตามธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอน และจะได้ก้าวเข้าสู่ในระดับต่อไป คือ ระดับที่ ๓ ระดับแห่งการเผยแผ่ธรรม กล่าวคือ การนำสิ่งที่ได้ศึกษาทั้งภาคปริยัติและสิ่งที่ลงมือปฏิบัติ นำมาจำแนกและแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ให้งดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย เพื่อเป็นอุปการะแก่อนุชนผู้ใคร่ในการศึกษาที่จะตามมา อีกทั้งยังสามารถปราบมิจฉาทิฐิทั้งหลายให้เรียบร้อยโดยชอบธรรม
ดังจะเห็นได้ว่า คุณสมบัติที่พระพุทธองค์ได้ตรัสมาทั้งหมดนี้ นับเป็นสิ่งที่พระศาสดาทรงปรารถนาให้บังเกิดมีแก่พุทธบริษัทผู้เป็นเสาหลักของพระศาสนา จึงควรที่เราจะต้องตั้งใจศึกษาและประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง แก่ผู้อื่น และแก่พระศาสนาสืบต่อไป
“มหาปรินิพพานสูตร” นี้เป็นเสมือน “มรดกธรรม” ที่พระศาสดาทรงมอบไว้แก่พุทธบริษัท เพราะได้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงดับขันธปรินิพพาน รวมถึงระบบในการจัดการ ระเบียบข้อปฏิบัติทั้งหลายที่สำคัญ ๆ ต่างก็ปรากฏอยู่ในพระสูตรนี้ ซึ่งเราจะศึกษาไปด้วยกันในลำดับต่อ ๆ ไป
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
ภาพ : พระณัฏฐวัฒน์ ณฏฺฐิโต (พ.เปรม)
ภาพ : พระณัฏฐวัฒน์ ณฏฺฐิโต (พ.เปรม)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๑ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/08/his21.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๑ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ความสงบสุข ณ ดินแดนแห่งเวทมนตร์และความลี้ลับ
- ครั้งแรกของโลก กับการอัญเชิญรูปหล่อพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เวียนประทักษิณรอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ ณ มหารัตนวิหารคด ชั้น ๒
- ปลื้มในบุญวันสมาธิโลก
- ปลื้มบุญบวชรุ่นบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ๕,๕๕๕ รูป
- ยุวโพธิสัตว์ SMART IDOL
- ๕๐ ปี วันธรรมชัย วันสร้างมหากุศลใหญ่ที่โลกต้องจารึก
- ใจหยุด คือ ที่สุดแห่งบุญ
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๐)
- ่โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ ธรรมทายาทนานาชาติ รุ่นที่ ๑๗
- พระพุทธศาสนาสอนวิธีทำให้ตัวเองมีคุณค่าไว้อย่างไร ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๑)
- ๓ วิธี หนีทุกข์
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือนของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ที่นี่
- ฉบับที่ ๑๙๓ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๔ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๕ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๖ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๗ ประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๑๙๘ ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบันที่ ๑๙๙ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
- ฉบับที่ ๒๐๐ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
คลิกอ่านหรือดาวน์โหลดวารสารอยู่ในบุญประจำเดือนของแต่ละปี (ฉบับ PDF) ได้ที่นี่
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๑)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
20:13
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: