อุโบสถพระไตรปิฎกแห่งแรกของโลก
อุโบสถวัดพระธรรมกายเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ เสร็จสมบูรณ์เมื่อ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ โดยมีวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหารเป็นต้นแบบ ซึ่งการออกแบบยึดหลักความแข็งแรง คงทน เรียบง่าย และสง่างาม โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในสมัยนั้น ทำให้อุโบสถวัดพระธรรมกายได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งอุโบสถหลังนี้รองรับพระภิกษุร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้มากถึง ๑,๕๐๐ รูป
ต่อมา มีพระภิกษุในวัดมากขึ้น เวลามาทำสังฆกรรมจึงทำให้พระภิกษุล้นออกมานอกอุโบสถและพื้นที่โดยรอบ ต้องตากแดดโดนฝน เป็นเหตุให้ทางวัดพระธรรมกายต้องขยายพื้นที่ในการทำสังฆกรรม โดยทำพิธีถอนและฝังลูกนิมิตครั้งใหม่ ในวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
อีกทั้งดำเนินการต่อเติมสร้างครอบอุโบสถใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนหลังคาให้กว้างขึ้น โดยทำการ จำลองรูปทรงหนังสือพระไตรปิฎกขนาดใหญ่ของนิกายเถรวาท จำนวน ๗๐๗ เล่ม มาทำเป็นส่วนหนึ่งของหลังคา ซึ่งจารึกโดยใช้อักษรชนิดต่าง ๆ จำนวน ๖ ชนิด ได้แก่ อักษรไทย อักษรสิงหล อักษรพม่า อักษรขอม อักษรลาว และอักษรโรมัน
ส่วนของหลังคาอุโบสถมีแบบจำลองหนังสือพระไตรปิฏกเล่มเล็กรอบอุโบสถจำนวน ๗๐๕ เล่ม และเล่มใหญ่ที่เป็นหน้าเปิดอยู่ด้านหน้า-หลังอุโบสถ จำนวน ๒ เล่ม รวมแล้วมีทั้งหมด ๗๐๗ เล่ม |
ที่พิเศษไปกว่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันชัดเจนว่า คำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ในพระไตรปิฎกจริง จึงทำการจำลองหนังสือพระไตรปิฎกในลักษณะเปิดเล่มขนาดใหญ่ ๒ เล่ม เฉพาะหน้าที่ปรากฏคำว่า “ธรรมกาย” โดยเล่มแรกอยู่ด้านหน้าอุโบสถ ส่วนเล่มที่สองอยู่ด้านหลังอุโบสถ ซึ่งเล่มหน้าอุโบสถนั้น หน้าเปิดด้านซ้ายมือเป็นพระไตรปิฎกภาษาบาลีจารึกด้วยอักษรไทย ส่วนหน้าขวามือเป็นพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย สำหรับอีกเล่มที่อยู่ด้านหลังอุโบสถนั้น หน้าเปิดด้านซ้ายมือเป็นพระไตรปิฎกภาษาบาลีจารึกด้วยอักษรพม่า ส่วนหน้าขวามือเป็นพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาพม่า
การสร้างอุโบสถรูปทรงเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่พบเห็นได้ตรึกระลึกถึงพระรัตนตรัย คือ
๑. พระพุทธ ซึ่งก็คือ พระปฏิมากรลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการในอุโบสถ
๒. พระธรรม ซึ่งก็คือ พระไตรปิฎกที่บันทึกพระธรรมคำสอน
๓. พระสงฆ์ ซึ่งก็คือ พระภิกษุที่มาร่วมกันทำสังฆกรรม
เรื่อง : ณัชชี่
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๓
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2020/03/chapel0463.html
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
- ความสุขจากสมาธิ ณ ศูนย์โยคะ Ituze
- ความตั้งใจของสามเณรน้อยที่โลกต้องตะลึง !
- หยัดสู้คู่พุทธบุตรภาคใต้ ถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ณ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
- อานิสงส์การสร้างเจดีย์ บุญใหญ่ที่คาดไม่ถึง
- วิธีรับมือโรคระบาดอย่างนักปฏิบัติธรรม
- อุโบสถพระไตรปิฎกแห่งแรกของโลก
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๖)
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลวงพ่อตอบปัญหา
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๘)
- เราจะช่วยให้โลกดีขึ้นอย่างไร ?
อุโบสถพระไตรปิฎกแห่งแรกของโลก
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
23:21
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: