หลวงพ่อตอบปัญหา
ตอบ : คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตสองคำ คือ วัฒน + ธรรม
คำว่า “วัฒน” มาจากศัพท์ “วฑฺฒน” หมายถึง ความเจริญ
คำว่า “ธรรม” หรือ “ธรฺม” ในสันสกฤต หมายถึง ความดี
วัฒนธรรม หมายถึง ความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย
ตามความรู้ในพระพุทธศาสนาเมื่อทำความดี สิ่งที่เป็นผลเกิดขึ้นคือ “บุญ” และเพื่อให้เข้าใจความหมายของคำว่า “บุญ” ให้ตรงกัน หลวงพ่อขอให้คำจำกัดความที่ชัดเจนว่า บุญ คืออะไร
บุญ คือ พลังงานบริสุทธิ์
บุญเป็นพลังงาน ไม่ใช่อย่างอื่น และเป็นพลังงานที่บริสุทธิ์
เกิดขึ้นที่ไหน ? เกิดขึ้นในใจมนุษย์ ไม่ได้เกิดในดิน ในน้ำ ในลม หรือในไฟ จะเป็นที่ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ก็ไม่เกิด แต่บุญเกิดในใจมนุษย์
เกิดเมื่อไร ?
๑) บุญเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อ ตั้งใจละบาป ไม่ว่าจะเป็นบาปทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เมื่อตั้งใจละบาปเมื่อใด บุญก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
๒) บุญเกิดทุกครั้งเมื่อ ตั้งใจทำดี ไม่ว่าจะเป็นทำดีด้วยกาย วาจา หรือใจ บุญก็เกิด
๓) บุญเกิดทุกครั้งเมื่อ ตั้งใจทำใจให้ใส ใจใสขึ้นด้วยการเจริญสมาธิภาวนา บุญก็เกิด
บุญมีไว้เพื่อทำอะไร ?
มีไว้เพื่อหล่อเลี้ยง-คุ้มครอง-รักษาชีวิตเรา เพราะเราต้องใช้บุญอยู่ทุกลมหายใจ ใช้ทั้งโลกนี้โลกหน้า เพราะฉะนั้นเรื่องสำคัญนี้เราต้องเตือนตัวเอง และอย่าใช้บุญเปลือง ให้ถนอม ๆ บุญเอาไว้
เมื่อหลวงพ่อเข้าวัดใหม่ ๆ ได้ฟังคุณยายอาจารย์ฯ ท่านพูด ก็ไม่ค่อยเข้าใจ ท่านบอกอย่างนี้
“ยายเห็นคนบางคนมาวัด เวลาเอาแบงก์ใส่กระเป๋า บางทีก็ไม่พับให้เรียบร้อย ทำยู่ยี่ ๆ ยัดใส่กระเป๋าไป ยายเลยเตือนเขาว่า แบงก์แต่ละใบ ถ้าคุณไม่มีบุญ ไม่ได้มันมาหรอกนะ แค่ทำแบงก์ยู่ยี่ ๆ น่ะ ไม่ค่อยเต็มใจจะเอามันไว้ มันพร้อมจะบินหนีคุณนะ ยิ่งแตกเป็นใบย่อยเร็วเท่าไร ยิ่งบินหนีเร็วเท่านั้น ระวังนะคุณ”
คำคุณยายท่านเตือนอย่างนี้ แต่เมื่อก่อนฟังไม่เข้าใจ เดี๋ยวนี้เข้าใจแล้ว ซึ้งด้วย ถ้าใครยังไม่เข้าใจ วันนี้ก็ไปลองคิดดูนะ
เพราะบุญสำคัญต่อชีวิตของเราอย่างนี้ และเราก็ใช้บุญกันเปลือง ใช้กันอยู่ทุกลมหายใจ ใช้กันข้ามโลก เหตุนี้เอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงทรงให้ “แม่บทวัฒนธรรมโลก” ไว้เป็นหลักการในการกำหนดวิถีความเป็นอยู่และความประพฤติของมนุษย์ โดยทรงให้ไว้ ๓ ประการ คือ
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ไม่ว่าจะบาปเล็ก บาปน้อย ไม่ทำเลย ชื่อว่าบาปใหม่อย่าทำ เพราะบาปเก่าที่มีอยู่ก็หนักพอแรงแล้ว บาปเกิดขึ้นมาเท่าไร ก็แสดงว่าบุญน้อยลงไปเท่านั้น ฉะนั้นอย่าทำบาปใหม่ขึ้นมาอีก
๒. การทำบุญกุศลใหม่ให้เต็มที่ สร้างบุญกุศลใหม่ให้เต็มที่ อย่ากลัวว่าบุญจะมากไป ทำบุญเพียงนิดเพียงหน่อยก็พอ เดี๋ยวก็ไปม่อยกระรอกในภายหน้า มันจะดีไปไม่ตลอดรอดฝั่ง
๓. การหมั่นทำใจให้ผ่องใส ถ้าใจไม่ผ่องใส ยากที่จะไปเห็นเรื่องบาป-บุญให้ชัดเจน ใจใสมาก ๆ ขึ้น เข้าถึงพระธรรมกาย อาศัยตาของพระธรรมกายไปดูบุญดูบาปให้ชัด ๆ ไปดูเรื่องนรกสวรรค์ให้ชัด ๆ เพราะการจะรู้ความจริงในเรื่องกฎแห่งกรรมต้องอาศัยธรรมจักษุไปดู ดูชัดเมื่อใด ก็จะหมดสงสัยเรื่องบุญเรื่องบาป คราวนี้ก็จะไม่กลัวแล้วเรื่องความตาย เพราะเห็นแล้วว่าบุญของเราขนาดนี้ ๆ ตายแล้วจะไปไหน บุญขนาดนี้ห่างพระนิพพานกี่ก้าว ใจจะใฝ่แต่สั่งสมบุญให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นบุญเป็นบารมีของเรา
วัฒนธรรมของโลกที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ล้วนตรงกันหมดทุกถ้อยคำ จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต ความดีนี้จะก่อให้เกิดความเจริญงอกงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นหนทางทั้งหมดแห่งการดำเนินชีวิตที่ดีงามในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของมวลมนุษยชาติ
เรื่อง หลวงพ่อทัตตชีโว
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ๒๕๖๓
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2020/03/lp0463.html
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
- ความสุขจากสมาธิ ณ ศูนย์โยคะ Ituze
- ความตั้งใจของสามเณรน้อยที่โลกต้องตะลึง !
- หยัดสู้คู่พุทธบุตรภาคใต้ ถวายสังฆทาน ๓๒๓ วัด ณ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา
- อานิสงส์การสร้างเจดีย์ บุญใหญ่ที่คาดไม่ถึง
- วิธีรับมือโรคระบาดอย่างนักปฏิบัติธรรม
- อุโบสถพระไตรปิฎกแห่งแรกของโลก
- หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๖)
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- หลวงพ่อตอบปัญหา
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๘)
- เราจะช่วยให้โลกดีขึ้นอย่างไร ?
หลวงพ่อตอบปัญหา
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
19:41
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: