ความตั้งใจของสามเณรน้อยที่โลกต้องตะลึง !


การตัดสินใจบวชของสามเณรรูปนี้ ราวกับว่าเป็นผู้ที่ได้ทำบุญมามากในปางก่อน เพราะการที่เด็กอายุขนาดนี้จะคิดเช่นนี้ได้...มีไม่มาก เราอยากให้คุณอ่าน แล้วคุณจะอึ้ง ทึ่ง ปลื้ม เกิดแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน เพื่อพร้อมจะมอบเส้นทางที่ดีที่สุดให้ลูกหลานอันเป็นที่รักสืบไป...

สามเณรเป็นหนึ่ง ศิลาภัย หรือเรียกสั้น ว่า สามเณรนิว ที่หลายคนรู้จักกันในนามสามเณรผู้ท่องจำและสามารถจดบันทึกธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ครบทุกหมวด เเละยังสอบไล่ได้เปรียญธรรมประโยค - ในขณะที่มีอายุแค่ ๑๓ ปีเท่านั้น ซึ่งก็ต้องขอบอกว่ามีสามเณรไม่กี่รูปที่สามารถทำได้เช่นนี้ !

อะไรเป็นจุดเริ่มต้นของการบวชสามเณร ?
ย้อนไปเมื่อปี .๒๕๕๕ ครับ ตอนนั้นสามเณรยังไม่ได้บวช อายุเเค่ ขวบ วันหนึ่ง ญาติผู้พี่นั่งรถทัวร์กลับมาเยี่ยมบ้านในลักษณะโกนผม ใส่ชุดสีส้ม ทำให้สามเณรไม่เข้าใจว่าพี่เขาไปทำอะไรมา  เห็นบอกแต่ว่าบวชเณรมา ซึ่งพอสามเณรฟังแล้วก็ยังไม่เข้าใจหรอกว่าการบวชเณรคืออะไร แต่ความรู้สึกข้างในบอกว่าอยากไปกับเขามาก จึงขอขึ้นเขารถทัวร์ตามไปด้วยโดยที่ไม่ได้เตรียมอะไรไปเลย เพื่อไปบวชสามเณรภาคฤดูร้อนในวันนั้นเลยครับ จากการตัดสินใจอย่างรวดเร็วขนาดนี้ จึงทำให้โยมพ่อโยมเเม่ไม่ทันตั้งตัว ท่านทั้งสองจึงจัดหาของใช้เท่าที่จำเป็นส่งตามไปในภายหลัง เเละได้บวชเป็นสามเณรจนกระทั่งจบโครงการครับ

หลังจากนั้น พอถึงช่วงปิดเทอมทีไร สามเณรก็จะขอโยมพ่อโยมแม่มาบวชสามเณรภาคฤดูร้อนต่อเนื่องทุกปีตั้งเเต่ชั้นอนุบาล จนจบประถมศึกษาปีที่ รวมแล้วก็บวช ครั้ง ปีครับ ซึ่งทุกครั้งสามเณรก็ไม่อยากจะลาสิกขาเลย มักจะอยู่เป็นคนสุดท้ายของโครงการ เเละเมื่อจำเป็นต้องกลับบ้าน สามเณรก็ยังชอบที่จะให้โยมเเม่โกนผมให้เหมือนกับตอนที่บวชเป็นสามเณรอีกด้วยครับ เมื่อจบ . ก็สมัครเป็นสามเณรประจำวัดพระธรรมกายทันทีครับ

ทำไมถึงอยากบวชเณร ?
สามเณรชอบชีวิตนักบวช เวลาคุณครูให้เขียนว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร สามเณรจะเขียนทุกครั้งว่า อยากเป็นสามเณร  การบวชเป็นสามเณรทำให้ได้เจอเพื่อนใหม่ทุกปี เเละยังได้ฝึกตัวในด้านต่าง ซึ่งโยมพ่อโยมแม่ก็ชอบด้วย เพราะหลังจากบวชจบโครงการแล้วก็เป็นเด็กดีขึ้น จนโยมพ่อโยมแม่ก็เห็นว่าลูกเปลี่ยนเเปลงไป เช่น รู้จักพับผ้าห่ม เก็บที่นอน ซักผ้า ซึ่งนอกจากจะซักผ้าของตัวเองเเล้ว ยังซักชุดขาวให้โยมเเม่ด้วย ทำให้โยมแม่ปลื้มและชมใหญ่เลย รู้สึกรักและภูมิใจในตัวลูกมากขึ้นไปอีก

คิดว่า..ชีวิตนักบวชต่างกับฆราวาสอย่างไร ?
ถ้าเราเป็นฆราวาสใช้ชีวิตทางโลกมักจะต้องเเต่งงาน ต้องทำงาน ต้องดิ้นรน มีเวลานั่งสมาธิปฏิบัติธรรมน้อย เหมือนปลาที่กระโดดดีดตัวขึ้นมาบนพื้นดิน แล้วต้องแถกตัวดิ้นหาน้ำเพื่อความอยู่รอด เเต่ชีวิตนักบวชเหมือนปลาที่อยู่ในน้ำ สามารถว่ายไปได้เรื่อย เป็นอิสระจากการครองเรือน เพื่อเอาเวลามาทำพระนิพพานให้แจ้ง

การบวชเป็นสามเณรประจำที่วัดพระธรรมกายยากไหม ?
ตอนเข้าไปใหม่ ก็เจอความยากลำบากเเตกต่างจากที่เคยอยู่บ้าน เพราะที่บ้านนอนเปิดเเอร์สบาย พอมาอยู่ที่วัดต้องนอนเสื่อพื้นเเข็ง ปวดหลัง เเต่พอเราเห็นรุ่นพี่เขาทำได้ ก็คิดว่าเราต้องทำได้ จนกระทั่งตอนนี้บวชเป็นสามเณรประจำได้ ปีเเล้ว

การมาอยู่ที่นี่พระอาจารย์ท่านฝึกฝนเราให้อยู่ในระเบียบวินัย ได้พัฒนาตนเองต่างจากเด็กคนอื่น ในวัยเดียวกัน เเละยังได้ฝึกความสามัคคีซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องมาอันดับหนึ่งของหมู่กุฏิสามเณร และที่สำคัญต้องเคารพรุ่นพี่ ซึ่งรุ่นพี่ก็ต้องดูเเลรุ่นน้อง

ความตั้งใจส่วนตัวสามเณรอยากจะเป็นนาคหลวงสายเปรียญธรรม ซึ่งถือเป็นเกียรติยศสูงสุดในด้านการศึกษาภาษาบาลี คือ สามารถศึกษาจนสำเร็จเปรียญธรรม ประโยคได้ในขณะยังเป็นสามเณร

ที่สามเณรตั้งใจอย่างนี้เพราะเมื่อเห็นพี่สามเณรสอบได้เปรียญธรรม ประโยคเเล้วได้ไปเป็นพระอาจารย์สอนคนอื่น สามารถไปเผยเเผ่คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นต้นแบบอย่างนี้แล้ว สามเณรอยากทำให้ได้บ้าง ซึ่งรุ่นพี่นาคหลวงต้นเเบบของสามเณรก็คือ พระมหาภาสกร ธมฺมวทญฺญู .. ซึ่งท่านคือเเรงบันดาลใจให้สามเณรขยันและพยายามสอบไม่ให้ตกทุกปี

สิ่งนี้เป็นความใฝ่ฝันของสามเณร เพราะตั้งแต่ครั้งที่ตัดสินใจบวชสามเณรตอน ขวบ ก็ถามโยมเเม่ตลอดว่า   ขวบแล้ว บวชเป็นสามเณรประจำได้หรือยัง  ซึ่งอายุตอนนั้นยังไม่ถึงเกณฑ์ โยมแม่ตอบว่าไม่ได้ และพอสามเณรอายุ ขวบ   ขวบ ก็ถามโยมแม่อีกเรื่อย   เหมือนเร่งวันเร่งคืน เพราะอยากบวชเป็นสามเณรประจำเร็ว จวบจนกระทั่งอายุได้ ๑๒ ปี จบ . แล้ว ก็รีบมาบวชเป็นสามเณรประจำ เเล้วก็เริ่มเรียนบาลีเลย

เรียนหนักไหม ผลเป็นอย่างไร ?
สามเณรเริ่มเรียนบาลีตอนอายุ ๑๓ ขวบ ซึ่งเรียนและสอบได้นักธรรมตรีพร้อมกับสอบผ่านประโยค - ได้ด้วย ส่วนปีนี้อายุ ๑๔ ปี ก็สอบนักธรรมโทเเละสอบบาลีประโยค ควบกันไปด้วย ถ้าสอบได้ก็ถือว่าได้ ประโยค  ตั้งเเต่อายุยังน้อย ซึ่งก็มีไม่กี่คนที่ทำได้ครับ

ปีที่ผ่านมา สามเณรสอบนักธรรมได้คะเเนนเป็นที่หนึ่งบ้าง ที่สองบ้าง เเละได้รับเกียรติบัตรจากพระอาจารย์ในฐานะผู้สามารถท่องจำธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ครบทุกหมวด เเละได้รับเกียรติบัตรผู้สามารถจดบันทึกธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ครบทุกหมวด ในโครงการสามเณรทรงธรรมวิภาค ระดับนักธรรมชั้นตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑

ชอบเรียนบาลีไหม เพราะอะไร ?
ชอบเรียนบาลี เพราะได้เรียนรู้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้รู้เรื่องราวในอดีตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ การเรียนทำให้เรารู้และรักษาคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ด้วย ซึ่งการเรียนครั้งเเรกก็ยาก เหมือนเรียนภาษาอังกฤษใหม่ ที่เราไม่รู้อะไรเลย ต้องเริ่มใหม่จากอักษร A B C… ภาษาบาลีก็เหมือนกัน เราก็ต้องเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ ต้องหัดเเปล

มีอุปสรรคไหม ยากไหม ในการเรียนบาลี ?
พระอาจารย์เคยบอกไว้ว่า ภาษาบาลีเหมือนยานอนหลับ เราเรียนตอนบ่าย เป็นเวลาที่เด็กอนุบาลยังนอนกลางวัน  ซึ่งก็จริง ครับ เพราะตอนบ่ายก็มีง่วงเหมือนกัน เเต่สามเณรก็พยายามจะไม่หลับ เพราะมานึกถึงเวลาสอบบาลีซึ่งไม่เหมือนการสอบทางโลก ไม่มีคะเเนนเก็บสะสม ถ้าสอบตกแล้ว..ตกเลย... และหนึ่งปีมีการสอบเเค่ครั้งเดียว เเพ้ชนะวัดกันเเค่เพียงวันเดียว คือ วันสอบ ถ้าสอบไม่ได้ภายในปีนั้นถือว่าพลาดเลย และนี้คือความยาก ซึ่งความคิดนี้ก็เลยเป็นเเรงผลักดันให้สามเณรพยายามที่จะไม่หลับในช่วงเรียนครับ

มีเทคนิคการเรียนบาลีส่วนตัวอย่างไร ?
สามเณรเป็นคนโชคดีในขั้นหนึ่ง คือ เป็นคนจำเเม่น ความจำดี เเต่พระอาจารย์บอกว่า  การเรียนบาลีนั้น คนเก่งก็ยังเเพ้คนขยัน เพราะคนเก่งมักจะประมาท  พอเห็นว่าตัวเองเเปลได้ก็ไม่ฝึกหัดเเปล ต่างกับคนขยันที่พยายามฝึกฝนแปลจนกลายเป็นคนเก่งในที่สุด

สำหรับสามเณรเองก็ใช้ความโชคดีคือจำแม่นมาช่วย บวกกับความขยัน ถ้าทำ ๒ อย่างพร้อมกันการเรียนบาลีก็ไม่ยากเกินความพยายาม ทุกวันนี้สามเณรจะดูหนังสือทบทวนที่อาจารย์สอนตอนหัวค่ำ จากนั้นก็พักผ่อนสักครึ่งชั่วโมง พอ ๒๒.๐๐ ก็จะตื่นขึ้นมานั่งอ่านบาลี หัดเเปลในกุฏิที่เขาให้จำวัด แต่ก็ต้องระวัง เวลาอ่านต้องกดโคมไฟให้ลงต่ำ  เพื่อไม่ให้เเสงไฟไปเเยงตาคนอื่น

เรียนหนักและต้องขยันขนาดนี้ แบ่งเวลานั่งสมาธิอย่างไร ?
สามเณรชอบนั่งสมาธิมากครับ  ยิ่งมีโครงการนั่งสมาธิให้ได้วันละ ชั่วโมงทุกวันนี้ถือว่าสุดยอดมาก เพราะการนั่งสมาธิจะเข้ามาช่วยเรื่องเรียนโดยตรง ทำให้เวลาอ่านหนังสือใจรวมเป็นหนึ่ง ไม่วอกเเวก และที่สำคัญที่สุด การนั่งสมาธิทำให้สามเณรเห็นแสงสว่างกลางท้อง ซึ่งเห็นแล้วมีความสุข รู้สึกตัวเบา ตัวลอย

ทุกวันนี้ สามเณรจะจัดเวลานั่งสมาธิในตอนเช้า ๐๕.๐๐-๐๕.๓๐ .  และในระหว่างวันก็จะนั่งสะสมชั่วโมงการหยุดนิ่งด้วย  เมื่อถึงตอนเย็นก็จะไปนั่งรวมกันกับหมู่คณะพร้อมกันทั้งวัดที่เทวสภา

การบวชเณรเป็นสิ่งจำเป็นไหม สำหรับเด็กยุคนี้ ?
อยากให้เด็ก ทุกคนลองมาบวชดูก่อน สักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ยังดีครับ แล้วจะรู้ว่าชีวิตนักบวชมันให้คุณค่ากับตัวเองขนาดไหน ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่ใช่วัยที่จะมาบวช ซึ่งแท้จริงแล้ว วัยนี้เป็นวัยที่เหมาะสมในการปลูกฝังสิ่งดี ลงไป เหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ที่ควรจะแต่งแต้มสิ่งดี ลงไป เพราะในยุคนี้เป็นยุคที่กิเลสเยอะ มีโทรศัพท์มือถือไว้ทำนู่นนี่นั่นต่าง เล่นเกมจนไม่ได้กินได้นอน อยู่หน้าจอทั้งวัน ส่งผลให้สมาธิสั้น มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนไม่ดี แต่การมาบวชเณรนอกจากจะทำให้เราได้ฝึกสมาธิแล้ว จะทำให้เราเข้าสังคมเป็น ได้ฝึกระเบียบวินัย เพื่อจะได้เป็นเยาวชนที่ดีของชาติต่อไป...

เรื่อง : นานา
ภาพ : ภาพนิ่ง และครูอ้อย (cute cat) 
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ.​๒๕๖๓










คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2020/03/talk0463.html

***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html

คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
คลิกที่รูป หรือ สแกน QR-CODE เพื่ออ่านบทความนี้
ความตั้งใจของสามเณรน้อยที่โลกต้องตะลึง ! ความตั้งใจของสามเณรน้อยที่โลกต้องตะลึง ! Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 23:07 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ด้วยจิตที่เป็นกุศลของสามเณร ขอให้สามเณรสมหวังดังตั้งความใจครับ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.