หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๖)


คัณฑวยูหสูตรแปล : หลักฐานธรรมกายชิ้นล่าสุดที่โลกควรภาคภูมิใจ
ดังได้ทราบกันอยู่แล้วว่า ในปีนี้ (พุทธศักราช ๒๕๖๓) ถือเป็นปีที่สำคัญอีกปีหนึ่งของเหล่าศิษยานุศิษย์คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ครูผู้สืบสานวิชชาธรรมกาย เพราะปีนี้เป็นวาระครบ ๑๑๑ ปี ของคุณยายอาจารย์ฯ  และยังเป็นวาระครบ ๕๐ ปีของวัดพระธรรมกายไปพร้อมกัน ซึ่งโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยากนี้ ทำให้ตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) พยายามรวบรวมและคัดกรองผลงานคุณภาพชิ้นสำคัญ มาเผยแพร่และแสดงไว้ในนิทรรศการที่อาคาร ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง มาจนถึงเวลานี้

หนึ่งในผลงานที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ได้นำเสนอครั้งนี้ มีอยู่ชิ้นหนึ่งซึ่งต้องถือว่าเป็นชิ้นโบแดงไม่น้อยไปกว่าชิ้นอื่น ก็คือ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์คัณฑวยูหสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่บันทึกความสำคัญของกัลยาณมิตรภายนอกผู้ชักนำชี้บอกหนทางแห่งการบรรลุธรรมกาย และประคับประคองให้ดำเนินอยู่บนเส้นทางการสร้างบารมีให้ได้ตลอดรอดฝั่ง โดยไม่เบี่ยงเบนออกนอกลู่นอกทาง เพื่อให้พบกับกัลยาณมิตรภายใน อันได้แก่พระธรรมกาย

ความมหัศจรรย์ของพระสูตรนี้ (คัณฑวยูหสูตร) คือ เป็นพระสูตรที่แต่งด้วยภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาอินเดียโบราณ ที่ชาวพุทธในประเทศอินเดียโดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศใช้สำหรับบันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนา และคัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์ขนาดใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มของคัมภีร์ “มหาไวปุลยสูตร” (ฉบับดั้งเดิมน่าจะแต่งขึ้นในระหว่างปี .. ๘๐๐-๙๐๐) โดยพระสงฆ์ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ ซึ่งน่าจะเคยศึกษามาจาก นาคารชุนโกณฑะ นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลภาษาจีน¹ ภาษาทิเบต ต้นฉบับภาษาสันสกฤตอักษรรัญชนา (ใช้เขียนแพร่หลายในประเทศเนปาลและทิเบต) นอกจากนี้ยังได้รับการบันทึกไว้ในรูปแบบพิเศษคือบันทึกด้วยภาพแกะสลักนูนต่ำที่บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจัดเป็นคัณฑวยูหสูตรในรูปแบบคัมภีร์ไร้ตัวอักษรแห่งแรกของโลกทีเดียว



คัมภีร์คัณฑวยูหสูตรภาษาสันสกฤตอักษรรัญชนา เขียนด้วยหมึกดำ
(ขอขอบคุณห้องสมุดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ)

เนื้อหาของพระสูตรนั้น เป็นเรื่องราวของบุตรเศรษฐีคนหนึ่งชื่อสุธน ได้ไปฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูติ ในคราวนั้นเขาได้ตั้งความปรารถนาอนุตรสัมมาสัมโพธิ (คือ ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) และได้รับคำแนะนำจากพระโพธิสัตว์มัญชุศรีกุมารภูติให้เดินทางไปแสวงหากัลยาณมิตรจำนวน ๕๓ คน เพื่อถามถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อการบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ในบรรดากัลยาณมิตรเหล่านั้นมีพระโพธิสัตว์ พระภิกษุและภิกษุณี เศรษฐีและคหบดี ๑๑ อุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทาส พระราชาและขุนนาง เทวดา ๑๓ นักบวชนอกศาสนา ปริพาชก ฤาษี พราหมณ์

บุคคลเหล่านี้แตกต่างกันด้วยฐานะทางสังคม อาชีพการงาน เพศภาวะ และภพภูมิ แม้จะมีความแตกต่างกันอย่างยิ่ง แต่ทั้งหมดนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรเหมือนกันทุกคน เพราะทำหน้าที่สำคัญคือชักชวนให้เกิดความคิดที่จะเข้าถึงความรู้ภายใน ให้คำตอบ ชี้แนะ สั่งสอน ประคับประคอง ให้กำลังใจให้สุธนเศรษฐีบุตรดำเนินไปตามทางการปฏิบัติจนในที่สุดได้พบกับกัลยาณมิตรคนสุดท้ายซึ่งเป็นกัลยาณมิตรภายใน ได้แก่ พระธรรมกายภายในที่มีความใส บริสุทธิ์ หมดจด ปราศจากกิเลศ เป็นกายที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ เป็นกายที่ปรากฏขึ้นแล้วสามารถเข้าไปรู้แจ้งเห็นแจ้งสิ่งที่ยังไม่รู้ไม่เห็น เป็นกายที่เห็นแล้วทำให้เข้าถึงบุญ เข้าถึงความบริสุทธิ์ มีกำลังดุจพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ที่มีปณิธานจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากสังสาร และเป็นกายที่เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติสมาธิ เข้าถึงดวงใส เข้าถึงพระพุทธเจ้าภายใน ซึ่งต้องได้กัลยาณมิตรคอยประคับประคอง และเมื่อเข้าถึงกัลยาณมิตรภายในคือพระธรรมกายภายในนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงความบริสุทธิ์หมดจดล้วน สมกับคำว่า กัลยาณมิตร (ภายในคือ ที่สุดของพรหมจรรย์ หรือพระธรรมกายภายใน คือ ทั้งหมดของพรหมจรรย์

จากเนื้อหาโดยย่อที่กล่าวมานี้ คัณฑวยูหสูตรจึงมีความหมายตรงตัวว่า กายที่ประเสริฐที่สุด ในพระสูตรปรากฏคำว่า ธรรมกาย  (สันกฤตธรฺมกาย) อยู่หลายตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีคำที่เป็นไวพจน์ของธรรมกาย เช่น ธรรมสรีระหรือวยูหะ  เช่น

กาโย หิ เต ธรฺมศรีรครฺภะ          จิตฺตํ เต ชฺญานมยํ อสงฺคมฺ
สมนฺต โอภาสปฺรภาสิตา           ตฺวมาโลกุ โลเก ชนยสฺยนนฺตมฺ  (p.302)

กายของท่านเป็นที่อยู่ของธรรมสรีระ (ธรรมกาย) และใจของท่านสำเร็จด้วยปัญญา มีสภาวะปราศจากกิเลส ท่านผู้มีรัศมีสว่างไสวโดยรอบจะเป็นแสงสว่างของชาวโลก


...สรฺวพุทฺธปูรณปฺรณิธานมณฺฑลปริปูรยิตุกามะ สรฺวพุทธรูปกายํ 
ทฺรษฏุกามะ สรฺวพุทฺธธรฺมกายํ ปรินิษฺปาทยิตุกามะกายํ 
สรฺวพุทฺธธรฺมชญานกายํ ปริชฺญาตุกามะ สรฺวโพธิสตฺตวจรฺยามณฺฑลํ ปริโศธยิตุกามะ สรฺว

(เรา) ต้องการจะทำปณิธานมณฑลของพระพุทธเจ้าทั้งปวงให้บริบูรณ์ 
(เรา) ต้องการเห็นรูปกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง 
(เรา) ต้องการเข้าถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง...

สิ่งที่น่าสนใจยิ่งก็คือ ในพระสูตรนี้ได้กล่าวถึงประสบการณ์ภายในที่มีความเหมือนกับประสบการณ์ภายในที่มหาปูชนียาจารย์ได้กล่าวไว้อย่างน่าพิจารณา เป็นต้นว่า

)    เรื่องประสบการณ์ภายใน  “เห็นดวงสว่าง เห็นองค์พระ และในองค์พระมีดวงสว่าง เทียบกับประสบการณ์ของเทพธิดาประศาสนตรุตสาครวตี

“ ดูก่อนกุลบุตร เมื่อใจเราขยายกว้างขวาง ใสบริสุทธิ์ และเกลี้ยงเกลา เราเข้าถึง 'วยูหะ' ที่ทำลายไม่ได้ บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสที่เป็นมลทินของโลก ใจของเราตั้งมั่นไม่ถอนถอยออกจากอารมณ์ของวิโมกข์ที่ใสบริสุทธิ์ มั่นคง นิ่งแน่นเหมือนภูเขาแก้ว อิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกยึดไว้  เราเกิดความรักและความสงสาร (เมตตา กรุณา) อยากจะช่วยเหลือสรรพสัตว์

“เรามีความสุขใจ ยินดี พอใจ ในการมองดูทะเลพระพุทธเจ้าจำนวนมากมาย ไม่มีที่สิ้นสุด ใจของเราใสหมดจด ใจมีกำลัง นิ่งแน่นอยู่กับสติที่มีความสว่างไสวที่เกิดขึ้นจากมหาญาณ เกิดความรู้สึกอยากจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์โศกและความลำบาก... ดูก่อนกุลบุตร เมื่อเราปล่อยใจลงสู่รูปกายที่ใสบริสุทธิ์ อจินไตย ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษของพระผู้มีพระภาคเจ้าไวโรจนะ ปีติใหญ่เกิดขึ้นท่วมท้นใจของเรา

“.... เมื่อเรามองดู ดวงสว่าง แสงสว่างเกิดขึ้น ขยายออกไปถึง 'ธรรมธาตุ' ตลอดต่อเนื่องทุกขณะจิต ...มหาปีติแรงกล้าก็เกิดขึ้นทับทวี

“...ในสมาธิที่มีกำลังเร็วแรง เราเข้าถึงพระพุทธเจ้าที่ปรากฏขึ้นมากมายเหมือนท้องมหาสมุทร...ในพระพุทธเจ้าจำนวนมากมายนั้น เราเข้าถึงแสงสว่าง...ในความสว่างเกิดดวงญาณที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกาลทั้งสามขึ้น

)    ประสบการณ์เกี่ยวกับภารกิจกับจิตใจต้องทำไปควบคู่กัน
เช่น ตอนที่กล่าวว่า นางโคปาเป็นธิดาในศากยวงศ์ มีหญิงบริวาร ๘๔,๐๐๐ คน ทุกคนได้บรรลุธรรมกาย ได้วิโมกข์ มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ  มีปกติเข้าถึงธรรมกายเป็นสมาธิ สุธนถามว่า “เมื่อต้องมีชีวิตอยู่บนโลก จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ธรรมกายมั่นคงและมีความบริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่ง...

นางตอบว่า “เหตุทำให้มีธรรมกายบริสุทธิ์บริบูรณ์ ต้องมีกัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือจำนวนมากเป็นประการสำคัญอันดับแรก...ต้องมีดวงบุญใหญ่ และมีดวงปัญญากว้างขวางติดแน่น เป็นต้น..”

)     การนึกถึงพระพุทธเจ้าให้ได้ตลอดเวลาเป็นการรักษาใจ หรือการคุ้มครองใจ (นอกรอบ) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ได้อยู่ร่วมกับกัลยาณมิตรที่มีธรรมกายที่มีความใสบริสุทธิ์ยิ่ง จะต้องทำ 'จิตนคร' ให้รุ่งเรืองสว่างไสวด้วยการได้โอภาสที่เกิดขึ้นจากการระลึกถึงพระพุทธเจ้าให้ได้ตลอดเวลา” ประโยคนี้สะท้อนให้เห็นถึงคำสอนของมหาปูชนียาจารย์ว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลต่อการเข้าถึงพระธรรมกาย การมีกัลยาณมิตรผู้ประพฤติธรรม เข้าถึงธรรมแวดล้อม ทำให้เราได้เข้าถึงพระธรรมกาย

)     พระธรรมกายภายในเป็นกายที่มีความบริสุทธิ์ และทุกคนจะต้องเข้าถึงให้ได้ 
เราได้บรรลุธรรมกายที่มีความบริสุทธิ์ หาที่สุดไม่ได้... และรูปกายมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง สามารถที่จะปรากฏในโลกอื่นได้ทั้งสิ้น ปรากฏให้รู้ได้ตามอัธยาศัยของชาวโลก เข้าถึงได้ในทุกที่ กว้างขวางไปถึงพุทธเกษตรทั้งสิ้น... เป็นกายที่ชาวโลกทั้งมวลจะพึงเห็นได้

ประโยคนี้แสดงว่า พระโพธิสัตว์สมันตภัทรที่พูดว่า เราคือผู้ที่เป็นธรรมกาย และพูดถึงพระธรรมกายที่มีลักษณะมหาบุรุษ มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์อย่างยิ่ง และเป็นกายที่ชาวโลกผู้ไม่มีที่พึ่งจะต้องเข้าถึงให้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้วย่อมมีพระธรรมกายเป็นที่พึ่ง

เมื่อสุธนทำจิตให้เป็นสมาธินิ่งจนเห็นบุพนิมิตและแสงสว่าง เขาได้เห็นกายพระโพธิสัตว์สมันตภัทรปรากฏชัดเหมือนอยู่ต่อหน้า นั่งบนอาสนะดอกบัวอยู่เบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้าไวโรจนะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าสุธนนั่งสมาธิจึงได้เห็นกายของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้านั่งอยู่ด้วยกัน    กายทั้งสองนี้คือพระธรรมกาย ที่เป็นกายพระพุทธเจ้า เป็นกายที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า

ผู้ที่จะเห็นกายของเรามีเพียงพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในภูมิสูงเท่านั้น” ประโยคนี้แสดงให้เห็นว่ากายนี้มองเห็นได้ด้วยธรรมจักษุซึ่งเป็นจักษุของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ในภูมิสูง ไม่ใช่เห็นด้วยมังสจักษุที่เป็นตาเนื้อ ซึ่งสุธนวางใจที่กายของพระโพธิสัตว์สมันตภัทรเมื่อเห็นกายชัดใสบริสุทธิ์แล้ว ทำให้เขาเห็นทะเลของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมากมาย...”

ประโยคนี้สรุปได้ว่า เมื่อเข้าถึงกายใสบริสุทธิ์ของพระโพธิสัตว์ ก็จะเห็นกายของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นจำนวนมาก

ในตอนท้ายของการแปล ผู้แปล (คืออุบาสิกาประสงค์ สมน้อย) นั้น ได้อธิบายสรุปว่า การเห็นธรรมกายภายในที่บริสุทธิ์แล้ว ทำให้ผู้เข้าถึงเห็นบุญ (กุศลมูล) เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องตรงกันกับคำสอนของมหาปูชนียาจารย์ว่า การได้เห็นพระธรรมกายภายในที่ใสสว่างแม้เพียงเวลาสั้น แค่ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ก็ได้บุญมากกว่าการสร้างโบสถ์สร้างวิหาร  มีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการได้เห็นกัลยาณมิตรทั้ง ๕๓ คน และบุญที่ได้สั่งสมมาในอดีตนับอสงไขยไม่ถ้วน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้แปลได้สรุปไว้อย่างชัดเจนผ่านงานแปลชิ้นนี้ก็คือ พระสูตรนี้เป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนอีกอันหนึ่งว่า เรื่องราวของธรรมกายนั้นเป็นเรื่องราวที่มีอยู่จริง หลักฐานของการกล่าวถึงการเข้าถึงดวงใสก็ดี การเข้าถึงองค์พระธรรมกายก็ดี ตลอดจนวิธีการเข้าถึงพระธรรมกายก็ดี ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มิได้เป็นของใหม่หรือลัทธิใหม่แต่อย่างใดเลย ในทัศนะของผู้แปลแล้ว พบว่าในระหว่างการทำงานแปลงานชิ้นดังกล่าวนี้ ผู้แปลได้ศึกษาและพิจารณาบริบทโดยละเอียดตลอดเวลา ทำให้สัมผัสได้ว่า การเรียบเรียงพระสูตรนี้จากยุคโบราณนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความซาบซึ้ง และสัมผัสกับคุณค่าจากการปฏิบัติอย่างมาก ที่แม้แต่ผู้แปลเองก็สามารถรู้สึกได้ เป็นเสมือนการรับทอดเอามรดกจากชาวพุทธในยุคโบราณมาถึงชาวพุทธในยุคปัจจุบัน

อนึ่ง ในระหว่างการนำเสนอพระสูตรนี้อยู่นั้น มีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งในเวลาใกล้กันคือ ตัวของท่านผู้แปลเองนั้นได้อยู่ในระหว่างการเตรียมสอบบาลีศึกษา ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นการสอบที่ยากที่สุดของวงการศึกษาพระบาลี และถือว่าเป็นการก้าวสู่ระดับสูงสุดแล้วในการศึกษา โดยผู้แปล (อุบาสิกาประสงค์ สมน้อย) นักวิจัยของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ท่านนี้ ก็มีความตั้งใจเตรียมตัวสอบไปพร้อม กับการแปลพระสูตร (คัณฑวยูหสูตร) ซึ่งในที่สุดแล้วผลก็ออกมาว่า เธอสามารถสอบผ่านบาลีศึกษา ได้เป็นผลสำเร็จ และได้เป็นบาลีศึกษา คนที่ ของวัดพระธรรมกาย และเมื่อแปลพระสูตรนี้แล้วเสร็จ จึงเท่ากับว่า เป็นบาลีศึกษา คนแรกของโลกที่แปลพระสูตรนี้จากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาไทยในเชิงวิชาการไปพร้อมกัน ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง พอดีกับในวาระแห่งการบูชาธรรมในโอกาสครบ ๑๑๑ ปี วันคล้ายวันเกิดคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์  ขนนกยูง และในโอกาสที่วัดพระธรรมกายครบ ๕๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ ทางสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) ก็ขอแสดงมุทิตาจิตและมอบผลแห่งความสำเร็จนี้เป็นความสำเร็จของหมู่คณะและถวายเป็นกตัญญูบูชาธรรมแด่มหาปูนียาจารย์ไปในวาระโอกาสเดียวกันนี้ด้วย
ขอเจริญพร
--------------------
¹ต้นฉบับของคัณฑวยูหสูตร (คัน-ดะ-วะ-ยู-หะ-สูด) : ต้นฉบับแปลภาษาจีนมี ฉบับ กล่าวคือ ) แปลโดยพระเชงเฉียน ในช่วงปี .. ๙๓๒-๙๕๔ ชื่อว่าธรรมธาตุประเวศน์) แปลโดยพระพุทธภัทร ปี .. ๙๖๓ เป็นตอนที่ ๓๙ ของอวตังสกสูตร ) แปลโดยพระศึกษานันทะในปี พ.. ๑๒๓๘-๑๒๔๒ ) และ ) แปลโดยพระปรัชญา เสร็จสมบูรณ์ .. ๑๓๔๑ ภายหลังไดเซทสึ เทอิทาโร (D.T. Suzuki 2413-2509) ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์มหายานและการปฏิบัติจิตภาวนา ชาวญี่ปุ่น นำมาเรียบเรียงเป็นภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครี

เรื่อง : นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ.​ ๒๕๖๓





คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2020/03/diri56.html 

***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***


คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1hWqyMgGN4f-7lLj-_aHY1VSgg_74b5ZQ/view

คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/YNB%20208%200463/YNB%20APR%2063.html

คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๘ ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่

คลิกที่รูป หรือ สแกน QR-CODE เพื่ออ่านบทความนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๖) หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕๖) Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ on 00:50 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.