หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
(ต่อจากตอนที่แล้ว)
ที่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามเส้นทางค้าขายในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
นั้น ปรากฏมีโบราณวัตถุ
รวมทั้งศิลาจารึกคาถาทั้งภาษาบาลีและสันสกฤตปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน ค้นพบที่ อ.กําแพงแสน
จ.นครปฐม ประเทศไทย และบางส่วนเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่ประเทอินโดนีเซีย
มาเลเซีย เป็นต้น (ดังที่ปรากฏในภาพ) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาตลอดฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
คัมภีร์พระพุทธศาสนาทองคำ อักษรปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ พิพิธภัณฑสถานอินโดนีเซีย ที่มา http://dl.lontar-libraray.org/gdl.php?mod=browse&op=read&id=jkpklontar-ldl-img-63 |
ศิลาสลักภาพเจดีย์สมัยปัลลวะและจารึกอักษรปัลลวะ รัฐเคดาห์ มาเลเซีย พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่มา http://www.photodharma.net/Malaysia/Bujang-Valley-Museum/Bujang-Valley-Museum.htm |
ขอกล่าวย้อนกลับมาทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ หลังการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราชราว ๓๐๐ ปี พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นผู้ปกครองของอาณาจักรกุษาณะ และมีพระเดชานุภาพด้านการทหารและการปกครอง ทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่
และทรงเป็นผู้กําหนดการใช้มหาศักราชขึ้น พระราชอาณาจักรมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นคันธาระ และแผ่ขยายเข้าไปถึงเมืองทูรฟานในเขตแอ่งทาริมของเอเชียกลาง
จนถึงเมืองปาฏลีบุตรในตอนเหนือของชมพูทวีป ราชธานีของพระองค์ คือเมืองเปชวาร์ในประเทศปากีสถานปัจจุบัน ทรงอุปถัมภ์ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกของนิกายสรวาสติวาท ซึ่งมีการบันทึกพระธรรมคําสอนเป็นลายลักษณ์อักษรในครั้งนี้ด้วย พระพุทธศาสนาจึงเผยแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็วตามเส้นทางการค้าขายทางบก
ซึ่งต่อมาอีกหลายศตวรรษ พระพุทธศาสนาก็เผยแผ่ไปตามเส้นทางการค้าทางทะเล
วรรณคดีพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในยุคนี้ ในด้านพุทธศิลป์คันธาระก็มีความเจริญถึงขีดสุดในยุคของพระองค์เช่นกัน
เหรียญกษาปณ์ พระเจ้ากนิษกะ พ.ศ. ๖๒๑-๖๔๔ (127-151) A.D.) อาณาจักรกุษาณะ ที่มา http://humshehri.org/history/kushan-dynasty/ |
หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญของยุคนี้ คือ ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขุดพบที่มหาสถูปพระเจ้ากนิษกะ นอกกรุงเปชวาร์ ประเทศปากีสถาน ฝาผอบเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับบนดอกบัวพร้อมเทวดา ๒ องค์ จารึกที่ผอบเป็นอักษรขโรษฐี มีใจความว่า “ทาสชื่ออคิสาเลาผู้ควบคุมงานที่วิหารกนิษกะ ในอารามของมหาเสนา” ปัจจุบันผอบเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์เปชวาร์ ส่วนพระบรมสารีริกธาตุนั้นรัฐบาลอังกฤษอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พุทธศตวรรษที่ ๗ ที่มา http://www.thefridaytimes.com/beta3/tft/article/php?issue=20110715&page=16 |
ร่องรอยอารยธรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองสำคัญ
ๆ ของคันธาระและแบกเทรียได้แก่ เมืองบาช บามิยัน ฮัดดา ในอัฟกานิสถานปัจจุบัน
และในแถบสวาด เมืองเปชวาร์ ตักสิลา ของปากีสถาน
แคว้นคันธาระ เมืองเปชวาร์ แคว้นแบกเทรีย และบริเวณใกล้เคียง อันเป็นประตูเส้นทางการค้าขายโบราณ ไปสู่แอ่งทาริมและจีนทางตะวันออก ที่มา http://pro.geo.univie.ac.at/projects/khm/showcase/showcase14 |
ในดินแดนที่ได้รับพระพุทธศาสนาไว้นี้ พระธรรมคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกเก็บรักษาไว้ในรูปคัมภีร์โบราณ ซึ่งทําจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เปลือกไม้เบิร์ชและกระดาษ สําหรับอักษรที่ใช้ในการจารคัมภีร์คือ อักษรขโรษฐี ภาษาที่ใช้คือ ภาษาปรากฤตและภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาคานธารีคัมภีร์ที่ยังคงเหลือมาถึงปัจจุบันมักพบซุกซ่อนอยู่ในเขตโบราณสถานและตามถ้ำบนภูเขา นับเป็นเอกสารทางพระพุทธศาสนาที่จารึกพระธรรมคําสอนที่เก่าแก่ที่สุด ตัวคัมภีร์เปราะบางและพร้อมที่จะสลายตัวเป็นฝุ่นผงเมื่อถูกจับต้อง จึงต้องใช้กระบวนการพิเศษในการคลี่ม้วนคัมภีร์เพื่อการอ่านศึกษา ซึ่งการเข้าถึงคัมภีร์โบราณเหล่านี้เปิดให้เฉพาะนักวิชาการที่มีหน้าที่เท่านั้น ปัจจุบันคัมภีร์ดังกล่าวส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ในสถาบันวิชาการระดับโลก เช่น ห้องสมุดแห่งชาติอังกฤษ สถาบันสเคอเยน ประเทศนอร์เวย์ เป็นต้น
พระพุทธรูปใหญ่ที่บามิยัน อัฟกานิสถาน ถูกทำลายโดยกลุ่มตอลิบาน (ฏอลิบาน) ที่มา http://www.fravahr.org/spip.php?article540 |
คัมภีร์เปลือกไม้เบิร์ช อักษรขโรษฐี ภาษาคานธารี พุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ที่มา http://jayarva.blogspot.com/2015/02/the-very-idea-of-buddhist-history.html |
คัมภีร์มหายานสูตร พบที่บาจัวร์ ปากีสถาน เปลือกไม้เบิร์ช อักษรขโรษฐี ภาษาคานธารี |
นับว่าเป็นบุญวาสนาของพวกเราชาวพุทธ
และด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย
ที่ปัจจุบันนี้ยังมีผู้อนุรักษ์เก็บรักษาและสนับสนุนให้คณะนักวิจัยของสถาบันดีรีมีโอกาสทำการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง
จากข้อมูลปฐมภูมิเหล่านั้น ซึ่งเป็นคำสอนดั้งเดิม
ทั้งนี้เพื่อทำความจริงให้ปรากฏแก่ชาวโลก
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
คลิกอ่านหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามบทความด้านล่างนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
01:17
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: