หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒)
เส้นทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ตลอดเดือนพฤษภาคมได้มีโอกาสไปปฏิบัติศาสนกิจต่าง
ๆ ทั้งเดือน นับตั้งแต่วันที่ ๑
จัดการเสวนาเรื่องร่องรอยธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณครั้งที่ ๒ และไปปฏิบัติศาสนกิจต่อที่ภาคพื้นยุโรปอีกหลายแห่ง
โดยเฉพาะการทำสัญญาความร่วมมือส่งเสริมการศึกษาที่ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดกับคณะท่านศาสตราจารย์ริชาร์ด
กอมบริชแล้วกลับมาร่วมประชุมวิสาขะโลกตามมติของยูเอ็นที่กรุงเทพฯ
จากนั้นก็เดินทางกลับไปจัดงานยูเอ็นวิสาขะนานาชาติที่มหานครซิดนีย์ แม้ต้นเดือนมิถุนายนก็มีโอกาสไปปฏิบัติศาสนกิจสืบค้นคำสอนดั้งเดิมที่วัดม้าขาว
เมืองลั่วหยาง (เมืองหลวงเก่า) มณฑลเหอหนาน
อันเป็นวัดแห่งแรกในแผ่นดินจีนซึ่งจักรพรรดิฮั่นหมิงตี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเป็นพุทธศาสนสถาน
พระธรรมาจารย์อิ้นเล่อ เจ้าอาวาสวัดม้าขาว มอบสำเนาพระคัมภีร์ ๔๒ บรรพ ซึ่งเป็นคัมภีร์แปลเป็นภาษาจีนที่เก่าแก่ที่สุด |
ศิลาจารึก พระคัมภีร์ ๔๒ บรรพ อายุ ๔๐๐ ปี |
พระเจดีย์เสียเมฆ วัดม้าขาว ที่เชื่อว่า ฐานพระเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุ อันสืบทอดมาแต่ยุคพระเจ้าอโศก (ขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย) |
จึงทำให้ผู้เขียนและคณะต่างซาบซึ้งในโอวาทของพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่กล่าวว่า
“นักสร้างบารมีต้องไม่ว่างเว้นจากการสร้างความดี” เหมือนดั่งพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้มีชีวิตอยู่แม้เพียงวันเดียว
แต่เป็นผู้มีศรัทธา มีความเพียรสั่งสมความดีตลอดทั้งวันก็ถือว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐ”
ดังนั้น
การที่คณะนักวิจัยจะใช้ชีวิตที่ประเสริฐในแต่ละวัน เพื่อตามสืบค้นคำสอนดั้งเดิม
ซึ่งผ่านเวลามาร่วม ๒,๖๐๐ ปี นับจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้ธรรม
อันเป็น “อกาลิโก” คือ ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา
และการให้ได้มาซึ่งหลักฐานนั้น มีความจำเป็นต้องเริ่มสำรวจแล้วเรียนรู้เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน
ฉบับนี้จึงขอนำเสนอเนื้อหาสาระการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลในชมพูทวีป
ซึ่งการเผยแผ่ถูกจำกัดด้วยภูมิประเทศและความสามารถในการเดินทาง
เรื่อยมาถึงยุคประวัติศาสตร์ที่มากด้วยเรื่องราวความเป็นไปในแต่ละท้องถิ่นของดินแดนต่าง
ๆ นอกชมพูทวีปที่รับพระพุทธศาสนาไว้ ซึ่งจะนำเสนอด้วยสาระพอสังเขป
เพียงเพื่อชี้ให้เห็นเส้นทางการเผยแผ่พระศาสนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางการค้าแต่โบราณ
และเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานี้
จะเป็นแหล่งข้อมูลให้คณะนักวิจัยได้สืบเสาะหลักฐานปฐมภูมิมาใช้ในงานวิจัยสืบค้นหลักฐานธรรมกาย
ดังจะได้บรรยายอย่างละเอียดในลำดับต่อไป
แสดงที่ตั้งแหล่งข้อมูลหลักฐานปฐมภูมิ
๑.
กลุ่มเมืองแบกเทรียทางตอนกลางของอัฟกานิสถาน
๒.
กลุ่มเมืองคันธาระทางตอนเหนือของปากีสถาน
๓.
กลุ่มเมืองในแอ่งทาริม
๔.
เมืองตุนหวางทางตะวันตกของจีน
๕.
เนปาลและทิเบต
๖.
อินเดียใต้
๗.
ศรีลังกา
๘.
เมียนมา
๙.
จีนตอนกลาง
๑๐.
ลาว
๑๑.
ไทย
๑๒.
กัมพูชา
๑๓.
อินโดนีเซีย
๑๔.
ญี่ปุ่น
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีชี้ให้เห็นว่า
พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพุทธดำเนินโปรดเวไนยสัตว์ไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ
ในชมพูทวีป ซึ่งในสมัยพุทธกาลแบ่งเป็น ๑๖ มหาชนบท พระพุทธศาสนาประดิษฐานเป็นปึกแผ่นได้ในแคว้นทางเหนือและตะวันออกของชมพูทวีป
ได้แก่ แคว้นโกศล มคธะ มัลละ ลิจฉวี (วัชชี) อังคะ กาสี เจตี และอวันตี
มหาชนบท ๑๖ แคว้นครั้งพุทธกาล ภาพโดย : ชัชวาลย์ เสรีพุกกะณะ |
หลังพุทธปรินิพพานไม่นาน
มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธานในการทำสังคายนา
และมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์
ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ
ปากถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่กระทำสังคายนาครั้งแรก ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377 |
อีกร้อยปีให้หลังก็เกิดการสังคายนาครั้งที่ ๒
โดยมีพระยสกากัณฑบุตรเป็นผู้ดำริเริ่มการสังคายนา
มีพระเรวตเถระซึ่งเป็นศิษย์พระอานนท์และทันเห็นพระศาสดาเป็นประธาน
และมีพระเจ้ากาลาโศกราชแห่งเมืองปาฏลีบุตรเป็นองค์อุปถัมภ์
การสังคายนากระทำที่วาลุการาม เมืองเวสาลี ใช้เวลา ๘ เดือน จึงแล้วเสร็จ
เมืองโบราณเวสาลี สถานที่กระทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39377 |
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๑๘
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพร้อมกับวิสุทธิสงฆ์อรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป ร่วมประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่อโศการาม
เมืองปาฏลีบุตร ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ใช้เวลา ๘ เดือน
นับว่าในยุคนี้ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งด้วยพระบรมราชูปถัมภ์จากพระเจ้าอโศก-มหาราช
ทั้งการสร้างพุทธศาสนสถาน เช่น พระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ เสาจารึกอโศก
ซึ่งนับว่าเป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ อีกทั้งมีการส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาถึง
๙ สาย ซึ่งถือว่าพระพุทธศาสนาเผยแผ่ขยายกว้างไกลออกไปนอกชมพูทวีปได้ในยุคนั้น
ทั้งนี้ขอได้โปรดติดตามรายละเอียดในฉบับต่อไป
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๕๓ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
คลิกอ่านหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามบทความด้านล่างนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)
Cr. พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๕๓ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
|
คลิกอ่านหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามบทความด้านล่างนี้
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๔)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๕)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
20:09
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: