ปุราณอักษรา
ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนของประเทศไทยเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรโบราณมากมาย อาทิ อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรเจนละ อาณาจักรศรีวิชัย เป็นต้น แต่ละอาณาจักรต่างรับอิทธิพลด้านตัวอักษรจากดินแดนภารตะฝ่ายใต้ผ่านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา ดังปรากฏหลักฐานจารึกอักษรปัลลวะหลายหลักกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย อาทิ จารึกเขารัง จังหวัดสระแก้ว นับเป็นศิลาจารึกอักษรปัลลวะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด จารด้วยภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรโบราณบนหินทรายเนื้อหยาบ กำหนดอายุตามปีมหาศักราชที่ระบุในจารึกตรงกับ พ.ศ. ๑๑๘๒ หรือจารึกเยธมฺมาฯ ซึ่งเป็นคาถาภาษาบาลีคัดจากพระวินัยปิฎก มหาวรรค มหาขันธกะ ตอนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา ปรากฏบนระเบียงด้านขวาองค์พระปฐมเจดีย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จารึกทั้ง ๒ หลักนี้แสดงให้เห็นว่าอักษรปัลลวะในอาณาจักรยุคแรกยังคงรูปแบบสัณฐานต้นฉบับเดิมของอินเดียฝ่ายใต้ไม่เปลี่ยนแปลง
จารึกเขารัง |
เหรียญสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ปรากฏอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต |
จารึกอักษรมอญโบราณ |
หนังสือสมุดไทยอักษรขอม สมัยอยุธยา |
หนังสือสมุดไทยอักษรขอม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
ในขณะที่อาณาจักรสุโขทัยมีการใช้อักษรขอมไทยและอักษรไทย อาณาจักรล้านนาในภาคเหนือก็มีการใช้อักษรธรรมล้านนา
ซึ่งเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากอักษรมอญโบราณที่ใช้ในอาณาจักรหริภุญชัยประมาณพุทธศตวรรษที่
๑๗-๑๘
เนื่องจากอักษรธรรมล้านนามีรูปแบบอักษรและอักขรวิธีคล้ายคลึงกับอักษรมอญโบราณมาก
ประกอบกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนว่าอาณาจักรล้านนามีการติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัยมาก่อนที่พญามังรายจะผนวกอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับอาณาจักรล้านนา
จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าชาวล้านนาในอดีตจะรับวัฒนธรรมหลายด้านโดยเฉพาะด้านตัวอักษรจากอาณาจักรหริภุญชัย
ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าอักษรธรรมนั้น
ก็เนื่องด้วยเป็นตัวอักษรที่ใช้บันทึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง อิทธิพลอักษรธรรมล้านนาสืบทอดไปยังอาณาจักรล้านช้างซึ่งอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของ
๒
อาณาจักรทำให้อาณาจักรล้านช้างรับเอาอิทธิพลด้านพระพุทธศาสนาและรับตัวอักษรธรรมล้านนาไปพัฒนาปรับใช้ในท้องถิ่นจนกลายเป็น
“อักษรธรรมอีสาน” ในที่สุด
จากจุดเริ่มต้นแห่งดินแดนภารตะตอนใต้ อักษรปัลลวะได้เป็นแม่แบบของวิวัฒนาการอักษรโบราณในผืนแผ่นดินไทยผ่านห้วงกาลเวลาเนิ่นนานพันกว่าปี
จากอักษรหนึ่งพัฒนาจนกลายเป็นอีกอักษรหนึ่งผ่านการติดต่อปฏิสัมพันธ์
ก่อเกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างอาณาจักร ผสมผสานจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง
แม้อักขรวิธีและรูปแบบอักษรจะเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม
แต่อักษรเหล่านั้นต่างมีกำเนิดจากที่เดียวกัน
และบูรพชนชาวไทยก็ได้ใช้อักษรโบราณเหล่านี้จารึกเรื่องราวคดีโลกและคดีธรรมผ่านรุ่นสู่รุ่นไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบมา
อ้างอิง
คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมล้านนา |
คัมภีร์พระไตรปิฎกทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อักษรธรรมอีสาน |
อ้างอิง
กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย
อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร,
๒๕๕๔.
บุญเตือน ศรีวรพจน์, ประสิทธิ์ แสงทับ. สมุดข่อย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๒.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. พัฒนาการของอักษรไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา, ๒๕๕๖.
บุญเตือน ศรีวรพจน์, ประสิทธิ์ แสงทับ. สมุดข่อย. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๒.
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. พัฒนาการของอักษรไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา, ๒๕๕๖.
Cr. Tipitaka (DTP)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๗๔ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
คลิกอ่านพระไตรปิฎก (DTP) ของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
พระไตรปิฎก มรดก ๙ แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ปีก่อนหน้า)
ผ้าห่อถักทอเชื่อมสายบุญ
รอยลบ ที่ไม่ลบเลือน
การสืบทอดวรรณกรรมบาลีแห่งศรีลังกาและสยามประเทศ
สังคายนา เชื่อมกาลสานธรรม
ลังกาทวีป ประทีปพุทธธรรม (ตอนที่ ๑)
สังคายนา เชื่อมกาลสานธรรม |
คลิกอ่านพระไตรปิฎก (DTP) ของวารสารอยู่ในบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
พระไตรปิฎก มรดก ๙ แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ปีก่อนหน้า)
ผ้าห่อถักทอเชื่อมสายบุญ
รอยลบ ที่ไม่ลบเลือน
การสืบทอดวรรณกรรมบาลีแห่งศรีลังกาและสยามประเทศ
สังคายนา เชื่อมกาลสานธรรม
ลังกาทวีป ประทีปพุทธธรรม (ตอนที่ ๑)
ปุราณอักษรา
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
19:03
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: