ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๕)
ตอนที่ ๒๕ : ผู้กุมความเสื่อมและความเจริญของพระพุทธศาสนา
(๒)
ในตอนที่ผ่านมา เราได้ทราบถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาเถรวาทของเรามีพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง
ๆ อันเป็นมรดกธรรมล้ำค่าสืบทอดมาถึงปัจจุบัน นั่นเป็นเพราะว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทเรามีพระภิกษุสงฆ์สืบสายกันมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับ คุณสมบัติของพระภิกษุสงฆ์ที่มีความสัมพันธ์กับความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏใน ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร (องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๕๖/๒๕๕-๒๕๘ แปล.มจร) โดยในที่นี้ จะขอยกมาเพียงเหตุแห่งความเจริญ ดังมีใจความดังนี้
๑.
ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระไตรปิฎกที่ทรงจำนำสืบกันมาอย่างดี
จึงมีความเข้าใจเนื้อเรื่องและสาระสำคัญของพระสูตรที่เรียนแล้วได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น
๒. ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่าง่าย มีความอดทน
น้อมรับคำพร่ำสอนของพระเถระผู้เป็นครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ
กรณีนี้ย่อมส่งเสริมให้พระสัทธรรมตั้งมั่นไม่ลบเลือน ไม่เสื่อมสูญ
๓. ภิกษุทั้งหลายที่เรียนเก่งเป็นพหูสุต ทรงธรรม ทรงวินัย
และทรงมาติกา ตั้งใจทำหน้าที่กัลยาณมิตรบอกธรรมแก่ผู้อื่นโดยเคารพ
เมื่อพระภิกษุเหล่านี้ล่วงลับไปแล้ว พระธรรมจะตั้งมั่นอยู่ด้วยหลักฐานมั่นคง
๔. ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ไม่มักมาก
มีความประพฤติเคร่งครัดไม่ย่อหย่อน ปรารภความเพียร
เพื่อกระทำให้แจ้งในธรรมที่ยังไม่แจ้ง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
๕. สงฆ์มีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี
ไม่ทะเลาะวิวาทกัน ไม่แข่งขันชิงดีกัน แต่ชื่นชมกัน
ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พฤติกรรมเช่นนี้ของสงฆ์
ย่อมทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสเกิดความเลื่อมใส
ส่วนคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วก็จะยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า พระธรรมวินัยจำเป็นต้องมีผู้ศึกษาอย่างจริงจัง
ทรงจำให้ถูกต้อง ศึกษาด้วยความเคารพ โดยอาศัยครูบาอาจารย์ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมในการแนะนำสั่งสอน
เมื่อศึกษาจนถ่องแท้แล้วก็ไม่เก็บงำไว้เพียงผู้เดียว
แต่ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดและส่งต่อพระธรรมวินัย อีกทั้งยังไม่หยุดอยู่เพียงภาคทฤษฎี
แต่ก้าวเข้าสู่ขั้นตอนของการปฏิบัติ เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ และที่สำคัญ คือ
มีความสมัครสมานสามัคคีกัน ดังนั้นในเรื่องความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้นี้
จึงอยู่ที่ ข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ เป็นคำสำคัญว่า ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาพระธรรมวินัย
การทำหน้าที่กัลยาณมิตรและประพฤติปฏิบัติธรรม รวมถึงความสมัครสมานสามัคคี มากน้อยเพียงใด
เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.
ภาพ : พระณัฏฐวัฒน์ ณฏฺฐิโต (พ.เปรม)
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๕ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ภาพ : พระณัฏฐวัฒน์ ณฏฺฐิโต (พ.เปรม)
คลิกอ่านบทความได้ที่นี่ https://dhamma-media.blogspot.com/2019/12/his25.html
***สามารถนำไปเผยแพร่ได้ แต่ขอให้ใส่ Cr. ผู้เขียนด้วย***
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1LXoPXF9DiGdw6C-Tsi98SFSI9kHyaDHh/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ PDF
https://drive.google.com/file/d/1LXoPXF9DiGdw6C-Tsi98SFSI9kHyaDHh/view
คลิกอ่านวารสารอยู่ในบุญในรูปแบบของ E-book
http://dhammamedia.org/YNB%202563/205%20YNB_6301/YNBJAN63__Hi.html#p=1
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๕ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
http://dhammamedia.org/YNB%202563/205%20YNB_6301/YNBJAN63__Hi.html#p=1
คลิกอ่านแต่ละบทความของวารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๒๐๕ ประจำเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ที่นี่
- ชาวอิสปานิกพบสันติสุขภายใน
- ธรรมยาตรา ๔๐๐,๐๐๐ องค์ ในพุทธกาล
- ตักบาตร ๓๐,๐๐๐ รูป ณ มัณฑะเลย์ ที่โลกต้องจารึก
- ทอดผ้าป่าต้นสมบัติจักรพรรดิ ๒๑๔ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วโลก
- ปลื้มใจในโครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรม ๗๙ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว
- ขอบคุณประเทศไทย
- ข่าวสารเครือข่ายคณะศิษย์
- International Forum on Tri-tradition Buddhism
- ทำอย่างไรให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จ ?
- ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๕)
- ๕ คุณสมบัติของนายจ้างและลูกน้องที่ดี
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา (ตอนที่ ๒๕)
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
22:23
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: