พระสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์แสดงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
หลังจากที่พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญจากอินเดียและไปเจริญรุ่งเรืองในต่างประเทศแล้ว
ชาวอินเดียส่วนใหญ่ลืมศาสนสถานทางพระพุทธศาสนา ปล่อยให้รกร้างขาดการดูแล
จนกระทั่งมีนักโบราณคดีทำการขุดค้นโบราณสถานต่าง ๆ ในอินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๗๖๓
จึงทำให้ชาวพุทธในอินเดียและต่างประเทศเกิดความตื่นตัวในการช่วยกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่อีกครั้ง
ในปี พ.ศ. ๒๔๐๕ นักโบราณคดีชาวอังกฤษค้นพบซากเมืองโบราณขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ
ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “สาเหต-มาเหต” เมืองโบราณนี้เป็นที่ตั้งของวัดพระเชตวันมหาวิหาร
กรุงสาวัตถี ซึ่งลักษณะเจดีย์และพระวิหารที่ค้นพบที่เมืองนี้
สอดคล้องกับเรื่องราวในพุทธประวัติที่อ้างถึงหมู่กุฏิพระสาวก หมู่พระเจดีย์
และธรรมศาลาในสมัยพุทธกาล
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ดร.ฟูห์เรอร์ (บางท่านกล่าวว่าผู้ค้นพบ คือ
เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม) ค้นพบหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช
ซึ่งปักอยู่ท่ามกลางทุ่งนา
มีอักษรพราหมีบันทึกไว้ และแปลเป็นภาษาไทยว่า “พระเจ้าปิยทัสสี ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ
ครั้งครองราชย์ได้ ๒๐ พรรษา เสด็จมาด้วยพระองค์เอง ทรงทำสักการบูชา และรับสั่งให้ทำเสาศิลาเป็นรูปวิคฑะ
เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า “ณ ตรงนี้ พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงพระนามว่าศากยมุนี ได้ประสูติ ณ หมู่บ้านลุมพินี พระองค์รับสั่งให้ยกเสาศิลาเพื่อประกาศว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติ ณ ที่นี้”
ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๑ นายดับเบิลยู.ซี.
เปปเป (William Claxton
Peppe) ขุดค้นสถูปแห่งหนึ่ง ณ หมู่บ้านปิปราหวา (Piprahwa)
ทางทิศใต้ของกรุงกบิลพัสดุ์ ได้พบพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุในผอบ
ซึ่งมีแผ่นจารึกเป็นภาษาพราหมี มีความหมายว่า “พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับการบรรจุเอาไว้
โดยกษัตริย์ศากยะ พระประยูรญาติของพระพุทธองค์” สถูปนี้เป็นสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
ใน ๘ แห่ง ซึ่งรับส่วนแบ่งมาจากนครกุสินารา ในครั้งที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
หลังจากค้นพบแล้ว ท่านมาเควส เคอร์สัน อุปราชผู้ครองอินเดียสมัยนั้น
ซึ่งเป็นผู้มีความคุ้นเคยกับรัชกาลที่ ๕ ของไทย
ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบมาให้ประเทศไทยด้วย ต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระเจดีย์ทองสำริดเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้ที่ยอดพระบรมบรรพต
(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
นักโบราณคดียังค้นพบพุทธสถานอื่น ๆ อีกมากมาย
ทั้งที่สร้างในสมัยพุทธกาลและยุคถัดมา เฉพาะในรัฐโอริสสาพบว่า “มีพุทธสถานโบราณอยู่ถึง ๑๒๘ แห่ง”
การสร้างพุทธศาสนสถาน เช่น การสร้างวัดหรือพระสถูปเจดีย์
ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการยืดอายุพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนั้นดำรงอยู่ไม่นาน
แต่ศาสนสถานที่สร้างไว้จะยังคงดำรงอยู่
เพื่อยืนยันคำสอนของพระองค์ตราบกระทั่งปัจจุบัน
แม้กาลเวลาจะผ่านไปจนกระทั่งศาสนสถานเหล่านั้นอาจจะผุพังเหลือแต่ซากก็ตาม แต่สิ่งนี้ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันความมีอยู่จริงของพระพุทธองค์
ทำให้รู้ได้ว่าคำสอนในพระไตรปิฎกเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เป็นเพียงตำนานที่แต่งขึ้น
และยังเป็นการแสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา การค้นพบวัดพระเชตวันหรือศาสนสถานสำคัญ ๆ
เหล่านี้ จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการทำให้พระพุทธศาสนาสูงเด่นเป็นสง่าขึ้น
และเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวพุทธหันมาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกครั้ง
สำหรับในประเทศไทยของเรา นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับการศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยมีสำนักเรียนทั้งนักธรรม บาลี พระอภิธรรม หรือมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา
ที่มุ่งเน้นให้การศึกษาทางด้านพระพุทธศาสนาแล้ว
เรายังช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาด้วยการสร้างศาสนสถาน คือ วัดวาอาราม
รวมถึงพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระบรมธาตุของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังที่หลวงพ่อธัมมชโยมีดำริให้สร้างมหาธรรมกายเจดีย์ขึ้น
เพื่อเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ รวมทั้งการช่วยกันสร้างเจดีย์น้อยดอยสวรรค์
ณ วัดแม่ขิง จ.เชียงใหม่ หรือการอัญเชิญพระบรมธาตุไปประดิษฐาน ณ
พุทธอุทยานนานาชาติ จังหวัดหนองคาย ก็เป็นการสร้างพุทธสถานเป็นศูนย์รวมใจให้มนุษย์และเทวาได้กราบไหว้
และเป็นการปักหลักสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาสืบต่อไป..
สำหรับผู้สนใจศึกษาเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจของพระพุทธศาสนา
ศึกษาได้ที่มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย รายวิชา GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
Cr. พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ.๙
วารสารอยู่ในบุญ ฉบับที่ ๑๓๙
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
คลิกอ่าน DOU ความรู้สากลของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
อโศกมหาราช...
ความอาภัพ ๑๘ ประการ
การทำบุญกับพระอรหันต์ในบ้าน
ความแตกต่างบนความเหมือนของการเกิดเป็นมนุษย์
การกลับมาของมหาวิทยาลัยนาลันทา... ศูนย์กลางแห่งพุทธปรัชญาเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน
เวลากับชีวิต
รู้จักมนุษย์ในจักรวาลวิทยา
ไม่มีบทความ |
อโศกมหาราช... |
คลิกอ่าน DOU ความรู้สากลของวารสารอยู่ในบุญปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามลิงก์ด้านล่างนี้
อโศกมหาราช...
ความอาภัพ ๑๘ ประการ
การทำบุญกับพระอรหันต์ในบ้าน
ความแตกต่างบนความเหมือนของการเกิดเป็นมนุษย์
การกลับมาของมหาวิทยาลัยนาลันทา... ศูนย์กลางแห่งพุทธปรัชญาเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน
เวลากับชีวิต
รู้จักมนุษย์ในจักรวาลวิทยา
พระสถูปเจดีย์ คือ สัญลักษณ์แสดงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
Reviewed by สำนักสื่อธรรมะ
on
19:29
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: